Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน3 พฤษภาคม 2549
ธปท.ยอมรับเงินเฟ้อหลุดเป้ารอตัวเลขพ.ค.ก่อนปรับแผน             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
ปรีดิยาธร เทวกุล, ม.ร.ว.
Economics




หม่อมอุ๋ยยอมรับเงินเฟ้อกระทรวงพาณิชย์เดือน เม.ย. 6% สูงกว่าคาดการณ์ของแบงก์ชาติ ระบุต้องติดตามเดือนต่อๆ ไปอีกครั้งก่อนปรับนโยบายที่เหมาะสม ยันยังไม่น่าห่วง เพราะเป็นไปตามทิศทางราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ส่วนประมาณการแบงก์ชาติครั้งล่าสุดภายใต้เงื่อนไขราคาน้ำมันดิบดูไบ 61 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เงินเฟ้อจะอยู่ที่ 4-5%

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวยอมรับถึงอัตราเงินเฟ้อเดือนเมษายนของกระทรวงพาณิชย์ที่สูงขึ้นว่า สูงกว่าการคาดการณ์ของ ธปท.ที่ใช้ในการดำเนินนโยบายการเงินและอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม การปรับตัวสูงขึ้นของอัตราเงินเฟ้อเดือนเมษายนมาจากราคาน้ำมันดิบตลาดโลกที่สูงขึ้นมาก

ผู้ว่าฯ ธปท.กล่าวว่า ต้องติดตามอัตราเงินเฟ้อในเดือนต่อๆ ไปก่อนว่าจะเป็นอย่างไร เพราะอัตราเงินเฟ้อที่สูงมากเกินเป้าหมายของ ธปท. ยังเป็นการเกิดขึ้นเดือนเดียว คงต้องรอดูเดือนพฤษภาคมหรือเดือนต่อๆ ไปก่อนว่าจะเป็นอย่างไร เพราะแม้ว่าราคาน้ำมันดิบโลกยังสูงอยู่แต่คงจะบอกอะไรก่อนไม่ได้ คงต้องรอให้เกิดความชัดเจนอีกระยะ จึงจะสามารถตัดสินใจในเรื่องการดำเนินนโยบายการเงินในช่วงต่อไป

"ผมมองว่า เป็นตัวเลขเงินเฟ้อแค่เดือนเดียว ไม่ถึงกับตื่นเต้น ตกใจ และไม่ต้องคิดมาก" ผู้ว่าฯ ธปท.ระบุ

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 1 พ.ค. ที่ผ่านมา กระทรวงพาณิชย์ออกมาแถลงว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปหรืออัตราเงินเฟ้อประจำเดือน เม.ย. อยู่ที่ 114.3 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน 6.0% และเพิ่มขึ้น 1.2% จากเดือน มี.ค.49 เนื่องจากดัชนีราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้น 2.0% จากเดือนก่อนหน้า และสินค้าในหมวดอื่นที่ไม่อาหารและเครื่องดื่ม ปรับเพิ่มขึ้น 0.7%

ก่อนหน้านี้ ธปท.คาดว่าแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อในไตรมาสที่ 2 น่าจะมีแนวโน้มต่ำลงช้าๆ สำหรับประมาณการแนวโน้มเงินเฟ้อของ ธปท. ล่าสุดเมื่อวันที่ 26 เมษายนที่ผ่านมา ธปท.ได้ปรับประมาณการเงินเฟ้อทั่วไปในปีนี้ขึ้นจาก 3.5-5% เป็น 4-5% โดยมองว่าไตรมาสแรกของปีนี้ เงินเฟ้อจะอยู่ที่ 5.5-6% ไตรมาสที่ 2 จะลดลงมาอยู่ที่ 4.5-5.5% ไตรมาสที่ 3 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ที่ 3-5% และไตรมาสที่ 4 อยู่ที่ 2.5-4% ภายใต้สมมติฐานราคาน้ำมันดิบดูไบไตรมาสแรกที่ 57.9 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ไตรมาสที่ 2 ที่ 62 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล และคงที่ในไตรมาสที่ 3 และ 4 ที่ 63 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล โดยค่าเฉลี่ยราคาน้ำมันดิบดูไบทั้งปีกรณีฐานเท่ากับ 61 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล แต่ขณะนี้ราคาน้ำมันดิบดูไบในเดือนเมษายนและอัตราเงินเฟ้อเดือนเมษายนซึ่งเป็นเดือนแรกของไตรมาสที่ 2 ต่างสูงกว่าประมาณการของ ธปท.

อย่างไรก็ตาม ธปท.ได้คาดไว้ล่วงหน้าว่าราคาน้ำมันดิบโลกอาจจะสูงขึ้นกว่ากรณีฐาน จึงได้ประมาณการเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อด้วยราคาน้ำมันกรณีสูงหรือกรณีเลวร้าย ซึ่งประเมินว่าไตรมาสที่ 2 ที่ 70 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล และคงที่ในไตรมาสที่ 3 อยู่ที่ 72 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล และไตรมาสที่ 4 ของปี 2549 ที่ราคา 74 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล โดยค่าเฉลี่ยราคาน้ำมันดิบดูไปทั้งปีกรณีเลวร้ายเท่ากับ 69.3 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งหากราคาน้ำมันดิบโลกปรับเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องในปีนี้ อาจจะส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน อัตราเงินเฟ้อทั่วไป อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจและระยะเวลาของอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น โดยการปรับขึ้นของราคาน้ำมันดิบ 1% จากประมาณการ หรือ 61 เซนต์สหรัฐต่อบาร์เรล ในกรณีฐาน และหรือ 69.3 เซนต์สหรัฐต่อบาร์เรล ในกรณีสูง จะทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มขึ้น 0.05% อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มขึ้น 0.01% และอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจปีนี้ลดลง 0.03% และทำให้ ธปท.จำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่องไปอีกเพื่อสกัดกั้นการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ

ด้านบริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ถึงแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในเดือนเมษายน 2549 ว่า ภาวะการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชน น่าจะยังคงถูกกระทบจากภาวะราคาน้ำมันในประเทศ ที่ปรับตัวสูงขึ้นทำสถิติครั้งใหม่ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่เพิ่มขึ้นไปถึงระดับ 6% ประกอบกับผลของการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงปัญหาความไม่แน่นอนทางการเมือง อาจยังเป็นผลลบต่อความเชื่อมั่นของภาคเอกชน ขณะที่ ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น อาจกระทบต่อภาคการส่งออก ซึ่งอาจชะลอตัวลงในเดือนดังกล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us