Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2539
Online Banking : เรายกธนาคารมาไว้ที่บ้าน             
 


   
search resources

Electronic Banking




สำหรับคนทั่วไปที่ไม่ใช่นักธุรกิจเงินล้าน นายธนาคารเงินแสน การทำกิจกรรมการเงิน ไม่ว่าจะไปเข้าธนาคารฝากเงิน ถอนเงิน โอนเงินข้ามสาขา ล้วนเป็นเรื่องน่าปวดเศียรเวียนเกล้าอย่างที่สุด เพราะนอกจากจะขี้เกียจออกจากบ้านไปเจอรถติด ยังต้องไปรอแถวยาวเหยียดในธนาคารที่คุยหนักหนาว่า "รีเอ็นจิเนียริ่ง" แล้ว และถ้าเทพีแห่งโชคไม่เข้าข้าง เผลอ ๆ วันนั้น อาจเจอผู้หวังดีแต่ประสงค์ร้ายฉกเอากระเป๋าเงินไปเสียอีก

ด้วยเหตุนี้เอง บริษัทซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์หลายแห่งจึงสบช่องเสนอตัวบริการเจ้าซอฟต์แวร์ที่เรียกว่า ระบบ online banking ในอินเตอร์เน็ต ที่จะทำให้ผู้ใช้ไม่ต้องถ่ายออกจากบ้าน เพียงนั่งลงขยับเม้าท์ไปมา ไม่ถึงอึดใจเงินของผู้ใช้บริการ online banking ก็มีอันย้ายตัวเองไปอยู่ในบัญชีในธนาคารเรียบร้อยแล้ว

แต่ระบบดังกล่าวไม่ได้ให้บริการแค่ฝาก-ถอนเงิน ยังมีบริการอื่น ๆ อีกมากมายไม่ว่าจะทำเช็ค ขึ้นเช็ค เปิดบัญชี ขอสินเชื่อ เหมือนบริการของธนาคารปกติทุกอย่าง แถมยังมีบริการรายงานความเคลื่อนไหวตลาดหุ้น เศรษฐกิจและอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเงิน นอกจากนี้ เจ้าของซอฟต์แวร์ก็ยังพยายามพัฒนาระบบความปลอดภัยของเครือข่ายอยู่เสมอ เพื่อช่วยให้คุณนอนตาหลับ หลังใช้บริการผ่านอินเตอร์เน็ต

ซอฟต์แวร์การเงินส่วนบุคคล

คนส่วนใหญ่จะนิยมใช้ซอฟต์แวร์ระบบธนาคาร online ของ CheckFree ในการทำธุรกรรมกับธนาคาร เพราะระบบนี้ช่วยให้คุณชำระเงินหรือฝากเงินได้แม้ว่าธนาคารที่คุณเปิดบัญชีอยู่จะไม่มีระบบ online ก็ตาม โดยในกรณีนี้ Checkfree จะเขียนเช็คขึ้นมาและส่งไปให้ธนาคารในนามของลูกค้า ส่วนค่าบริการก็ถูกมาก โดยคิดเดือนละ 5.95 ดอลลาร์ต่อการชำระเงิน 20ครั้ง และลดลงเหลือ 2.95 ดอลลาร์สำหรับการบริการชำระเงินทุก 10 ครั้ง ที่สำคัญ คือ CheckFree ยังใจดีให้ download ซอฟต์แวร์มาลองใช้ได้ด้วย โดย 30 วันแรกจะไม่คิดเงิน แต่หลังจากนั้น จ่ายตามระเบียบ !

นอกจากนี้ ยังมีโปรแกรม Kipling's Simply Money ซึ่งถึงเจ้าระบบนี้จะไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อการทำธุรกรรมการเงินตามสายโดยเฉพาะ แต่มันสามารถทำงานควบคู่ไปกับ CheckFree อันจะทำให้ลูกค้าสามารถส่งเช็คอิเล็กทรอนิกส์ผ่านโมเดมไปยังธนาคารได้

Quicken ของอินทุตเป็นอีกซอฟต์แวร์ที่น่าสนใจ เพราะเชื่อมต่อกับบริการ online ของธนาคาร 25 แห่งและสถาบันการเงินอีกมากมาย อย่างอเมริกัน เอ็กซ์เพรส และถ้าผู้ใช้เป็นลูกค้าของสถาบันการเงินเหล่านี้อยู่แล้ว ก็เข้าไปใบริการเรื่องเช็ค ฝากเงิน หรือกู้เงินผ่านทางจอคอมพิวเตอร์ได้เลย

ระบบนี้จะต้องเปิดบัญชีเป็นสมาชิกของอินทุตเสียก่อน เพื่อขอรับรหัสลับ ที่เป็นเช่นนี้เพราะ การทำธุรกรรมการเงินจะต้องผ่านเครือข่ายของอินทุต ไม่ได้พุ่งไปที่ธนาคารโดยตรง ข้อดีของ Quicken ตัวนี้ คือ ช่วยโอนเงินต่างสาขาได้ แถมบริการการลงทุนอีก 2 โปรแกรม คือ Investor Insight สำหรับคนที่ใช้ซอฟต์แวร์ Quicken Deluxe 5 ซึ่งจะให้ข้อมูลตลาดหุ้นและกองทุน ข่าวการเงิน และรายงานผลประกอบการของบริษัท และ Portfolio Price Update ที่ให้ข้อมูลหุ้นและตลาดทุน

