หลังจากเปิดเว็บไซต์ "อีโอทูเดย์"เป็นสนามทดลอง อีกไม่ถึง 2 เดือน ร้านขายเพลงออนไลน์ของแกรมมี่
ก็จะเริ่มให้บริการ
"เปรียบแล้วก็เหมือนกับการที่เราต้องมีแก้วน้ำ 2 แก้ว แก้วหนึ่งเต็มอยู่แล้ว
แต่เราไม่รู้ว่า น้ำในแก้ว ที่เต็มอยู่นี้ จะไหลไปสู่แก้วอีกใบ ที่ว่างเปล่าอยู่มื่อไหร่"วราวิช
กำภู ณ อยุธยา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธุรกิจอินเทอร์เน็ต บริษัทแกรมมี่
เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ เปรียบเทียบถึงความจำเป็นในการขยับเข้าสู่ธุรกิจขายเพลงออนไลน์
ปัจจุบันแกรมมี่ครองส่วนแบ่งตลาดเพลงไทยในประเทศ อยู่60% และเริ่มขยายไปยังตลาดเพลงในต่างประเทศ
เริ่มจากภูมิภาคเอเซีย ไต้หวัน ฮ่องกง สิงคโปร์
การเพิ่มบทบาทในเรื่องอินเทอร์เน็ต จึงเป็นส่วนหนึ่งของการเพิ่มช่องทางขายโดยไม่มีข้อจำกัดในเรื่องเวลา
ระยะทาง หรือสถานที่ และยังเท่ากับเป็นสร้างเพิ่มมูลค่าจาก content เพลง ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
เว็บไซต์ eotoday.com ที่แกรมมี่เปิดตัวไปในช่วง 3 เดือนที่แล้ว จะถูกใช้เป็น"ห้องทดลอง"
สำหรับการต่อยอดไปสู่เว็บไซต์ดนตรีของภูมิภาคเอเซีย ที่แกรมมีจดทะเบียนชื่อไว้แล้ว
ในชื่อของ asianmelody.com ที่จะต้องอาศัยความร่วมมือกับค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ของโลก
เพื่อสร้างความเป็นสากล และสร้างพลัง ที่มากกวาการมีแค่แกรมมี่ค่ายเดียว
แกรมมี่รู้ดีว่า อินเทอร์เน็ตไม่ใช่ของง่าย แต่ก็หนีก็ไม่พ้น ที่ต้องไป และ่ถึงแม้
eotoday.com จะเป็นหนูทดลองสำหรับงานใหญ่ในอนาคต แต่เว็บไซต์นี้ก็ต้องทำเป็นรูปธุรกิจ
ที่ต้องมีกำไรขาดทุน จากเม็ดเงิน ที่ลงทุนไปแล้ว 30 ล้านบาท เหมือนเป็น business
unit อื่นๆ ของแกรมมี่
การมีสื่อในมือ ทั้งวิทยุ และผลิตรายการทีวี ทำให้แกรมมี่ไม่เหนือยกับการทำเว็บไซต์มากนัก
และฐานลูกค้าส่วนใหญ่ ที่ใช้อินเทอร์เน็ต ก็ล้วนแต่เป็นกลุ่มลูกค้าหลักของแกรมมี่อยู่แล้ว
นั่นก็คือ กลุ่มเด็กวัยรุ่น ชื่อของ eotoday.com จึงติดหูติดตาได้ไม่ยาก
วราวิชเล่าว่า ตัวเลขผู้ชมเว็บไซต์นับตั้งแต่เปิดจนถึงเวลานี้ นับรวมได้
2 เดือนเต็ม มียอดผู้ชมประมาณ 5-6 แสน page view มียอดผู้เข้าชมเฉลี่ยวันละ
10,000-15,000 ราย และมีรายได้จากโฆษณา ตกเดือนละ 1 ล้านบาท วราวิช เชื่อว่า
ปีหน้าคงจะมีรายได้คุ้มกับต้นทุนในการดำเนินงาน
อีโอทูเดย์ก็เหมือนกับเว็บไซต์ทั่วไป คือ การสร้าง content สร้าง community
เพื่อดึงดูดยอดผู้เข้าชม และผลที่ตามมาก็คือ โฆษณา และ commerce ซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางของทุกเว็บไซต์
สำหรับอีโอทูเดย์ รายได้จากทำ e-commerce ในวันนี้ ก็คือ การขาย ซีดี หรือเทปเพลง
จากหน้าเว็บไซต์
"คู่แข่งของเราวันนี้ ก็คือ แผงเทป ร้านแมงป่อง ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น ซึ่งเด็กๆ
พวกนี้เขายังคงสะดวก ที่จะเดินออกไปซื้อเทป ที่หน้าปากซอย มากกว่าการจะต้องเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อสั่งซื้อ"
คำกล่าวของวราวิช ที่รู้ดีว่า อีคอมเมิร์ซไมใช่ของง่าย
แต่โจทย์ของแกรมมี่ยังมีมากกว่านั้น พัฒนาการของ mp3 เป็นเทคโนโย ที่เอื้ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ฟัง
