Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์1 พฤษภาคม 2549
แผนกลยุทธ์สู้วิกฤตพลังงาน เล็งซื้อบ่อน้ำมัน-ผลิตไบโอดีเซลเพื่อส่งออก             
 


   
search resources

Oil and gas




แผนยุทธศาสตร์ แก้วิกฤตพลังงานชาติ "สนพ" เล็งซื้อบ่อน้ำมันเป็นของชาติ หลังใช้หนี้กองทุนหมด มั่นใจลดการนำเข้าน้ำมันได้ 10% เตรียมส่งไบโอดีเซลสู่ตลาดต่างประเทศ ด้านกระทรวงเกษตรฯมั่นใจๆไบโอดีเซลเป็นรูปเป็นร่างอีกปีครึ่ง เหตุต้องรอนำเข้า"ต้นปาล์ม"จากต่างประเทศ

หลังจากที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกทะยานขึ้นสู่ระดับ 72 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ในช่วงเวลาประมาณ 10 วัน ขณะที่ช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมา ราคาน้ำมันปรับเพิ่มขึ้นมาเกือบ 10 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล คิดเป็นราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นเท่ากับ 2 บาทต่อลิตร และจากบทวิเคราะห์ต่างๆพากันคาดการณ์ว่าเราอาจจะเห็นน้ำมันทะยานไปแตะราคา 100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลในไม่ช้า ดังนั้น ประเทศที่ต้องพึ่งพาน้ำมันเป็นหลักอย่างไทย ต่างได้รับผลกระทบกันทั่วหน้า ภาครัฐจึงต้องเร่งออกนโยบาย เพื่อลดผลกระทบจากราคาน้ำมัน

บรรเจิดให้ไทยเป็นเจ้าของบ่อน้ำมัน

เมตตา บันเทิงสุข ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กล่าวว่าเพื่อการป้องกันการพึ่งพิงน้ำมันในระยะยาว ทาง สนพ.ได้วางแผนยุทธศาสตร์พลังงานประเทศไทยเพื่อความยั่งยืนไว้แล้วก็คือ ในอนาคตให้ใช้เงินลงทุนไปซื้อน้ำมันหรือเป็นเจ้าของสัมปทานแหล่งปิโตรเลียม แหล่งน้ำมันในต่างประเทศเพื่อสร้างความมั่นคงเหมือนกับหลายประเทศที่ดำเนินการอยู่ในขณะนี้ ซึ่งแผนที่วางไว้นั้นจะเกิดขึ้นในอีก 2 ปีข้างหน้าหลังจากที่องทุนน้ำมันใช้หนี้ 70,000 ล้านบาทหมดแล้ว

อย่างไรก็ดีแผนที่สนพ.กำหนดไว้นั้น อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงในแง่ของรายละเอียดบ้าง เพราะจะมีการดำเนินการในอีก 2 ปี คาดว่าโครงการนี้จะลดการนำเข้าน้ำมันได้ 10% หรือ 1,500 ล้านลิตร โดยคาดการณ์ว่ามูลค่าบ่อน้ำมันที่จะเข้าไปซื้อตั้งไว้เบื้องต้นที่ 100,000 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นบ่อน้ำมันขนาดเล็กเมื่อเทียบกับบริษัทใหญ่อย่าง ESSO หรือ SHELL

โดยแนวทางการดำเนินงาน เมตตามองว่าควรจะตั้งเป็นองค์กรมหาชน มีการเข้าไประดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งอาจจะให้ผู้เชี่ยวชาญ เช่น บมจ.ปตท.สผ. เป็นผู้บริหารเงินกองทุนนี้ อีกทั้งมีการนำเงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปัจจุบันมีการจัดเก็บจากผู้ใช้เบนซิน 2.50 บาทต่อลิตร ดีเซล 1.55 บาทต่อลิตร เดือนละประมาณ 5,000 ล้านบาท ซึ่งทั้งสองแนวทางการระดมทุนนั้นจะมีสัดส่วนจะออกมาในรูปแบบใดคงต้องรอผลการศึกษาอีกครั้งหนึ่งว่าแบบใดจะเกิดผลดีในด้านการลงทุนสูงสุด แต่เชื่อว่าสามารถระดมทุนซื้อบ่อน้ำมันได้และในด้านการบริหารจัดการ คาดว่าอาจจะต้องอาศัยมืออาชีพอย่าง บมจ. ปตท.สผ เข้ามาช่วย

