Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2540








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2540
SCC สร้างฐานธุรกิจที่ลำปาง "ล็อบบี้" กันจนเหนื่อย             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)

   
search resources

ปูนซิเมนต์ไทย (ลำปาง), บจก.
ปูนซิเมนต์ไทย, บมจ.
ทวี บุตรสุนทร
Cement




"เราใช้เวลา 24 เดือนในการสร้างโรงงาน จะเห็นว่าโรงงานนี้แตกต่างกว่าที่อื่นตรงที่มีลักษณะคล้ายป่าเพราะเราต้องการทำโรงงานนี้ให้เป็นหน้าตาของจังหวัดลำปาง" ทวี บุตรสุนทร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. ปูนซีเมนต์ไทย หรือ SCC ในฐานะประธานกรรมการ บริษัทปูนซีเมนต์ไทย (ลำปาง) กล่าวถึงโรงงานปูนซีเมนต์ไทย (ลำปาง) ซึ่งมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการไปเมื่อต้นเดือนธันวาคมปีที่ผ่านมา แต่เดินเครื่องโรงงานไปตั้งแต่ต้นกรกฎาคมปีเดียวกัน

โรงงานแห่งนี้ เป็นโรงงานแห่งแรกของบริษัทปูนซีเมนต์ไทย (ลำปาง) แต่ถือเป็นโรงงานแห่งที่ 5 ของ SCC ด้วยเพราะบริษัทปูนซีเมนต์ไทย (ลำปาง) เป็นบริษัทย่อยที่ SCC ถือหุ้น 100% ของทุนจดทะเบียน 1,500 ล้านบาท โดยมีสมเกียรติ พันธุ์อนุกูลเป็นกรรมการผู้จัดการ

จุดมุ่งหมายของโรงงานปูนฯ ลำปางคือเพื่อสร้างฐานการผลิตปูนฯ ให้กับบริษัทแม่ในภาคเหนือ ด้วยกำลังการผลิตทั้งสิ้น 2.1 ล้านตัน ซึ่งจะทำให้กำลังการผลิตโดยรวมของบริษัทแม่เพิ่มขึ้นเป็น 19-20 ล้านตันในปี 2540 แม้ว่าจะเป็นกำลังการผลิตที่ยังไม่เพียงพอกับปริมาณขายของบริษัทซึ่งตกประมาณ 22 ล้านตันในปีนี้ก็ตาม แต่ย่อมช่วยลดการนำปูนฯจากต่างประเทศและการซื้อจากผู้ผลิตอื่น

ว่าไปแล้วโรงงานแห่งนี้นับว่ามีความสำคัญต่อ SCC หลายด้านทีเดียว ประการแรก SCC เป็นผู้ผลิตปูนฯรายแรกที่เข้ามาปักธงสร้างโรงงานที่นี่ จึงทำให้ภาคเหนือเป็นสมรภูมิที่ได้เปรียบคู่แข่งอื่นๆ ขึ้นมาในทันที ทั้งในด้านสามารถตอบสนองความต้องการปูนซีเมนต์ของภาคเหนือ โดยเฉพาะภาคเหนือตอนบนได้รวดเร็วยิ่งขึ้น และยังช่วยลดต้นทุนค่าขนส่งลงอีกด้วย

แม้กำลังการผลิต 2.1 ล้านตัน ของโรงงานปูนซีเมนต์ลำปาง ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการปูนฯ ในภาคเหนือที่คาดไว้ว่าจะมีประมาณ 5.6 ล้านตัน ในปีนี้ โดย SCC มีส่วนแบ่งตลาดประมาณ 50% หรือประมาณ 2.8 ล้านตัน แต่ก็ทำให้บริษัทลำเลียงปูนฯจากโรงงานที่สระบุรีมายังภาคเหนือน้อยลง เมื่อดูโดยรวมแล้ว ต้นทุนจะต่ำกว่าคู่แข่งอย่างแน่นอน ถ้าไม่มีการตัดราคาขายปูนฯกัน กำไรที่ SCC จะได้เพิ่มเติมก็คือค่าขนส่งที่ประหยัดลงไปได้นั่นเอง

