Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2539
ธรรมนิติ 'เดอะเฟิร์ม' ฉบับภาษาไทย             
 

   
related stories

ไพศาล พืชมงคล ล็อบบี้ยิสต์ผู้ทลายอำนาจเก่า
พีเอชเอส บทพิสูจน์สุดยอดฝีมือ 'ไพศาล'
สร้างกำแพงกั้นทีเอ Mission Impossible ของยูคอม ?

   
search resources

สำนักงานทนายความธรรมนิติ
ไพศาล พืชมงคล




หากเอ่ยชื่อ ไพศาล พืชมงคล หลายคนต้องนึกไปถึงสำนักงานทนายความธรรมนิติ ที่ไพศาลเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญสร้างความเปลี่ยนแปลงให้สำนักงานทนายความธรรมดา ๆ แห่งนี้ไปสู่การเป็นองค์กรธุรกิจให้บริการทางกฎหมายแบบครบวงจร และกำลังแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนในเร็ว ๆ นี้

ย้อนหลังไปเกือบ 50 ปี ประดิษฐ์ เปรมโยธิน ได้ก่อตั้งสำนักงานทนายความเล็ก ๆ ขึ้น มีชื่อว่า ธรรมนิติ เพื่อรับว่าความคดีทั่วไปทั่วราชอาณาจักร ธรรมนิติยุคแรกจึงเหมือนกับสำนักงานทนายความทั่วไปที่อยู่ในลักษณะเจ้าของคนเดียว

จนกระทั่ง ในปี 2520 เมื่อประดิษฐ์เสียชีวิตลง ได้สั่งเสียให้ดำเนินสำนักงานต่อไปภายใต้ชื่อ ธรรมนิติ แต่ไม่ได้ยกให้กับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง จึงมีการวิเคราะห์กันว่า การที่เขียนพินัยกรรมไว้เช่นนี้ เพื่อไม่ต้องการให้เป็นสิทธิขาดกับผู้ใดผู้หนึ่ง เพราะจะเป็นข้อจำกัดหากเจ้าของไม่อยู่ หรือล้มตายไป

ไพศาล ซึ่งเป็นทนายความอาวุโสอันดับหนึ่งในเวลานั้น และคณะทำงาน รวมทั้งจากคำแนะนำของบุศย์ ขันธวิทย์ อดีตอธิบดีผู้พิพากษาภาคและอดีตผู้พิพากษาศาลฏีกาได้ร่วมกันแปรรูปธรรมนิติ จากสำนักงานทนายความธรรมดา ๆ ให้อยู่ในรูปของบริษัท จำกัด ซึ่งจะต้องไม่มีใครเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ที่สุด

"เรามีกฎข้อบังคับประจำบริษัทไว้เลยว่า ไม่ให้ใครถือหุ้นเกิน 10% เพื่อให้ธรรมนิติดำรงอยู่ในฐานะของสถาบัน ที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของคนเดียว" วิสูตร กาญจนปัญญาพงศ์ กรรมการผู้จัดการธรรมนิติกรุ๊ป ชี้แจงกับ "ผู้จัดการ"

ด้วยเหตุนี้ บริษัทธรรมนิติ จำกัด จึงมีผู้ถือหุ้นในเวลานี้กว่า 500 ราย ในจำนวนนี้ทั้งผู้บริหาร ทนายความ พนักงาน และผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมาย ตลอดจนลูกค้าที่เป็นลูกความของบริษัทรวมอยู่ด้วย

ขณะเดียวกัน โครงสร้างบริหารของธรรมนิติถูกปรับให้อยู่ในรูปของธุรกิจ มีสภากรรมการทำหน้าที่กำหนดนโยบาย และมีกรรมการบริหารทำหน้าที่รับนโยบายมาบริหารงาน ตลอดจนที่ปรึกษาประจำบริษัท

ทนายความของธรรมนิติ มีเงินเดือนประจำ มีโบนัสประจำปี แทนที่จะเป็นส่วนแบ่งจากการว่าความ อันเป็นธรรมเนียมที่ยึดถือปฏิบัติกันมายาวนาน

ธรรมนิติภายใต้การนำของไพศาล จัดเป็นยุคที่สองที่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับสำนักงานทนายความแห่งนี้อย่างเห็นได้ชัด

ในยุคนี้เอง ธรรมนิติได้ขยายขอบเขตการให้บริการทางกฎหมายเพิ่มขึ้น โดยมุ่งเน้นไปที่บริการทางด้านกฎหมายธุรกิจ แต่ที่โดดเด่นและสร้างชื่อเสียงให้กับธรรมนิติค่อนข้างมาก คือ กฎหมายทางด้านอสังหาริมทรัพย์ ภาษีอากร และบัญชี

"เป็นจังหวะ และความรู้ที่เรามีอยู่ พอธุรกิจอสังหาริมทรัพย์บูม ก็มีกฎหมายอสังหาริมทรัพย์เกิดขึ้น เราก็ให้บริการทางด้านกฎหมายทางด้านนี้ พอมาช่วงหลังรัฐประกาศให้ภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ คนทั่วไปยังไม่เข้าใจดีนัก เราก็มีให้บริการ" วิสูตรชี้แจง

