Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์8 พฤษภาคม 2549
แนวคิดทำเงิน             
โดย วิสุทธิ์ ตันติตยาพงษ์
 


   
search resources

Knowledge and Theory




การตลาดเป็นเรื่องของ "สองคนยลตามช่อง" จริงๆ ใครเห็นดาวก่อนก็ทำเงินได้ก่อน ทำนองขายรองเท้าแตะให้กับชาวเกาะที่ไม่ใส่รองเท้า แนวคิดทำเงิน หรือจะเรียกว่าแนวคิดที่จะจุดประกายในการเริ่มต้นธุรกิจ และหรือปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่แล้วให้ทำเงินเพิ่มขึ้น

นี่ล่ะครับเป็นแนวคิดที่ผู้คนแทบจะทุกคนที่ทำธุรกิจมองหา บางคนก็มุ่งทำสิ่งที่ตัวเองถนัดให้ดีขึ้น บางคนก็มุ่งหาสิ่งท้าทายใหม่ๆ บางคนก็ทำทั้งสองอย่างไปพร้อมกัน นั่นก็สุดแล้วแต่ คงมีเพียงสิ่งเดียวที่คุณต้องไม่ทำ นั่นก็คือการหยุดนิ่งอยู่กับที่ ไม่พัฒนาตนและพัฒนาตลาดที่คุณๆใช้ทำมาหากิน ครับวันนี้ผมจะคุยกับคุณๆ ถึงแนวคิดที่จะทำเงินสักสองสามแนวคิดให้คุณได้คิดต่อ แต่ก่อนอื่นจะคุยถึงวิธีการสร้างความคิดที่จะทำเงินซะก่อน

หลักคิดแรกของแนวคิดทำเงินก็คือ ต้องเข้าใจแนวคิด "การตลาดเป็นเรื่องของความต้องการ และพยายามสร้างความพึงพอใจเพื่อตอบสนองความต้องการนั้นๆ" (Lateral Marketing : Phillip Kotler) ดังนั้นที่ไหนมีความต้องการ ที่นั่นมีเงินให้ทำ แต่ต้องใช้ความรู้ในการมองให้ชัดว่าเปลี่ยนแปลงเร็วเพียงใด และอื่นๆที่เกี่ยวเนื่องกับความต้องการ ซึ่งความรู้เหล่านี้ก็มาจากการสังเกตปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในตลาดอย่างต่อเนื่องและนำมาปรับใช้

ยกตัวอย่างเช่น ความต้องการทางด้านสุขภาพที่ดีมีมากขึ้น ถ้าเราผลิตน้ำผลไม้ เราก็อาจดัดแปลงหรือผลิตสินค้าน้ำผลไม้ของเราให้ตอบสนองความต้องการนั้นให้ถูกต้อง มีความเร็วและมีประสิทธิภาพ หรืออย่างใน "การตลาดนอกกรอบ" แค่คุณเปลี่ยนการออกแบบ (Re-Packaging) ผลต่อตลาดก็ยังสามารถขยายกลุ่มเป้าหมาย รวมไปถึงสนองความต้องการใช้ชีวิตของผู้บริโภครายใหม่ๆได้

หลักคิดที่สองคือ "ต้องสร้างความแตกต่างที่เห็นได้ชัด" ในทุกองค์ประกอบของส่วนผสมการตลาด ความแตกต่างที่ว่าไม่ได้หมายถึงความแปลกประหลาด แต่หมายถึงนวัตกรรมทั้งทางด้านความคิดและรูปธรรม ที่สอดคล้องกับแนวโน้มของหลักคิดแรก

ยกตัวอย่างเช่น ตอนระยะเริ่มแรกของเกมออนไลน์ ตลาดมีแต่เกมออนไลน์ที่เก็บเงินผู้เข้ามาเล่น แต่ต่อมามีเกมออนไลน์ประเภทเล่นฟรี แต่เสียตังค์ซื้อชุด (Items) ถ้าอยากเล่นเก่ง นี่เป็นนวัตกรรมทางความคิด เหมือนกับกระแสเล่าข่าว ที่ทำให้ความน่าเบื่อของข่าวดูน่าสนใจขึ้น และสอดคล้องกับตัวข่าวที่มีผู้ให้ความสนใจมากขึ้น เป็นต้น อย่างไรก็ตามการสร้างความแตกต่างนี้มีส่วนหนึ่งเป็นเรื่องของความฉลาด รสนิยม ความเชี่ยวชาญ ซึ่งไม่สามารถเจาะจงได้แน่ชัดว่าเป็นพรสวรรค์หรือพรแสวง แต่ผมชอบเรียกว่าเป็นวาสนาของแต่ละผู้คน ซึ่งให้เหตุผลไม่ได้ว่าเป็นเพราะอะไร แต่ผมว่าความรักและจรดคิดในสิ่งที่ทำ (Passion) เป็นเคมีสำคัญ

