Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน1 พฤษภาคม 2549
สำรวจพฤติกรรมผู้บริโภค...ลดจับจ่ายรับวิกฤตน้ำมันแพง             
 


   
search resources

Commercial and business
Economics




ในภาวะที่ราคาน้ำมันในประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามราคาน้ำมันในตลาดโลกส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงหลากหลายธุรกิจอันเป็นผลมาจากการปรับพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภค บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด สำรวจ "พฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยของคนกรุงเทพฯ" ในระหว่างวันที่ 10-23 เมษายน 2549 จากกลุ่ม ตัวอย่าง 505 คน โดยเป็นการสัมภาษณ์เชิงลึกเจาะจงเฉพาะกลุ่มตัวอย่างที่เป็นแม่บ้านหรือผู้มีหน้าที่จับจ่ายสินค้าอุปโภค/บริโภคของแต่ละครัวเรือน กระจายกลุ่มตัวอย่างตามอายุและรายได้ของครัวเรือน ซึ่งทั้งสองปัจจัยนี้มีส่วนทำให้พฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยที่แตกต่างกัน...

เริ่มลดทอนค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟื่อย

ทั้งนี้ จากการสำรวจดังกล่าวพบประเด็นสำคัญได้แก่...

- คนกรุงเทพฯที่เป็นกลุ่มตัวอย่างเริ่มลดค่าใช้จ่ายกิจกรรมสันทนาการเป็นอันดับแรก เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยว คือ ร้อยละ 25.8 ลด/งดการเดินทางท่องเที่ยว ร้อยละ 21.0 ลด/งดการเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศ และร้อยละ 10.2 หันมาท่องเที่ยวในประเทศแทนโดยเน้นการเดินทางท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวใกล้กรุงเทพฯ และเน้นการขับรถยนต์ไปเอง นอกจากนี้ ร้อยละ 14.1 ลด/งดการใช้บริการเสริมความงาม ร้อยละ 9.3 ลด/งดการดูภาพยนตร์ ร้อยละ 8.5 ลด/งดการสังสรรค์กับเพื่อนๆ ร้อยละ 5.4 ลด/งดการไปชมคอนเสริต์/ฟังเพลงนอกบ้าน และที่เหลืออีกร้อยละ 5.7 มีการปรับลดค่าใช้จ่ายอื่นๆที่เป็นกิจกรรมสันทนาการ เช่น ลดการซื้อหนังสือ/หนังสือพิมพ์ เป็นต้น

- คนกรุงเทพฯที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีการปรับพฤติกรรมในเรื่องค่าใช้จ่ายในด้านอาหารคือ ร้อยละ 41.8 ลด/งดการรับประทานอาหารนอกบ้าน ร้อยละ 24.0 หันมาทำอาหารรับประทานมากขึ้น ร้อยละ 13.2 เลือกร้านที่ซื้ออาหารปรุงสำเร็จที่ราคาไม่แพง และที่เหลืออีกร้อยละ 21.0 เลือกซื้อวัตถุดิบประกอบอาหารที่ราคาไม่แพง ทานอาหาร/บะหมี่สำเร็จรูปมากขึ้น และงด/ลดการดื่มน้ำอัดลม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มชูกำลัง ฯลฯ สำหรับพฤติกรรมการจับจ่ายซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคนั้นคนกรุงเทพฯที่เป็นกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เปลี่ยนพฤติกรรมในการเลือกซื้อ โดยพิจารณาราคามากยิ่งขึ้น

- คนกรุงเทพฯที่เป็นกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 43.4 ลด/งดการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่จำเป็น ร้อยละ 21.4 ลดการดูโทรทัศน์/วิดีโอ ร้อยละ 14.5 ลด/งดการใช้เครื่องปรับอากาศ และหามาตรการในการประหยัดค่าไฟฟ้า ประปาและโทรศัพท์ และร้อยละ 5.2 ลดการใช้โทรศัพท์มือถือ

- คนกรุงเทพฯที่เป็นกลุ่มตัวอย่างเริ่มหันมาประหยัด ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง โดยร้อยละ 35.4 เน้นการใช้รถยนต์ ส่วนตัวเท่าที่จำเป็น ร้อยละ 34.8 หันไปใช้บริการรถสาธารณะมากขึ้น ร้อยละ 19.3 ให้คนในบ้านใช้รถยนต์สาธารณะแทนการใช้รถส่วนตัว ร้อยละ 7.2 หันมาใช้รถยนต์ส่วนตัวคันเดียวกัน และร้อยละ 3.3 ปรับระบบรถยนต์เป็นใช้ก๊าซแทนน้ำมัน

