Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน4 พฤษภาคม 2549
กทช.หวั่นข้อพิพาทโทรคมนาคมยืดเยื้อ ระดมแนวคิดหาทางออกหลังตั้งกฎเหล็ก             
 


   
www resources

โฮมเพจ สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

   
search resources

สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
Telecommunications




กทช. วิตกข้อพิพาทโทรคมนาคม หลังสร้างหลักเกณฑ์บังคับใช้ ตั้งวงถกผู้ประกอบการ หาทางเยียวยาตีกันการยืดเยื้อ ทั้งรายใหม่ รายเก่า ผู้บริโภค ทุกฝ่ายเสนอตั้งหน่วยงานกลางตัดสินข้อพิพาท เริ่มต้นศึกษาสร้างความน่าเชื่อถือให้เกิดขึ้นก่อน ส่วนเหตุพิพาทกับหน่วยรัฐเสนอเป็นขั้นต่อไป

เมื่อวานนี้ (3 พฤษภาคม) คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการหาแนวทางระงับข้อพิพาทระหว่างผู้ประกอบการกิจการโทรคมนาคม โดยมีตัวแทนด้านกฎหมายจากกลุ่มผู้ให้บริการโทรคมนาคม ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย ตัวแทนจากหน่วยงานด้านกระบวนการยุติธรรม เพื่อนำไปสู่การจัดทำมาตรฐานในการให้บริการโทรคมนาคมและการหาทางออกในการเกิดกรณีพิพาท ทั้งในกลุ่มผู้ประกอบการกับหน่วยงานรัฐ หรือกลุ่มผู้ประกอบการกับกลุ่มผู้ใช้บริการ ให้สอดคล้องกับพ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ กทช. จะจัดทำหลักเกณฑ์ เพื่อประกาศใช้ให้เป็นแนวทางนำไปสู่กระบวนการแข่งขันเสรีและเป็นธรรมให้กับทุกๆฝ่าย

พล.อ.ชูชาติ พรหมพระสิทธิ์ ประธานกทช. กล่าวว่า ข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในกลุ่มผู้ประกอบการและกลุ่มผู้บริโภค รวมถึงกรณีที่มีผู้ประกอบการรายใหม่เข้ามาแข่งขัน โดยในอนาคต เรื่องดังกล่าวจะต้องเกิดขึ้นและอาจมีแนวโน้มที่สูงขึ้น จากกฎเกณฑ์ที่ กทช. นำออกมาบังคับใช้ ดังนั้นเพื่อให้เกิดการแข่งขันเสรีและเป็นธรรมกับทุกฝ่าย กทช. จึงได้จัดประชุมกับทุกฝ่าย เพื่อสร้างแนวทางให้เป็นมาตรฐาน มีความเป็นกลาง จึงได้เชิญผู้ประกอบการต่างๆ นักวิชาการด้านกฎหมาย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมระดมความเห็น เพื่อวางกรอบในการร่างข้อกำหนดเพื่อใช้ในการระงับข้อพิพาท ซึ่งในครั้งนี้เป็นการจัดประชุมครั้งแรก และคาดว่าจะต้องมีการจัดประชุมในลักษณะดังกล่าวอีก 1-2 ครั้งก่อนที่ กทช. สรุปจัดทำหลักเกณฑ์ออกมาใช้

ทางกทช. คำนึงถึงเรื่องข้อพิพาทระหว่างผู้ประกอบการที่จะเกิดขึ้น จากแนวโน้มของผู้ประกอบการในกิจการโทรคมที่จะเข้ามาดำเนินธุรกิจนี้อีกจำนวนมาก จึงต้องมีแนวทางการระงับข้อพิพาทที่จะเกิดขึ้น จึงได้เชิญผู้ประกอบการต่างๆ และนักวิชาการมาร่วมระดมความเห็น เพื่อวางกรอบในการร่างข้อกำหนดเพื่อใช้ในการระงับข้อพิพาท

นายสุธรรม อยู่ในธรรม หนึ่งใน กทช. กล่าวว่า การหารือนี้ครอบคลุม 25 หัวข้อ เช่นวัตถุประสงค์ของการระงับข้อพิพาท นิยาม ขอบเขตข้อพิพาท องค์กรที่จะดำเนินการระงับข้อพิพาท คุณสมบัติผู้ตัดสินชี้ขาด, บทบาทของสำนักงานกทช., อำนาจหน้าที่ขององค์กรที่ทำหน้าที่ระงับข้อพิพาท, กระบวนการระงับข้อพิพาท, คำวินิจฉัยชี้ขาด , ระยะเวลาในการระงับข้อพิพาท, บรรทัดฐานคำชี้ขาด พยานหลักฐาน, การขอเข้าร่วมกระบวนการระงับข้อพิพาทโดยบุคคลที่สาม เป็นต้น

"วันนี้เหมือนเป็นการลองซ้อม มาดูว่าทุกฝ่ายนั้นมีความคิดเห็นอย่างไร จากประเด็นแง่กฎหมาย ประเด็นกรณีตัวอย่าง ซึ่งในวันข้างหน้านั้นข้อพิพาทต่างๆนั้นจะมีข้อร้องเรียนเยอะมาก ทั้งในฟากผู้ประกอบการระหว่างผู้ ประกอบการด้วยกันเอง ประชาชนกับผู้ประกอบการ หรือแม้กระทั่งข้อพิพาทกับหน่วยงานรัฐ หรือข้อสัญญา ที่เอกชนไปทำร่วมกันไว้"