โครงการพลังงานทดแทนคืบหน้ากว่าที่คาด

นอกจากนี้ทางสนพ.เตรียมเสนอแผนพลังงานของประเทศภาพรวมต่อรัฐบาลชุดใหม่ โดยเป้าหมายจะเน้นเรื่องความมั่นคงทางด้านพลังงานให้ไทยไม่ต้องรับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นทุกครั้ง โดยไทยนั้นเป็นหนึ่งในประเทศที่อ่อนแอที่สุดในโลกที่ต้องพึ่งพิงน้ำมันจากต่างประทศ โดยมีสัดส่วนการนำเข้าประมาณร้อยละ 90-95 ดังนั้น เมื่อราคาน้ำมันแพงทุกครั้งไทยจะได้รับผลกระทบหนักสุด

โดยแผนดังกล่าวจะเน้นเรื่องให้ไทยพึ่งพาการผลิตเชื้อเพลิงภายในประเทศ เช่น การส่งเสริมให้ชาวบ้านพัฒนาพลังงานทดแทน โดยเฉพาะโครงการไบโอดีเซลชุมชน ซึ่งมีนโยบายจะส่งเสริมถึง 130 จุด และไบโอดีเซลมีต้นทุนอยู่ที่ 20 บาทต่อลิตร หากทำเองได้แล้วไทยจะลดการพึ่งพิงน้ำมันราคาแพงลงไป ในอนาคตทาง สนพ. ได้วางแผนให้ไทยพัฒนาไปสู่การผลิตไบโอดีเซลเพื่อการส่งออกอีกด้วย เพราะไทยถือว่าได้เปรียบกว่าประเทศอื่นที่มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ

สำหรับมาตรการพลังงานทดแทนที่วางไว้แล้วตั้งแต่ปลายปี 2548 เมตตากล่าวว่าในขณะนี้กำลังดำเนินการอยู่ และสามารถทำไบโอดีเซลในระดับชุมชนได้แล้ว 50 หมู่บ้าน ซึ่งทางกระทรงอุตสาหกรรมมีโรงงานต้นแบบที่แล้วเสร็จแล้วกว่า 5 โรงงาน ถือว่าเป็นการดำเนินงานที่เร็วกว่าที่คาดหมายไว้ ซึ่งการวางกลยุทธ์ต่อไปสำหรับพลังงานทดแทนก็คือ การวางแผนจัดระบบขนส่งให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยขึ้นอยู่กับความสำเร็จของการจัดสถานที่ปลูกด้วย

ส่วนหน่วยงานที่รับผิดชอบการปลูกพืชพลังงานทดแทนก็คือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตอนนี้โครงการปลูกพืชดังกล่าวก็คืบหน้าไปได้บางส่วน คาดว่าจะเห็นผลชัดเจนภายใน 1 ปี ปัจจุบันต้องรอการนำเข้าเมล็ดพันธุ์ปาล์มจากต่างประเทศก่อน

ไทยขาดเมล็ดพันธุ์ปาล์มต้องรออีก 1 ปี

พินิจ กอศรีพร รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กล่าวว่า กระทรวงเกษตรฯได้วางพื้นที่สำหรับปลูกพืชพลังงานเพิ่มขึ้นอีก 2 ล้านไร่ แบ่งเป็นการปลูกปาล์มน้ำมันที่ภาคใต้ 1 ล้านไร่ ซึ่งกำลังเริ่มดำเนินการเตรียมหน้าดินเพื่อเตรียมพร้อมในการปลูกไว้เรียบร้อยแล้ว ปลูกปาล์มน้ำมันที่ภาคตะวันออกกว่า 300,000 ไร่ รวมทั้งการปลูกพืชเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน อย่าง พม่า ลาว และกัมพูชาอีก 500,000 ไร่ และยังไม่นับรวมพื้นที่ที่มีการปลูกอ้อยอยู่แล้วกว่า 6,200,000 ไร่

