Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน3 พฤษภาคม 2549
ชี้เศรษฐกิจไตรมาส 2-3 มีสิทธิ์ร่วงส่งออก-ใช้จ่ายภาคเอกชนตัวแปรสำคัญ             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
Economics
Import-Export




หลังจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้มี การประกาศตัวเลขทางเศรษฐกิจประจำเดือนมีนาคม 2549 ออกมา ก็เริ่มมีการพูดถึงตัวเลขเศรษฐกิจไตรมาส แรกของปี...โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยนำร่องประเมินตัวเลข GDP ในไตรมาสแรก ปี 2549 ที่จะประกาศในต้นเดือนมิถุนายนว่า อาจจะขยายตัวจากไตรมาสเดียวกันในปีก่อนหน้าประมาณร้อยละ 5.3 เมื่อเทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 4.7 ในไตรมาสที่ 4 ปี 2548

ทั้งนี้ จากเครื่องชี้เศรษฐกิจเบื้องต้นของธนาคารแห่งประเทศไทยบ่งชี้ว่า เศรษฐกิจไทยน่าที่จะมีอัตราการขยายตัวในไตรมาสแรกของปี 2549 นี้ สูงกว่าในไตรมาสที่ 4 ของปี 2548 ที่ผ่านมา เนื่องจากตัวเลขในด้านการผลิต ไม่ว่าจะเป็นในภาคอุตสาหกรรม เกษตร และบริการ-ท่องเที่ยว ล้วนมีอัตราการขยายตัวที่สูงกว่าในไตรมาสก่อนหน้าทั้งสิ้น

อย่างไรก็ตาม อัตราการขยายตัวที่สูงขึ้นดังกล่าว ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการเปรียบเทียบกับฐานที่ต่ำในปีก่อนหน้า ซึ่งถูกกระทบจากผลกระทบเหตุการณ์ธรณีพิบัติในจังหวัดท่องเที่ยวสำคัญในภาคใต้ และภาวภัยแล้ง ในขณะที่ภาวะการใช้จ่ายภายในประเทศ โดยเฉพาะ การลงทุนกลับมีทิศทางที่ชะลอตัวลงจากปัจจัยลบต่างๆที่รุมเร้า ไม่ว่าจะเป็นราคาน้ำมัน ภาวะเงินเฟ้อ การปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ย ตลอดจนความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศ

นอกจากนี้ การขยายตัวของเศรษฐกิจในไตรมาส แรกดังกล่าวยังได้รับแรงหนุนจากการขยายตัวของการส่งออกและฐานะการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด โดยในช่วงไตรมาสแรก ปี 2549 การส่งออกขยายตัวสูงร้อยละ 17.9 ขณะที่การนำเข้าขยายตัวเพียงร้อยละ 5.4 ประกอบกับการเกินดุลในภาคบริการ รายได้และเงินโอน ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลมูลค่า 1.66 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นมูลค่าเกินดุลรายไตรมาสที่สูงสุดในรอบ 5 ไตรมาส และเพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ของปีก่อนหน้า ที่มีการขาดดุลมูลค่าถึง 1.41 พันล้านดอลลาร์

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเศรษฐกิจในไตรมาสแรกของปี 2549 จะขยายตัวในอัตราที่สูง แต่คาดว่าอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย อาจจะชะลอลงในไตรมาส 2 และ 3 ซึ่งจะเป็นช่วงที่ปัจจัยกดดันต่อการ บริโภคภายในประเทศ คือราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ย ของธนาคารพาณิชย์ อาจจะขึ้นไปสู่ระดับสูงสุด ในขณะที่การส่งออกเองก็อาจจะชะลอตัวลง เนื่องจากต้อง เทียบกับฐานที่สูงในไตรมาส 3 ของปีก่อนหน้า

ส่งออก-การบริโภคภาคเอกชนยังเป็นตัวแปรสำคัญ

ทั้งนี้ ตัวแปรเศรษฐกิจที่สำคัญๆ ของเดือนมีนาคม 2549 โดยสรุปจะเป็นด้านการส่งออกในเดือนมีนาคม 2549 ที่มีมูลค่าสูงสุด เป็นประวัติการณ์ ขณะที่การนำเข้าในเดือนมีนาคม 2549 ขยายตัวเพียงร้อยละ 2.0 ชะลอลงจากร้อยละ 15.3 ในเดือนกุมภาพันธ์

ด้านการใช้จ่ายของผู้บริโภค ขยายตัวดีขึ้นในเดือนมีนาคม 2549 แม้ว่าภาวะการบริโภคยังเผชิญกับปัจจัยลบหลายด้าน ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผล ของการเปรียบเทียบกับฐานที่ต่ำของปีก่อน โดยรายการหลักๆ ของดัชนีการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวดีขึ้นในเดือนมีนาคมนี้ ได้แก่ ปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเบนซิน, ยอดขายรถจักรยานยนต์ อย่างไรก็ดี แรงกดดันต่อภาวะการบริโภคยังมีสูงอันเป็นผลจากการปรับขึ้นของราคาน้ำมัน การปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยในช่วงที่ผ่านมา ตลอดจนสถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศ ซึ่งทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 5 ปี นับจากเดือนมิถุนายน 2545

และการลงทุนของภาคเอกชนชะลอลงมากในเดือนมีนาคม ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (Private Investment Index) ขยายตัวร้อยละ 1.4 เทียบกับร้อยละ 5.4 ในเดือนกุมภาพันธ์ โดยเป็นผลจากการหดตัวลงของยอดขายปูนซีเมนต์ และยอดขายรถยนต์เชิงพาณิชย์ ทั้งนี้ กิจกรรมการลงทุนในด้านก่อสร้างและยอดขายรถยนต์เชิงพาณิชย์ มีทิศทางชะลอตัวจากฐานที่ขยายตัวสูงในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า

คาดเดือนเม.ย.การบริโภค-ลงทุนภาคเอกชนยังไม่ฟื้น

สำหรับแนวโน้มในเดือนเมษายน ปี 2549 นั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ภาวะการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชน น่าจะยังคงถูกกระทบจากภาวะราคาน้ำมันในประเทศที่ปรับตัวสูงขึ้นทำสถิติครั้งใหม่ อัตราเงินเฟ้อทั่วไป หรือ Headline Inflation ที่เพิ่มขึ้นไปถึงระดับร้อยละ 6 จากร้อยละ 5.7 ในเดือนมีนาคม ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core Inflation) ปรับเพิ่มขึ้นไปที่ร้อยละ 2.9 จากร้อยละ 2.6 ในเดือนมีนาคม รวมทั้งผลของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงที่ผ่านมา โดยปัจจัยดังกล่าวรวมไปถึงปัญหา ความไม่แน่นอนทางการเมือง อาจยังเป็นผลลบต่อความ เชื่อมั่นของภาคเอกชน ในขณะที่ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วในเดือนเมษายนนั้น ก็อาจจะกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของภาคการส่งออกของไทย ซึ่งปัจจัยต่างๆเหล่านี้อาจจะส่งผลให้อัตราการ ขยายตัวของการบริโภค การส่งออก และการผลิตในภาคอุตสาหกรรม ชะลอตัวลงในเดือนดังกล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us