Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์1 พฤษภาคม 2549
"ทิมเบอร์แลนด์" คัมแบ็กชูแอนิเมชั่น เจาะวัยรุ่น             
 


   
search resources

Marketing
Garment, Textile and Fashion
อาร์มิน ซิสเท็ม, บจก.




การกลับมารุกตลาดในไทยอีกครั้ง หลังจากเงียบหายไปนานกว่า 7 ปี ด้วยการสลัดภาพความเชย หรือการเป็นแบรนด์เก่าสำหรับผู้ชายสูงวัย มาสู่ภาพลักษณ์ที่ทันสมัยในรูปที่แบบหลากหลาย และมีสีสันสดใสมากขึ้น รวมถึงการนำการ์ตูนแอนิเมชั่นมาสื่อคอนเซ็ปต์ของแบรนด์ พร้อมเปิดตัว Endorser คนไทยเป็นครั้งแรก เพื่อให้แบรนด์เข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่เป็นวัยรุ่น คนทำงานได้ง่ายขึ้น นับเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญกับการทำตลาดในเมืองไทยของTimberland ที่คู่แข่งอย่าง ecco , Dr.martin , Camel ต้องจับตาดูความเคลื่อนไหว

แม้ภาพรวมเศรษฐกิจตั้งแต่ปีที่ผ่านมา จนถึงขณะนี้จะได้รับผลกระทบจากน้ำมันขึ้นราคาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้บริโภคมีพฤติกรรมการควบคุมค่าใช้จ่ายมากขึ้น ทว่า ภาพการแข่งขันในตลาดแฟชั่นกลับทวีความรุนแรงและดุเดือดยิ่งขึ้น เนื่องจากการเข้ามาของผู้เล่นทั้งหน้าเก่ารายใหม่ที่มีอย่างไม่ขาดสาย โดยเฉพาะอินเตอร์แบรนด์ที่พร้อมใจเข้ามาเปิดตลาดในไทยอย่างคึกคัก และ "Timberland" แบรนด์สัญชาติอเมริกัน ที่โดดเด่นทั้งเรื่องของรองเท้า เสื้อผ้าประเภทout door ก็เป็นอีกแบรนด์หนึ่งที่กลับเข้ามาเปิดตลาดในไทยอีกครั้ง ภายใต้การบริหารของไมเนอร์ กรุ๊ป หลังจากหยุดทำตลาดไปประมาณ 7 ปี เนื่องจากบริษัทอินช์เคท ผู้นำเข้าขณะนั้นถูกซื้อกิจการไป

สำหรับ การกลับมาครั้งนี้ ทิมเบอร์แลนด์หันมาให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนภาพลักษณ์แบรนด์ใหม่ ด้วยการจัดสรรงบ 10% จากยอดขาย มากกว่า 50% เมื่อเทียบกับงบตลาดของแบรนด์อื่นในเครือไมเนอร์ กรุ๊ป เพื่อดัน Earthkeepers คอลเลคชั่นล่าสุดขึ้นมาสื่อสารกับผู้บริโภคในเรื่องการดูแลสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นแนวคิดหลักของทิมเบอร์แลนด์ โดยความน่าสนใจของคอลเลคชั่นนี้ คือ กลวิธีการสื่อสารกับผู้บริโภค ที่ทิมเบอร์แลนด์เลือกสื่อสารกับลูกค้าผ่านภาพยนตร์แอนิเมชั่นเป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นคอนเซ็ปต์จากญี่ปุ่นที่ใช้เหมือนทั่วโลก โดยบริษัทอยู่ในระหว่างการเจรจากับบริษัทแม่ ขอจัดทำเป็นซีดีฉบับภาษาไทยเพื่อแจกให้กับโรงเรียน นอกเหนือจากการแจกให้กับลูกค้าที่เข้ามาซื้อสินค้าภายในร้าน และการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อ ที่ขณะนี้อยู่ในระหว่างการติดต่อกับรายการเรื่องเล่าเช้านี้ ซึ่งเป็นไปได้ว่า การที่ทิมเบอร์แลนด์ให้ความสำคัญกับการปรับภาพลักษณ์ครั้งนี้ ส่วนหนึ่งเพราะกลุ่มเป้าหมายที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป อีกทั้งการหายไปจากตลาดเมืองไทยนานเกือบ 10 ปี ย่อมทำให้แบรนด์ดูล้าสมัย และยากที่จะเข้าถึงลูกค้าอายุ 25 - 35 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักที่ทิมเบอร์แลนด์ต้องการขยายเข้าไป

