|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
kce ตั้งเป้ายอดขายปีนี้ 18% หรือประมาณ 8 พันล้านบาท แม้ภาวะค่าเงินบาทผันผวน พร้อมหันไปลดอัตราของเสียให้ต่ำกว่า 6% ด้วยการปรับปรุงคุณภาพการผลิต ขณะที่แผนการนำ “ไทยลามิเนต แมนูแฟคเจอเรอร์ ” เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นั้นยังไม่เร่ง รอโอกาสและความเหมาะสม
นายปัญจะ เสนาดิสัย กรรมการ บริษัท เคซีอี อีเลคโทรนิคส์ จำกัด (มหาชน) (KCE ) เปิดเผยว่าปีนี้บริษัทตั้งเป้าการเติบโตของรายได้ไว้ที่ระดับ 18% หรือยอดขายประมาณ 8 พันล้านบาท โดยเมื่อปี 48 KCE มีรายได้รวมจากการขาย 5 ,516.68 ล้านบาท แม้ว่าผลการดำเนินงานไตรมาสแรกปีนี้อาจได้รับผลกระทบเรื่องค่าเงินที่ผันผวนบ้างก็ตาม เนื่องจากค่าเงินบาทที่เริ่มแข็งค่าขึ้นมาบ้างเมื่อปลายไตรมาสดังกล่าว แต่ไตรมาสสองเชื่อว่าน่าจะเป็นภาวะที่ดี หากค่าเงินบาทไม่แข็งค่าไปกว่านี้ อันจะส่งผลดีต่อการดำเนินงานของ KCE โดยการเติบโตของ KCE ยังเป็นไปตามนโยบายของผู้บริหาร คือช้าแต่มั่นคง
“แต่ของเราที่มีผลต่อการดำเนินงานโดยตรง คือค่าเงินและอัตราของเสียที่ผลิตต้องต่ำไม่เกิน 6% เพราะธุรกิจนี้ต้องทำกันอยู่ในระดับนี้ แต่ของเรายังถือว่าสูง เพราะอยู่ที่เกือบ 10% ซึ่งเราต้องหันมาดูแลเรื่องการผลิตให้ได้ ” นายปัญจะกล่าว
จากการที่บริษัทได้บริษัทลูกอย่าง บริษัท บริษัท ไทยลามิเนต แมนูแฟคเจอเรอร์ จำกัด ที่ผลิตวัตถุดิบพรีเพ็กซ์และลามิเนต ให้นั้นเป็นการลดต้นทุนได้ทางหนึ่ง แต่การที่ต้องนำเข้าวัตถุดิบถึงกว่า 62 % ก็ยังเป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่งด้วยเช่นกัน
สำหรับตลาดที่สำคัญในการส่งออกของ KCE คือ ยุโรป 60% สหรัฐอเมริกา 25% เอเชีย 15% ที่เหลือคือขายให้กับลูกค้าในประเทศ นายปัญจะให้เหตุผลว่า การขายในประเทศมีน้อย เนื่องจากราคาขายของ PCB ในประเทศจะมีราคาถูกกว่าราคาขายในต่างประเทศ ดังนั้นการแก้ปัญหาของบริษัทเมื่อประสบกับเหตุการณ์ดังกล่าว ด้วยการมุ่งไปที่ตลาดต่างประเทศเกือบทั้งหมด และเป็นตลาดที่ใหญ่กว่าจากความต้องการใช้ที่มีมาก รวมทั้งตลาดก็ใหญ่กว่า เนื่องจากความต้องการใช้มีมากกว่า ทั้งนี้ KCE ได้ตั้งสำนักงานตัวแทนขายในหลายประเทศ เช่น สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา และยุโรป เพื่อให้ทันกับความต้องการของลูกค้าและเป็นการสะดวกต่อการบริหารการตลาดด้วย ทำให้รายได้จากการขายที่เข้ามาเป็นสกุลเงินหลายสกุลก่อนที่จะสวอปกลับมาเป็นเงินบาทไทย และได้กำไรจากส่วนต่างของอัตราแลกเปลี่ยนในยามที่ค่าเงินบาทลอยตัว อย่างไรก็ตาม แม้ในช่วงที่ผ่านมานั้นธุรกิจชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ซบเซา KCE ได้เพิ่มกำลังการผลิตเพื่อรองรับกับออร์เดอร์ที่มีเข้ามาต่อเนื่อง และแม้ว่าตลาดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จะซบเซาไปบ้างในช่วงที่ผ่านมา แต่ก็เป็นเพียงชิ้นส่วนบางนิดเท่านั้น ซึ่งในส่วนของ PCB ที่ KCE ผลิตอยู่ ยังพบว่าความต้องการของตลาดยังมีต่อเนื่อง
