Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์1 พฤษภาคม 2549
กาแฟเดินทัพเข้าครัวสร้างสีสันใหม่ทั้งดื่มทั้งกิน             
 


   
search resources

Coffee




แม้ว่ารสนิยมการดื่มกาแฟจากลูกค้าคอกาแฟทั่วโลกจะไม่ได้มีท่าทีว่าจะลดลงไป แต่การเพิ่มอัตราการเติบโตของการดื่มกาแฟเป็นไปได้ยาก หนทางขยายตลาดการบริโภคกาแฟจึงไม่แตกต่างจากสินค้าอย่างอื่น คือ ไม่เน้นหนักการเพิ่มแต่เพียงด้านปริมาณการดื่มต่อคนหรือเพิ่มปริมาณจำนวนคนที่ดื่มอย่างเดียว หากยังต้องหาทางสร้างนวัตกรรมที่สร้างสรรค์ใหม่ๆ แตกต่างออกไปจากวิถีทางของการบริโภคกาแฟแบบเดิม ในฐานะของผลิตภัณฑ์ในตลาดเครื่องดื่ม

กาแฟเป็นตัวชูโรงนำลิ่วในด้านความนิยมของตลาดที่หาเครื่องดื่มทาบรัศมีได้ยาก การพัฒนาตลาดกาแฟก็คือ ทำให้กาแฟเป็นอาหารจานยอดนิยมสูงสุดในครัวเรือนเหมือนกัน ด้วยเหตุนี้ การประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับกาแฟในแนวใหม่ คือ การแนะนำกาแฟในฐานะของส่วนผสมที่ลืมไม่ได้ในสินค้าอาหารประจำวันมากมายหลายสิบๆ อย่างแล้ว เริ่มจากอาหารหวานพื้นฐาน อย่างเช่นคุกกี้ เค้ก พาสต้า ขนมหวานต่างๆ ที่มีรสชาติของกาแฟบนโต๊ะอาหาร ไอศกรีม คาสตาร์ด

ถัดจากนั้น ก็คือ การประยุกต์ใส่กาแฟในอาหารประเภทอื่นๆ ที่สามารถกลมกลืนเข้าไปให้กลิ่นกรุ่นของกาแฟหอมหวนไปทั้งครัวได้ โดยใช้จุดขายที่ว่าการเพิ่มรสชาติของกาแฟในอาหารนั้น ทำให้ชีวิตมีความคึกคัก มั่นคง แข็งแกร่ง และหนักแน่นลึกซึ้งมากขึ้น

ประเด็นหลักของการพัฒนากาแฟจากการเป็นเครื่องดื่มมาเป็นส่วนประสมในอาหารก็คือ ผู้คนส่วนใหญ่คุ้นเคยกับกาแฟในลักษณะของเครื่องดื่มเหลวๆ ร้อนๆ หรือ ใส่น้ำแข็งเย็นๆ รูปแบบแรกของกาแฟสำหรับอาหาร คือ กาแฟคั่วบดนั่นเอง แต่ในฐานะของส่วนประสมในอาหาร เราต้องนึกถึงกาแฟในลักษณะของถั่ว เมล็ดธัญพืชที่หน้าตาคล้ายกับผลไม้อย่างเชอร์รี่ เมื่อเก็บเกี่ยวมาจากต้นกาแฟแล้ว ก็จะถูกนำไปทำความสะอาด อบจนแห้ง นำไปคั่ว และทำให้เป็นส่วนผสมคล้ายคาราเมล ที่จะผสมในอาหารได้หลากหลายชนิด เพื่อให้ได้รสชาติที่เข้มข้นขึ้น และให้ความสดชื่นตื่นตัวมากขึ้น

รูปแบบที่สอง คือ กาแฟที่เป็นน้ำ เพราะนอกเหนือจากกาแฟคั่วบดที่จะเข้าไปผสมในอาหารแล้ว กาแฟที่เป็นน้ำก็ยังนำไปพัฒนาประยุกต์ใส่ในอาหารได้ไม่ยาก เพียงแต่เพิ่มเติมเข้าไป เหมือนอย่างในญี่ปุ่นที่มีขาวใส่ชาในรูปแบบต่างๆ ที่เข้าไปมีบทบาทในอาหารแทนที่น้ำเปล่า เพื่อเพิ่มรสชาติที่ติดปากของชาให้การทานข้าวหน้ากับต่างๆ มีความอร่อย ได้มีทางเลือกใหม่ๆ มากขึ้น

