Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2539
"โกลด์ไซท์" ช้อปปิ้งผ่านอินเตอร์เน็ตธุรกิจที่ยังต้องรอ             
 


   
search resources

ธัชพงษ์ โหตรภวานนท์
E-Commerce
Networking and Internet




ต้องยอมรับว่า นักโต้คลื่นบนอินเตอร์เน็ตในไทยเพิ่มจำนวนขึ้นทุกวัน หากใครไปงานไอทีเทรดดิ้งล่าสุด คงเห็นว่า พระเอกของงานคงหนีไม่พ้นอินเตอร์เน็ต

"ผมเพิ่งเคยเห็นเป็นครั้งแรก ที่คนเดินเข้าแถว เพื่อสมัครเป็นสมาชิกอินเตอร์เน็ต เพราะเวลานี้ ทุกคนผ่านยุคแรกที่เป็นช่วงของการเรียนรู้ไปแล้ว และกำลังเข้าสู่ยุคที่สองอันเป็นช่วงของการเติบโต" ดร.ธัชพงษ์ โหตรภวานนท์ รองผู้อำนวยการ ล็อกซเล่ย์ อินฟอร์เมชั่น จำกัด กล่าว

แม้ว่า อินเตอร์เน็ตจะเป็นเครือข่ายอันทรงพลัง ทำให้คอมพิวเตอร์เชื่อมโยงกันทั่โลก แต่ในจำนวนนี้ส่วนใหญ่จะเป็นนักศึกษาเกือบครึ่ง เฉพาะแค่ที่มหาวิทยาลัยเอแบค ที่อินเตอร์เน็ตจัดเป็นวิชาบังคับก็มีนักศึกษาหลายหมื่นคน ที่เหลือส่วนใหญ่จะเป็นลูกค้าองค์กร รวมทั้งลูกค้าที่ซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ และแถมแอคเคาท์อินเตอร์เน็ตจะมีสมาชิกบุคคลที่สมัครเข้ามาเพียงแค่หมื่นกว่ารายเท่านั้น

ด้วยตัวเลขเหล่านี้ ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า อินเตอร์เน็ตในไทยเติบโตจริงหรือไม่

ข้อจำกัดการเติบโตของอินเตอรืเน็ตหลายคน มองว่า สาเหตุแรก คือ ค่าใช้บริการมีราคาแพง บรรดานักท่องอินเตอร์เน็ตต้องจ่ายค่าใช้ต่อเดือนถึง 1,200 บาท เป็นปัญหาข้อจำกัดสำคัญของการใช้อินเตอร์เน็ต

มีการประเมินว่า สาเหตุน่าจะมาจากยังถูกควบคุมจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย ผู้ให้บริการต้องขอสัมปทาน ซึ่งต้องแบ่งผลประโยชน์ตอบแทน และต้องเช่าคู่สายเช่าความเร็วสูง ทำให้ต้นทุนในการดำเนินธุรกิจสูง ราคาค่าบริการจึงสูงตามไปด้วย

อีกทั้งข้อจำกัดในเรื่องระบบสื่อสารของไทย คู่สายมีอยู่อย่างจำกัด และความเร็วในการส่งข้อมูลเป็นปัญหาที่ทำให้บรรดานักโต้คลื่นอินเตอร์เน็ตของไทยต้องประสบปัญหาในการเรียกดูข้อมูลตามเว็บไซต์ต่าง ๆ อยู่เสมอ

ผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง คือ เหล่าไอเอสพีที่ได้รับอนุมัติจาก กสท.แล้ว 11 ราย ซึ่งกำลังทยอยเปิดให้บริการเพิ่มขึ้นจากที่มีอยู่ 4-5 ราย

"ไม่ใช่เรื่องง่ายที่ไอเอสพีจะหวังรายได้จากยอดสมาชิกอินเตอร์เน็ตที่สมัคร เนื่องจากการแข่งขันจากผู้ให้บริการที่มีอยู่หลายราย ส่วนใหญ่จึงมุ่งหวังไปที่ลูกค้าประเภทองค์กร (คอร์ปอเรท) ซึ่งจะทำรายได้ให้มากกว่า" ดร.ธัชพงษ์ กล่าว

ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดแนวคิดในการนำเครือข่ายอินเตอร์เน็ตไปในเชิงธุรกิจ หรือที่เรียกว่า อิเล็กทรอนิกส์ คอมเมิซที่จะเป็นตัวกระตุ้นให้อินเตอร์เน็ตแพร่หลายกว่านี้

