Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน1 พฤษภาคม 2549
ธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ไทยตั้งรับมรสุมกสิกรฯหวั่นบาทแข็งสินค้าจีนทะลัก             

 


   
www resources

โฮมเพจ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

   
search resources

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก.
Furniture




วิจัยกสิกรไทย ฟันธงธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ปี49 ทรงตัวตามภาวะอสังหาฯ แต่คนไทยยังซื้อสินค้ากลุ่มเฟอร์นิเจอร์ที่ระดับ 5,900-6,200 บาทต่อครัวเรือนต่อปี ส่วนเฟอร์นิเจอร์ส่งออกยังต้องเผชิญปัญหาเงินบาทแข็งค่า คาดส่งออกใกล้เคียงปี48 ที่มูลค่า 42,490 ล้านบาท

บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงานว่า ปีนี้สถานการณ์ตลาดเฟอร์นิเจอร์ในประเทศ จะอยู่ในภาวะทรงตัวตามภาวะธุรกิจอสังหาฯ ซึ่งเป็นผลจากแนวโน้มการปรับเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยและภาระค่าใช้จ่ายของผู้บริโภคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายในด้านการเดินทาง

ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระบุว่า ปี 2548 ผู้บริโภคใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้านเฉลี่ย 6,000 บาทต่อครัวเรือนต่อปี เติบโตเพิ่มขึ้น 9 % จากปี 2547 โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าการใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้ากลุ่มดังกล่าวในปี 2549 น่าจะทรงตัวหรือใกล้เคียงกับปี 2548 ที่ระดับ 5,900-6,200 บาทต่อครัวเรือนต่อปี ซึ่งทั้งนี้ ไม่น่าจะถดถอยเหมือนดังเช่นในช่วงภาวะวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540-2542 ที่ผู้บริโภคมีการใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้านเฉลี่ย 5,511 บาทต่อครัวเรือนต่อปี 4,827 บาทต่อครัวเรือนต่อปี และ 4,572 บาทต่อครัวเรือนต่อปี ตามลำดับ

" ผู้ประกอบการไทยน่าจะต้องเผชิญกับภาวะการแข่งขันที่รุนแรงเพิ่มขึ้น จากทั้งผู้ประกอบการไทยด้วยกันเองและคู่แข่งต่างประเทศ อีกทั้งแนวโน้มความต้องการสินค้าที่สามารถบ่งบอกถึงวิถีการดำเนินชีวิตของผู้บริโภค โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ในวัยทำงานที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปีนั้นก็เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องเร่งแสวงหาสินค้าที่มีความแตกต่างมากขึ้นเรื่อยๆ " ศูนย์วิจัยฯระบุ

ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการยังต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยง ทางด้านต้นทุนการผลิตอย่างราคาน้ำมัน ราคาวัตถุดิบที่ปรับราคาสูงขึ้น เงินบาทแข็งค่าขึ้นในช่วงต้นปี 2549 ก็ส่งผลให้สินค้านำเข้าจากต่างประเทศมีราคาที่ถูกลงในสายตาของผู้บริโภคคนไทย โดยเฉพาะสินค้าเฟอร์นิเจอร์จากจีน ที่เดิมก็มีความได้เปรียบด้านราคาที่ถูกกว่าอยู่แล้ว รวมถึงสินค้าจากคู่แข่งต่างชาติอย่างกลุ่มผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์จากยุโรป ที่เตรียมบุกตลาดเฟอร์นิเจอร์ไทย เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าระดับบนด้วย

ในช่วง 3 เดือนแรกปี 2549 ไทยนำเข้าสินค้าเฟอร์นิเจอร์คิดเป็นมูลค่า 699.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้น53.9 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน และมีความเป็นไปได้ว่าภาวการณ์นำเข้าสินค้าเฟอร์นิเจอร์ในปี 2549 ทั้งปีก็น่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากมูลค่า 2,297.7 ล้านบาทในปี 2548 เป็นมูลค่ากว่า 3,000 ล้านบาทในปี 2549 หรือคิดเป็นอัตราการเติบโตไม่ต่ำกว่า30% เมื่อเทียบกับปี 2548 โดยแหล่งนำเข้าสำคัญน่าจะยังคงเป็นจีน, มาเลเซีย ,อิตาลี, สหรัฐ และเยอรมนี ที่มีสัดส่วนรวมกันประมาณ 60-70% ของมูลค่าการนำเข้าเฟอร์นิเจอร์โดยรวมมาโดยตลอด

สำหรับสถานการณ์ตลาดเฟอร์นิเจอร์ของไทยในต่างประเทศ ในปี 2549 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าจะส่งออก ได้ใกล้เคียงกับปี 2548 ที่ส่งออกคิดเป็นมูลค่า 42,489.7 ล้านบาท และน่าจะเติบโตในระดับที่ใกล้เคียงกันที่ระดับ 2-5 %และได้เปรียบดุลการค้าเป็นมูลค่า 40,000 ล้านบาท ขณะที่ในช่วงไตรมาสแรกปี 2549 การส่งออกเฟอร์นิเจอร์ของไทยสามารถสร้างรายได้เข้าประเทศคิดเป็นมูลค่า 9,651.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.3 %เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปี 2548   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us