|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ พฤษภาคม 2549
|
 |

กรุงปารีสเต็มไปด้วยพิพิธภัณฑ์มีทั้งของเอกชนและของรัฐ ค่าเข้าชมมีหลากหลาย บางแห่งเข้าชมฟรี นอกจากนั้นพิพิธภัณฑ์แต่ละแห่งพยายามจัดนิทรรศการเพื่อหารายได้เพิ่มเติม น่ายินดีที่เอกชนจำนวนไม่น้อย บริจาคทรัพย์สินแก่รัฐหรือหน่วยงานของรัฐเพื่อสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์ให้ชนรุ่นหลังได้ชมและศึกษาหาความรู้ต่อไป ดังในกรณีของอองรี แซร์นุชี (Henri Cernushci)
อองรี ซานุชี (Henri Cernuschi) หรืออีกนัยหนึ่งเอนริโก แซร์นุชี (Enrico Cernuschi) เป็นนายธนาคารชาวเมืองมิลาน ลี้ภัยมายังกรุงปารีสหลังจากเกิดการปฏิวัติในแคว้นลอมบาร์ดี (Lombardie) ได้รับสัญชาติฝรั่งเศสในภายหลัง เขาเดินทางรอบโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งตะวันออกไกล ระหว่างปี 1871-1873 และกลับฝรั่งเศสพร้อมด้วยงานศิลป์กว่า 4,000 ชิ้นจากจีนและญี่ปุ่น จึงสร้างบ้านบนถนน avenue Velasquez เพื่อเก็บโบราณวัตถุเหล่านี้ เมื่อถึงแก่กรรม เขามอบบ้านพร้อมงานศิลป์เหล่านี้แก่กรุงปารีส ซึ่งแปลงบ้านให้เป็นพิพิธภัณฑ์ และเปิดให้สาธารณชนเข้าชมตั้งแต่ปี 1878 พิพิธภัณฑ์แซร์นุชี (Musee Cernuschi) เป็นศูนย์รวมงานศิลป์จากเอเชียอีกแห่งหนึ่งรองจากพิพิธภัณฑ์กีเมต์ (Musee Guimet) หลังจากปิดเพื่อบูรณะเป็นเวลา 5 ปี พิพิธภัณฑ์แซร์นุชีเปิดบริการใหม่ในเดือนมิถุนายน 2005
จับรถไฟใต้ดินไปขึ้นสถานี Villiers เดินไปตามป้ายที่ชี้บอกทางไปพิพิธภัณฑ์แซร์นุชี เห็นประตูเหล็กขนาดใหญ่สีกรมท่า และทองเปิดอยู่ เป็นปากทางเข้าสวนสาธารณะ มงโซ (Parc Monceau) เดินเข้าไปนิดเดียว พิพิธภัณฑ์แซร์นุชีอยู่ทางซ้ายมือ ตรงประตูทางเข้ามีสิงโตหมอบอยู่ข้างละตัว รู้ทันทีว่ามาถึงที่แล้ว
วันที่ไปนั้น พิพิธภัณฑ์จัดนิทรรศการเครื่องศิลาดลจีน นอกเหนือจากงานศิลป์ที่แสดงอยู่เป็นประจำ จึงเข้าชมนิทรรศการก่อนอื่น ล้วนเป็นเครื่องศิลาดลสมัยโบราณ หลายชิ้นสีสวยแปลก สีเขียวอมฟ้า หรืออมเหลือง อมน้ำตาล บางชิ้นใหญ่และวิจิตรมาก ได้เห็นตะเกียงเครื่องหอม นึกในใจว่าคนสมัยนี้เลียนแบบคนสมัยโบราณ ธูปเทียนหอมและน้ำมันระเหยกลิ่นต่างๆ ที่วางขายพร้อมกับภาชนะใส่น้ำมันหอมนั้นเป็นสิ่งคุ้นเคยของคนโบราณ เพิ่งกลับมานิยมกันเมื่อไม่กี่ปีมานี้เอง รูปทรงแจกันสวยสาวเทศคนหนึ่งกำลังร่างภาพไว้ ทำให้คิดว่าเธอน่าจะทำงานด้านการออกแบบเครื่องปั้นดินเผา