ดร.ธัชพงษ์ กล่าวว่า อิเล็กทรอนิกส์ คอมเมิร์ซ หรือการทำธุรกิจบนอินเตอรืเน็ต ไม่ว่าการทำช้อปปิ้งมอลล์ หรือโฆษณาบนอินเตอร์เน็ต จะเป็นส่วนที่ทำรายได้ให้กับไอเอสพีได้มากกว่าผู้ใช้ทั่วไป รายได้ที่ว่านี้ เช่น การรับเป็นที่ปรึกษา การรับทำโฮมเพจ

"จะเห็นได้ว่า ไอเอสพีทุกเจ้าจะมีให้บริการในส่วนนี้ทุกราย เพราะเป็นการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่สร้างรายได้เพิ่มขึ้น เพราะไม่มีไอเอสพีรายไหนจะหวังรายได้จากยอดสมาชิกเพียงอย่างเดียวได้" ดร.ธัชพงษ์ กล่าว

อินเตอรืเน็ต จึงไม่ได้ถูกใช้เป็นแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่สำหรับมหาวิทยาลัย นักศึกษา นักวิจัย หรือนักวิชาการอีกต่อไป แต่ยังถูกแปรเปลี่ยนเป็นชอปปิ้งมอลล์ ที่ให้เจ้าของสินค้ามาตั้งร้านค้าขายผลิตภัณฑ์ หรือบริการ โดยไม่ต้องกังวลถึงเนื้อที่ของร้านค้า สถานที่ตั้งของร้าน หรือเงินทุนที่ใช้ก่อสร้างร้านค้า

บรรดาพ่อค้า แม่ค้า หรือนักธุรกิจในสหรัฐอเมริกาหลายราย เริ่มหันมาเปิดร้านค้าบนอินเตอร์เน็ต ไม่เว้นแม้กระทั่งสถาบันการเงินที่คิดจะเปิดสาขาแห่งใหม่บนเครือข่ายเส้นนี้ นอกเหนือจากการทำโฆษณาที่เป็นจุดเริ่มของธุรกิจบนอินเตอร์เน็ต

นักโต้คลื่นบนอินเตอร์เน็ตจึงไม่เพียงแต่ค้นหาข้อมูลจากทุกมุมโลกเท่านั้น แต่ยังสามารถสั่งซื้อสินค้า สั่งอาหารหรือบริการประเภทต่าง ๆ บนเครือข่ายเส้นนี้

ในเมืองไทยก็เช่นกัน จะเห็นได้ว่า โฮมเพจของบรรดาไอเอสพีทุกราย ถูกจัดทำไว้สำหรับการใช้เป็นสื่อโฆษณา และ "ซื้อขาย" สินค้า เพื่อรองรับกับกลุ่มธุรกิจโดยเฉพาะ

โฮมเพจส่วนใหญ่ถูกบรรจุด้วยข้อมูลโปรไฟล์บริษัทสินค้าและบริการต่าง ๆ เช่น โฮมเพจของอีซูซุ ซึ่งเชื่อมโยงอยู่กับล็อกซ์อินโฟร์จะมีข้อมูลแสดงสมรรถนะของรถรุ่นต่าง ๆ เช่นเดียวกับโตโยต้าธุรกิจ และเบนซ์ ที่เชื่อมโยงอยู่กับค่ายของเคเอสซี

เคเอสซีจัดทำโฮมเพจมีชื่อว่าโกลด์ไซท์ (GOLD SITE) เพื่อใช้เป็นชอปปิ้งมอลล์ขนาดใหญ่บนอินเตอร์เน็ต สินค้าและผลิตภัณฑ์ถูกแบ่งแยกออกตามประเภท เพื่อให้บรรดานักท่องอินเตอร์เน็ตเลือกหาข้อมูลสินค้า เช่น รถยนต์, โรงแรม, เอ็นเตอร์เทนเมนต์, อสังหาริมทรัพย์, ไฮเทคโนโลยี

เช่นเดียวกับอินเตอร์เน็ต ประเทศไทย ที่มีโฮมเพจไว้เป็นแหล่งโฆษณา และขายสินค้า รวมทั้งดิไอเดียที่เปิดโฮมเพจสำหรับขายสินค้า โดยจะทำตลาดใน 10 ประเทศในย่านเอเชีย และสหรัฐอเมริกา เพื่อใช้โฮมเพจชของดิไอเดีย เป็นหน้าโฆษณาให้กับสินค้าต่าง ๆ ใน 10 ประเทศ