สามารถดาวโหลดเพลงจากอินเทอร์เน็ต โดยไม่ต้องเดินออกไปซื้อตามแผงเทป หรือ
ตามห้างสรรพสินค้า มันกำลังกลายหนามยอกอกให้กับบรรดาเจ้าของค่ายเพลง ที่ต้องเจอกับการละเมิดลิขสิทธิ์
หากตามไม่ทันกับเทคโนโลยี
บริการให้ดาวโหลดเพลงจากเว็บไซต์ จึงไม่ใช่การเพิ่มยอดขายแต่เป็นการรักษาฐาน ที่มั่นทางธุรกิจ
ในการปกป้องไม่ให้เกิดการสูญเสียจากพัฒนาการของเทคโนโลยี
"ลูกค้าเป็นกลุ่มเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นการขายในรูปแบบของเทป หรือ ผ่านอินเทอร์เน็ต
ซึ่งเราไม่รู้ว่า ช่องทางขายผ่านอินเทอร์เน็ตจะมาทดแทนรายได้จากการขายเทปเมื่อไหร่
แต่ไม่ทำก็ไม่ได้ เพราะถ้ามันมาแล้วเราไม่ทำอะไรเลย เราก็ต้องสูญเสีย"วราวิช
บอก
การร่วมมือกับบริษัทเมอร์คิวริค ประเทศสิงคโปร์ เพื่อนำเทคโนโลยี รักษาความปลอดภัยในการดาวโหลดเพลงทางอินเทอร์เน็ต
ที่ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อให้เจ้าของค่ายเพลงสามารถเก็บเงินจากการขายเพลงทางอินเทอร์เน็ต
ก็ เพื่อต้องการรับมือกับสิ่งเหล่านี้ ถึงแม้ว่า จะไม่สามารถประเมินมูลค่า ที่จะได้รับจากช่องทางใหม่ ที่เป็นการขายเพลงออนไลน์ทางอินเทอร์เน็ตก็ตาม
แต่ก็เป็นทางออกเดียว ที่ค่ายเพลงอย่างแกรมมี่ จะป้องกันการสูญเสีย
ทันที ที่เพลงกว่า 5,000 เพลง ที่เป็นลิขสิทธิ์ของแกรมมี่ ถูกส่งไปยังบริษัทเมอร์คิวริค
ประเทศสิงคโปร์ บริการขายเพลงออนไลน์ของแกรมมี่จะเริ่มขึ้นในปีหน้า โดยเริ่มกับ
eotoday.com เป็นเว็บไซต์แรก และนั่นหมายถึงการที่ลูกค้าจะสามารถสั่งซื้อเพลง
ด้วยการดาวโหลดเพลง ที่ต้องการ และชำระเงินจากหน้าจอเว็บไซต์ได้ทันที
ระหว่างนี้ ก็คือ การกำหนดราคาขาย ซึ่งการขายด้วยวิธีนี้จะทำได้หลายรูปแบบ
ขายเป็นอัลบัม แยกอัลบัม รวมฮิต หรือ ซิงเกิลเพลง นอกจากนี้ยังจะสามารถกำหนดระยะเวลาในการฟังได้ด้วย
รายได้ ที่เกิดขึ้นจากการขายเพลงออนไลน์ทางเว็บไซต์นี้ จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน
คือ แกรมมี่ ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์เพลง จะได้รับส่วนแบ่ง 70% ส่วนเมอร์คิวริค
ซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ระบบความปลอดภัยในการดาวโหลดเพลงทางอินเทอร์เน็ต
และเจ้าของเว็บไซต์จะได้รายละ 15% จากยอดขาย
บริการดาวโหลดเพลงออนไลน์ จึงเท่ากับเป็นการเปิดร้านค้าขายเพลงบนออนไลน์
ที่เหมือนกับการเปิดร้านขายแผงเทปในธุรกิจดั้งเดิม ที่จะต้องกระจายให้มากที่สุด
จึงไมได้ถูกจำกัดเฉพาะ eotoday.com เท่านั้น เว็บไซต"อื่นๆ ที่อยากเปิดร้านค้าปลีกเพลงออนไลน์ให้กับแกรมมี่
ก็จะได้รับส่วนแบ่งจากรายได้จากการขายเพลง ไป 15% เท่ากันทุกเว็บ
วราวิช เล่าว่า เว็บไซต์พวกนี้ไม่ต้องทำอะไร เพราะระบบทุกอย่างจะเป็นเรื่องของเรา
บนหน้าเว็บไซต์จะมีปุ่มๆ ให้ลูกค้าในการสั่งซื้อ และเมื่อมีการชำระเงิน ข้อมูลจะถูกส่งไปยังบริษัทเมอคิวริค
ถึงแม้จะยังไม่สามารถประเมิน่ได้ว่า ร้านค้าปลีกขายเพลงออนไลน์ จะมาแทน ที่แผงเทปตางๆ
เมื่อใด แต่สำหรับแกรมมี่แล้ว ถ้าไม่เริ่มเวลานี้นั่นหมายถึงโอกาสของการสูญเสียในอนาคต
"ถ้าเราไม่ทำคนอื่นก็ต้องทำ ถึงแม้ว่า mp3 จะยังไม่แพร่หลายมากนัก แต่ทัน ที่ ที่เด็กวัยรุ่น
ใช้โมบายไลฟ์ฟังเพลง หรือ เป็นซาวอเบาท์ เมื่อนั้น เราอาจต้องสูญเสีย ถ้าเราไม่เตรียมพร้อมสำหรับเรื่องเหล่านี้"วราวิช
กล่าวในที่สุด