โถงก่อนขึ้นบันได มีแจกันขนาดยักษ์สองคู่ คู่หนึ่งเป็นลวดลายสีฟ้าสวย อีกคู่หนึ่งหลากสี ข้างบันไดตั้งรูปปั้นครึ่งตัวของอองรี แซร์นุชี และมังกรทองแดงที่อ่อนช้อยมาก นกกะเรียนเพรียวลมสามตัวยืนเด่นเป็นสง่าอยู่ชั้นสอง ในห้องโถงมีพระพุทธรูปขนาดใหญ่มากตั้งบนแท่นสูง เป็นพระพุทธรูปญี่ปุ่น สมัยศตวรรษที่ 18 ซึ่งอองรี แซร์นุชีนำมาจากวัดนอกกรุงโตเกียวที่ถูกไฟไหม้และรัฐไม่ได้ใส่ใจ สร้างโบสถ์ใหม่ รูปปั้น พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร หรือพระแม่กวนอิมมีหลายองค์ด้วยกัน
โบราณวัตถุในพิพิธภัณฑ์นี้จำนวนไม่น้อยมีสภาพสมบูรณ์ นอกจากสมบัติของ อองรี แซร์นุชี แล้ว มีของที่ผู้อื่นบริจาคให้รัฐด้วย มีทั้งหมด 12,000 ชิ้นด้วยกัน มีโบราณวัตถุสมัยนีโอลิธิกถึงศตวรรษที่ 13 อดทึ่งไม่ได้ว่าช่างมีคนที่หลงใหลศิลปะตะวันออกไกลจนสะสมผลงานหลากหลายจำนวนมากขนาดทำเป็นพิพิธภัณฑ์ได้
ในปี 1922 ตั้งสมาคมเพื่อนพิพิธภัณฑ์แซร์นุชี เพื่อส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับศิลปะตะวันออก จัดปาฐกถา นำชมนิทรรศการศิลปะเอเชียหรือจัดท่องเที่ยว เป็นต้น ผู้ที่บริจาคเงินแก่สมาคมหรือผู้เป็นสมาชิกรายปีสามารถนำไปหักภาษีได้
เมื่อออกจากพิพิธภัณฑ์ พากันไปยังสวนสาธารณะ Parc Monceau ซึ่งอยู่ห่างไปเพียงไม่กี่ก้าว ผู้คนในสวนมากมายด้วยว่าเป็นวันที่อากาศดี ฟ้าแจ่ม แดดจัด เดินเล่นบ้าง นั่งรับแดดบนม้ายาว หรือตามสนามหญ้าบ้าง รูปปั้นของอัลเฟรด เดอ มุสเซต์ (Alfred de Musset) นักเขียนชาวฝรั่งเศสตั้งอยู่มุมหนึ่ง ขบวนลาที่มีเด็กเล็กขี่อยู่มาถึงที่หมาย ผู้ปกครองยืนรอรับอยู่ ในขณะที่มีแถวยาวรอขึ้นลากัน
เดินทะลุสวนไปออกอีกด้านหนึ่ง อาคารย่านนั้นสวยมาก เป็นย่านผู้มีอันจะกิน เห็นป้ายติดไว้ว่าห้ามจอดรถขวางประตูอดเข้าไปเมียงมองไม่ได้ เป็นบ้านขนาดใหญ่ สถาปัตยกรรมสวยมาก ใครนะเป็นเจ้าของ ใคร่รู้จริงๆ
เดินชมเมืองไปเรื่อยๆ และตระหนักว่าประตูชัย (Arc de Triomphe) อยู่ใกล้แค่นี้เอง
|
|
 |
|
|