Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน4 พฤษภาคม 2549
แหล่งอาทิตย์เลื่อนส่งก๊าซฯฉุดปริมาณขายPTTEPปี50หด-หวั่นJDAซ้ำรอย             
 


   
www resources

โฮมเพจ ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (ปตท.สผ.)

   
search resources

ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (ปตท.สผ.), บมจ.
Oil and gas




นายมารุต มฤคทัต กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ( PTTEP) เปิดเผยว่า ขณะนี้มีแนวโน้มว่าโครงการอาทิตย์จะเลื่อนการส่งก๊าซธรรมชาติจำนวน 300 ล้านลบ.ฟุต/วันจากเป้าหมายเดิมที่กำหนดผลิตเชิงพาณิชย์ได้ในเดือนเม.ย. 2550 เนื่องจากปัญหาการตึงตัวของอุตสาหกรรมสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ทำให้เกิดการแย่งเครื่องมือ อุปกรณ์ อาทิ วาล์ว ท่อ และตัวบุคลากร ซึ่งบริษัทฯจะพยายามที่จะให้เกิดความเสียหายจากการเลื่อนโครงการดังกล่าวให้น้อยที่สุด ในเบื้องต้นคาดว่าแหล่งอาทิตย์จะเริ่มผลิตได้ปลายปี 2550 หรืออย่างช้าต้นปี 2551

ความล่าช้าของโครงการดังกล่าวจะส่งผลกระทบกับประมาณการยอดขายปิโตรเลียมในปี 2550 ที่เดิมเคยกำหนดไว้ที่ 2.24แสนบาร์เรล/วัน ปรับลดลง 3.7 หมื่นบาร์เรล/วัน ลดลงเหลือเพียง 1.87 แสนบาร์เรล/วัน อย่างไรก็ตาม บริษัทฯจะพยายามที่จะจัดหาก๊าซฯ และน้ำมันจากแหล่งอื่นๆเพิ่มเติม อาทิ โครงการเวียดนาม 9-2 โครงการโอมาน 44 เป็นต้น เพื่อชดเชยปริมาณก๊าซฯแหล่งอาทิตย์ที่หายไป

ส่วนผลกระทบโรงไฟฟ้าจากการส่งก๊าซฯล่าช้าออกไปนั้น ตนเชื่อว่าคงไม่ส่งผลกระทบโรงไฟฟ้า เพราะโรงไฟฟ้าก็คงก่อสร้างต่อไป เนื่องจากจะหาพลังงานอื่นจากแหล่งอื่นๆ เข้ามาป้อนแทน และการเติบโตด้านพลังงานยังเป็นอย่างไร

“ ทางบริษัทได้แจ้งกับกระทรวงพลังงาน และปตท. ในฐานะผู้รับซื้อก๊าซฯจากโครงการอาทิตย์แล้วว่าจะมีการเลื่อนการส่งมอบก๊าซออกไป คาดว่าจะกำหนดเวลาส่งก๊าซฯของโครงการอาทิตย์ที่แน่นอนได้ในไตรมาส 3 หรือ 4 ได้ ส่วนเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญาซื้อขายก๊าซฯว่าจะถูกปรับหากมีการเลื่อนส่งก๊าซฯหรือไม่อย่างไร ก็คงต้องมาดูกันอีกครั้ง แต่ในเบื้องต้น บริษัทก็พยายามหาแนวทางแก้ไขอาจจะเพิ่มกำลังการผลิตก๊าซฯในแหล่งอื่น หรืออาจนำก๊าซแหล่งอาทิตย์บางส่วนขึ้นมาใช้ก่อนให้เร็วที่สุด แม้จะไม่เต็มที่ 330 ล้านลบ.ฟุต/วันก็ตาม โดยบริษัทฯพร้อมที่จะเสียค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นก็ตาม เนื่องจากคำนึงถึงผลกระทบต่อประเทศมากกว่า "

อย่างไรก็ตาม จากความตึงตัวของธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในช่วงนี้ ทำให้บริษัทฯกังวลว่าโครงการพื้นที่ร่วมพัฒนาไทย-มาเลเซีย (JDA) ที่เดิมกำหนดไว้ว่าจะแล้วเสร็จส่งก๊าซฯได้ในกลางปี 2551 อาจจะต้องเลื่อนออกไปเช่นเดียวกับแหล่งอาทิตย์ แต่ทั้งนี้ บริษัทฯจะยังคงเป้าหมายเดิมไว้ก่อน จนกว่าจะมั่นใจจึงจะประกาศเลื่อนอีกครั้ง

นายมารุต กล่าวว่า ในปี 2549 บริษัทได้มีการปรับประมาณการขายปิโตรเลียมจากเดิมที่คาดว่าจะอยู่ที่ 1.9 แสนบาร์เรล/วัน ลดลงเหลือ 1.79 แสนบาร์เรล/วัน เนื่องจากได้มีการรีวิวตัวเลขการผลิตใหม่ที่แหล่งB8/32 นอกจากนี้ แหล่งนางนวลได้มีการลดปริมาณการผลิตเหลือเพียง 800-1,000 บาร์เรล/วัน เนื่องจากมีน้ำเข้าไปในหลุมเจาะทำให้ต้องหยุดหรือลดปริมาณการผลิตลง

