|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
ก.ล.ต.ไฟเขียวบล.ซีมิโก้ประกอบบริษัทจัดการกองทุนรวม วงการโบรกเกอร์เผย “ซีมิโก้” อยู่ระหว่างหาพันธมิตรร่วมทุนจากต่างประเทศ และฟอร์มทีม “ผู้จัดการกองทุน” มืออาชีพเข้ามาปั้นบลจ.น้องใหม่ หวังเพิ่มช่องทางหารายได้ นอกเหนือจากราคายจากธุรกิจนายหน้าค้าหลักทรัพย์ แถมยังมีแผนขอใบอนุญาตธุรกิจให้กู้ยืมหลักทรัพย์ คาดเปิดตัวภายในปีนี้ เชื่อตลาดกองทุนรวมอนาคตสดใส
ภาพรวมธุรกิจกองทุนรวมที่มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง ส่งผลให้บริษัทหลักทรัพย์ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทประกันชีวิต มองหาลู่ทางเพื่อเข้ามาเจาะกลุ่มลูกค้าในตลาดนี้ ซึ่งมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง จากความรู้ความเข้าใจการลงทุนผ่านกองทุนรวมของนักลงทุนที่เริ่มมีมากขึ้น จากการส่งเสริมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นบริษัทจัดการลงทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และกระทรวงการคลัง ที่พยายามส่งเสริมให้ประชาชนหันมาออมเงินผ่านกองทุนรวม ซึ่งถือเป็นนักลงทุนสถาบัน ซึ่งจะช่วยลดความผันผวนของดัชนีตลาดหุ้น ขณะเดียวกันยังส่งเสริมให้ตลาดตราสารหนี้มีความสมบูรณ์มากขึ้น
การขยายตัวเพิ่มขึ้นของการลงทุนผ่านกองทุนรวม ในปีที่ผ่านมาถือเป็นปรากฎการณ์ที่เห็นได้เด่นชัดว่า กระแสตื่นตัวมีมาก เห็นได้จากมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (NAV) ของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ทั้งระบบที่ปัจจุบันมี 18 แห่ง ขยายตัวเพิ่มขึ้นกว่า 59% โดยสิ้นปี 2548 มูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมทั้งระบบอยู่ที่ 771,150 ล้านบาท เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2547 มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ484,992 ล้านบาท เมื่อสิ้นปี
สำหรับประเภทของกองทุนที่ได้รับการตอบรับจากนักลงทุนคือ กองทุนตราสารหนี้ ซึ่งในปีที่ผ่านมา ลูกค้าเงินฝากโยกเงินเข้าลงทุนกองทุนตราสารหนี้ประมาณ 2.7 แสนล้านบาท หรือเพิ่มขึ้กนว่า 236.51% โดยสิ้นปีที่ผ่านมากองทุนตราสารหนี้มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 3.8 แสนล้านบาท ขณะที่กองทุนหุ้นขยายตัวเพียง 0.64% โดยสิ้นปีที่ผ่านมากองทุนหุ้นมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 8 หมื่นล้านบาท ส่วนกองทุนผสม สิ้นปีที่ผ่านมามูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 2.75 แสนล้านบาท ลดลง 2.77%
รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการก.ล.ต.มีมติเห็นชอบให้บริษัทหลักทรัพย์ ซีมิโก้ จำกัด (มหาชน) สามารถประกอบธุรกิจจัดการกองทุนรวมตามที่เสนอ โดยคณะกรรมการก.ล.ต. ได้ยื่นเสนอเรื่องดังกล่าวให้กระทรวงการคลังเพื่อเห็นชอบเรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 21 เมษายนที่ผ่านมา
