Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์1 พฤษภาคม 2549
"3ตัวการ"ฉุดเศรษฐกิจหดตัวธุรกิจจ่อคิวเจ๊ง-ภาคครัวเรือนชะลอใช้จ่าย             
 


   
search resources

Economics




สภาหอการค้าคาดปัญหาค่าเงินลากยาวถึงปลายปี พร้อมห่วงปัญหาการเปิดสภาไม่ได้ส่งผลต่อแผนธุรกิจระยะยาวหยุดชะงัก ผู้ประกอบการส่งออกกุ้งครวญแม้ได้ GSP จากยุโรปแต่โตไม่ทันอัตราค่าเงินบาทแข็งตัวด้านนักวิชาการชี้ประชาชนเตรียมชะลอใช้จ่าย

ปัจจุบันไทยกำลังเผชิญภาวะปัจจัยลบทางเศรษฐกิจที่กำลังรุมเร้าอย่างแรง โดยเฉพาะปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้อย่างอย่าง ราคาน้ำมัน และค่าเงินบาท จะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะกระทรวงพาณิชย์ได้ตั้งเป้าหมายการส่งออกในปีนี้ ว่าจะขยายตัว 15 - 17.5 เปอร์เซ็นต์ นั้น ก็อาจจะไม่ได้เป็นอย่างที่ฝัน

ค่าบาทแข็งกระทบส่งออกลากยาวถึงปลายปี

พรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล กรรมการรองเลขาธิการ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ระบุว่า ขณะนี้ปัจจัยลบที่มีผลต่อเศรษฐกิจไทยมีอยู่ 3 ประเด็นด้วยกันคือ ราคาน้ำมันโลกที่ทะยานสูงขึ้น อัตราค่าเงินบาทที่แข็งตัวขึ้นถึง 8% และความกังวลเรื่องการเมือง โดยเฉพาะเรื่องการเปิดสภาไม่ได้ ซึ่งทั้ง 3 ประเด็นนี้เป็นเรื่องที่ควบคุมไม่ได้ทั้ง 3 เรื่อง ซึ่งขึ้นอยู่กับการจัดการของภาครัฐ

โดยเฉพาะเรื่องค่าเงินบาท ซึ่งมองว่าค่าเงินบาทของไทยเราถูกนักค้าเงินเก็งกำไรกันอย่างมาก เพราะแม้ค่าเงินดอลล่าร์จะอ่อนตัวลงแต่เมื่อสังเกตค่าเงินเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะประเทศคู่แข่งทางการค้าไทยอย่างมาเลเซีย เกาหลี และเวียดนาม ไม่ได้แข็งค่าขึ้นตาม ขณะที่ค่าเงินบาทนั้น มีการแข็งตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง กว่า 8% แล้ว ในระยะเวลา เดือนกว่าๆ ซึ่งคาดว่าค่าเงินบาทจะอยู่ในทิศทางระดับ 38-37 บาทไปเรื่อยอาจจนถึงสิ้นปี ถ้ารัฐบาลไม่เข้ามาแทรกแซงใดๆ จะส่งผลต่อผู้ส่งออกอย่างมากคาดว่าถ้าผู้ส่งออก ส่งออกได้น้อยลงการปรับประมาณการณ์ GDP ก็คงจะลดลงด้วย อาจมาถึง 4% หรือต่ำกว่านั้น และที่น่ากลัวคือลูกค้าของไทยจะหันไปหาเพื่อนบ้านหมด

นอกจากนั้นปัจจัยลบอีกอย่างที่นักลงทุนกังวลใจอยู่ก็คือ ปัญหาการเมือง ซึ่งเป็นปัญหาเรื่องการเปิดสภาผู้แทนราษฎร จะส่งผลต่อนโยบายระยะยาว ปัจจุบันมีนักลงทุนบางส่วนที่ชะลอการลงทุนไปแล้ว น่าเป็นห่วงก็คงจะเป็นภาคอสังหาริมทรัพย์ อันเนื่องจากกระทบกับทุกเซ็คเตอร์ของวงล้อเศรษฐกิจ แต่ยังถือว่าไทยน่าจะยังไม่เข้าถึงขั้นวิกฤติอย่างปี 2540

ขณะเดียวกันมุมมองเกี่ยวกับค่าเงินบาทของนักการเงินอย่าง ศุภวุฒิ สายเชื้อบอกว่าการแข็งตัวของค่าเงินบาทเป็นการยับยั้งเงินเฟ้อที่อาจจะถีบตัวสูงขึ้นจากราคาม้ำมันได้ ส่วนผู้ประกอบการส่งออกในตอนนี้เห็นว่าการแข็งค่าเงินบาทนั้นไม่เป็นปัจจัยบวกแม้แต่นิดเดียว