ไมโครซอฟต์ บริษัทราชาซอฟต์แวร์โลกของสหรัฐฯ ไม่ยอมน้อยหน้า ส่งซอฟต์แวร์ Microsoft Money มาแข่งขันกับเขาด้วย ซึ่งเชื่อมต่อกับธนาคาร 31 แห่ง แต่ให้บริการไม่ต่างจาก Quicken ของอินทุตเท่าไหร่ ทั้งยังอาศัยส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายของอินทุตอีกด้วย แต่ในอนาคต ไม่โครซอฟต์จะนำระบบ Open Financial Connectivity มาใช้ ซึ่งข้อมูลการเงินต่าง ๆ ของลูกค้าจะวิ่งผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในบ้านลูกค้าไปที่ธนาคารโดยตรง ไม่หยุดแวะที่ไหน

บริการตรงจากธนาคาร

ในตอนนี้ มีสถาบันการเงิน 72 แห่ง เปิดเว็บไซท์อยู่ใน World Wide Web เพียงแต่ยังไม่ให้บริการ online banking กันทุกสถาบันเท่านั้น มีเพียงแบงก์ ออฟ อเมริกา, เบย์ แบงก์, ซิเคียวริตี้ เฟิร์สท์ เน็ตเวิร์ค แบงก์ และเวลส์ฟาร์โก้เท่านั้น ที่เริ่มให้บริการดังกล่าวบ้างแล้ว โดยแต่ละธนาคารจะมีข้อดีข้อเด่นต่างกันไป เริ่มจากแบงก์ ออฟ อเมริกา ที่เสนอบริการข้อมูลคาดการณ์เศรษฐกิจ การสมัครบัตรเครดิตตามสาย รวมถึงข้อมูลตลาดอสังหาริมทรัพย์ ในอนาคตทางธนาคารจะเริ่มให้บริการเต็มรูปแบบ ทำให้ลูกค้าเข้าไปโอนเงิน ชำระเงินหรือตรวจสอบบัญชีได้สบาย

จุดเด่นของบริษัทของแบงก์ ออฟ อเมริกา คือ มีเครือข่ายชำระเงินกับร้านค้าต่าง ๆ ถึง 50,000 แห่ง ทำให้ไม่ว่าลูกค้าจะติดหนี้ใคร ก็สามารถชำระหนี้ผ่านสายได้ทั่วราชอาณาจักร ด้านระบบความปลอดภัยก็ลืมไปได้เลย เพราะธนาคารจะนำระบบรหัสลับสำหรับป้องกันข้อมูลส่วนตัวมาใช้ ซึ่งไม่ใช่ระบบของใครที่ไหน นอกจาก Netscape Navigator โปรแกรมล่าสุด

ด้าน เบย์ แบงก์ เสนอบริการใจป้ำกว่าใคร เพราะลูกค้าที่ใช้โปรแกรม Home Link ของธนาคารนั้น 3 เดือนแรกฟรี ! แต่ที่ดูมีดีกรีกว่ารายอื่น คือ ซิเคียวริตี้ เฟิร์สท์ เน็ตเวิร์ค แบงก์ ที่ให้บริการลูกค้าเหมือนไปธนาคารเองทุกอย่าง แถมยังได้รับการรับรองจาก เฟเดรัล ดีโพสิท อินชัวรันส์ คอปอร์เรชั่นของรัฐบาลกลาง หมายความว่า ถ้าธนาคารเกิดล้มขึ้นมา ลูกค้าที่ฝากเงินมากกว่า 100,000 ดอลลาร์จะได้เงินคืนทันที ส่วนระบบความปลอดภัยของธนาคารนั้น แน่นหนาเหมือนจงอางหวงไข่ เพราะใช้ SecureWare ระบบเดียวกับที่กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ใช้ ว้าว !

บ.ออนไลน์เอี่ยวด้วย

ยังมีบริษัทบริการ online ที่เข้ามาแย่งชิงส่วนแบ่งบริการการเงินตามสายกับเขาด้วย อย่าง อเมริกา ออนไลน์ ที่เชื่อมระบบกับแบงก์ ออฟ อเมริกา และเฟิร์สท์ ชิคาโก ออนไลน์ คอมพิวเสิร์ฟ ที่ให้บริการผ่าน CheckFree และรับอาสาชำระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ รายเดือนให้ด้วย โพรดิจี้ ที่รวบเครือข่ายธนาคารภาคตะวันตก สหรัฐฯ เอาไว้หมด รวมถึงเอ็มเอสเอ็น หรือไมโครซอฟต์ เน็ตเวิร์ค ที่แม้จะไม่ได้ให้บริการตามสาย แต่ก็บริการ link กับธนาคาร 13 แห่งผ่านเว็บไซท์

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us