แหล่งข่าวจากโบรกเกอร์ กล่าวว่า การเข้ามารุกธุรกิจกองทุนรวมของบล.ซีมิโก้ ในครั้งนี้ เชื่อว่าเป็นแผนงานที่บลจ.ซีมีโก้เตรียมไว้ในช่วงก่อนหน้า เนื่องจากรายได้จากธุรกิจโบรกเกอร์ส่วนใหญ่จะมาจากรายได้จากค่าธรรมเนียมในการซื้อขายหลักทรัพย์เป็นสำคัญ และในขณะนี้ธุรกิจกองทุนรวม เริ่มเป็นที่รู้จักของนักลงทุนมากขึ้น ส่งผลให้การเข้ามารุกในธุรกิจนี้จะช่วยเพิ่มช่องทางการหารายได้ของบริษัท
นอกจากนี้ ยังมีกระแสข่าวว่า บริษัทหลักทรัพย์ซีมิโก้ ยังเตรียมที่จะขอใบอนุญาตทำธุรกิจการให้กู้ยืมหลักทรัพย์ (เอสบีแอล) ด้วย ซึ่งถือว่าสอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานก.ล.ต.ที่ต้องการให้บล.กระจายแห่งที่มาของรายได้ นอกเหนือจากรายได้จากการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์
แหล่งข่าวกล่าวว่า ขณะนี้บล.ซีมิโก้ อยู่ระหว่างการฟอร์มทีมผู้บริหารบลจ.ที่จะมีการจัดตั้ง ซึ่งได้มีการทาบทามผู้จัดการกองทุนจากบลจ.บางแห่งที่ต้องการเข้ามาทำงานในบลจ.ซีมิโก้ ที่จะมีการจัดตั้งใหม่ และคาดว่าบลจ.แห่งนี้จะสามารถจัดตั้งได้ภายในปีนี้แน่นอน
นอกจากนี้ บล.ซีมิโก้ ยังมีแผนที่จะดึงพันธมิตรต่างประเทศเข้าร่วมลงทุนในบลจ.ที่มีการจัดตั้งใหม่ โดยบล.ซีมิโก้ยังคงมีนโยบายถือหุ้นในสัดส่วนไม่ต่ำกว่า 50% เพื่อให้การบริหารงานมีความคล่องตัว และแผนการดำเนินธุรกิจสอดคล้องกับล.ซีมิโก้
แหล่งข่าวกล่าวว่า นอกเหนือจากบล.ซีมิโก้ ที่ได้ยื่นขออนุญาตจัดตั้งบลจ.แล้ว มีบล.อีกประมาณ 2-3 แห่งที่อยู่ระหว่างการยื่นขออนุญาตจัดตั้งบลจ. เนื่องจากธุรกิจนี้มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง แม้จะมีคู่แข่งเข้ามาในตลาดเพิ่มขึ้น แต่ตลาดนี้ถือว่ามีศักยภาพสูง เนื่องจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การสนับสนุนเป็นอย่างมาก ซึ่งเห็นได้จากในช่วงที่ผ่านมา ตลาดหลักทรัพย์ฯได้มีการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อส่งเสริมการลงทุนผ่านกองทุนรวม ขณะที่กระทรวงการคลัง ก็พร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือด้านสิทธิพิเศษด้านภาษี เพื่อให้นักลงทุนสนใจลงทุนผ่านกองทุนรวมมากขึ้น เช่น การให้สิทธิพิเศษด้านภาษีในการลงทุนผ่านกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
ทั้งนี้ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา มีบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนที่ได้รับใบอนุญาติประกอบธุรกิจกองทุนรวมเพิ่มเติมจำนวน 2 บริษัท ซึ่งประกอบด้วย บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน นครหลวงไทย จำกัด บริษัทในเครือธนาคารนครหลวงไทย ที่จัดตั้งขึ้นในปี 2547 และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน บีที จำกัด บริษัทในเครือธนาคารไทยธนาคาร ที่จัดตั้งขึ้นในช่วงปี 2548 ที่ผ่านมา โดยปัจจุบันอุตสาหกรรมกองทุนรวมมีบริษัทจัดการกองทุนรวมทั้งสิ้น 18 ราย โดยบริษัทที่เป็นผู้นำในตลาดส่วนใหญ่เป็นบริษัทลูกในเครือธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ เช่น บลจ.กสิกรไทย บลจ.ไทยพาณิชย์ เป็นต้น
|
|
 |
|
|