สำหรับกรณีที่มีปัญหาในส่วนระหว่างหน่วยงานรัฐ ในบางเรื่อง อำนาจหน้าที่ ของกทช. ไม่สามารถเข้าไปมีสิทธิส่วนร่วมได้ หรือกรณีในด้านการฟ้องร้องในทางกระบวนการยุติธรรม ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้น กทช. จะหาแนวทางให้เกิดเป็นมาตรฐานหรือการหากรอบการเจรจา เพื่อให้ปัญหาหรือข้อพิพาทที่อาจจะส่งผลด้านระยะเวลาที่ไม่มีข้อสรุปหรือมีความชัดเจน ให้มีทางออกที่ดีที่สุดกับทั้งสองฝ่าย

อย่างไรก็ตาม ปัญหาระหว่างหน่วยงานรัฐกับเอกชน บางกรณีมีผลทางกระบวนการยุติธรรมที่ยืดเยื้อ จนไม่สามารถหาทางออกได้ อย่างกรณี ผลการตัดสินอนุญาโตตุลาการ ที่ตัดสินให้ ทีโอที ต้องจ่ายทรู แต่ ทีโอที ไม่ยอม ยื่นฟ้องศาลปกครอง ซึ่งเรื่องนี้ จะเป็นกรณีหนึ่ง ที่ กทช. จะมาพิจารณาเพื่อแนวทาง หากเกิดขึ้นในครั้งต่อไป จะต้องทำอย่างไร ที่จะทำให้เรื่องนี้ เป็นที่พอใจกับทั้งสองฝ่าย ไม่ยืดเยื้อไปมา

นายอธึก อัศวานันท์ รองประธานบริหารและหัวหน้าคณะผู้บริหารด้านกฎหมาย บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า แนวทางการระงับข้อพิพาทระหว่างผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม ทาง กทช. ควรจะเป็นองค์กรในการดำเนินการจัดตั้งหน่วยงาน หรือกำกับดูแลหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นมาเป็นตัวกลางในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่จะเกิดขึ้น โดยเริ่มต้นจากการพิจารณาข้อพิพาทระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบการ สร้างความน่าเชื่อถือให้เกิดขึ้นก่อน ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาหลายปี ก่อนที่จะไปพิจารณาข้อพิพาทอื่น ในระดับใหญ่ขึ้นเช่นเอกชนกับเอกชน แต่ที่ผ่านมาเอกชนจะตกลงกันได้เป็นส่วนใหญ่ ขณะที่หากไปถึงระดับข้อพิพาทระหว่างรัฐวิสาหกิจกับเอกชน ก็คงจบได้ยาก ซึ่งต้องหาแนวทางร่วมกันต่อไป

สำหรับองค์กรที่จะจัดตั้งขึ้น ควรมี กทช. ควบคุมดูแลอีกชั้นหนึ่ง โดยผู้ที่จะเข้ามาทำหน้าที่พิจารณาตัดสินข้อพิพาทก็ควรมีตัวแทนจากผู้ประกอบการ สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค ตลอดจน กทช. เองด้วย โดยมีรูปแบบการเสนอคณะกรรมการลักษณะเดียวกับคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (กลต.) หรือคณะกรรมการอนุญาโตฯ ที่ถูกเสนอชื่อขึ้นมาเพื่อปฏิบัติหน้าที่

ทั้งนี้ การระงับข้อพิพาทจะเกิดขึ้นได้เมื่อคู่กรณีมีความต้องการหรือเจตนาที่จะยุติข้อพิพาท ซึ่งจะนำมาถึงกระบวนการในการระงับข้อพิพาท แต่หากคู่กรณีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่ต้องการที่จะยุติข้อพิพาทที่เกิดขึ้น กระบวนการดังกล่าวก็ไม่เกิดขึ้น ซึ่งบางครั้งพบว่าคู่กรณีฝ่ายหนึ่งจะแพ้หรือยอมความไม่ได้ อันเนื่องมาจากอาจจะเกิดผลเสียหายต่อองค์กรทำให้ประสบภาวะขาดทุนได้ จึงต้องมีการยื้อเรื่องดังกล่าว หรือบางกรณีคู่กรณีฝ่ายหนึ่งอยู่ในลักษณะแพ้ไม่เป็น เช่น หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ เพราะมีผู้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องต่อการเจรจายุติข้อพิพาท ทั้งในส่วนของคณะกรรมการ สหภาพแรงงาน ทำให้ผู้บริหารของหน่วยงานไม่มีอำนาจการตัดสินใจได้โดยลำพัง

"ข้อพิพาทที่ในบางเรื่องนั้นไม่มีข้อยุติหรือหาทางออกได้ มีการยื้อไปมาอย่างกรณีที่ปัญหารัฐเกิดขึ้นกับเอกชน ซึ่งหากมีคนกลางที่เข้ามาช่วยก็จะทำให้เรื่องที่จะยืดเยื้อนั้นมีทางออกที่ดีกับทั้งสองฝ่าย"

สำหรับความคิดเห็นในการประชุมครั้งนี้ หลายๆฝ่าย ต้องการให้ กทช. จัดตั้งหน่วยงานกลางขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ในการระงับข้อพิพาท พร้อมกับให้สิทธิหรืออำนาจ ในการเข้าระงับเจรจาให้เกิดข้อยุติ ซึ่งทุกฝ่ายจะต้องไว้วางใจ ขณะเดียวกันบุคคลที่จะเข้ามารับผิดชอบในจุดนี้ เป็นบุคคลที่มีความรู้ มีความเข้าใจในธุรกิจโทรคมนาคมเป็นอย่างดี มีความสมัครใจเข้ามาทำหน้าที่ในการเป็นผู้ไกล่เกลี่ย ซึ่งในส่วนนี้ กทช. ได้รับฟังและเก็บเป็นข้อมูลไปพิจารณา   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us