Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2543
ปฏิรูป "ไอที" เครือซิเมนต์ไทย             
 


   
www resources

โฮมเพจ เครือซิเมนต์ไทย

   
search resources

เครือซิเมนต์ไทย
แอนเดอร์เช่น คอนซัลติ้ง
ชุมพล ณ ลำเลียง
E-Commerce
Cement




สำหรับชุมพล ณ ลำเลียง แล้ว การร่วมทุนกับบริษัทแอนเดอร์เซ่น คอนซัลติ้ง จำกัด เพื่อจัดตั้งบริษัทให้บริการด้านไอที นับว่าเป็นการ "ยอมถอยไปครึ่งก้าวในเรื่องไอที" ของเครือซิเมนต์ไทย ที่สำคัญที่สุดครั้งหนึ่ง

"วัตถุประสงค์การร่วมทุนกับแอนเดอร์เซ่นฯ เนื่องจากเครือซิเมนต์ไทยต้องการพัฒนาประสิทธิภาพไอที และคอมพิวเตอร์ของในเครือเอง เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการทำธุรกิจของเครือซีเมนต์ไทยให้เข้าสู่ยุคไอทีและอินเทอร์เน็ตให้เร็วยิ่งขึ้นกว่าที่เราจะทำเองได้" ชุมพล ณ ลำเลียง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บอกที่มาของการร่วมทุน

ทันทีที่บริษัทร่วมทุนแห่งนี้จัดตั้งขึ้น ภายในไตรมาสแรกของปีหน้า พนักงานส่วนใหญ่ของฝ่ายไอทีของเครือซิเมนต์ไทย ที่มีอยู่กว่า 200 คน จะโอนถูกย้ายไปอยู่ในบริษัทร่วมทุนแห่งใหม่ เช่นเดียวกับแอนเดอร์เซ่น คอนซัลติ้ง จะส่งพนักงานบางส่วนเข้าในบริษัทนี้ และทำหน้าที่แกนนำในการบริหารงาน

งานหลักของบริษัทร่วมทุนแห่งนี้ ก็คือ การวางกลยุทธ์สนับสนุนระบบงานไอที และอีคอมเมิร์ซในเชิงธุรกิจอย่างครบวงจรให้กับกิจการในเครือซิเมนต์ไทย เช่น ระบบ supply chain management ระบบ customer relationship management และในอนาคตก็จะขยายบริการเหล่านี้ให้กับองค์กรภายนอก

ด้วยขนาดและความซับซ้อนของธุรกิจที่มีอยู่มากมาย เครือซิเมนต์ไทยได้ชื่อว่า เป็นองค์กรที่ได้ชื่อว่าใช้ไอทีมายาวนานและมากที่สุดแห่งหนึ่ง ในแต่ละปีเครือซิเมนต์ไทยจะใช้จ่ายเงินไม่ต่ำกว่า ปีละ 200 ล้านบาท สำหรับการลงทุนในด้านระบบไอที เครือซิเมนต์ไทยยังเป็นองค์กรแรกๆ ที่นำคอมพิวเตอร์มาให้ดีลเลอร์ใช้สำหรับสั่งซื้อปูน แต่นั่นก็อาจไม่เพียงพอสำหรับสภาพธุรกิจที่เป็นอยู่

การมาของอินเทอร์เน็ต เป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้ทุกองค์กรต้องปรับตัว ไม่ใช่เรื่องของการหารายได้จากเว็บไซต์ แต่อยู่ที่ความสามารถในการใช้อินเทอร์เน็ตเป็น "เครื่องมือ" สร้างประสิทธิภาพให้กับองค์กรเท่าทันการแข่งขันที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงไป

"ถ้าเราไม่ยอมเปลี่ยนแปลง เราจะอยู่ข้างหลัง ความสามารถในการแข่งขันของเขาก็จะหายไปด้วย" กิตติ พูลเกษ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย เขาเป็นอีกคนที่จะย้ายไปอยู่บริษัทร่วมทุน สะท้อนถึงการที่เครือซิเมนต์ไทยจำเป็นต้องปรับตัว

เครือซิเมนต์ไทยเองก็ได้เตรียมความพร้อมในเรื่องเหล่านี้มาไม่ต่ำกว่า 2 ปี โดยเริ่มจากการนำเอาระบบ sap เข้ามาติดตั้ง เพื่อใช้งานในฝ่ายต่างๆ โดยที่ชุมพลเองก็เข้าไปนั่งเป็นประธานคณะทำงานไอทีของเครือซิเมนต์ไทยไปสู่การใช้ web base technology