กุ้งไทยกลัวลูกค้ารายใหญ่ซื้อจากคู่แข่ง

สมาคมผู้ค้ากุ้งไทย ยอมรับว่าขณะนี้ผู้ส่งออกกุ้งที่ทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้รับผลกระทบแล้ว 7% จากยอดซื้อขายทั้งหมด แม้ว่าจะยังไม่มีการล้มหายตายจากของกลุ่มธุรกิจนัก แต่ทางผู้ประกอบการมองว่าในภาพรวมไทยจะเสียลูกค้าใหญ่ๆจากทาง EU และสหรัฐอเมริกาไป เพราะขณะนี้ค่าเงินของประเทศคู่แข่งส่งออกกุ้งอย่าง จีน เอลซาวาดอร์ อินโดนีเซียและประเทศจีน ไม่ได้มีค่าเงินที่แข็งขึ้นอย่างไทย จึงเป็นไปได้ว่าลุกค้ากุ้งของไทยจะหันไปซื้อกุ้งจากประเทศคู่แข่งแทน

ส่วนผลสิทธิพิเศษ GSP ซึ่งทางสหภาพยุโรปให้กับไทยในตอนนี้ประธานสมาคมส่งออกกุ้งกล่าวว่า จากเดิมที่เคยเก็บภาษีกุ้งจากไทย 12.5% ได้ลดเหลือ 4.2% ซึ่งช่วงหาง 8% ที่ได้รับผลประโยชน์จาก GSP ก็โดนค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น 7% กลบหมดแล้ว

"ตอนนี้สมาชิกผู้ส่งออกกุ้งพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าลำบากแล้ว ต้นทุนทุกอย่างสูงขึ้นมาก เราทำอะไรไม่ได้เลย ตอนนี้เรากลัวค่าเงินบาททที่สุด รองลงมาคือราคาน้ำมันที่จะฉุดกำลังซื้อของผู้บริโภคทั่วโลก เพราะกุ้งถือว่าเป็นสินค้าราคาแพง ถ้าราคาน้ำมันขึ้นอยู่อย่างนี้ การใช้จ่ายสินค้าราคาแพงอย่างกุ้งในตลาดโลกต้องลดแน่นอน" สอดคล้องกับความเห็นนักวิชาการที่มองว่า ปี 2549 จะเป็นปีที่ท้าทายความสามารถของผู้ประกอบการอย่างยิ่ง

ปี 49 ประชาชนระวังการใช้จ่าย

ดร .วรพล โสคติยานุรักษ์ รองประธานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มองว่าปัจจัยลบเศรษฐกิจ 3 ตัวนี้เป็นสัญญาณให้ระมัดระวังเศรษฐกิจ เพราะราคาน้ำมันต่างกดดันภาวะราคาเงินเฟ้อ จะต้องมีการปรับดอกเบี้ยขึ้นเพื่อสกัดเงินเฟ้อ คาดว่าเงินแฟ้อพื้นฐานปัจจุบันอยู่ที่ 2.4-2.5 ซึ่งจะมีการปรับตัวสูงขึ้น ตามราคาน้ำมันที่สูงขึ้นด้วย ด้านดอกเบี้ยคาดว่าภายในปีนี้จะเห็นดอกเบี้ยขยับขึ้นอีก 1-0.5% แน่นอน ซึ่งจะทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจชะลอตัวลงเห็นได้ชัด และแน่นอนว่าสัญญาณเหล่านี้ต่างเป็นตัวชี้สำคัญให้ภาคประชาชนต้องรัดเข็มขัดมากยิ่งขึ้น จะส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัวลง ขณะเดียวกันผลกระทบนี้ก็ส่งผลไปทั่วโลกด้วย

สำหรับปัญหาค่าเงินบาทนั้น ดร.วรพลมองว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงไปตามกลไกตลาด เพราะเมืองไทยมีเงินทุนไหลเข้ามามากจึงเป็นธรรมดาที่ค่าเงินบาทจะแข็งตัวขึ้น แต่ทางธนาคารแห่งประเทศไทยควรจะระมัดระวังไม่ให้มีความผันผวนของราคาเงินบาทมากนักเพราะจะเกิดปัญหาตามมาสำหรับผู้ประกอบการในด้านความสามารถในการแข่งขันซึ่งผู้ประกอบการเมืองไทยจะต้องไปแข่งขันในตลาดโลก   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us