Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์8 พฤษภาคม 2549
ประกันชีวิตทุนนอกเปิดฉากไล่บดขยี้AACPเป่ารายได้พอร์ตลงทุนท้าทายพี่เบิ้ม             
 


   
www resources

โฮมเพจ อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต

   
search resources

Insurance
อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต, บมจ.




หากปีที่ผ่านมาคือ การสะสางปัญหาขาดทุนสะสม และลดความตรึงเครียดภายในองค์กรของ อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี.ประกันชีวิต(เอเอซีพี) ในปีนี้ก็จะเป็นปีที่ถูกจัดวางตำแหน่งให้พร้อมขยายการลงทุนในทุกๆด้านเพิ่มเติม เสมือนการปิดล้อมและบดขยี้คู่แข่งในตลาด เพื่อช่วงชิงอาณาจักรเบี้ยประกันชีวิต โดยไม่พลาดการประกาศเปิดศึกรบ ท้าทายผู้นำในตลาดอย่าง เอไอเอ และไทยประกันชีวิต ด้วยรูปแบบที่เป็นขั้นตอนมากที่สุดครั้งหนึ่ง นับจาก "เอเอซีพี" เริ่มตั้งหลักในตลาดเมืองไทย ขณะที่ผู้คนในวงการประกันชีวิตมองว่า สงครามครั้งนี้คือ การเผชิญหน้า ฟาดฟันกันเองระหว่างทุนฝั่งตะวันตก แต่ความเสียหายก็ยังลุกลามไปทั่วทุกหย่อมหญ้า....

ซีอีโอภาคพื้นเอเชีย กลุ่มอลิอันซ์ "บรูซ บาวเออร์" ประกาศชัดเจนว่า ต้องการให้ 14 ประเทศในเอเชียที่อลิอันซ์เข้าไปลงทุน มีการขยายตัวด้านการลงทุน รวมกับการเร่งออกสินค้านวัตกรรมใหม่อย่างต่อเนื่อง ภายหลังได้ขจัดปัญหาหลายๆอย่างให้ลดน้อยลงในช่วง 2-3 ปีก่อน...

" เราอยู่ในตำแหน่งที่พร้อมจะลงทุนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านใดใด ที่จะผลักดันให้เบี้ยของเอเอซีพีเติบโต"

ในยุคแรกๆของ "เอเอซีพี" มีปัญหาเดียวที่จะต้องเร่งขจัดไปให้หมดก็คือ ผลประกอบการขาดทุนสะสมที่เรื้องรังยาวนาน และเป็นตัวเลขสูงระดับพันๆล้านบาท แต่พอผ่านไปอีกสักระยะหนึ่ง "เอเอซีพี" ก็มีปัญหาที่หนักหน่วงกว่า นั่นก็คือ การบริหารและจัดการภายในองค์กร ซึ่งเป็นจุดปะทะกันระหว่างทีมงานฝรั่งจากตะวันตกและทีมขายทรงอิทธิผลในอดีต

ไม่นานนัก วิลฟ์ แบร็คเบริน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ นายฝรั่งชาวอังกฤษ ก็ถูกส่งตรงเพื่อเข้ามาจัดการปัญหาโดยเฉพาะ

ผลงานของวิลฟ์ ในช่วงที่เข้ามาควบคุมกองทัพ ในช่วงแรกๆนอกจากการรื้อโครงสร้างการทำงานใหม่ สิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัดก็คือ การทำตลาดเชิงรุก ผ่านช่องทางแบงก์กรุงศรีอยุธยาพันธมิตรรายใหญ่ และการหันมาเน้นการทำรายได้จากพอร์ตลงทุนชนิดหวือหวากว่าทุกๆค่าย โดยมีมืออาชีพที่ค่อนข้างเชี่ยวชาญด้านการลงทุนดูแลอย่างใกล้ชิด

รูปแบบการตลาดเชิงรุก เริ่มเห็นผลมากขึ้นเรื่อยๆจาก การปล่อยสินค้าใหม่ๆลงสู่ตลาด ส่วนใหญ่เป็นกรมธรรม์ที่เน้นให้ผลตอบแทนสูง และลูกค้าต้องลงทุนด้วยเงินก้อนใหญ่ เพื่อแลกกับผลประโยชน์ที่จะได้คืนกลับมา ยังไม่นับกิจกรรมทางสังคม และกิจกรรมสำหรับลูกค้าที่จัดถี่แทบทุกเดือน