นายปัญจะกล่าวว่าช่วงที่ผ่านมา บริษัทต้องรับรู้ผลขาดทุนจากบริษัทย่อย อย่าง บริษัท เคซีอี เทคโนโลยี จำกัด แต่ปีนี้บริษัทย่อยแห่งนี้ สามารถยืนได้ด้วยตัวเองแล้วเพราะผลการดำเนินงานมีกำไรงาม ทำให้บริษัทแม่ไม่ต้องรับผลขาดทุน แต่กลับรับรู้ผลกำไรแทน ขณะที่บริษัท ไทยลามิเนต แมนูแฟคเจอเรอร์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยอีกแห่งที่ KCE มีแผนจะนำเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยนั้นยังคงอยู่ในแผน แต่หลายปัจจัยยังไม่เอื้อต่อการดำเนินการดังกล่าว
“แผนนี้เรายังมีอยู่ แต่เราไม่รีบ เพราะเราอยากให้อะไรลงตัวก่อน ถ้าเราเข้าก็ต้องเข้าตลาดหลักทรัพย์ SET ” นายปัญจะกล่าว
นายปัญจะ กล่าวถึงการออกใบสำคัญสิทธิ(วอร์แรนต์)ให้กับกรรมการและพนักงานบริษํ พร้อมกันนี้ บอร์ด KCE ยังมีมติให้เสนออก วอร์แรนต์ 3 ล้านหน่วย อายุ 5 ปี ให้แก่กรรมการและพนักงานของบริษัทและบริษัทย่อย บริษัทคาดว่าจะมีพนักงานที่มีสิทธิได้รับการเสนอขายวอร์แรนต์ประมาณ 100 ราย เพื่อเป็นแรงจูงใจในการทำงานและตอบแทนการปฎิบัติงานของพนักงานที่มีความตั้งใจในการทำงานด้วย โดยวอร์แรนต์ที่จัดสรรนี้ คิดเป็น 0.95% ของจำนวนหุ้นที่ได้จำหน่ายแล้วทั้งหมดของบริษัท ราคาเสนอขาย 0 บาท
“เราออกวอร์แรนต์นิดเดียว ไม่ได้มากมายออกเพื่อให้พนักงานบริษัทที่ทำงานกับบริษัทและตั้งใจทำงาน ” นายปัญจะกล่าว
ขณะที่ช่วงก่อนหน้านี้บอร์ด KCE ได้ออกหุ้นกู้แปลงสภาพไม่เกิน 500 ล้านบาท อายุไม่เกิน 3 ปี นับจากวันที่ออกหุ้นกู้แปลงสภาพชนิดระบุชื่อผู้ถือที่ให้สิทธิผู้ถือหุ้นกู้ที่จะแปลงสภาพหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญของบริษัททุกประเภท กำหนดอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน MLR - (0.75%) ต่อปี เฉลี่ยของ 4 ธนาคาร (ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารไทยพาณิชย์และธนาคารกสิกรไทย)
โดยอัตราการใช้สิทธิและ และราคาในการแปลงสภาพนั้น หุ้นกู้แปลงสภาพ 1 หน่วยสามารถแปลงสภาพ เป็นหุ้นสามัญที่ออกใหม่จำนวนเท่ากับมูลค่าที่ตราไว้ของหุ้นกู้แแปลงสภาพหารด้วยราคาแปลงสภาพของหุ้นกู้แปลงสภาพ โดยราคาแปลงสภาพต่อ 1 หุ้นสามัญใหม่นั้นให้คณะกรรมการบริษัทหรือบุคคล ที่คณะกรรมการได้มอบหมายเป็นผู้พิจารณากำหนดต่อไป เพื่อเสนอขายให้กับ ผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจง (PP) ซึ่งมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทเมื่อ 27 เมษายน 49 ผู้ถือหุ้นได้อนุมัติการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวแล้ว
|
|
|
|
|