- คนกรุงเทพฯที่เป็นกลุ่มตัวอย่างก็มีการปรับพฤติกรรมเพื่อลดค่าใช้จ่ายในด้านสุขภาพ โดยร้อยละ 40.3 หันไปใช้บริการโรงพยาบาลรัฐบาลแทนโรงพยาบาลเอกชน ร้อยละ 27.5 ใช้บริการประกันสังคมมากขึ้น ร้อยละ 15.6 หันไปใช้ยาสมุนไพรแทนยาแผนปัจจุบัน ร้อยละ 9.1 ลด/งดการบริโภคอาหารเสริมสุขภาพ และที่เหลืออีกร้อยละ 7.3 เป็นการลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพอื่นๆ เช่น เน้นการออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงป้องกันและลดการเจ็บป่วย ใช้ยาที่ผลิตในประเทศซึ่งราคาจะถูกกว่ายาที่ต้องนำเข้า เป็นต้น

- คนกรุงเทพฯที่เป็นกลุ่มตัวอย่างปรับลดค่าใช้จ่ายที่น่าสนใจคือ ร้อยละ 73.3 ลดการเสี่ยงโชค/การพนัน ร้อยละ 14.8 ลดการทำบุญ/บริจาคทาน และที่เหลือร้อยละ 11.9 ลดค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น การหันไปซื้อกรรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ชั้น 3 แทนประกันภัยชั้น 1 เป็นต้น

กลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบเชิงบวก

-ธุรกิจจำหน่ายอาหารสำเร็จรูป/อาหารสด จากการหันมารับประทานอาหารสำเร็จรูป/กึ่งสำเร็จรูปมากขึ้น ทำให้ยอดจำหน่ายของร้านอาหารสำเร็จรูป/อาหารสดมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ผู้ประกอบการเหล่านี้จะได้รายได้เป็นกอบเป็นกำเพิ่มขึ้น

- สินค้าอุปโภคประเภทเฮาส์แบรนด์ จากการเน้นพิจารณาที่ราคามากกว่าการยึดติดกับยี่ห้อของสินค้า ดังนั้นผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีกที่หันมาผลิตสินค้าอุปโภคเฮาส์แบรนด์จะได้เปรียบเนื่องจากราคาจะถูกกว่าสินค้าประเภท เดียวกันที่มียี่ห้อของผู้ผลิตอื่นๆ นอกจากนี้ บรรดาผู้ประกอบการผลิตสินค้าอุปโภคเริ่มทยอยปรับสินค้าเป็นแพกขนาดเล็กมากขึ้น ตอบสนองกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เน้นการซื้อสินค้าอุปโภคขนาดเล็ก หรือซื้อเท่าที่จำเป็นเท่านั้น

- ธุรกิจบริการรถสาธารณะ จากการลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว และหันมาใช้รถยนต์ส่วนตัวคันเดียวกันในกรณีที่เคยมีการใช้หลายคัน นอกจากนี้คนกรุงเทพฯที่เป็นกลุ่มตัวอย่างจะหันไปใช้บริการรถสาธารณะมากขึ้น รวมทั้งชักชวนและแนะนำให้คนในบ้านใช้บริการรถสาธารณะมากขึ้นด้วย

- ธุรกิจปั๊มก๊าซจากที่มีรถยนต์ส่วนตัวเริ่มหันมาติดตั้ง ระบบก๊าซ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย ทำให้ธุรกิจปั๊มก๊าซก็จะมีลูกค้าเข้าไปใช้บริการเพิ่มขึ้นจากเดิมที่ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นรถสาธารณะ

- ธุรกิจโรงพยาบาล แม้ว่าเมื่อต้องประหยัดค่าใช้จ่าย ทำให้จำนวนคนที่ต้องหันกลับไปใช้บริการโรงพยาบาลรัฐบาลมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนที่ได้มาตรฐานและราคาไม่แพงก็มีโอกาสที่จะมีลูกค้า เข้ามาใช้บริการมากขึ้น เนื่องจากยังคงมีข้อได้เปรียบในเรื่องการที่ไม่ต้องรอคิวนาน

- ธุรกิจยาสมุนไพร จากการประหยัดค่าใช้จ่ายนับว่าเป็นปัจจัยหนุนเพิ่มเติมต่อยอดจำหน่ายยาสมุนไพร จากเดิมที่มีปัจจัยสนับสนุนในเรื่องเป็นยาที่ใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติไม่ใช่ยาที่ใช้เคมีสังเคราะห์ ทั้งนี้ การพัฒนา สุขอนามัยในการผลิตและการบรรจุหีบห่อให้ทันสมัย ทำให้ยอดจำหน่ายยาสมุนไพรมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

กลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบเชิงลบ

- ธุรกิจภัตตาคารและร้านอาหาร เนื่องจากมีการงด/ลดการไปรับประทานอาหารนอกบ้าน และลด/งดการสังสรรค์กับเพื่อนๆ ส่งผลกระทบต่อรายได้ของบรรดาภัตตาคารและร้านอาหาร

