Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์1 พฤษภาคม 2549
โลว์คอสสวนกระแสราคาน้ำมันพุ่ง...ขยายบริการทั้งในและต่างประเทศเพียบ             
 


   
www resources

โฮมเพจ สายการบินนกแอร์

   
search resources

สกาย เอเชีย, บจก. - สายการบินนกแอร์
พาที สารสิน
Low Cost Airline




ในยุคที่ใครๆก็บินได้ เริ่มร้อนระอุเมื่อสายการบินต้นทุนต่ำ ทั้งนกแอร์และไทยแอร์เอเชียต่างมุ่งสู่เส้นทางนอกประเทศกันมากขึ้น ขณะที่เส้นทางบินในประเทศขยายเปิดให้บริการใหม่กันเพียบ

เส้นทางในประเทศกว่า 10 เส้นทางบินของไทยแอร์เอเชียที่มีอยู่ทำให้ปัจจุบันเลือกที่จะมุ่งสู่ภาคใต้อีกครั้ง โดยเฉพาะสุราษฎร์ธานี และกระบี่ 2 จังหวัดที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าออกอยู่เป็นประจำ ขณะที่น้องใหม่นกแอร์ที่มีเส้นทางบินอยู่ในมือเพียง 6 เส้นทางบินเลือกที่จะให้บริการในเส้นทางแม่ฮ่องสอน-เชียงใหม่ และเส้นทาง กรุงเทพฯ-เลย เหตุผลง่ายๆคือทั้งสองเส้นทางบินยังไม่มีคู่แข่งขันเข้าไปเปิดตลาดนั่นเอง

พาที สารสิน CEOของนกแอร์ ให้ความเห็นการเปิดเส้นทางใหม่ทั้งสองเส้นทางนี้ว่า เพื่อตอบสนองความต้องการและเพิ่มความสะดวกสบายต่อผู้โดยสาร และเพื่อเป็นการรองรับเครื่องบินใหม่ที่จะนำเข้ามาเพิ่มจึงต้องมีการขยายเส้นทางบิน กอปรกับเส้นทางแม่ฮ่องสอน-เชียงใหม่ที่เดิมสายการบินไทยเปิดให้บริการอยู่นั้นขาดทุนมาโดยตลอด

“มีคนสงสัยว่าขนาดการบินไทยขาดทุนแล้วนกแอร์เข้าไปแทนจะเป็นอย่างไร ตอบได้ว่าสบายมากเพราะนกแอร์จะใช้เครื่องบิน ATR มีที่นั่งเพียง 66 ที่นั่นเท่านั้น ด้วยเครื่องที่มีขนาดเล็กกว่าดังนั้นเรื่องของต้นทุนจึงคาดว่าน่าจะถูกลง ขณะเดียวกันราคาค่าโดยสารยังคงใกล้เคียงกับการบินไทย”พาที กล่าว

ส่วนเส้นทางกรุงเทพฯ-เลย พาที ให้ความเห็นว่าเป็นเส้นทางที่ยังไม่มีสายการบินต้นทุนต่ำเข้าไปเปิดตลาด ขณะเดียวกันนกแอร์มีแผนที่จะบินเส้นทางระหว่างเลย-อุดรธานี ด้วยเช่นกันเพื่อขยายเส้นทางบินให้บริการครอบคลุมในแถบภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

“ปัจจุบันนกแอร์มีเครื่องบิน 4 ลำ และในปีนี้จะมีเพิ่มอีก 2 ลำ คาดว่าจะสามารถให้บริการได้อย่างเต็มที่และเป็นไปตามแผนงานที่วางไว้”CEO นกแอร์กล่าว

ต่างประเทศเนื้อหอม

การเปิดเส้นทางบินใหม่ของสายการบินตุ้นทุนต่ำใช่ว่าจะมีเพียงในประเทศเท่านั้น ในต่างประเทศรอบข้างแถบเอเชียก็มีการบุกตลาดบินไปในหลายเส้นทาง

ไทยแอร์เอเชีย เปิดให้บริการเส้นทางเฉพาะระหว่างประเทศมีถึง 8 เส้นทางทีเดียว ขณะที่นกแอร์หลังจากที่ได้เครื่องบินใหม่คาดว่าจะเปิดให้บริการเส้นทางบินระหว่างประเทศกับเขาบ้างโดยเลือกที่จะบินไปในเมือง บังกาลอ ประเทศอินเดียประมาณช่วงเดือนตุลาคมศกนี้

เหตุผลที่เลือกบินไปเมืองบังกาลอของนกแอร์ครั้งนี้ พาที บอกว่าอย่างแรกคือเป็นตลาดใหม่สำหรับสายการบินต้นทุนต่ำและสามารถเล่นเรื่องของราคาได้ และลูกค้าที่ใช้บริการก็จะเป็นคนละตลาดกับการบินไทย ประกอบกับในขณะนี้การขยายตัวของธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำในอินเดียมีการขยายตัวสูงมาก เพราะประชากรในอินเดียมีสูงถึง 350 ล้านคน จึงเป็นตลาดที่ใหญ่มาก ทำให้ปัจจุบันมีสายการบินต้นทุนต่ำที่เปิดทำการบินในประเทศอินเดียแล้วหลายสาย อาทิ Spice Jet , คิงฟิชเชอร์,แอร์เดกคัน,โก แอร์

“ในขณะนี้ กำลังอยู่ระหว่างการหารือกับแอร์เดกคัน ซึ่งเป็นสายการบินต้นทุนต่ำที่ใหญ่ที่สุดของอินเดีย ในการทำแผนการร่วมมือในการดำเนินธุรกิจในลักษณะการขยายช่องทางการจัดจำหน่าย เช่น การพัฒนาการซื้อตั๋วเครื่องบินของทั้งสองสายการบินผ่านเว็บไซด์ของทั้ง 2 สายการบิน เป็นการขยายตลาดร่วมกัน”พาที กล่าว

การเปิดให้บริการเส้นทางใหม่ระหว่างประเทศของสายการบินต้นทุนต่ำทั้งไทยแอร์เอเชียและนกแอร์ในยุคที่ภาวะราคาน้ำมันแพงเช่นนี้อาจจะส่งผลดีสำหรับสองสายการบิน เนื่องจากราคาที่นำเสนอค่อนข้างจะถูกกว่าสายการบินอื่นที่เปิดให้บริการอยู่ในเส้นทางเดียวกัน และใช้เครื่องบินที่มีขนาดเล็กกว่ารวมทั้งชั่วโมงบินที่น้อยกว่าน่าจะทำให้ต้นทุนในเรื่องของค่าใช้จ่ายถูกลง ปัจจุบันถูกการบรรจุให้เป็นแผนลงทุนเพื่อเปิดขยายเส้นทางบินระหว่างประเทศของสายการบินต้นทุนต่ำไปแล้วและคงจะมีภาพให้เห็นกันเพิ่มขึ้นสำหรับอนาคตอันใกล้นี้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us