Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์8 พฤษภาคม 2549
ซัมซุงนับถอยหลังสร้างแบรนด์ไอเดนติตี้จิ๊กซอว์ตัวสุดท้าย‘นวัตกรรมปฏิวัติวงการ’             
 


   
www resources

โฮมเพจ ซัมซุงอิเล็กทรอนิกส์

   
search resources

ซัมซุง อิเล็กทรอนิกส์, บจก.




เมื่อ 37 ปีที่แล้ว พนักงาน 36 คนช่วยกันประกอบพัดลมในโรงงานเล็กๆ ในเมืองซูวอน ทางใต้ของแดนโสมขาว แต่วันนี้โรงงานดังกล่าวขยับขยายใหญ่โตกลายเป็นผู้ผลิตสินค้าคอนซูเมอร์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใหญ่ที่สุดและทำกำไรมากที่สุดของโลก ชื่อว่า ซัมซุงอิเล็กทรอนิกส์ ว่าจ้างพนักงาน 123,000 คน ผลิตสินค้าหลากหลายตั้งแต่โทรศัพท์มือถือไปจนถึงทีวีจอแบน เครื่องซักผ้า และเครื่องดูดฝุ่น

กระนั้น คิมเบียงชอล รองกรรมการผู้จัดการที่รับผิดชอบการค้นคว้าวิจัยและพัฒนาระยะยาว ยังอดเป็นห่วงอนาคตซัมซุงไม่ได้ ค่าที่รู้แก่ใจว่าบริษัทขาดแคลนคุณสมบัติที่สำคัญ นั่นคือ พลังความคิดสร้างสรรค์และการสร้างนวัตกรรมแปลกใหม่โดนใจลูกค้า

ซัมซุงชนะใจผู้บริโภคด้วยผลิตภัณฑ์มัลติฟังก์ชันและดีไซน์เฉียบคม เช่น กล้องถ่ายวิดีโอที่สามารถดาวน์โหลดเพลงได้ และตู้เย็นที่ใช้ท่องเน็ตในตัว บริษัทแดนกิมจิแห่งนี้ยังกวาดรางวัลการออกแบบโทรศัพท์มือถือมานับไม่ถ้วน ปีที่แล้ว ซัมซุงทำยอดขาย 59,200 ล้านดอลลาร์ และฟันกำไร 7,900 ล้านดอลลาร์ หรือ 13 เท่าของตัวเลขคาดการณ์ผลกำไรในปีเดียวกันของโซนี่ คู่แข่งตัวกลั่น

นักวิเคราะห์และผู้บริหารซัมซุงเห็นตรงกันว่า บริษัทเก่งกาจในการนำประดิษฐกรรมของคนอื่นมาปรับแต่ง อันเป็นกลยุทธ์ที่ช่วยให้ซัมซุงไต่เพดานบินจนขึ้นมายืนในจุดนี้ แต่การก้าวขึ้นเป็นผู้นำตลาดในปัจจุบัน ทำให้ซัมซุงต้องปรับบทบาทขนานใหญ่ด้วยการสร้างนวัตกรรมของตัวเอง โดยเฉพาะหากบริษัทต้องการนำหน้าคู่แข่งจากจีนที่ผงาดขึ้นมาอย่างรวดเร็ว

หมายความว่า ซัมซุงต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ไม่เพียงได้รับความนิยมจากลูกค้าเท่านั้น แต่จะต้องเป็นนวัตกรรมระดับปฏิวัติวงการอย่างเช่น ไอพ็อดของแอปเปิล คอมพิวเตอร์ หรือโซนี่ วอล์กแมน ไม่เช่นนั้น ซัมซุงอาจพบชะตากรรมเดียวกับบริษัทอิเล็กทรอนิกส์หลายแห่งของญี่ปุ่นที่วันนี้กลายเป็นเพียงอดีตผู้ยิ่งใหญ่ในวงการ

ด้วยเหตุนี้ คิมจึงเร่งผลักดันซัมซุงให้ไปถึงฝั่งฝันในการเป็นผู้นำตลาดโลกตัวจริง โดยบริษัทมีแผนลงทุน 40,000 ล้านดอลลาร์สำหรับการค้นคว้าวิจัยและพัฒนา (อาร์แอนด์ดี) ในช่วง 5 ปีข้างหน้า หรือเพิ่มขึ้นสองเท่าจากงบที่ใช้ไปในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ตลอดจนถึงเพิ่มจำนวนนักวิจัยจาก 13,900 คนเมื่อหกปีที่แล้ว เป็น 32,000 คน