- ธุรกิจน้ำอัดลม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ฯลฯ เนื่อง จากการปรับลดการบริโภคสินค้า ทั้งนี้เพื่อเป็นการประหยัด ค่าใช้จ่าย และการขึ้นราคาของน้ำอัดลมอันเป็นผลมาจากราคาน้ำตาลที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้คาดว่าบรรดาผู้ประกอบการในธุรกิจเหล่านี้จะได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก

- ธุรกิจเสื้อผ้า/เครื่องประดับ และสินค้าที่มีราคาสูง ก็จะถูกชะลอการซื้อออกไปก่อน ทำให้สินค้านำเข้าที่มีราคา สูงจะมียอดจำหน่ายลดลง เนื่องจากจะมีการหันมาใช้สินค้าที่ผลิตในประเทศมากขึ้นหรือหันไปซื้อสินค้ามือสองที่มีราคาถูกกว่า

- ธุรกิจท่องเที่ยวและธุรกิจบริการต่างๆที่เกี่ยวเนื่องในแหล่งท่องเที่ยว การปรับพฤติกรรมของคนกรุงเทพฯที่เป็นกลุ่มตัวอย่างส่งผลกระทบต่อรายได้ของธุรกิจท่องเที่ยวและธุรกิจบริการต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องในแหล่งท่องเที่ยว เนื่องจากมีจำนวนคนเดินทางท่องเที่ยวลดลง

- ธุรกิจสถานบริการเสริมความงาม ซึ่งเป็นธุรกิจคนกรุงเทพฯที่เป็นกลุ่มตัวอย่างถึงร้อยละ 14.1 ลด/งดการไปใช้บริการสถานบริการเสริมความงาม โดยบางกลุ่มนั้นลดความถี่ในการใช้บริการเสริมความงาม และบางกลุ่มงดการไปใช้บริการเสริมความงามโดยหันไปซื้อเครื่องมือและอุปกรณ์ไปทำเองที่บ้าน ซึ่งปัจจุบันเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ หาซื้อได้ง่าย โดยมีจำหน่ายตามร้านค้าปลีกทั่วไป และราคาไม่สูงมากนัก

- ธุรกิจโรงภาพยนตร์ ธุรกิจจัดคอนเสริต์ ธุรกิจสถานบันเทิง ธุรกิจเหล่านี้จะได้รับผลกระทบจากมาตรการ รัดเข็มขัด เนื่องจากผู้ใช้บริการจะลดความถี่ในการเข้าไปใช้บริการ

- ธุรกิจอาหารเสริมสุขภาพ อาหารเสริมสุขภาพนั้นจัดว่าเป็นสินค้าประเภทฟุ่มเฟือย ดังนั้นอาหารเสริมสุขภาพจึงอยู่ในลำดับต้นๆที่ผู้บริโภคจะตัดออกจากรายการใช้จ่าย ทำให้เมื่อภาวะเศรษฐกิจในระดับครัวเรือนมีปัญหา ซึ่งจะส่งผลอย่างมากต่อธุรกิจอาหารเสริมสุขภาพ

- ธุรกิจจำหน่ายลอตเตอรี่และหวย แม้ว่าโดยพฤติกรรมของคนไทยส่วนใหญ่จะชื่นชอบกับการเสี่ยงโชค แต่ในภาวะที่ไม่มีความมั่นใจในสภาพเศรษฐกิจยอดจำหน่าย ลอตเตอรี่และหวย รวมทั้งเงินหมุนเวียนในธุรกิจการเสี่ยงโชคเกือบทุกประเภทมีแนวโน้มลดลง ซึ่งส่งผลต่อผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง

วอนคุมฉวยโอกาสขึ้นราคาสินค้า-บริการ

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าปัญหาน้ำมันแพงนั้นเป็นปัญหา ที่หลีกเลี่ยงได้ยาก เนื่องจากเป็นการปรับราคาขึ้นตามราคา น้ำมันในตลาดโลก แต่มาตรการที่คนกรุงเทพฯที่เป็น กลุ่มตัวอย่างหวังพึ่งรัฐบาลให้ช่วยลดผลกระทบจากปัญหา ผลกระทบจากน้ำมันแพง 5 อันดับแรกคือ ควบคุมการฉวยโอกาสปรับราคาสินค้า/บริการของบรรดาผู้ประกอบการ ไม่ขึ้นค่าบริการสาธารณูปโภคต่างๆในช่วงที่น้ำมันมีราคาแพง ปรับปรุง/เพิ่มบริการของรถสาธารณะ ลดภาษีเงินได้ และช่วยผู้ผลิตลดต้นทุนการผลิตสินค้า โดยหวังว่าถ้ารัฐบาลมีการดำเนินการควบคุมอย่างจริงจังก็จะช่วยบรรเทาความรุนแรงของปัญหาที่เกิดขึ้นกับภาวะเศรษฐกิจ ในระดับครัวเรือนได้ในระดับหนึ่ง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us