Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2539
มาลุ้นหุ้นผ่านอินเตอร์เน็ตกันดีกว่า             
 


   
www resources

โฮมเพจ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

   
search resources

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สมคิด จิรานันตรัตน์
Networking and Internet




อินเตอร์เน็ตเทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่ที่กำลังแพร่หลายไปในทุกวงการและทั่วโลก ประเทศไทยเองก็ไม่มีข้อยกเว้น ล่าสุดตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยก็ได้นำเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตนี้มาใช้ในการทำงานเช่นกัน

สมคิด จิรานันตรัตน์ ผู้ช่วยผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งดูแลงานทางด้านศูนย์คอมพิวเตอร์ของตลาดหุ้นไทย ได้กล่าวถึงการเผยแพร่ข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตว่า การใช้อินเตอร์เน็ตเป็นนโยบายใหม่ที่ตลาดหลักทรัพย์ต้องการเน้นหนักในปีนี้

โดยการใช้อินเตอร์เน็ตนั้น สมคิด บอกว่า เพื่อต้องการส่งเสริมให้นักลงทุนรับทราบข้อมูลข่าวสารในแง่ปัจจัยพื้นฐานให้เร็วและมากที่สุด การเผยแพร่ผ่านอินเตอร์เน็ตจึงถือเป็นการเพิ่มช่องทางใหม่ให้นักลงทุนทราบข้อมูลมากขึ้น

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้เริ่มใช้อินเตอร์เน็ตมาตั้งแต่เดือนมี.ค.ที่ผ่านมา จะเป็นการนำเสนอข้อมูลเช่น INDEX ของตลาด เพื่อให้นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศสามารถรู้ข้อมูล รวมทั้งข่าวสารต่าง ๆ ที่บริษัทจดทะเบียนส่งเข้ามาได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง ซึ่งการส่งข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตนั้น ถือเป็นการส่งข้อมูลข่าวสารที่มีต้นทุนที่ต่ำมาก ทำให้ไม่เสียงบประมาณในส่วนนี้มากนัก

"ค่าใช้จ่ายตอนนี้ประมาณเดือนละ 1 แสนบาทเท่านั้น นับว่าน้อยมากกับประโยชน์ที่ได้รับ เพราะเรามีระบบคอมพิวเตอร์อยู่แล้ว จึงไม่ต้องเพิ่มเติมอะไรมากใช้เพียงซอฟต์แวร์อีกนิดหน่อยเท่านั้น"

เมื่อประเมินเทียบกับการใช้กับสื่ออื่น ๆ แล้ว อินเตอร์เน็ตเป็นช่องทางข่าวสารที่ให้ผลดีในระยะยาว นักลงทุน หรือผู้ที่สนใจเข้ามาดูข้อมูลก็ทำได้ง่ายไม่ซับซ้อนและยังมี HOMEPAGE ที่มีสีสันจูงใจ

สมคิด บอกว่า ก่อนหน้าที่จะใช้อินเตอร์เน็ตนั้น ทางตลาดหลักทรัพย์ฯ ใช้สื่อที่เป็นบริการภายในซึ่งเป็นออนไลน์ธรรมดา ซึ่งผู้ที่จะใช้ข้อมูลนี้ก็ต้องต่อสาย ONLINE มาที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ และการนำเสนอก็เป็นการเสนอแบบเป็นกราฟ เป็นตัวเลข หรือเป็น TEXT ล้วน ๆ ซึ่งอาจจะน่าเบื่อไม่ค่อยมีใครสนใจดู

"ที่เราทำตอนนี้เป็น HOMEPAGE มี HOST ของตลาดเองต่อไปทางเนคเทค (NECTEC) ก็ได้เชื่อมต่อด้วยความเร็วสูง ทำให้นักลงทุนข้างนอกสามารถมาดูข้อมูลภายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ คือ เปิด HOMEPAGE มาปั๊ปก็จะดูราคาล่าสุดของตลาดได้ทันที ตั้งแต่เราเปิดระบบอินเตอร์เน็ตมาใช้จนตอนนี้ มีผู้เปิดดูประมาณ 40,000 กว่ารายแล้ว ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่น่าพอใจ"

สมคิด เล่าว่า ตอนแรกที่ทำข้อมูลเข้าอินเตอร์เน็ตก็เป็นข้อมูลข่าวสารของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยเป็นการเผยแพร่ข้อมูลดิบแบบฟรี จึงไม่สามารถนำไปวิเคราะห์หรือเก็งกำไรได้

