|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
...ภาพความชะลอตัวของเศรษฐกิจในช่วงต่อไป เริ่มมีความ ชัดเจนขึ้นภายหลังที่นายทนง พิทยะ รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกมายอมรับว่าเศรษฐกิจปีนี้อาจจะโตไม่ถึง 5% และสำนักงานเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศค.) ก็ออกมารับลูกในทันทีว่าจะมีการทบทวนเป้าหมายเศรษฐกิจปีนี้ในเดือนหน้า (พฤษภาคม) หลังจากที่ยืนกรานคงเป้าเศรษฐกิจเดิมที่ 4.5-5.5% มาตลอดไตรมาสแรกของปีนี้ ท่ามกลางเสียงคลางแคลงใจของสำนักวิจัยต่างๆ ว่าถึงความเป็นไปได้ของเป้าหมายนั้น...
ปัจจัยหลักที่ทำให้คลังถึงกับยอมจำนน รับสภาพจีดีพีโตต่ำกว่าเป้านั้น เป็นส่วนของราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปีจนกระทั่งแตะ 74 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ในไตรมาสแรกของปีนี้ ...ซึ่งทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) นำร่องปรับลดอัตราการเติบโตจีดีพีลง 0.50% เหลือ 4.25-5.25%
การลงทุนภาคเอกชนเดือน มี.ค.ยังลดลงต่อ
จากรายงานตัวเลขเศรษฐกิจประจำเดือนมีนาคมที่ธนาคารแห่งประเทศไทยแถลงออกมา พบว่า แม้ว่าเศรษฐกิจในเดือนมีนาคมจะขยายตัวอย่างต่อเนื่องท่ามกลางราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นและมีความกังวลต่อสถานการณ์ทางการเมือง แต่ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนทั้งในเดือนมีนาคม และไตรมาสแรกของปี 2549 ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง โดยขยายตัวร้อยละ 1.4 ชะลอลงจากร้อยละ 5.3 ในเดือนกุมภาพันธ์ ตามการชะลอตัวของการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร ซึ่งเป็นผลมาจากปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ลดลง เนื่องจากราคาน้ำมันแพงและการลงทุนภาคการก่อสร้างหดตัวลงต่อเนื่อง ประกอบกับราคาน้ำมันและดอกเบี้ยสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนการผลิตของผู้ประกอบการเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในเดือนมีนาคม อยู่ที่ 44.8 ลดลงจากเดือนก่อนซึ่งอยู่ที่ 45 โดยองค์ประกอบที่ปรับลดลงได้แก่ ผลประกอบการ ผลผลิต การจ้างงาน และการลงทุน สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในอีก 3 เดือนข้างหน้า ปรับลดลงจาก 52.7 เป็น 50.4 อย่างไรก็ตาม ธปท. เชื่อว่าการชะลอการลงทุนภาคเอกชนจะเป็นเพียงภาวะชั่วคราว เนื่องจากขณะนี้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 79.8 จึงเชื่อว่าเอกชนจะมีการเพิ่มการลงทุนและปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ส่วนอัตราเงินเฟ้อในเดือนมีนาคมอยู่ที่ร้อยละ 5.7 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 5.6 ในเดือนกุมภาพันธ์ ตามราคาน้ำมันที่มีการปรับขึ้น 3 ครั้ง รวม 1.20 บาท และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 2.6
อย่างไรก็ตาม ภาคการส่งออกยังขยายตัวอยู่ในระดับที่ดี โดยเดือน มีนาคมมีมูลค่า 10,859 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.2 เป็นการขยายตัวในหมวดอิเล็กทรอนิกส์ ยานพาหนะ พลาสติก ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 10,672 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2 โดยมีสาเหตุจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันตลาดโลก แต่ปริมาณการนำเข้ารวมลดลง ทำให้ดุลการค้าเกินดุล 187 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งถือเป็นการเกินดุลครั้งแรก ในรอบ 5 เดือน ส่วนดุลบริการเกินดุล 298 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 485 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
และไตรมาสแรกของปี 2549 ดุลการค้าขาดดุล 224 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยการส่งออกมีมูลค่า 29,901 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.9 การนำเข้ามีมูลค่า 29,316 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 ส่วนหนึ่งเนื่องจากไตรมาสแรกปีที่แล้วมีการเร่งนำเข้าเหล็ก ทองคำ น้ำมัน ส่วนดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 1,656 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ทนงห่วงน้ำมันพุ่ง ศก.ทรุด เตือนประชาชนประหยัด
ด้านนายทนง พิทยะ รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ยังคงมองแนวโน้มราคาน้ำมันว่าจะยังปรับตัวขึ้นได้อีก จากการเข้ามาเก็งกำไรหากสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างอิหร่านกับสหรัฐฯมากขึ้น ซึ่งทางรัฐบาลเองก็มีความเป็นห่วงในเรื่องดังกล่าว แม้จะมีมาตรการระยะสั้นๆเพื่อบรรเทาผลกระทบของผู้บริโภคแล้วก็ตาม
พร้อมกันนั้นได้เรียกร้องให้ประชาชนก็จะต้องให้ความร่วมมือกับ ภาครัฐด้วยการประหยัด โดยภาครัฐจะพยายามดูแลอย่างเต็มที่ แต่ประชาชนก็จะต้องรับรู้ว่าภาครัฐแบกรับภาระได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น เนื่องจากราคาสินค้าจะมีการปรับตัวสูงขึ้นบ้างจากผลกระทบราคาน้ำมัน ซึ่งประชาชนเองก็จะต้องปรับตัว ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถปรับตัวได้ในที่สุด
"ปีที่แล้วราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นถึงเท่าตัว แต่รัฐบาลก็แก้ไขสถานการณ์และประชาชนก็ปรับตัวได้ ดังนั้น ขอให้ประชาชนช่วยกันประหยัด เนื่องจากพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศไทยแข็งแกร่งอยู่ในระดับหนึ่ง หากสถานการณ์น้ำมันในตลาดโลกอ่อนตัวลงก็จะทำให้เศรษฐกิจมีเสถียรภาพได้"นายทนงกล่าว
|
|
|
|
|