ส่วนในอนาคตหากมีคู่แข่งจะมาเปิดโรงปูนฯ ที่นี่ SCC ก็ไม่หวั่น ทวีกล่าวว่าการสร้างโรงงานปูนฯ ใช้เวลาร่วม 2 ปี ถึงตอนนั้นความต้องการปูนฯก็เพิ่มสูงขึ้นไปอีก กำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นจึงไม่ได้มาแย่งตลาดกัน

นอกจากนี้ SCC ยังสามารถใช้ฐานการผลิตจากลำปางเป็นฐานส่งออกไปยังพม่าหรือลาวได้ ซึ่งจะรวดเร็วและมีต้นทุนค่าขนส่งต่ำกว่าในปัจจุบันที่ต้องขนส่งปูนฯจากสระบุรีไปยังประเทศเหล่านั้น

ยิ่งไปกว่านั้น ธุรกิจอีกไม่น้อยในเครือของ SCC จะเกิดขึ้นตามมา ดังเช่นธุรกิจทำกระเบื้องหลังคา ซึ่งอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของบริษัทกระเบื้องไทย อันเป็นบริษัทย่อยอีกแห่งของ SCC ทางคณะผู้บริหารก็อนุมัติแล้วว่าจะสร้างโรงงานกระเบื้องที่ลำปาง ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการจัดซื้อเครื่องจักรคาดว่าจะใช้เวลาก่อสร้าง 2 ปี เงินลงทุนประมาณ 400 ล้านบาท

เมื่อขุมทรัพย์มหาศาลอยู่ที่ลำปาง ผู้บริหารของ SCC จึงต้องใช้ยุทธวิธีทำให้คนลำปางรู้สึกว่าโรงงานปูนซีเมนต์ ลำปาง เป็นของชาวลำปางทั้งหลาย เห็นได้จากการกำหนดหลักการทำงานของบริษัทไว้ว่า "สร้างงาน สร้างความเจริญ รักษาสิ่งแวดล้อมและเป็นพลเมืองดีของลำปาง"

ด้วยกรณีความขัดแย้งระหว่างโรงงานอุตสาหกรรมกับประชาชนในพื้นที่จากปัญหาสิ่งแวดล้อมมีอยู่ให้เห็นอยู่เนืองๆ แต่ละครั้งที่เกิดขึ้น เจ้าของโรงงานจะรู้สึกว่าตนเองเป็นฝ่ายเสียหาย ทั้งเสียชื่อ เสียเวลา และเสียทรัพย์

แม้ว่าการสร้างโรงงานปูนซีเมนต์ลำปางจะผ่านพ้นไปแล้วด้วยดี แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีปัญหาระหว่างบริษัทกับชาวบ้านแต่อย่างใด คนในพื้นที่เล่าว่าในระยะแรกของการก่อสร้างโรงงานก็เคยมีม็อบย่อยๆ ของชาวบ้านมาประท้วงบ้างเหมือนกัน แต่ก็สามารถทำความเข้าใจกันได้ จึงไม่เห็นเป็นข่าวผ่านสื่อมวลชน

การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนในพื้นที่จึงเป็นนโยบายหนึ่งที่ผู้บริหารของ SCC และปูนฯลำปางจะละเลยเสียไม่ได้

กระนั้นการโน้มน้าวให้ชาวลำปางเชื่อในบริษัทก็มิใช่เรื่องง่ายเท่าใดนัก บางครั้งยังปรากฎข่าวของสื่อมวลชนท้องถิ่นในทำนองว่าผู้บริหารบริษัทปูนซีเมนต์ไทย (ลำปาง) ไม่ทำตามคำพูดที่กล่าวไว้ เช่น การรับพนักงานท้องถิ่น ไม่ได้รับคนลำปางเข้ามาจำนวนมากอย่างที่ตกปากรับคำกับผู้หลักผู้ใหญ่ในแวดวงราชการและการเมืองของลำปาง