สำหรับในระยะต่อไป ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะพัฒนารูปแบบในการนำเสนอ ในแง่เนื้อหาข้อมูลเพิ่มขึ้น และลึกขึ้น เช่น งบการเงิน ประวัติบริษัท ผู้บริหารกรรมการบริษัท ผลประกอบการ 5 ปีย้อนหลัง HOST ที่เรียกเข้ามาก็สามารถเรียกดูข่าวสารย้อนหลังได้ถึง 6 เดือน ซึ่งเป็นข้อมูลที่จัดทำโดยฝ่ายข้อมูลคอมพิวเตอร์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในระยะแรกนั้น ก็จะเน้นในเรื่องของการเผยแพร่ข้อมูลให้นักลงทุนหรือบุคคลทั่วไปหาดูได้โดยง่าย ดังนั้นจึงไม่เน้นในแง่รายได้

ผู้ช่วยผู้จัดการตลาด เล่าต่อไปว่า การให้บริการผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์นั้น มีมานานแล้ว แต่จะให้บริการผ่านสถาบันการเงินหรือเป็นองค์กรมากกว่าบุคคลธรรมดา

ส่วนกรณีว่าต่อไปจะพัฒนาไปถึงขนาดที่จะสั่งซื้อขายผ่านระบบอินเตอร์เน็ตได้หรือไม่นั้น สมคิดชี้แจงในเรื่องนี้ว่า เป็นไปไม่ได้เนื่องจากมีกฎระเบียบชัดเจนว่า นักลงทุนรายย่อยจะไม่สามารถซื้อขายกับตลาดหลักทรัพย์ได้โดยตรง แต่จะต้องผ่านโบรกเกอร์เท่านั้น เพื่อให้เกิดความเป็นกลางและซื่อสัตย์ที่สุด

"สิ่งที่หลายฝ่ายเป็นห่วงก็คือ การล้วงข้อมูลของผู้ไม่พึงประสงค์นั้น เป็นเรื่องที่ทำได้ยาก เพราะเป็นข้อมูลคนละส่วนกันไม่สามารถเปิดดูได้ เป็นซอฟต์แวร์คนละตัวเรื่องนี้เราทำรัดกุม"

สำหรับประเทศเพื่อนบ้านในย่านเอเชีย อย่างฮ่องกง มาเลเซีย สิงคโปร์ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ของประเทศเหล่านี้ ก็ได้ใช้ระบบอินเตอร์เน็ต เช่นเดียวกับตลาดหุ้นไทยแต่ข้อมูลยังไม่มากเท่ากับของตลาดหุ้นไทย

เทคโนโลยีอีกสื่อหนึ่งลักษณะคล้ายคลึงกับอินเตอร์เน็ตที่จะมีการนำมาใช้ก็คือ อินทราเน็ต (INTRANET) อาจจะเรียกง่า ๆ ว่า เป็นอินเตอร์เน็ตภายในองค์กร คือ ขอบข่ายแคบกว่า โดยจะมีการใช้เฉพาะในองค์กร ซึ่งประโยชน์ของอินทราเน็ตก็คือ สามารถรักษาความปลอดภัยสูงในกรณีที่อาจจะมีผู้ไม่หวังดีลักลอบใช้ข้อมูล

"แต่ตอนนี้ยังไม่ได้นำอินทราเน็ตมาใช้ อยู่ระหว่างกำลังพัฒนาความเหมาะสม แต่คาดว่าจะสามารถใช้ได้ราวต้นปี 2540 ซึ่งการเผยแพร่ข้อมูลผ่านอินทราเน็ตนั้นจะมีข้อมูลลึกกว่าผ่านอินเตอร์เน็ต"

สมคิด บอกว่า การใช้อินทราเน็ตนั้น จะเน้นการใช้ติดต่อระหว่างบริษัทสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์เท่านั้น และระหว่างนี้ เทคโนโลยีทั้งอินเตอร์เน็ต และอินทราเน็ต ก็ถือว่าเป็นเทคโนโลยีที่ตลาดหลักทรัพย์ให้ความสำคัญมากที่สุด

ส่วนบริการอื่น ๆ ที่เตรียมจะทำก็คือ การขายข้อมูลในรูปของแผ่นซีดี คาดว่าจะทำได้ในปลายปีนี้เป็นข้อมูลพื้นฐานโดยจะทำ 6 เดือนต่อ 1 ชุดเพื่อให้นักลงทุนสะดวกในการใช้งาน

สำหรับโดยส่วนตัวแล้ว สมคิดเขาจบปริญญาตรีวิศวกรรม จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากนั้นไปศึกษาปริญญาโทที่สหรัฐอเมริกาทางด้านคอมพิวเตอร์และเป็นผู้ที่คร่ำหวอดในวงการคอมพิวเตอร์มากว่า 10 ปี

เคยผ่านงานที่บริษัทปูนซิเมนต์ไทย บริษัทไอบีเอ็ม และถือว่า เป็นผู้บริหารหนุ่มไฟแรงอีกคนหนึ่งของวงการคอมพิวเตอร์ของประเทศไทย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us