อย่างไรก็ตามปัญหาที่เกิดขึ้นขณะนี้คือ ไทยยังไม่มีเมล็ดปาล์มที่เพียงพอให้กับพื้นที่ที่เพิ่มมากขึ้น จึงจำเป็นต้องนำเข้าจากต่างประเทศ เช่น คอสตาริก้า และ ปาปัวนิวกีนี ในการสั่งซื้อแต่ละครั้งต้อง สั่งซื้อเมล็ดครั้งละ มากๆ อย่างน้อยครั้งละ 1,000,000 เมล็ด โดยภาคใต้มีตัวเลขที่แน่นอนแล้วว่ามีที่ใดจะปลูกแล้ว ดังนั้นการปลูกปาล์มจึงต้องใช้ระยะเวลาอย่างน้อย 1 ปี ครึ่ง ในการเพาะเมล็ดพันธุ์และสามารถนำไปปลูกได้จริง อีกทั้งตอนนี้ในส่วนของการปลูกปาล์มในภาคตะวันออกจะต้องรอต่อไปซักระยะ เพื่อให้ชาวสวนเงาะที่ปลูกเงาะไม่ได้ราคาหันมาปลูกปาล์มแทน เพราะแม้ทางกระทรวงเกษตรฯจะตั้งเป้าไว้ที่ 300,000 ไร่ แต่ต้องขึ้นอยู่กับความพอใจของเกษตรกรว่าจะเปลี่ยนใจหันมาปลูกปาล์มหรือไม่

สำหรับการทำสัญญา Contract Farming กับประเทศเพื่อนบ้านอย่าง พม่า ลาว และ กัมพูชานั้น ช่วงนี้อยู่ในระยะการศึกษาพื้นที่ โดยเฉพาะระบบโลจิสติกส์ และสภาพอากาศของพื้นที่ในการปลูกพืชพลังงาน แม้พม่าจะให้พื้นที่ไทยอย่างเต็มที่กว่า 43,000,000 ไร่ แต่ทางกระทรวงเกษตรฯต้องจัดเตรียมทีมงานไปสำรวจสภาพดินและระบบการขนส่งก่อนที่จะลงทุนในระยะแรก ดังนั้นจึงคาดว่าภายในสิ้นปีนี้โครงการพลังงานทดแทนจะเป็นรูปเป็นร่างชัดเจนขึ้นจาก มันและอ้อย เพราะตอนนี้พืชทั้งสองชนิดต่างมีผู้สนใจปลูกมากขึ้น อีกทั้งราคาก็พุ่งสูงขึ้นด้วย โดยเฉพาะน้ำตาล ซึ่งราคาน้ำมันในตลาดโลกเพิ่มขึ้น จะได้ กากน้ำตาลมาใช้สำหรับผลิต เอธานอลเพิ่มขึ้นด้วยอีกทาง แต่สำหรับปาล์มน้ำมันนั้นคงต้องรอไปอีกอย่างน้อย 1 ปี จึงจะเริ่มให้ผลผลิตเชิงพาณิชย์ได้อย่างเด่นชัด โดยมีโรงงานรองรับไว้พร้อมอยู่แล้ว

ขณะเดียวกันนโยบายแก้ปัญหาวิกฤตด้านพลังงานโดยเฉพาะราคาน้ำมันที่พุ่งตัวสูงขี้นอย่างเร่งด่วนขณะนี้ คือ รัฐจะแบ่งการเข้าไปช่วยเหลือเป็นภาคธุรกิจ เช่น ในภาคขนส่งจะช่วยเหลือภาคขนส่งที่ขนส่งคน คือ ช่วยเหลือองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) ซึ่งทาง บมจ. ปตท.และ กระทรวงพลังงานจะหารือกับกระทรวงคมนาคม เพื่อวางมาตรการช่วยเหลือต่อไปว่าอาจจะอยู่ในรูปแบบลดราคาน้ำมันให้ ส่วนภาคขนส่งสินค้าจะช่วยเหลือร่วมกันระหว่างกลุ่มโรงกลั่นและกลุ่มบริษัทค้าน้ำมันอยู่ในตลาด อาจจะใช้ในรูปของการให้บัตรส่วนลดในการเติมน้ำมันตามโควตา ซึ่งจะมีการหารือในรายละเอียดต่อ ด้านกลุ่มอาชีพเกษตรกร และประมง บมจ.บางจาก บมจ.ปตท. และโรงกลั่นน้ำมันไทยออยล์ จะดูแลต่อไป ส่วนกลุ่มประมงรายย่อย จะให้ส่วนลดประมาณลิตรละ 2 บาทเศษ ขณะที่เกษตรกรก็จะยังคงช่วยเหลือโดยจำหน่ายราคาน้ำมันถูกกว่าปกติลิตรละ 1 บาทเศษ เป็นต้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us