หลักคิดที่สามในการทำเงินก็คือ "ต้องสื่อสารให้มีเสน่ห์และน่าจดจำ" ไม่ว่าคุณจะคิดสินค้าหรือบริการได้แตกต่างและตอบสนองได้ดีเพียงใด แต่ถ้าคุณไม่สามารถสร้างความเข้าใจให้เกิดขึ้นได้ในกลุ่มเป้าหมายก็เปล่าประโยชน์ ครับนั่นคือหลักคิดพื้นฐานในการทำเงินทางการตลาด ต่อไปผมขอยกตัวอย่างแนวคิดทำเงิน 3 กรณี เพื่อจุดประกายให้คุณๆลองคิดต่อ พูดง่ายๆว่าฝึกความคิดทำเงินจากตัวอย่างซึ่งผมรวบรวมมาจากหนังสือหลายๆเล่ม รวมไปถึงคิดจากแนวโน้มสังคมไทยในปัจจุบันดังนี้ครับ

กรณีที่ 1 7-11 ในญี่ปุ่น (การตลาดนอกกรอบ หน้า 75) "เดี๋ยวนี้ทั่วโลกมีร้านเซเว่นอีเลฟเว่นเต็มไปหมด ภายในร้านเซเว่นอีเลฟเว่นจะจำหน่ายทั้งสินค้าในกลุ่มอาหาร สินค้าทั่วๆไป ตลอดจนเครื่องดื่มต่างๆ โดยจะเปิดบริการตลอด 24 ชั่วโมงไม่มีวันหยุด เฉพาะในญี่ปุ่นประเทศเดียว มีเครือข่ายร้านเซเว่นอีเลฟเว่นมากมายถึง 7,000 สาขา ช่วงปลายทศวรรษ 1990 ร้านเซเว่นอีเลฟเว่นในญี่ปุ่นมองเห็นถึงการเจริญเติบโตของธุรกิจอี-คอมเมิร์ช และเล็งเห็นว่าธุรกิจดังกล่าวอาจกลายมาเป็นคู่แข่งกับธุรกิจของตัวเองได้ในอนาคต

แต่ในที่สุดฝ่ายบริหารของเซเว่นอีเลฟเว่นก็มีความคิดสุดแสนวิเศษ แทนที่จะต่อกรกับอี-คอมเมิร์ช พวกเขากลับร่วมไม้ร่วมมือกับธุรกิจอี-คอมเมิร์ชเสียเลย พวกเขาทำสาขาของเซเว่นอีเลฟเว่น ให้เป็นจุดรับส่งสินค้าและจุดชำระเงินค่าสินค้าที่สั่งซื้อทางอินเตอร์เน็ต ไม่ว่าเราจะสั่งสินค้าออนไลน์ที่ไหน เราก็สามารถไปรับสินค้าและชำระเงินได้ที่ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น วิธีการดังกล่าวทำให้เซเว่นอีเลฟเว่นได้ประโยชน์มากมาย จากสาขาของตนที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วญี่ปุ่น ที่สำคัญลูกค้าเหล่านี้สามารถสั่งซื้อสินค้าผ่านทางอินเตอร์เน็ตในราคาที่ย่อมเยากว่า แถมยังไม่ต้องเสียค่าจัดส่งสินค้า นอกจากนี้ลูกค้ายังสามารถไปรับสินค้าที่ร้านเซเว่นอีเลฟเว่นได้ทั้งกลางวันและกลางคืนอีกด้วย"

กรณีที่ 2 World Cup Cyber Caf? อันนี้เห็นข่าวจากโทรทัศน์ครับว่าที่ญี่ปุ่นเปิดเพื่อต้อนรับเทศกาล เมืองไทยเองน่าจะทำได้เหมือนกัน แต่ต้องไม่ใช่จอใหญ่หรือจัดเป็นกิจกรรมนะครับ (แบบนั้นต้องขอลิขสิทธิ์จากทศภาค) ถ้าเป็นแบบจอเล็กจอคอมพ์ผมว่าน่าจะทำได้ เรียกว่าทำเงิน 4 ปีครั้ง ใครก็ฮิตกระแสบอลโลกมากขึ้นเรื่อยๆครับ กรณีสุดท้ายคือ อาหารประเภทโซเดียมต่ำไขมันต่ำ โดยเฉพาะสแน็คและเครื่องปรุงรส รวมไปถึงอาหารเสริมเพื่อความแข็งแรงของร่างกาย ซึ่งก็ต้องหมุนตามกระแสให้ทัน และมีหลักฐานที่ทำให้ผู้บริโภคเชื่อได้ในสรรพคุณ ซึ่งผมยังไม่เห็นร้าน (Shop) ที่ขายพวกนี้โดยตรงเท่าใดนัก ที่เห็นคือพ่วงไปกับร้านยา น่าคิดทำนะครับ

แนวคิดการทำเงินและกรณีศึกษาที่ผมยกมาประกอบนั้น เชื่อว่าทุกท่านคงได้ประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย แต่สิ่งที่ผมหวังก็คือว่า จะกระตุ้นให้ทุกท่านลุกขึ้นมาทำสิ่งใหม่ๆให้วงการในที่สุดครับ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us