"การกลับมาครั้งนี้ สิ่งที่บริษัทกังวล คือ ลูกค้าจะมองว่าแบรนด์ของเราเชยและเก่าไป โดยเฉพาะลูกค้ากลุ่มใหม่ที่เราต้องการจะขยายเข้าไป ซึ่งการใช้การ์ตูนแอนนิเมชั่นมาเป็นสื่อ ก็คาดว่าจะทำให้แบรนด์ในสายตาผู้บริโภครุ่นใหม่มีความทันสมัยเป็นวัยรุ่นขึ้น ซึ่งตอนนี้เรามีแบรนด์อะแวเนสแล้ว แต่ต้องทำให้เป็นแบรนด์Top of mind ด้วย" เป็นคำกล่าวของ สุรเชษฐ มุ้งทอง ผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์แบรนด์ ทิมเบอร์แลนด์ บริษัท อาร์มิน ซิสเท็ม จำกัด

Earthkeepers เป็นสินค้ารุ่นลิมิเต็ดที่ไทยได้รับสิทธิ์นำเข้ามาจำหน่าย ทั้งเสื้อ กางเกง รองเท้า เพียงอย่างละ 12 ชิ้น จากทั้งหมดประมาณ 200 ชิ้นทั่วโลก ซึ่งทิมเบอร์แลนด์คาดว่าจะเป็นคอลเลคชั่นที่ช่วยขยายฐานไปยังลูกค้ากลุ่มใหม่ เนื่องจากมีการ์ตูนเข้ามาช่วยลดอายุแบรนด์เชื่อมไปยังลูกค้าวัยรุ่นได้ ขณะเดียวกันก็สามารถสื่อไปถึงแฟนพันธุ์แท้ที่ชอบสไตล์และคอนเซ็ปต์ของทิมเบอร์แลนด์ได้เช่นกัน โดยปันี้บริษัทตั้งเป้าโตขึ้น 180% เทียบกับปี 2547 ที่เริ่มจำหน่ายตั้งแต่เดือนกันยายน หรือมียอดขายประมาณ 120 ล้านบาท

พร้อมกันนี้ เพื่อให้แบรนด์สามารถเข้าถึงผู้บริโภคทั้ง 2 กลุ่มได้ดียิ่งขึ้น คือ ลูกค้าเก่าอายุ 35 ปีขึ้นไป และลูกค้าใหม่อายุ 25 - 35 ปี บริษัทจึงมีนโยบายใช้กลยุทธ์เปิดตัว Endorser คนไทยเป็นครั้งแรก ภายใต้คอนเซ็ปต์ "Two Generation" จากเดิมที่จะใช้เป็นพรีเซนเตอร์สากลทั่วโลก ทั้งนี้เพื่อเป็นสื่อกลางระหว่างแบรนด์ถึงผู้ชายทั้ง 2 วัย โดยตอนนี้อยู่ในระหว่างการติดต่อ เช่น คู่ของท่านมุ้ยกับลูกชาย และ ดู๋-สัญญา คุณากร กับ ต๊อด - ปิติ ภิรมย์ภักดี คาดว่าจะสามารถเปิดตัวได้ในกลางปีนี้ ซึ่งบริษัทจะทำการล้อนช์ออกมาเป็นซีรี่ส์ตามคอลเลคชั่น โดยปีนี้จะมีทั้งหมด 4 คอลเลคชั่นใหญ่

ขณะเดียวกัน ด้านการตกแต่งร้านนับว่าเป็นหน้าตาสำคัญที่ผู้บริโภคจะเข้ามาสัมผัสได้มากสุดเช่นกัน ดังนั้น ทิมเบอร์แลนด์จึงให้ความสำคัญการปรับตกแต่งดิสเพลย์ โดยจะมีการปรับเปลี่ยนเฉลี่ยอย่างน้อย 2 เดือน / ครั้ง เพื่อให้ลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการเห็นความเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศภายในร้านเสมอ แต่ยังคงเอกลักษณ์สไตล์ out door แบบทิมเบอร์แลนด์ นั่นคือ การให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม โดยปีนี้บริษัทตั้งเป้าขยายสาขาเพิ่มอีก 25 แห่ง จากที่มีอยู่ 15 แห่ง ด้วยงบลงทุนประมาณ 3 ล้านบาทต่อสาขา เช่น สาขาเซ็นทรัลเวิลด์