ไม่มีที่ใดที่ความพยายามปรับบทบาทตัวเองของซัมซุงจะโดดเด่นมากไปกว่าที่ซูวอนอีกแล้ว ที่นั่นบริษัทสร้างดิจิตอล รีเสิร์ช เซนเตอร์ ซึ่งถือเป็นศูนย์อาร์แอนด์ดีใหญ่ที่สุดในเอเชีย บนพื้นที่ที่เคยเป็นโรงงานผลิตพัดลมเมื่อปี 1969 โดยมีวิศวกรร่วมกันทำงานถึง 15,000 คน

ดิจิตอล รีเสิร์ช เซนเตอร์แล้วเสร็จสมบูรณ์ในเดือนกันยายนปีที่แล้ว มีเนื้อที่เท่ากับสนามฟุตบอล 30 สนามรวมกัน และมีซาวนด์แล็บกว้างขวางเพียงพอสำหรับนักวิจัย 9,000 คน แม้ว่าขณะนี้บริษัทว่าจ้างนักวิจัยเพียง 5,200 คนเท่านั้น ในจำนวนนี้ 150 คนเป็นบุคลากรต่างชาติจากจีน อินเดีย และสหรัฐฯ

คิมบอกว่า ศูนย์วิจัยแห่งใหม่สะท้อนการเปลี่ยนแปลงจุดยืนของซัมซุงจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่การวิจัยขั้นพื้นฐานเพื่อค้นหาว่าที่นวัตกรรมยอดนิยม

นักวิเคราะห์มั่นใจว่า ซัมซุงจะประสบความสำเร็จในเป้าหมายที่ตั้งไว้ ด้วยมูลค่าตลาดเกินกว่า 100,000 ล้านดอลลาร์ ถือว่าซัมซุงโชว์ผลงานได้ดี เพราะแทบไม่มีบริษัทยักษ์ใหญ่แห่งไหนที่ยังคงเคลื่อนไหวคล่องแคล่วได้แบบนี้ ซัมซุงยังเป็นเลิศในการเสาะหาเทคโนโลยีใหม่และโอกาสทางธุรกิจได้ก่อนใคร จึงสามารถควบคุมตลาดด้วยกำลังผลิตมากมายมหาศาลได้อย่างสบาย

ดังกรณีของ rear-projection TV หรือจอทีวีชนิด projection แบบฉายด้านหลัง ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในสหรัฐฯ และเคยผูกขาดตลาดโดยโซนี่ แต่แล้วซัมซุงก็เห็นโอกาสในการบุกตลาดอเมริกา เมื่อเทกซัส อินสตรูเมนท์มาทาบทามบริษัทไปร่วมงานแสดงสินค้าในโตเกียวในปี 2001

ไม่เพียงชวนไปร่วมงาน แต่เทกซัส อินสตรูเมนท์ยังให้ข้อมูลซัมซุงเกี่ยวกับชิปคอมพิวเตอร์ที่บริษัทพัฒนาขึ้นมาโดยใช้แผ่นกระจกสะท้อนแสงขนาดจิ๋วจำนวนมากในการฉายภาพให้ไปปรากฏบนหน้าจอ ชิปที่ว่านี้ถูกบริษัทญี่ปุ่นซื้อเพื่อนำไปพัฒนาทีวีแล้วหลายเจ้า ไม่ว่าจะเป็นฮิตาชิ, มัตซูชิตะ หรือมิตซูบิชิ อิเล็กทรอนิก

ซัมซุงกระโจนเข้าใส่เทคโนโลยีใหม่ทันที และผลิตทีวีต้นแบบรุ่นแรกออกมาภายในเวลา 12 เดือนในเดือนมกราคม 2002 ไม่กี่เดือนหลังจากนั้น บริษัทเปิดตัวทีวี 3 รุ่นที่ใช้เทคโนโลยีนี้ซึ่งเรียกว่า digital light processing หรือ DLP โดยตั้งราคาไว้ที่ 3,500-5,000 ดอลลาร์ ถูกกว่าทีวีญี่ปุ่นกว่าครึ่ง เมื่อถึงเดือนธันวาคม 2003 ซัมซุงผลิตทีวีดีแอลพีออกมา 1 ล้านเครื่อง และกลายเป็นผู้นำตลาดโดยปริยาย