ด้วยเหตุนี้เอง คดีความส่วนใหญ่ของ ธรรมนิติ จึงเกี่ยวกับแวดวงธุรกิจเป็นส่วนใหญ่ และมีหลายคดีความทางเศรษฐกิจดัง ๆ มาแล้วหลายคดี เช่น กรณีการแย่งชิงธนาคารแหลมทองระหว่างสมบูรณ์ นันทภิวัฒน์ เป็นต้น

เอกชนในวงการธุรกิจรายใหญ่ ๆ ตลอดจนนักการเมืองเกือบทุกพรรค ล้วนแล้วแต่เคยเป็นลูกค้าของธรรมนิติมาแล้วทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นลูกความ หรือขอรับบริการปรึกษาทางกฎหมาย โดยเฉพาะทางด้านภาษีอากร ที่ธรรมนิติเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ

ว่ากันว่า หากเป็นคดีความทางด้านภาษีอากรธรรมนิติมักจะได้รับว่าจ้างจากเอกชนที่ถูกฟ้องร้องเสมอ และส่วนใหญ่จะได้รับชัยชนะเสียเป็นส่วนใหญ่

ด้วยเหตุนี้ ชื่อเสียงของธรรมนิติก็ยิ่งระบือไกล

สาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้ธรรมนิติเชี่ยวชาญทางด้านคดีความ และกฎหมายธุรกิจหลายแขนง วิสูตรชี้แจงว่า "ส่วนหนึ่งมาจากการเชื้อเชิญเป็นอาจารย์จากสถาบันการศึกษา หรือผู้ใหญ่ในกรมสรรพากรเข้ามาร่วมงานในบริษัท ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากในด้านของความรู้ที่เกี่ยวกับกฎหมายทางด้านต่าง" วิสูตรชี้แจง

ยิ่งไปกว่านั้น แม้วิสูตรไม่ได้กล่าวในที่นี้ แต่เป็นที่เข้าใจกัน การดึงเอาผู้ทรงคุณวุฒิเหล่านี้ นอกจากจะเป็นฐานในด้านความรู้ในเรื่องนี้แล้ว ยังเท่ากับสร้างเครดิตให้กับธรรมนิติได้ไม่น้อย ซึ่งส่งผลถึงการสร้างฐานลูกค้าทั้งทางตรงและทางอ้อม

จะเห็นได้ว่า มีผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนมาก ที่นั่งอยู่ในสภากรรมการของบริษัท ซึ่งมีหน้าที่กำหนดนโยบาย ตลอดจนกรรมการบริหารและที่ปรึกษาบริษัท อาทิ ศ.ปรีชา พาณิชวงศ์ พล.อ. ศิรินทร์ ธูปกล่ำ อดีตผู้อำนวยการป้องกันราชอาณาจักร ปัจจุบันนั่งเป็นประธานบอร์ด ทศท., ศ.พิพัฒน์ โปษยานนท์, ขวัญแก้ว วัชโรทัย รองเลขาธิการ ฝ่ายกิจกรรมสำนักพระราชวัง, ร.ศ.ประพันธ์พงศ์ เวชชาชีวะ รองอธิการบดี ฝ่ายทรัพย์สินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น

ผู้บริหารในธรรมนิติ กล่าวว่า ผู้ทรงคุณวุฒิเหล่านี้ ไพศาลจะเป็นผู้ไปติดต่อมา หรือเชิญมาเกือบทั้งสิ้น

และด้วยความรู้ที่ได้จากผู้เชี่ยวชาญภายนอกผสมกับแนวคิดการบริหารองค์กรตามแนวธุรกิจ ทำให้ธรรมนิติอาศัยโอกาสเหล่านี้ขยายขอบเขตธุรกิจเกี่ยวเนื่องออกไปอีกมาก

"ตอนเราทำเรื่องกฎหมายอสังหาริมทรัพย์ เราก็เริ่มจัดสัมมนาให้ความรู้เพิ่มเติมก็มีคนมาฟังมาก ยิ่งตอนเปลี่ยนมาใช้กฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่ม สัมมนาที่เราจัดขึ้นมีคนสนใจมาฟังมาก มีการจัดพิมพ์เอกสารภาษีอากร ประมวลรัษฎากร จนเกิดเป็นธุรกิจใหม่ ๆ ขึ้นมาอีกหลายประเภท เราจึงเรียกตัวเองว่า บริการวิชาชีพ" วิสูตรชี้แจง