นอกจากนั้นช่องทางขายประกันชีวิตผ่านสาขาแบงก์กรุงศรีฯก็ทำได้ค่อนข้างเอิกเกริกจนคู่แข่งต้องเหลียวหลังมามอง เพราะสำหรับเอเอซีพี การขายกรมธรรม์ในแบงก์แทบไม่ต่างจาก การขายสินค้า ที่การ โปรโมชั่น ลดแลกแจกแถม ชิงรางวัล จนเบี้ยไหลผ่านเข้ามาทางช่องทางนี้มีมากขึ้นเรื่อยๆ

ปี 2548 เอเอซีพีมีเบี้ยรับปีแรกเกือบ 4 พันล้านบาท ขยายตัว 21% มียอดเบี้ยรับรวม 19.7 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 12% ขณะที่ 2 เดือนแรกปี 2549 มีเบี้ยรับปีแรก 440 ล้านบาท เติบโต 16% โดยกว่าอุตสาหกรรมโดยรวมที่ขยายตัวเพียง 3% ก่อนเตรียมจะกวาดเบี้ยปีแรกปีนี้ให้ถึง 8 พันล้านบาท

วิลฟ์ อธิบายถึง การขยายตัวของเบี้ยปีแรก ส่วนสำคัญมาจากผลตอบแทนจากการลงทุน ที่ทำให้รายได้จากการลงทุนขยายตัวถึง 2 เท่า จาก 1.19 พันล้านในปี 2547 เป็น 2.45 พันล้านในปี 2548 หรือเพิ่มจาก 3.72% เป็น 4.8%

จากผลประกอบการขาดทุนติดลบ 258 ล้านบาท ก็เปลี่ยนมาเป็น กำไรก่อนหักภาษี 1,428 ล้านบาท คิดเป็นกำไรหลังหักภาษี 900 ล้านบาท มีผลตอบแทนจากการลงทุน 5.4%

ขณะที่ยอดขาดทุนสะสมในปี 2547 ซึ่งเคยสูงถึง 1,587 ล้านบาท ก็หล่นฮวบลงมาที่ 330 ล้านบาทในปี 2548 ลดลงถึง 79% ซึ่งถือเป็นการลดลงที่สร้างความประหลาดใจให้กับคู่แข่ง โดยเฉพาะผู้นำในตลาดไม่น้อย ยังไม่นับรวมเงินทุนสำรองที่เพิ่มสูงถึง 3 พันล้านบาท มากกว่าที่กรมการประกันภัยกำหนดถึง 3 เท่า ซึ่งฐานะการเงินที่ค่อนข้างแกร่งนี้เองจึงบอกถึงความพร้อมที่จะปะทะกับค่ายยักษ์ใหญ่ได้อย่างพอฟัดพอเหวี่ยง

" เรามีเงินมากขึ้น เราก็พร้อมจะลงทุน ปีที่แล้วเน้นการให้บริการ โดยการทุ่มลงทุนด้านไอทีเป็นจำนวนมาก แต่ปีนี้จะไม่ลงทุนตรงนั้นเพิ่มอีก แต่จะเน้นการให้ผลตอบแทนคืนกลับให้ลูกค้า ผ่านสินค้าใหม่ๆที่เริ่มทยอยลงสู่ตลาด"

และที่เอเอซีพีถือว่าเป็นผลงานชิ้นโบว์แดง พร้อมจะนำอวดใครต่อใครได้ก็คือ ส่วนแบ่งการตลาด ปีที่ผ่านมา เอไอเอยังเป็นค่ายพี่เบิ้มตลอดกาล เพียงแต่ระยะหลังมานี้ถูกเฉือนเค้กก้อนโตไปต่อหน้าต่อตา จากประกันชีวิตทุนนอกด้วยกันเอง จนอาณาจักรที่เคยยิ่งใหญ่ของ "เอไอเอ" ก็เริ่มสั่นคลอน

เอไอเอมีส่วนแบ่งตลาดลดลงมาเหลือ 34% ขยายตัวลดลง 5% พอๆกับไทยประกันที่ถูกชิงเนื้อเค้กไปบ้าง แต่ก็ยังยืนอยู่ตำแหน่งที่ 2 ที่มีส่วนแบ่งการตลาด14% ส่วนการเติบโตยังติดลบ 1% ต่างจาก เอเอซีพี ที่ดึงพื้นที่ของเจ้าอื่นมาได้ ทำให้ส่วนแบ่งการตลาดขยับมาที่ 12% ทิ้งห่างอันดับ 2 ไทยประกันชีวิตไม่มากนัก ในขณะที่ไทยประกันชีวิตขยายตัวติดลบ เอเอซีพีกลับเติบโต 2% ยืนเป็นที่ 3 ที่เบียดเสียดใกล้เคียงกับเบอร์สองจนน่าตกใจ

