|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
*ธุรกิจรับสร้างบ้านหนีไม่พ้นวิกฤตทางการเมือง น้ำมันแพง ดอกเบี้ยสูง ยอดขายไตรมาสแรกวูบ 30%
*ชี้ทางรอดผู้ประกอบการเสริมจุดแข็ง ปิดจุดอ่อนสู้วิกฤตครั้งใหญ่ ก่อนธุรกิจล่มสลาย
*ดิ เอ็ม เพอเร่อร์ เฮ้าส์ผู้ทำตลาดบ้านระดับไฮเอนด์ จำทิ้งบทบาทภาพหรูหรา เสนอราคาสู้ผู้รับเหมา หวังงานมูลค่าแค่ 16 ล้านบาท
ต้องยอมรับว่าธุรกิจรับสร้างเป็นธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยลบเช่นเดียวกับกับธุรกิจบ้านจัดสรร เพราะเป็นธุรกิจที่ใกล้เคียงกันมาก คือโฟกัสไปที่กลุ่มผู้ที่ต้องการมีที่อยู่อาศัย หรือบ้านเป็นของตัวเอง ขึ้นอยู่กับว่า ใครจะเลือกซื้อบ้านในโครงการบ้านจัดสรร และใครจะเลือกปลูกบ้านเอง เพื่อให้ได้ตรงตามสเปค และตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ต้องการ
ในช่วงปีก่อน เคยมีการประเมินกันว่าตลาดรับสร้างบ้านปีนี้ จะมีการขยายตัวอย่างน้อย 10-15% จากมูลค่าตลาดรวมในปีก่อนราว 7,100 ล้านบาท หรือคิดเป็นราว 8,400 ล้านบาท และในระยะอันใกล้ ตัวเลขน่าจะขยับไปได้ถึงหลัก 10,000 ล้านบาท ไม่ยากนัก ในราวปี 2550
แต่ดูเหมือนว่า จากสถานการณ์ในปัจจุบัน ไม่น่าจะทำให้ตลาดขยายตัวไปตามประมาณการได้ แต่คิดว่าน่าจะมีการขยายตัวบ้าง ซึ่งคงต้องติดตามสถานการณ์ในช่วงครึ่งปีหลังอย่างใกล้ชิด ซึ่งอาจจะมีปัจจัยบวกเข้ามาทำให้ธุรกิจขยายตัวได้ โดยในช่วงไตรมาสแรก สภาพตลาดกลับหายไปราว 20-30% ซึ่งนับเป็นตัวเลขที่น่าเป็นห่วง หากไม่มีการแก้ไขโดยเร็วและทันท่วงที
เอ็มเพอเร่อร์ฯต้องหาจุดแข็ง
สุรัตน์ชัย กึงฮะกิจ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดิ เอ็มเพอเร่อร์ เฮ้าส์ จำกัด เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ต่าง ๆที่รุมเร้า ทั้งภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ,น้ำมันราคาสูง ,ค่าครองชีพสูงขึ้น และปัญหาความยุ่งเหยิงทางการเมือง ส่งผลกระทบต่อธุรกิจรับสร้างบ้านโดยตรง ทำให้ผู้บริโภคชะลอการตัดสินใจสร้างบ้าน เพื่อรอดูสถานการณ์ต่างๆว่าจะไปในทิศทางใด
“ทุกวันนี้ปัญหาทุกอย่างยังไม่ได้คลี่คลายลง และยังไม่ถึงจุดต่ำสุด หลายคนจึงกังวลและไม่กล้าตัดสินใจสร้างบ้าน ยกเว้นปัญหาทางการเมืองที่ถึงจุดต่ำสุดแล้ว และปัญหากำลังจะคลี่คลายลงในทางที่ดี ซึ่งนับว่าโชคดี และน่าจะทำให้ตลาดรับสร้างได้รับอานิสงจากเรื่องนี้บ้าง เพราะผู้ที่จะสร้างบ้าน ส่วนใหญ่มีเงินออมไว้เพื่อสร้างบ้านแล้วบางส่วน แต่ยังไม่กล้าสร้าง เพราะกลัวความไม่แน่นอนทางการเมือง ที่จะส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจ และรายได้ในอนาคต”
สุรัตน์ชัย บอกอีกว่า ธุรกิจรับสร้างบ้านยังโชคดีที่ไม่มีต้นทุนมากเหมือนธุรกิจบ้านจัดสรรที่ต้องแบกรับภาระต้นทุนที่ดินที่ต้องซื้อไว้รอการพัฒนา (แลนด์แบงก์) จึงไม่ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจ โดยแนวทางรอดของผู้ประกอบการควรจะปรับตัวตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป และสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า รวมถึงต้องหาจุดแข็งของตัวเองให้ได้ เพื่อนำจุดแข็งมาเป็นจุดขาย และสู้กับคู่แข่ง