ระยะเวลาปีกว่าที่ศึกษาและทดลอง ทำให้เครือซิเมนต์ไทยเองก็รู้ดีว่างานนี้ไมง่ายอย่างที่คิด ด้วยขอบเขตของงาน และความซับซ้อนที่มากขึ้น และเป็นการใช้ทักษะใหม่ที่ทีมงานไอทีของเครือซิเมนต์ไทยไม่มี

"พอเราจะเริ่มทำระบบใหม่ เราต้องมาเริ่มกันใหม่ ต้องเรียนรู้กันใหม่ ในภาวะการแข่งขันอย่างนี้ เราไม่มีเวลาไปทำอย่างนั้นแล้ว เพราะคู่แข่งของเรา เป็นบริษัทข้ามชาติที่มีแพ็กเกจที่เคยทำมาแล้วเอามาติดตั้งและใช้งานได้เลย แต่ของเราต้องมาเริ่มต้นกันใหม่ มันไม่ทัน" กิตติบอก

การจ้างที่ปรึกษามาวางระบบจะเป็นทางออกในอีกรูปแบบหนึ่ง แต่ไม่ใช่การแก้ปัญหาระยะยาว เครือซิเมนต์ไทยเองก็ว่าจ้างที่ปรึกษามาช่วงวางระบบ เช่น กรณีของการติดตั้งระบบ sap ได้ว่าจ้างบริษัท sap มาเป็นที่ปรึกษา รวมถึงการว่างจ้าง ไอบีเอ็ม ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์ และแอนเดอร์เซ่น คอนซัลติ้งเอง แต่สำหรับชุมพลแล้ว ไม่ใช่การแก้ปัญหาในระยะยาว

"พองานที่เราจ้างมาทำจบลง ความรู้ความชำนาญก็ไปกับที่ปรึกษาเมื่อเสร็จงาน เรามีความคิดว่า ความรู้เหล่านี้ควรจะอยู่กับหน่วยงานอยู่กับพนักงาน ไม่ใช่หมดไปกับงานแต่ละชิ้น" ชุมพลให้เหตุผล

การตัดสินใจร่วมทุนกับแอนเดอร์เซ่น คอนซัลติ้ง จึงเป็นทางออกเดียวของเครือซิเมนต์ กับการที่จะอาศัยทักษะและประสบการณ์ของแอนเดอร์เซ่น คอนซัลติ้ง มาช่วยให้การพัฒนาไปสู่เป้าหมายในเวลาที่กำหนดได้ การสร้างทักษะใหม่ๆ ให้กับพนักงาน และการอยู่รอดในระยะยาวขององค์กร

ตามเงื่อนไขของข้อตกลงทีกันไว้ก็คือ บริษัทร่วมทุนนี้ต้องเริ่มทำแล้ว ก็คือ การทำ 10 โครงการหลัก ที่อยู่ในแผนของการปรับปรุงระบบไอทีของเครือซิเมนต์ไทย ระบบ supply chain management ระบบ customer relationship management ระบบ อี-คอมเมิร์ซ ที่จะต้องทำให้เสร็จภายใน 2 ปี

สำหรับแอนเดอร์เซ่น คอนซัลติ้ง ประสบการณ์ในอุตสาหกรรม และความใหญ่ของเครือซิเมนต์ไทยจะเป็นประโยชน์โดยตรงสำหรับองค์กรที่กำลังแยกตัวเป็นอิสระ โดยจะเปลี่ยนทั้งชื่อ ขยายขอบเขตจากธุรกิจที่ปรึกษาไปสู่ การเป็น network of company ที่จะมีรูปแบบของการให้บริการที่กว้างขึ้น

"สาเหตุที่เราเลือกเครือซิเมนต์ไทย เพราะเป็นบริษัทใหญ่ที่มีประสบการณ์มานในอุตสาหกรรมนี้มานาน เพราะเป้าหมายของเราไม่ใช่แค่ลูกค้าในไทยเท่านั้น แต่จะเป็นระดับภูมิภาคนี้"

ทั้งหมดนี้ก็เป็นที่มาของมาตรการซื้อเวลาของเครือซิเมนต์ไทยกับการก้าวไปสู่ยุคของอินเทอร์เน็ต ที่เป็นการเปลี่ยนแปลงเป็นครั้งแรกในรอบ 30 ปี

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us