“เรวัต จินดาพล” ลุ้นมีสิทธิ์เข้าบริหารสนามกอล์ฟ “บลูแคนยอนฯ” มูลค่ากว่า 8,000 ล้านบาทอีกครั้ง หลังศาลล้มละลายกลาง ชะลอคำตัดสินกลุ่ม นายเซีย เลง เยิน นักธุรกิจสิงคโปร์ ผู้บริหารแผนฟื้นฟูขอออกจากแผนฯ เพื่อรอคำสั่งศาลฎีกาตามคำขออุทธรณ์-ฎีกาไปก่อนหน้านี้ เหตุคำฟ้องบริหารแผนไม่โปร่งใสมีมูล พร้อมระบุทุนใหม่ที่ดอยซ์แบงก์นำเข้ามา 2,000 ล้านบาทไม่โปรงใส่ ด้านเจ้าหนี้ร่วมชี้ เป็นการวิศวกรรมทางการเงินวิธีหนึ่งที่กลุ่มทุนสิงคโปร์ใช้เป็นวิธีการเพิ่มทุนต่อเนื่อง เพื่อเทกโอเวอร์บริษัทอย่างเบ็ดเสร็จ
สำหรับกรณีฟ้องร้องคดีสนามสนามกอล์ฟ บลูแคนยอน คันทรี่คลับ จังหวัดภูเก็ตสนามกอล์ฟ 18 หลุม 2 สนามบนพื้นที่เกือบ 1,900 ไร่มูลค่า 8,000 ล้านบาทระหว่างผู้บริหารชุดเดิมที่มีคือ นายเรวัต จินดาพล ผู้ก่อตั้งและเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท มิวเร็กซ์ จำกัด เจ้าของสนามกอล์ฟ บลูแคนยอนฯ กับผู้บริหารชุดใหม่ นำโดยนายเซีย เลง เยิน ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหารนั้น ที่ยืดเยื้อมากว่า 2-3 ปียังไม่มีท่าทีว่าจะจบลงง่าย แม้ว่าช่วงปลายปี 2548 จะมีกองทุนอาร์อาร์ อี อี เอฟโกลบอล ออฟ พอทูนิตี้ ฟันด์ 2 จะนำเงิน 2,000 ล้านบาทมาลงทุน โดยมีนายมอร์แกนเอด ลัฟลิน เป็นผู้จัดการและผู้บริหารกองทุนในนามบริษัท ดี บี เรียลเอสเตท จำกัดในเครือ ดอยซ์ แบงก์ เงินทุนใหม่ส่วนหนึ่ง จะนำไปชำระหนี้ให้กับรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) ที่เป็นเจ้าหนี้รายใหญ่แล้วก็ตาม
นายเรวัติ จินดาพล เปิดเผยถึงความคืบหน้าของคดีดังกล่าวว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา บริษัท บี ซี กอฟล์ รีสอร์ท เมเนจเมนท์ จำกัด ในฐานะผู้บริหารแผนที่มีนายเซีย เลง เยิน นักธุรกิจจากสิงคโปร์ เป็นผู้บริหารพยายามที่จะนำกิจการออกจากแผนฟื้นฟูกิจการ และได้ยื่นร้องต่อศาลล้มละลายกลางเมือวันที่ 24 มี.ค. 49 ขอให้บริษัทมิวเร็กซ์ฯออกจากแผนพื้นฟูกิจการ แต่ตนและบริษัท เซ้าธ์ อีเกิล โฮลดิ้งส์ ในฐานะเจ้าหนี้ของบริษัทมิวเร็กซ์ ได้ยื่นคัดค้านมาตลอด
ล่าสุด ศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งเมื่อ 24 เมษายน 2549 ว่า ยังไม่ให้บริษัทมิวเร็กซ์ออกจากแผนฟื้นฟูกิจการจนกว่าจะมีคำสั่งอุทธรณ์-ฎีกาออกมาก่อน ซึ่งนายเรวัต และบริษัท เซ้าธ์ อีเกิล โฮลดิ้งส์ ในฐานะเจ้าหนี้ของบริษัทมิวเร็กซ์ ได้ยื่นอุทธรณ์ไปเมื่อช่วงเดือนพฤศจิกากยน48 ที่ผ่านมา
“ คำสั่งของศาลล้มละลายกลาง ผมถือว่าให้ความเป็นธรรมกับฝ่ายเรา และมีโอกาสที่กลุ่มเราจะเข้าไปบริหารแผนฯ เพราะถ้าศาลพิพากษาออกมาว่ากลุ่มนายเซียผิด ก็ต้องเป็นเราบริหารเพราะมีแค่ 2 กลุ่ม และก็พร้อมที่จะเข้ามาบริการกิจการ หากศาลเห็นชอบตามคำร้องขอของกลุ่ม ส่วนศาลจะมีคำวินิจฉัยออกมาอย่างไร เป็นประโยชน์ต่อกลุ่มใด ก็คงต้องยอมรับ” นายเรวัต กล่าว
ทั้งนี้เชื่อว่า สาเหตุที่ศาลฯมีคำสั่งการร้องขอออกจากแผนฟื้นฟูกิจการของผู้บริหารแผนฯ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีการพิจารณาคดีการออกจากแผนฟื้นฟูฯของบริษัททีพีไอ เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งศาลล้มละลายกลางรอคำสั่งฎีกาที่มีการยื่นอุทธรณ์ก่อนให้ออกจากแผนฟื้นฟู