สำหรับสินค้าภายในร้าน เนื่องจากทิมเบอร์แลนด์เป็นแบรนด์ที่โดดเด่นในเรื่องของรองเท้า ดังนั้น สัดส่วนสินค้าที่ทิมเบอร์แลนด์ต้องการจะผลักดัน คือ กลุ่มรองเท้าให้มีสัดส่วนมากสุด 60% แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มบู๊ทส์ กลุ่มแคชชวล และกลุ่มเอ้าท์ ดอร์ ส่วนกลุ่มเสื้อผ้า 40% แบ่งเป็น กลุ่มแคชชวล เช่น เสื้อยืด เสื้อเชิ้ต กลุ่มเอ้าท์ ดอร์ เช่น เสื้อที่มีเทคโนโลยีกันน้ำ กันยุง แต่จากแผนที่จะเข้าถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่ ทำให้สีสันของเสื้อผ้ามีความสดใสขึ้น จากเดิมที่เป็นสีน้ำตาล สีดำ สีน้ำเงินเป็นส่วนใหญ่ โดยล่าสุดมีการนำเข้าเสื้อผ้าสีฟ้า สีชมพูเข้ามาจำหน่ายเป็นครั้งแรก ทั้งนี้เพื่อให้สินค้าของแบรนด์สามารถใส่ตามแฟชั่นได้ด้วย

"ปีนี้เรามีการนำเสื้อผ้าสีสันสดใสเข้ามาจำหน่ายเป็นครั้งแรก เพื่อให้สินค้าเรามีความเป็นแฟชั่นสวมใส่ในเมืองก็ได้ หรือจะใส่ไปลุยข้างนอกก็ได้ โดยคงความเป็นเบสิคของทิมเบอร์แลนด์ที่มีลูกเล่นด้วย"

อย่างไรก็ตาม แม้ภาพลักษณ์ของทิมเบอร์แลนด์ในสายตาผู้บริโภคไทยส่วนใหญ่ จะเห็นเป็นแบรนด์สำหรับผู้ชายก็ตาม ทว่า ทิมเบอร์แลนด์ก็มีสินค้าสำหรับผู้หญิงและเด็กเช่นกัน ซึ่งในปีหน้าทิมเบอร์แลนด์ก็มีนโยบายนำสินค้ากลุ่มผู้หญิงเข้ามาจำหน่าย ซึ่งเป็นสินค้าในสไตล์ลำลอง โดยมีแผนเปิดชอปทดลองตลาดในช่วงปลายปีก่อน 1 แห่ง ขณะที่สินค้าเด็กอาจไม่นำเข้ามาเนื่องจากไมเนอร์เป็นค่ายที่ไม่ถนัดทำตลาดสินค้ากลุ่มเด็ก

น่าจับตามองว่า ทิมเบอร์แบนด์จะสามารถลบภาพผู้ชายเชยๆออกไปได้มากน้อยแค่ไหน เพราะแม้ทิมเบอร์แลนด์จะมีแบรนด์อะแวเนสอยู่มากก็ตาม ทว่าจากการห่างหายไปจากตลาดนานเกือบ 10 ปี ย่อมทำให้แบรนด์ใหม่ๆเข้ามาแทนที่ในใจผู้บริโภคอย่างแน่นอน โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น คนทำงาน แต่ที่น่าสนใจไปกว่านั้น คือ แบรนด์เก่าอย่างคาเมล ที่ยึดสไตล์ลำลองบุกป่าฝ่าดงเป็นหลัก อาจจะต้องปรับตัวครั้งใหญ่รับมือกับศึกครั้งนี้ ไม่เช่นนั้น คาเมลอาจถูกมองเป็นแบรนด์ที่ต้องเข้าป่าเพียงอย่างเดียว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us