รูปแบบที่สาม คือ กาแฟที่เข้าไปแทนที่น้ำผลไม้ นม หรือน้ำกะทิ ที่เคยใส่ในอาหาร โดยเฉพาะกาแฟร้อนสามารถทดแทนนมร้อนหรือครีมได้ทันที ที่น่าสนใจคือ นักการตลาดกาแฟยุคใหม่ ค่อนข้างให้ความสำคัญกับการโฆษณาและประชาสัมพันธ์เพื่อกระตุ้นการนำเอากาแฟมาใช้ประโยชน์ในแนวใหม่ ในฐานะของส่วนผสมอาหาร โดยพยายามใช้คำว่า กาแฟสามารถให้การบำบัดแบบ “อะโรเมติก” ที่สร้างความมีชีวิตชีวา และความอยากอาหารได้ไม่แพ้ส่วนผสมของเครื่องหอมที่จัดไว้ในกลุ่มของ “อะโนเมติก” โดยตรง

ประการแรก ในการใช้บำบัดแบบอะโรเมติกกาแฟไม่ได้มีไว้เพียงเพื่อทำให้ได้บรรยากาศในระหว่างการสูดดมอย่างเดียว หากแต่ยังสามารถดื่ม และบริโภคทำให้อิ่มและหายอยากได้พร้อมกับส่วนผสมอย่างอื่นที่เป็นอาหารด้วย

ประการที่สอง รสชาติแบบอะโรเมติกนี้ ไม่ได้เป็นคุณสมบัติพิเศษที่ใช้ในการปรุงอาการเท่านั้น หากแต่ต้องยอมรับกันว่า ในบรรดาเครื่องดื่มทั้งหลาย ไม่มีเครื่องดื่มประเภทใดที่ให้กลิ่นหอมอบอวลรุนแรงและเรียกน้ำย่อยในกระเพาะได้ดีเท่ากับกาแฟ และยังหอมไกลออกไปหลายลี้ ทำให้ผู้คนที่ผ่านไปผ่านมาที่ได้กลิ่นพลอยอยากจะดื่มไปด้วย

ประการที่สาม ไม่ใช่กาแฟทุกประเภทและทุกรสชาติที่ให้ความรู้สึกผ่อนคลายแบบอะโรเมติกในทุกครั้งที่มีการสูดดม หากน่าจะเน้นได้เฉพาะกาแฟอินสแตนท์ และกาแฟเอสเพรสโซมากกว่าอย่างอื่นซึ่งจะนำกาแฟอย่างไหนไปใช้ก็ขึ้นกับประเภทของอาหารที่จะปรุงโดยกาแฟมากกว่า

เรื่องนี้ คงจะคล้ายกับการใช้น้ำตาลที่มีหลายอย่างว่าควรจะใช้น้ำตาลทรายแดง หรือน้ำตาลกรวดกันดีสำหรับคนช่างทำอาหารแล้ว ก็ขึ้นกับประเภทของอาหารที่จะปรุงด้วย แต่สำหรับแม่ครัวมือสมัครเล่น น้ำตาลแบบไหนก็ใช้ได้ทั้งนั้น

กาแฟเอสเพรสโซเป็นกาแฟที่มีกลิ่นเฉพาะตัวฉุนเฉียวกว่ากาแฟตามปกติทั่วไป จึงต้องปรุงพร้อมกับเครื่องปรุงอื่นที่มีกลิ่นรุนแรงเช่นเดียวกัน นอกจากนั้น อาจต้องหันไปใช้กาแฟที่ไม่มีคาเฟอีนแทน หากเป็นการเสิร์ฟอาหารในตอนเย็น หรือเป็นการเสิร์ฟอาหารที่มีเด็กๆ ร่วมด้วย เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการนอนไม่หลับในตอนกลางคืนหลังจากอาหารเย็นมื้อนั้น

ตอนนี้ โลกการตลาดมองกาแฟด้วยมุมมองใหม่ ในการนำไปใช้ในอรรถประโยชน์ที่หลากหลายและที่แตกต่างจากต้นแบบดั้งเดิมมากขึ้น แต่รสชาติที่ได้รับการยอมรับและกำลังฮิตติดตลาดในต่างประเทศตอนนี้คือ การเติมกาแฟในคาสตาร์ด ซอส ของหวานแบบอิตาเลียน ผสมใส่ชอกโกแลตดำ และในจานอาหารเย็นในงานปาร์ตี้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us