ในส่วนของบริษัท ดิ เอ็มเพอเร่อร์ เฮ้าส์ มีจุดแข็งในแง่ที่รับสร้างบ้านระดับบน ซึ่งลูกค้ากลุ่มนี้ได้รับผลกระทบจากปัจจัยลับไม่มากนัก และแม้ว่าจะได้รับผลกระทบน้อยกว่าบริษัทอื่น แต่ก็ต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ โดยมีเป้าหมายรักษายอดขาย และรายได้ไว้ให้ได้เท่าปีก่อน หรือเติบโตบ้าง หากมีโอกาส ซึ่งที่ผ่านมาได้เน้นกลุ่มลูกค้าระกับกลาง ราคาเฉลี่ยที่ 25-35 ล้านบาท จากเดิมที่ในอดีตสร้างบ้านหลังละ 50-100 ล้านบาทขึ้นไป รวมทั้งมีการเสนอราคาแข่งกับผู้รับเหมาก่อสร้างด้วย และล่าสุด เพิ่งได้งานก่อสร้างบ้านบริเวณเจริญนคร มูลค่า 16 ล้านบาท บนพื้นที่ 1 ไร่เศษ คาดว่าปีนี้จะมีงานประมาณ 200 ล้านบาท หรือ คิดเป็น 4-5 หลัง ซึ่งเป็นจำนวนที่บริษัทอยู่ได้
ขายแบบสร้างรายได้
นอกจากนี้ บริษัทยังมีจุดแข็งในแง่ที่มีทีมงานที่แข็งแกร่ง ทั้งสถาปนิก ,วิศวกร และอินทีเรีย ซึ่งบริษัทจะใช้จุดแข็งของทีมงานมาสร้างรายได้เข้าองค์กร โดยที่ผ่านมา บริษัทจะรับงานก่อสร้างเป็นหลัก ซึ่งทำงานทุกขั้นตอน ตั้งแต่ออกแบบ ซื้อวัสดุ และก่อสร้าง แต่ในระยะหลังขยายการรับงานเป็นรับออกแบบด้วย ซึ่งปัจจุบันมีชาวต่างชาติติดต่อขอซื้อแบบบ้านหลังใหญ่ที่สุดของบริษัทแล้ว เป็นชาวแอฟริกาและบังคลาเทศ ขณะเดียวกันอยู่ระหว่างเจรจากับบริษัทออกแบบสัญชาติอังกฤษที่มีสำนักงานอยู่ที่ภูเก็ต เพื่อเสนอขายแบบ หรือรับออกแบบให้ รวมทั้งอาจจะเสนอขายเฟอร์นิเจอร์ด้วย
ขณะเดียวกัน บริษัทยังอยู่ระหว่างการขยายไลน์ธุรกิจด้วย โดยได้เพิ่มบทบาทในบริษัท ลีโอแองเจลโล ซึ่งเป็นบริษัทในเครือที่นำเข้าเฟอร์นิเจอร์หรูหรา ราคาแพง จากประเทศอิตาลี ให้เป็นผู้นำเข้าเฟอร์นิเจอร์สไตล์ตะวันออก หรือจีนมาทำตลาดเพิ่มขึ้น รวมทั้งจะเน้นการออกแบบเฟอร์นิเจอร์สไตล์ยูเรเซียน (EURASIAN) เป็นเฟอร์นิเจอร์สไตล์ยุโรปผสมเอเชีย เนื่องจากชาวต่างชาติโดยเฉพาะจากยุโรปให้ความสนใจเฟอร์นิเจอร์ที่ผสมผสานระหว่างตะวันตกกับตะวันออกมากขึ้น
สุรัตน์ชัย กล่าวอีกว่า เดือนมี.ค.ที่ผ่านมา บริษัทไปสำรวจตลาดเฟอร์นิเจอร์ในจีน และได้เจรจากับผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ในเซี่ยงไฮ้ ซึ่งถือเป็นช่างฝีมือในธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ เพื่อผลิตเฟอร์นิเจอร์ให้กับบริษัทตามสเปค หรือแบบที่จัดให้ และนำมาทำตลาดในไทย เป็นเฟอร์นิเจอร์สไตล์จีนผสมสานตะวันตก ในอนาคตมีแผนที่จะตั้งเป็นบริษัทใหม่เพื่อรับงานโดยตรง
ไวส์ฯชูสตรองวอลล์
ภพศักดิ์ ปานสีทอง กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไวส์ คอนซัลแทนท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า จากภาวะการณ์แข่งขันที่รุนแรง ทำให้บริษัทต้องเร่งกระตุ้นกำลังซื้อ ด้วยการเพิ่มงบการตลาดอีก 3-5 ล้านบาท จาก 10-12 ล้านบาท เพื่อสร้างการรับรู้และยอมรับในแบรนด์มากขึ้น รวมถึงได้พัฒนาระบบการก่อสร้างระบบผนังสตรองวอลล์ เพื่อเสริมความแข็งแรงทนทานและลดการแตกร้าวจากแรงสั่นสะเทือนในแนวราบ ถือเป็นนวัตกรรมที่เป็นสิทธิบัตรของบริษัทเพียงผู้เดียว
ขณะเดียวกัน บริษัทยังมีแผนขยายฐานลูกค้าเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเพิ่มอีก 2 แห่ง ในช่วงราวไตรมาส 3 ปีนี้ ที่บริเวณบางนา และพัทยา จ.ชลบุรี โดยใช้งบลงทุนสาขาละประมาณ 7 ล้านบาท ทั้งนี้ คาดว่าจากการเพิ่มนวัตกรรมใหม่ในการก่อสร้าง และขยายสาขาใหม่ จะทำให้มียอดขายเพิ่มขึ้น 10-15% จากปีก่อนที่ทำได้ 260 ล้านบาท
|
|
 |
|
|