Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน1 พฤษภาคม 2549
สศค.เล็งลดเป้าจีดีพี0.5%             
 


   
www resources

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

   
search resources

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
สมชัย สัจจพงษ์
Economics




สศค.เตรียมปรับลดเป้าจีดีพีหลังแบงก์ชาติได้ปรับลดไปแล้ว 0.5% ระบุราคาน้ำมัน-ค่าเงินบาท-เงินเฟ้อเป็นปัจจัยกดดัน เชื่อกระแสพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวต่อ 3 ศาลช่วยสถานการณ์ทุกอย่างจบเร็ว

นาย สมชัย สัจจพงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ปลายเดือนพฤษภาคม 2549 สศค.เตรียมปรับประมาณการเศรษฐกิจ2549ภายหลังที่ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ได้ปรับประมาณการไปแล้วจากเดิมคือ4.75-5.25% เป็น4.25-4.75% ซึ่งการปรับประมาณการณ์GDP ในส่วนของกระทรวงการคลัง จะต้องดูปัจจัย และข้อเท็จจริงต่างๆ ประกอบว่าเป็นอย่างไร ก่อนที่จะปรับประมาณการGDP ซึ่งเหลือเวลาอีก 1 เดือน โดยปัจจัยต่างๆอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ทั้งเรื่องราคาน้ำมันและเงินเฟ้อ

“ปัจจัย ที่ส่งผลกระทบต่อการปรับGDP หลักๆแล้วคือ ราคาน้ำมัน เนื่องจากราคาน้ำมันยังผันผวนอยู่มาก แต่ขณะนี้ยังเชื่อว่าGDP ยังอยู่ที่ 4.50.5.50% เพราะเมื่อดูในไตรมาตร 1 ถึงว่าดีมาก ซึ่งเป็นปัจจัยบวกที่ดี ถ้าน้ำมันไม่แพงหรือปรับตัวสูงไปกว่านี้ โดยปัจจัยราคาน้ำมันเป็นสิ่งที่คาดเดาอยากซึ่งต้องดูปัจจัยจากภายนอกเป็นหลัก รวมทั้งต้องพิจารณาค่าเงินบาทด้วย” นายสมชัยกล่าว

ทั้งนี้ในส่วนโครงการเมกะโปรเจกต์ที่มีการชะลอการลดทุน กระทรวงการคลัง ไม่ได้นำมาใช้ในการประมาณการ GDP อยู่แล้วจึงเชื่อว่า การชะลอการลงทุนในโครงการดังกล่าวจะไม่กระทบต่อ GDP 4.5-5.5 % แต่อย่างใด

นอกจากนี้พระราชดำรัชของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่มีต่อ 3 ศาล นั้นตนเชื่อว่า ทุกอย่างน่าจะจบได้เร็วและเหตุการณ์ต่างๆ มีทิศทางที่ชัดเจนมากขึ้นซึ่งทุกคนก็ต้องทำตามหน้าที่ของตนที่ถวายสัตย์ปฏิญาณไว้และ 3 ศาลเป็นองค์กรที่เชื่อถือซึ่งรวมถึงการเมืองน่าจะผ่านไปด้วยดีเศรษฐกิจคงจะไม่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากสถานการณ์ทางการเมืองที่ผ่านมา

นายสมชัยยังเชื่อว่าเศรษฐกิจ ปี2549 จะดีกว่าปี 2548 แน่นอนเนื่องจากปี 2548 ราคาน้ำมันปรับตัวขึ้นจากปี2547 สูงถึง 44% และคาดว่าราคาน้ำมันในปี 2549 ไม่น่าจะปรับตัวสูงขึ้นมากกว่า 44% ซึ่งหลายฝ่ายได้แสดงความเป็นห่วงราคาน้ำมันและเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น แต่ก็ต้องยอมรับด้วยว่าเมื่อดูฐานมาตรการเศรษฐกิจปี 2549 ถือว่าดีกว่าปี 2548 ส่วนค่าเงินบาทธปท.ก็ได้ดูแลใกล้ชิดอยู่แล้ว

ส่วนการที่ (ธปท.)อาจมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.6 % เชื่อว่าคงเป็นการปรับขึ้นครั้งสุดท้ายแล้วซึ่งนายทนง พิทยะ รักษาการว่าการกระทรวงการคลังเคยคาดการไว้ว่าอัตราดอกเบี้ยใกล้ถึงจุดอิ่มตัวแล้วถ้าวัตถุประสงค์ที่ต้องการที่ให้อัตราดอกเบี้ยใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงก็เชื่อว่าใกล้จะจบแล้วและอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 14 วัน หรือ RP 14 วันน่าจะถึงจุดที่ไม่ต้องปรับเพิ่มแล้วซึ่งไม่ต่างจากความเห็น รมว.คลัง

อย่างไรก็ตาม กระทรวงการคลังได้เตรียมมาตรการที่จะบรรเทาช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนตามแนวทางที่สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.)เสนอให้แก่คณะรัฐมนตรี(ครม.) ซึ่งมี 5 มาตรการ คือ 1.มาตราการเกี่ยวกับพลังงาน 2.มาตรการเกี่ยวกับการเพิ่มรายได้ให้กับประชาชน 3.มาตรการเกี่ยวกับการลดรายจ่าย 4.มาตรการเกี่ยวกับการเร่งรัดการเบิกจ่ายของรัฐบาล และ5.มาตรการเกี่ยวกับในการใช้สร้างบรรยากาศในการลงทุนที่ดี