“เทคโนโลยีใหม่ดังกล่าวเป็นโอกาสที่เราต้องการ เมื่อได้มาเราจึงลุยผลิตเร็วกว่าคู่แข่ง ไม่ใช่แค่ไล่ตามเท่านั้น แต่เรายังแซงหน้าพวกเขาด้วย” เดวิด สตีล รองกรรมการผู้จัดการแผนกดิจิตอลมีเดียของซัมซุงในซูวอน เล่า

สตีลบอกว่า หนึ่งในความลับของความว่องไวของซัมซุงคือ ข้อเท็จจริงที่ว่า บริษัทผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เกือบทุกอย่างเอง ตั้งแต่ชิปคอมพิวเตอร์ไปจนถึงจอพลาสมา บ่อยครั้งที่การผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่ต้องการเพียงแค่การประกอบชิ้นส่วนทั้งหมดเข้าด้วยกันในสูตรใหม่ ทำให้ซัมซุงเคลื่อนไหวสู่ทิศทางใหม่ๆ สร้างผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์และสินค้าอุปโภคบริโภคมากมายให้แก่ลูกค้า

“เราคิดว่าเทรนด์ใหญ่ๆ อย่างเช่นการรวมศูนย์ และการเคลื่อนสู่เทคโนโลยีไร้สายและระบบเครือข่าย จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้เรา” สตีล ผู้บริหารจากเกาะอังกฤษที่มีดีกรีด็อกเตอร์สาขาฟิสิกส์พ่วงท้าย และเป็นกรณีตัวอย่างของความพยายามเมื่อเร็วๆ นี้ของซัมซุงในการดึงดูดบุคลากรคุณภาพจากต่างชาติ โดยสตีลเริ่มงานกับซัมซุงในปี 1999 และเป็นชาวต่างชาติคนแรกที่ขึ้นถึงตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง

คู่แข่งมองซัมซุงว่าเป็นผู้เล่นที่เก่งกาจ แต่ไม่ใช่นักบุกเบิก กระนั้น ศัตรูบางรายเชื่อว่า ภาพลักษณ์ดังกล่าวจะเปลี่ยนไปในไม่ช้า

“ทีวีของเราคุณภาพดีกว่า แต่ฐานะเงินสดหมุนเวียนของซัมซุงน่าอัศจรรย์เหลือเกิน ยากที่ใครจะลงทุนและพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้ในจังหวะความเร็วเท่ากับซัมซุง” โนบูยูกิ โอเนดะ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินของโซนี่ยอมรับ

นักวิเคราะห์สำทับว่า ซัมซุงยังมีจุดแข็งที่ดีไซน์ บริษัทเปิดศูนย์ออกแบบในแอลเอ ซานฟรานซิสโก โตเกียว เซี่ยงไฮ้ และมิลาน ขณะเดียวกัน ที่สำนักงานใหญ่ในโซล นักออกแบบได้รับโจทย์ให้ไปหาแรงบันดาลใจนอกออฟฟิศ และกลับมาระดมความคิดกันทุกบ่ายวันพุธ

นอกจากนั้น แม้ยอมรับว่าขาดผลิตภัณฑ์ฮิตที่คิดค้นขึ้นด้วยตัวเอง แต่ในความเป็นจริง ความพยายามในการแปลงร่างเป็นผู้นำด้านการค้นคว้าวิจัยของซัมซุงก็เริ่มเห็นผลบ้างแล้ว โดยปีที่ผ่านมา บริษัทจดทะเบียนสิทธิบัตรในสหรัฐฯทั้งสิ้นถึง 1,641 เคส ถือเป็นอันดับ 5 รองจากมัตซูชิตะของญี่ปุ่น แต่นำหน้าเจ้าถิ่นอินเทล

เป้าหมายข้างหน้าที่บรรดาผู้บริหารซัมซุงมุ่งมั่นมากที่สุดจึงมีเพียงการเปิดตัวสุดยอดนวัตกรรมที่สร้างความสะท้านสะเทือนทั่วตลาดโลก ซึ่งไม่ควรเกิดขึ้นชนิดเนิ่นนานเกินรอ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us