ปัญหานี้ ทวีและสมเกียรติ สองหัวหอกของเครือ SCC ต้องแจกแจงให้สื่อมวลชนทุกแขนงฟังอย่างละเอียดยิบว่าปัจจุบันบริษัทปูนฯลำปางมีคนท้องถิ่นเข้ามาทำงานถึง 63% หรือ 218 คน จากพนักงานทั้งหมด 350 คน แต่ที่ไม่สามารถรับเฉพาะคนลำปางได้หมด ก็เพราะว่าโรงงานใหม่ทุกแห่งก็ต้องมีคนมีประสบการณ์มาเป็นหลักในการดำเนินงานก่อน ดังนั้นจึงต้องมีคนเก่าคนแก่จากโรงงานเดิมของ SCC มาช่วย

"จริงๆ แล้วถ้าเรารับตามเกณฑ์ของเครือปูนซีเมนต์ไทย จะรับได้ไม่เกิน 30 คน เพราะกำหนดเกรดเฉลี่ยไว้ 2.5 ดังนั้นเราจึงกำหนดไว้ว่าเฉพาะที่โรงปูนลำปางแห่งเดียวเท่านั้นเราจะลดคะแนนลงมาเหลือแค่ 2.00 เราจึงรับพนักงานได้ถึง 200 กว่าคน" ทวีชี้แจง

นอกจากนี้ เขายังย้ำนักย้ำหนาว่าการสร้างโรงงานที่นี่ไม่ด้สร้างปัญหาสิ่งแวดล้อมให้กับชาวลำปางเพราะมีระบบควบคุมสิ่งแวดล้อมที่ดี โดย SCC ใช้เงินกว่า 400 ล้านบาท จากจำนวนเงินลงทุนในโรงงานทั้งหมด 6,000 ล้านบาท กับการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการจัดการฝุ่นซึ่งถือเป็นมลภาวะหลักจากการผลิตปูนซีเมนต์ เขากล่าวว่าบริษัทออกแบบเครื่องจักรให้ฝุ่นเล็ดลอดออกมาได้เพียง 50 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตรเท่านั้น แม้กฎหมายจะอนุญาตให้ปล่อยได้ถึง 200 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตรก็ตาม

อีกทั้งยังรักษาทัศนียภาพของเมืองลำปางด้วยวิธีการทำเหมืองหินปูนแบบ SEMI OPEN CUT MINING นั่นคือขุดเจาะเข้าไปส่วนกลางของภูเขา แล้วเอาหินปูนจากส่วนกลางมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตปูนฯ ซึ่งระบบนี้จะทำให้ยังเห็นภูเขาเป็นเขาเต็มลูก ไม่ใช่ถูกตัดหายไปเสียครึ่งหนึ่งอย่างการผลิตปูนฯ ด้วยวิธีแบบเก่า พร้อมกันนี้บริษัทก็นำกล้าไม้มาปลูกรอบบริเวณโรงงานเพื่อให้เป็นป่าที่เขียวชะอุ่ม

ยิ่งกว่านั้น ทวียังอ้างถึงผลประโยชน์ที่ชาวลำปางจะได้รับอีกด้วย ที่สำคัญก็คือการสร้างงาน สร้างรายได้ทั้งในรูปรายได้ส่วนบุคคล และภาษีต่างๆ ทั้งที่เสียกับท้องถิ่นและรัฐบาลกลาง ซึ่งจะคืนกลับมาในรูปเงินพัฒนาท้องถิ่น

แม้แต่งานเปิดตัวโรงงานอย่างเป็นทางการ ก็ยังเอาใจคนลำปางด้วยการทำพิธีแบบล้านนาแท้ๆ โดยมีขบวนแห่บายสี ตีกลองสะบัดชัย และทำพิธีสืบชะตาหลวง

ทุ่มเทอย่างนี้..ไม่รู้จะชนะใจชาวลำปางได้แค่ไหน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us