ซึ่งนายทนง ได้สั่งให้ สศช.ดูแล5 มาตรการ เสนอ ครม.นั้นส่วนไหนที่กระทรวงการคลังมีส่วนเกี่ยวข้องก็ต้องมาดูและสังเคราะห์ถ้ามีความเหมาะสมและเป็นไปได้ก็จะหามาตรการช่วยเหลือ เพื่อนำเสนอ ครม. ต่อไป ทั้งนี้สิ่งที่กระทรวงการคลัง

โดยก่อนหน้านี้ นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ สายเสถียรภาพการเงิน ธปท. กล่าวว่า ธปท.ได้ปรับลดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจปี 2549 ลง 0.5% เนื่องจากการใช้จ่ายในประเทศลดลง การใช้จ่ายภาครัฐลดลง และราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจปี 2549 เหลือ 4.25 –4.75% จากที่เคยประเมินไว้ในเดือนมกราคา 4.75-5.75% แต่ยังคงอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2550 ที่ 4.5 –6 % โดย ธปท.ยังให้ความสำคัญกับสถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลก ซึ่งมีแนวโน้มปรับเพิ่มสูงขึ้น ในการประเมินครั้งนี้ ธปท.ได้ปรับสมมติฐานราคาน้ำมันใหม่ โดยน้ำมันดิบดูไบ อยู่ที่ 61.5 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล และกรณีเลวร้ายที่สุดจะอยู่ที่ 69.3 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งหากราคาน้ำมันสูงถึงระดับดังกล่าว จะมีผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจมากขึ้น และมีโอกาสที่เศรษฐกิจจะโน้มเอียงเติบโตที่ 4.25-4.75%

ส่วนภาวะเงินเฟ้อ ธปท.มีการปรับประมาณการใหม่ โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไป อยู่ที่ 4-5% จากเดิม 3.5-5% เงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ระดับเดิม 2-3% โดย ธปท.เชื่อว่าอัตราเงินเฟ้อจะปรับลดลงได้ แม้ว่าราคาน้ำมันจะสูงขึ้น เนื่องจากผลกระทบด้านราคาสินค้ามีไม่มากเท่าปีที่ผ่านมา ประกอบกับค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ช่วยลดผลกระทบจากการนำเข้าน้ำมันได้ ประกอบการค่าใช้จ่ายในประเทศชะลอตัวลง ดังนั้น จึงเชื่อว่าแรงกดดันต่อเงินเฟ้อน่าจะลดลง อย่างไรก็ตาม เรื่องเงินเฟ้อยังเป็นแรงกดดันต่อการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินในครั้งหน้า

สำหรับค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมาก ธปท.ยืนยันว่ามีสาเหตุจากการไหลเข้าของเงินทุนต่างประเทศ ที่เข้ามาในภูมิภาคเอเชีย ทำให้เงินสกุลเอเชียแข็งค่าขึ้นทุกสกุล โดยยังไม่เห็นภาวะการเก็งกำไร แต่เงินทุนดังกล่าวน่าจะเป็นเงินระยะสั้นที่เข้า-ออกเร็ว และสร้างความผันผวนให้ตลาดพอสมควร ซึ่ง ธปท.จะดูแลอย่างใกล้ชิด โดยบริหารไม่ให้เกิดความผันผวนมากเกินไป อย่างไรก็ตาม กระแสเงินทุนที่ยังไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง จะเป็นแรงกดดันทำให้เงินในภูมิภาคและเงินบาทแข็งค่าขึ้นไปอีก โดยคาดว่าจะเข้ามาลงทุนในรูปแบบต่าง ๆ เช่น เงินฝาก ปล่อยกู้ ตลาดพันธบัตร จึงยังไม่เห็นการตอบสนองในการซื้อสุทธิในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) นอกจากนี้ ยังยืนยันว่า เงินบาทไม่ได้แข็งค่าเกินกว่าเงินสกุลภูมิภาคอื่น ๆ และผู้ส่งออกสามารถปรับตัวได้ดี โดยดูจากยอดการส่งออกในไตรมาส 1 ที่ยังขยายตัวได้ แม้ว่าไตรมาส 1 เงินบาทจะแข็งค่าขึ้น 4.1%

“ปัจจัยที่กำหนดการส่งออกคือ ภาวะเศรษฐกิจโลก ซึ่ง ธปท.ยังมั่นใจว่าจะขยายตัวในเกณฑ์ที่ดี โดย ธปท.คาดว่า มูลค่าส่งออกสินค้าปีนี้จะเติบโตร้อยละ 11-13 มูลค่าการนำเข้าสินค้าเติบโต 7.5-9.5% ดุลการค้าขาดดุลลดลงจากประมาณการเดิมคือ ขาดดุล 5,000-7,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ดุลบัญชีเดินสะพัด อาจจะติดลบ 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือสมดุล” นายบัณฑิตกล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us