ในขณะเดียวกันก็มีเจ้าของสินค้าบางรายใช้อินเตอร์เน็ตเป็นที่รับสั่งจองสินค้าและบริการ ดังเช่น โฮมเพจของพิซซ่าฮัท ที่รับสั่งออร์เดอร์พิซซ่า หรือซิตี้แบงก์ ที่รับสมาชิกบัตรเครดิต ทั้งวีซ่า และมาสเตอร์การ์ดผ่านอินเตอร์เน็ต รวมทั้งโรงแรมดุสิตธานีที่เปิดจองห้องพักผ่านอินเตอร์เน็ต และการขายโมเด็ม หรือพีซีคอมพิวเตอร์

หรือในกรณีของสามารถอินเตอร์เน็ตที่พยายามสร้างจุดขายสร้างไซเบอร์เน็ต เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลธุรกิจ และซื้อขายสินค้า หรือพบปะเหล่าบรรดาสมาชิกของสามารถ

แต่ปัญหา คือ การใช้อิเล็กทรอนิกส์ คอมเมิร์ซ บนอินเตอร์เน็ต ส่วนใหญ่ยังคงเน้นไปที่การ "โฆษณา" สินค้าและบริการบนอินเตอร์เน็ต มากกว่าจะใช้เป็น "ร้านค้า" เพื่อใช้จับจ่ายซื้อหาสินค้าดังที่หลายคนคาดหวังไว้

แม้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี แต่การเป็นแค่แหล่งข้อมูลที่ใช้โฆษณาประชาสัมพันธ์มากกว่าการซื้อขาย ซึ่งหลายคนเชื่อว่า หากการซื้อขายสินค้าบนอินเตอร์เน็ตเกิดขึ้นจิรง และเป็นที่นิยมจะทำให้อินเตอร์เน็ตเติบโตขึ้นอีกมาก

แต่สภาพที่เป็นอยู่ไม่ได้เป็นเช่นนั้น การซือ้ขายของบนอินเตอร์เน็ตยังอยู่แค่จุดเริ่มต้น และยังไม่มีทีท่าว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นกว่าที่เป็นเท่าใดนัก

สาเหตุส่วนหนึ่งมาจาก คนไทยยังนิยมชอปปิ้งตามห้างสรรพสินค้ามากกว่าการซื้อสินค้าจากแคตาล็อก เพราะยังต้องเห็นสินค้า

อีกทั้งสินค้าที่ขายบนอินเตอร์เน็ตยังมีราคาแพงกว่าราคาท้องตลาด ซึ่งตามปกติแล้วสินค้าที่ขายผ่านระบบนี้จะต้องราคาถูกกว่า

ยิ่งไปกว่านั้น ระบบการจ่ายเงินผ่านอินเตอร์เน็ตยังมีข้อจำกัด เนื่องจากกฎหมายของไทยที่กำหนดการชำระเงินจะต้องมีลายเซ็นของผู้จ่ายกำกับซึ่งในอินเตอร์เน็ตยังไม่สามารถทำเช่นนั้นได้

อีกทั้งปัญหาเรื่องความปลอดภัยของการชำระเงินผ่านอินเตอร์เน็ตยังไม่ได้มาตรฐาน

ส่วนใหญ่การชำระเงินในปัจจุบัน เช่น ชำระด้วยบัตรเครดิตผ่านอินเตอร์เน็ตจะต้องแฟกซ์ลายเซ็นของผู้ซื้อส่งตามไปหรืออาจต้องใช้วิธีเปิดเครดิตไว้ที่ผู้ขายก่อน เพื่อหักเงินในภายหลัง หรือใช้วิธีเก็บเงินจากผู้ซื้อหลังจากที่ส่งสินค้าไปให้

ความหวังของบรรดาไอเอสพี จึงอยู่ที่การรอวีซ่า มาสเตอร์การ์ด และไมโครซอฟท์ได้ร่วมกันสร้างมาตรฐานใหม่ของการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต มีชื่อว่า SET เซ็กเคียวอิเล็กทรอนิกส์ ทรานแซกชั่น ซึ่งเชื่อว่า จะเป็นมาตรฐานของการจ่ายเงินอย่างปลอดภัยออกวางตลาด

ยิ่งไปกว่านั้น สมาชิกอินเตอรืเน็ตในไทยส่วนใหญ่จะเป็นนักศึกษา ไม่ใช่คนทำงาน กลุ่มลูกค้าจึงจำกัดและอาจไม่ใช่ลูกค้าเป้าหมายของผู้ผลิตสินค้า

สินค้าที่จำหน่ายบนอินเตอร์เน็ต จึงถูกจำกัดอยู่แค่สินค้าที่มีราคาไม่แพงนัก

เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ชอปปิ้งมอลล์บนอินเตอร์เน็ตก็อาจยังต้องรอไปอีกหลายปี

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us