ปัจจุบันปตท.สผ.มีปริมาณสำรองปิโตรเลียมอยูที่ 950 ล้านบาร์เรล เพิ่มขึ้นประมาณ 50 ล้านบาร์เรล รวมทั้งบริษัทมีเงินสดในมือถึง 3.57 หมื่นล้านบาท ซึ่งเพียงพอที่จะลงทุนในอนาคต อย่างไรก็ตาม หากการสำรวจแหล่งปิโตรเลียม M7 & M9ที่พม่า ประสบความสำเร็จ ทางปตท.สผ.มีแผนจะออกหุ้นกู้ตามที่ได้รับความเห็นชอบจากผู้ถือหุ้นวงเงินไม่เกิน 3,500 ล้านบาทในต้นปี 2550 เพื่อใช้ในการลงทุนโครงการที่พม่า

ปตท.สผ. พร้อมส่งก๊าซฯให้โอมานก.ค.นี้

นอกจากนี้ ปตท.สผ. อยู่ระหว่างการเตรียมพร้อมเพื่อส่งก๊าซธรรมชาติและคอนเดนเสทจากแหล่งชามส์ (Shams) ในโครงการโอมาน 44 ให้กับกระทรวงน้ำมันและก๊าซของโอมานตามกำหนดก.ค. 2549 ในอัตราประมาณ 50 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และคอนเดนเสทในอัตราประมาณ 4,000 บาร์เรลต่อวัน การส่งก๊าซธรรมชาติและคอนเดนเสทในครั้งนี้ จะเป็นการส่งก๊าซฯ ครั้งแรกของ ปตท.สผ. ให้กับประเทศในตะวันออกกลาง

นอกจากนี้ บริษัทจะลงนามในข้อตกลงกับกระทรวงน้ำมันและก๊าซประเทศโอมานหลังชนะการประมูลและได้รับสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในแปลง 58 ในเดือนมิ.ย.นี้ โดยแปลงสำรวจดังกล่าวคาดว่าจะมีศักยภาพเป็นน้ำมันดิบ

รวมทั้ง บริษัทฯ ค้นพบน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติปริมาณมากในโครงการเวียดนาม 16-1 ซึ่งบริษัทฯ จะเร่งพัฒนาแปลง 16-1 และแปลง 9-2 ซึ่งอยู่ติดกันให้สามารถผลิตน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติได้เร็วกว่าแผนเดิมในปี 2552 โดยแปลง 9-2 ได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลเวียดนามให้สามารถพัฒนาเชิงพาณิชย์แล้วคาดว่าจะสามารถเริ่มการผลิตได้ในอัตราประมาณ 20,000 บาร์เรล/วันในปี 2550

ส่วนปัญหาความตึงเครียดในอิหร่านและเหตุการณ์ที่รัฐบาลประกาศยึดแหล่งก๊าซในโบลิเวียนั้น มองว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้กับธุรกิจพลังงาน อย่างไรก็ตาม บริษัทได้มีการประเมินความเสี่ยงในเรื่องเหล่านี้ก่อนที่จะตัดสินใจเข้าไปลงทุนในต่างประเทศ โดยจะศึกษาทั้งด้านกฎหมาย ภาษี และทรัพยากรต้องคุ้มค่าที่จะลงทุน ซึ่งขณะนี้บริษัทฯได้เข้าไปลงทุนแปลงสำรวจบนบกซาเว่ห์ ในอิหร่านนั้น บริษัทยังไม่มีความกังวล เนื่องจากเพิ่งเข้าไปลงทุนสำรวจ

กำไรQ1/49 แตะ7,800 ล้านบาท

ส่วนผลการดำเนินงานในไตรมาส 1/2549 ปตท.สผ.และบริษัทย่อยมีรายได้รวมทั้งสิ้น 22,693 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 68% และมีกำไรสุทธิ 7,839 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 84% ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลจากรายได้จากการขายปิโตรเลียมที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาขายผลิตภัณฑ์เฉลี่ยในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นเป็น 34.28 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เมื่อเปรียบเทียบกับราคาขายผลิต ภัณฑ์เฉลี่ยในไตรมาสเดียวกันของปีก่อนที่ 25.42 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล

รวมทั้งปริมาณการขายในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นเป็น 171,508 บาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวันเมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณการขายไตรมาสเดียวกันของปีก่อนที่ 142,685 บาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน เป็นผลจากการขายน้ำมันดิบของโครงการ B8/32 & 9A และโครงการ S1 และการขายก๊าซธรรมชาติและคอนเดนเสทของโครงการไพลินและโครงการบงกช   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us