ส่วนรายอื่นๆ พบว่าประกันชีวิตทุนนอกส่วนใหญ่มีการเติบโตของส่วนแบ่งการตลาดกันถ้วนหน้า ไม่ว่า ไอเอ็นจีประกันชีวิต กรุงไทยแอกซ่าประกันชีวิต รวมถึงฝ่ายเจ้าบ้านอย่างกรุงเทพประกันชีวิตและเมืองไทยประกันชีวิตที่ขยายตัวรายละเล็กน้อย แต่ที่หล่นวูบลงเห็นได้ชัดก็คือ ไทยพาณิชย์นิวยอร์คไลฟ์ และไทยสมุทรประกันชีวิตวิลฟ์ยังยืนยันการขยายตัวของธุรกิจ เอเอซีพี เป็นรองแค่กรุงเทพประกันชีวิต ที่กระโดดมายืนแถวหน้าเท่านั้น

การยืนยันด้วยการพิสูจน์ว่าจะปักหลักลงทุนในตลาดเมืองไทยอย่างยาวนานของเอเอซีพียังดูได้จาก เร็วๆนี้กลุ่มอลิอันซ์ ได้เข้าซื้อหุ้น 10% ของศรีอยุธยาประกันภัย จากกลุ่มมิตซุย-สุมิโตโม วิลฟ์บอกว่า ปีนี้ช่องทางขายผ่ายสาขาแบงก์หรือ แบงแอสชัวรันส์ เติบโตสูงสุดจาก ศูนย์ก็ขยับมาเป็น 8% ในปีที่แล้ว ขณะที่ช่องทางตัวแทนกลับค่อยๆลดลง จาก 96% ในปี 2545 เลื่อนลงมาที่ 77% ในปี 2548

อย่างไรก็ตาม วิลฟ์ ยังยืนยันเสมอว่า กองทัพตัวแทนก็ยังเป็นช่องทางทำรายได้หลักเช่นเดิม ถึงแม้ช่องทางขายผ่านแบงก์จะขยายตัวแบบก้าวกระโดดก็ตาม ซึ่งภายในปีนี้ เอเอซีพีก็อาจจะมีตัวแทนเพิ่มเป็น 1.6 หมื่นราย

นอกจากนั้น เอเอซีพียังมีเป้าหมายที่ค่อนข้างทะเยอทะยาน โดยหวังว่าการเติบโตของเบี้ยรับปีแรกจะเลื่อนมาเป็นที่สองในปีนี้ และจะขยับมาเป็นที่ 1 ในช่วงต้นปีหน้าดูเหมือนว่า กองทัพประกันชีวิตจากฝั่งตะวันตกจะไม่มีรายใดเลยยอมให้ศัตรู คู่แข่ง แย่งชิงผลประโยชน์ไปต่อหน้าต่อตาได้ง่ายๆ

นับจากนี้ไป เราก็อาจจะได้เห็นสงครามไล่บดขยี้ระหว่างทุนตะวันตกหนักหน่วงขึ้น โดยมีอาณาบริเวณของตลาดเอเชียเป็นเดิมพัน....

อัตราการเติบโตของส่วนแบ่งการตลาดธุรกิจประกันชีวิตเทียบปี 2547 และ 2548

บริษัท/ส่วนแบ่งการตลาดปัจจุบัน(%)/อัตราการเติบโต (%)
- เอไอเอ ส่วนแบ่งการตลาดปัจจุบัน 34 อัตราการเติบโต -5
- ไทยประกันชีวิต ส่วนแบ่งการตลาดปัจจุบัน 14 อัตราการเติบโต -1
- อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต(เอเอซีพี) ส่วนแบ่งการตลาดปัจจุบัน 12อัตราการเติบโต 2
- ไทยพาณิชย์นิวยอร์คไลฟ์ประกัยชีวิต ส่วนแบ่งการตลาดปัจจุบัน 8 อัตราการเติบโต -5
- กรุงเทพประกันชีวิต ส่วนแบ่งการตลาดปัจจุบัน 8 อัตราการเติบโต 2
- เมืองไทยประกันชีวิต ส่วนแบ่งการตลาดปัจจุบัน 6 อัตราการเติบโต 1
- ไทยสมุทรประกันชีวิต ส่วนแบ่งการตลาดปัจจุบัน 4อัตราการเติบโต -5
- กรุงไทยแอกซ่าประกันชีวิต ส่วนแบ่งการตลาดปัจจุบัน 3 อัตราการเติบโต 1
- ไอเอ็นจีประกันชีวิต ส่วนแบ่งการตลาดปัจจุบัน 3 อัตราการเติบโต 1
- ฟินันซ่าประกันชีวิต ส่วนแบ่งการตลาดปัจจุบัน 2 อัตราการเติบโต 1   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us