ด้วยเหตุนี้ ธรรมนิติจึงแตกแขนงธุรกิจออกมาเกือบ 10 บริษัท อาทิ สำนักงานกฎหมายธรรมนิติ รับว่าความคดีทุกประเภทธรรมนิติ อินเตอร์เนชั่นแนล บริการด้านกฎหมายแก่ชาวต่างประเทศ ธรรมนิติ คอมพิวเตอร์ซิสเต็มส์ ให้คำปรึกษานำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้ในกิจการ บริษัทสอบบัญชีธรรมนิติ บริษัทฝึกอบรมและสัมมนา บริษัทดีไลท์ ผลิตและจำหน่ายนำเข้ากระดาษ บริษัทประชาราษฎร์ บริการขนส่ง โดยมีบริษัทธรรมนิติกรุ๊ป จำกัด เป็นโฮลดิ้งคอมปานี ที่ทำหน้าที่เข้าไปถือหุ้นในบริษัทย่อยเหล่านี้

เรียกได้ว่า เป็นการนำเอาแนวทางธุรกิจมาใช้ในการขยายกิจการอย่างเต็มตัว และทันต่อเหตุการณ์ เรียกว่า มองเห็นลูทางไหนที่สามารถทำรายได้ ไพศาลและทีมบริหารจะไม่รีรอ

วิสูตร เล่าว่า ในเร็ว ๆ นี้ บริษัทธรรมนิติกรุ๊ป จะจดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชน และจะมีการขยายกิจการเพิ่มขึ้น แต่ยังไม่สามารถบอกได้ว่า เป็นธุรกิจประเภทใด และการจดทะเบียนเป็นมหาชนนั้นจะเข้าไประดมทุนในตลาดหลักทรัพย์หรือไม่

"การจดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชน ไม่ได้หมายถึงการระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์อย่างเดียว แต่อาจระดมด้วยวิธีอื่น ๆ อีกก็ได้ ที่ผ่านมา เราใช้วิธีระดมทุนด้วยการขายหุ้นให้กับคนภายนอกที่มีทั้งลูกความ เจ้าหน้าที่ของบริษัท" วิสูตรชี้แจง

ธรรมนิติ ในยุคนี้จึงแตกต่างไปจากสำนักงานกฎหมายทั่วไปอย่างเห็นได้ชัด ยิ่งในสายตาของนักกฎหมายด้วยกันแล้ว บทบาทของธรรมนิติ ไม่ได้แตกต่างแต่ในเรื่องของวิถีทางธุรกิจเท่านั้น แต่วิถีทางการเมืองก็ดูจะแตกต่างไปจากสำนักกฎหมายอื่น ๆ

"ไม่ใช่เรื่องแปลกที่สำนักงานกฎหมาย จะเข้าสู่เส้นทางการเมือง แต่ส่วนใหญ่ไปสมัครรับเลือกตั้ง เช่น อ.มารุต บุนนาค แต่สำหรับธรรมนิติแล้ว มักจะอยู่เบื้องหลังมากกว่า ในลักษณะของล็อบบี้ยิสต์" นักกฎหมายท่านหนึ่งให้ความเห็น

บทบาทของล็อบบี้ยิสต์ในสหรัฐอเมริกา คือ การเป็นตัวกลางที่นำเอาความต้องการระหว่างเอกชน และหน่วยงานรัฐให้มาเจอกัน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องทางสังคม แต่ในบทบาทของล็อบบี้ยิสต์แบบไทย ๆ แล้ว ส่วนใหญ่จะเป็นการผสานความพอใจของภาคเอกชน และภาครัฐในเรื่องของธุรกิจเพียงอย่างเดียว

ดังเช่น บทบาทของไพศาล พืชมงคล ในฐานะที่ปรึกษาของพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ และในฐานะกรรมการบอร์ด ทศท. ในเวลานี้

แม้ว่าผู้บริหารของธรรมนิติจะชี้แจงว่า การเล่นการเมืองของผู้บริหารถือเป็นเรื่องส่วนตัวไม่เกี่ยวกับบริษัทก็ตาม จะเห็นได้ว่า หลายคนในบริษัทธรรมนิติ ก็อยู่ในแวดวงของพรรคการเมือง นอกจากไพศาล พืชมงคลแล้ว สุรนันท์ เวชชาชีวะ ก่อนหน้าจะมาเป็นกรรมการบริหารของบริษัทฝึกอบรมและสัมมนาธรรมนิติ ก็เคยสวมเสื้อพรรคพลังธรรมลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ในเขตกรุงเทพฯ มาแล้ว

ในทางกลับกัน การมีผู้บริหารอยู่ในหลายพรรคการเมือง ก็อาจทำให้บทบาทการเป็นล็อบบี้ยิสต์ก็อาจดูชัดเจนขึ้น หรือให้การสนับสนุนได้ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง

ดังเช่นในการผลักดันระบบโทรศัพท์พีเอชเอส ของบอร์ด ทศท. ภายใต้การนำของไพศาล บริษัทฝึกอบรมและสัมมนาธรรมนิติ ก็มีโอกาสได้จัดสัมมนาชี้แจงข้อดีของระบบนี้ในไทย

เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว บทบาทของธรรมนิติคงไม่ใช่ธรรมดาแน่

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us