นายเรวัต ยังกล่าวด้วยว่า ได้ยื่นเอกสารไปยังศาลล้มละลายกลางเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2549 เพิ่มเติมเพื่อชี้ให้ศาลเห็นว่า กลุ่มทุนที่เข้ามาใหม่ที่ทางผู้บริหารแผนเดิมแจ้งว่าเข้ามาลงทุน 2,000 ล้านบาทนั้น หลังจากที่มีการตรวจสอบรายละเอียดแล้ว กลับพบผู้ถือหุ้นของกลุ่มทุนใหม่ในนาม บริษัทลีกาซี รีซอสเซส จำกัด นั้นเป็นกลุ่มเดียวกับนายเซีย เลง เยิน และยังมี นายมอร์แกน เอด ลัฟลิน ซึ่งเป็นผู้บริหารของดอยซ์แบงก์ เป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นอีกด้วย และที่สำคัญบริษัท ลีกาซีฯทีมีทุนจดทะเบียนเพียง 10,000 บาทนั้น โดยได้กู้ยืมเงินจากบริษัท ดี.บี เรียลเอสเตท โดยใช้เครดิตสินทรัพย์ของบริษัทมิวเร็กซ์ค้ำประกันทุน ขณะเดียวกันยังพบ บริษัท ลีกาซีฯยังมีหุ้นอยู่ในบริษัท บีซี กอล์ฟ รีสอร์ท เมเนจเม้นท์ ผู้บริหารแผนอีกจำนวน 6,600 หุ้นด้วย จึงเรียกได้ว่าทั้งหมดคือกลุ่มเดียวกัน
“ จากโครงสร้างทางการเงินนี้ เชื่อว่าไม่น่าจะเป็นการลงทุน แต่น่าจะเป็นการอำพางในลักษณะกู้ยืมเงิน นอกจากนี้ พิจารณาจากทุนจดทะเบียนและวงเงินกู้ยืมนั้น ไม่สมเหตุสมผล เพราะไม่น่าจะมีบริษัทใดในโลกที่มีหนี้สินต่อทุนสูงถึง 2 แสนเท่า จึงน่าจะเป็นการกระทำในลักษณะตัวแทนที่อาศัยทรัพย์สินของบริษัทมิวเร็กซ์ไปค้ำประกันกู้ ทำให้บริษัทและผู้ถือหุ้นรายอื่นๆ และเจ้าหนี้ได้รับความเสียหาย” นายเรวัต กล่าว
ทั้งนี้ วิธีการดังกล่าวเป็นเทคนิคการเข้าครอบครองกิจการของกลุ่มทุนสิงคโปร์ ที่เข้ามาดำเนินการกับอีกหลายบริษัทในประเทศไทย โดยใช้เทคนิคการเพิ่มทุนและลดทุนหลายครั้ง เพื่อลดจำนวนหุ้นของผู้ถือรายอื่น วิธีการดังกล่าวยังทำให้สัดส่วนการถือหุ้นของกลุ่มนายเรวัติลดลงจาก 65% เหลือเพียง 4-5% และล่าสุด หลังจากที่กลุ่มทุนใหม่นำเงินใส่เข้ามา 2,000 ล้านบาททำให้สัดส่วนการถือหุ้นของนายเรวัตเหลือเพียง 0.5% ขณะที่กลุ่มนายเซีย เลง เยิน และพวกถือหุ้นโดยผ่านการเชื่อมโยงถือครองหุ้นในบริษัทต่างๆรวมกว่า 90%
ทั้งนี้ คดีการฟ้องร้องกันที่ยังไม่สิ้นสุดอยู่ในกระบวนการของศาลที่นายเรวัต ได้ดำเนินการนั้นมีดังนี้ 1.ฟ้องเซีย เลง เยิน เป็นจำเลย ข้อหา กระทำความผิดพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน 2. ฟ้องเซีย เลง เยิน ,บริษัท บี ซี กอล์ฟ รีสอร์ท เมเนจเมนท์ กับพวก ข้อหา สนับสนุนปลอมเอกสารราชการ ยักยอก และผู้บริหารแผนปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต และ 3.ฟ้องเซีย เลง เยิน บริษัท บลูแคนยอน โฮลดิ้งส์ (ไทยแลนด์) ข้อหา เพิกถอนหุ้นในบริษัทจำกัด และมอบหุ้นคืน ซึ่งศาลได้รับฟ้อง เพราะคดีมีมูลคาดว่าจะเริ่มพิจารณาคดีได้ในปี 2550 เนื่องจากมีคดีในศาล จ.ภูเก็ตจำนวนมาก ทำให้การตัดสินใจต้องเลื่อนออกไป จากเดิมที่จะพิจารณาในปีนี้
ส่วนคดีที่อยู่ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ มี 2 คดี ได้แก่ 1. ฟ้องบริษัท บี ซี กอฟล์ รีสอร์ท เมเนจเมนท์ จำกัด เซีย เลง เยิน กับพวก ข้อหาผู้บริหารแผนปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต และยักยอกทรัพย์ และ2.ฟ้องบริษัท มิวเร็กซ์ กับพวก ข้อหาร่วมกันปลอมแปลงเอกสาร ,ใช้เอกสารปลอม กระทำผิดเกี่ยวกับ พ.ร.บ. กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วน
นอกจากนี้ยังมีคดีอยู่ที่ศาลล้มละลายกลางอีก 2 คดี ได้แก่ 1.โฮ แรม แฮค ลุง ผู้บริหารบลูแคนยอน พร็อพเพอร์ที่ จำกัด อุทธรณ์คำสั่งชั้น พิพากษาขอให้บริษัทบี ซี กอฟล์รีสอร์ท เมเนจเมนท์ พ้นจากตำแหน่งผู้บริหารแผน
|