|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ พฤษภาคม 2549
|
|
โครงสร้างโดยรวมของบริษัทใน "ผู้จัดการ 100" ปี 2548 ไม่ได้แตกต่างไปจากเมื่อปี 2547 มากนัก โดยอัตราการหมุนเวียนของบริษัทที่เข้ามาอยู่ใหม่กับบริษัทที่รายชื่อได้หลุดออกไปจากตาราง มีจำนวนอย่างละ 11 บริษัท (เทียบกับอย่างละ 13 บริษัทในปี 2547)
ในจำนวนบริษัทที่อยู่ในกลุ่ม Newcomer ปีนี้ เป็นบริษัทที่เพิ่งเข้ามาจดทะเบียนใหม่ถึง 4 บริษัท (โกลว์ พลังงาน, อินโดรามา, พฤกษา และค้าเหล็กไทย) ไม่รวมบริษัทที่เพิ่งได้รับการย้ายจากกลุ่มฟื้นฟูกิจการเข้ามาอยู่ในกลุ่มปกติ (แมกเนคอมพ์ พริซิชั่น และบริษัทที่ได้กลายเป็นหุ้นประเภท turn around (กรุงเทพดุสิตเวชการ และจีเอฟพีที) เนื่องจากปัจจัยพื้นฐานมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด
ส่วนบริษัทที่หลุดจากตาราง (displace) เป็นบริษัทที่หายไปจากระบบเพราะถูกควบรวมกิจการถึง 3 บริษัท (ปิโตรเคมีแห่งชาติ, ไทยโอเลฟินส์ และธนาคารเอเชีย)
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2548 มีหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทั้งสิ้น 473 บริษัท เพิ่มขึ้น 37 หลักทรัพย์ จาก ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2547 ที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนอยู่ทั้งสิ้น 436 หลักทรัพย์
แต่เนื่องจากในระหว่างปี มีการหมุนเวียนของหลักทรัพย์ต่างๆ อาทิ มีบริษัทที่ออกจากการเป็นบริษัทจดทะเบียน 3 บริษัท มีการควบรวมกันของกิจการต่างๆ 2 กรณี คือกรณีของปิโตรเคมีแห่งชาติควบรวมกับไทยโอเลฟินส์ ตั้งเป็นบริษัทใหม่ คือ ปตท. เคมีคอล และธนาคารยูโอบี รัตนสินซื้อกิจการธนาคารเอเชีย แล้วเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นธนาคารยูโอบี โอเวอร์ซีส์
ทำให้ความแตกต่างของจำนวนหลักทรัพย์ ณ สิ้นปีมีตัวเลขที่แตกต่างจากจำนวนหลักทรัพย์ที่เข้ามาจดทะเบียนใหม่ตลอดทั้งปี 2548 ที่มีเพิ่มเข้ามาทั้งสิ้น 44 หลักทรัพย์
โดยภาพรวมแล้ว แม้ว่าปี 2548 เป็นปีที่เศรษฐกิจโดยรวม เริ่มมีสัญญาณของความผันผวน อันเนื่องมาจากปัจจัยลบหลายๆด้าน อาทิ การเพิ่มสูงขึ้นของราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ยการขาดดุลการค้า รวมถึงผลกระทบจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลง สืบเนื่องจากเหตุการณ์คลื่นสึนามิซัดถล่ม 6 จังหวัดอันดามันในปลายปี 2547
แต่บริษัทใน "ผู้จัดการ 100" ยังมีรายได้รวมเพิ่มขึ้นถึง 21.50% และส่วนใหญ่ยังมีผลการดำเนินงานที่เป็นกำไร (เพิ่มขึ้น 23.30% โดยภาพรวม) มีบริษัทเพียง 7 แห่ง จาก 100 บริษัทเท่านั้น ที่ยังประสบกับการขาดทุน (2 ในนี้อยู่ในกลุ่มโทรศัพท์พื้นฐาน คือ ทรู คอร์ปอเรชั่น และทีทีแอนด์ที อีก 2 บริษัทอยู่ในกลุ่มเหล็ก คือนครไทยสตริปมิลล์ และสหวิริยาอินดัสตรี้ ส่วนอีก 1 บริษัทคือปิคนิก คอร์ปอเรชั่น เกิดจากปัญหาการจัดการและการบริหารการเงิน)
ธุรกิจพลังงาน ยังคงเป็นธุรกิจที่โดดเด่น โดยเฉพาะบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมน้ำมัน ที่ได้รับผลดีโดยตรงจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้น ตามด้วยธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ที่เริ่มทำหน้าที่กลไกหลักสำหรับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้อย่างเต็มที่ และอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก ซึ่งส่งผลต่อเนื่องมาถึงกลุ่มเดินเรือที่คาดว่าจะมีรายได้ดีขึ้นจากการส่งออกที่เพิ่มสูงขึ้น และการปรับค่าระวางใหม่
ขณะที่ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง และวัสดุก่อสร้าง (ยกเว้นกลุ่มเหล็ก) เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่มีผลการดำเนินงานโดดเด่นขึ้นจากความเคลื่อนไหวของโครงการเมกะโปรเจ็กต์ที่ค่อนข้างคึกคักตลอดทั้งปี (แต่ปัจจัยพื้นฐานของทั้ง 2 กลุ่มนี้ได้เปลี่ยนแปลงอย่างหน้ามือเป็นหลังมือ เมื่อย่างเข้าปี 2549 จากการชะลอโครงการเมกะโปรเจ็กต์ออกไปอย่างไม่มีกำหนด)
ส่วนธุรกิจสื่อสาร มีสัญญาณของการชะลอตัวทั้งทางด้านรายได้และผลกำไรอย่างเห็นได้ชัด
โดยสรุปแล้ว "ผู้จัดการ 100" ปี 2548 ยังคงทำหน้าที่สะท้อนภาพรวม และสามารถใช้เป็นดัชนีชี้วัดทิศทางของธุรกิจต่างๆ โดยเฉพาะบริษัทที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพราะฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของ 100 บริษัทแรกที่มีรายได้สูงที่สุดในปี 2548 ยังเป็นสัดส่วนที่สูงถึงเกือบ 90% เมื่อเทียบกับตัวเลขรวมของทุกบริษัทอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในทุกๆ ด้าน
แต่หน้าที่นี้ ก็เป็นเช่นดาบ 2 คม หรือเหรียญ 2 ด้าน เพราะขณะที่ในด้านหนึ่ง ซึ่งสามารถมองได้ว่าเป็นดัชนีชี้วัดนั้น แต่เมื่อมองอีกด้านหนึ่ง ก็หมายถึงการมีบทบาท และอิทธิพลของบริษัทเพียง 100 บริษัท ที่มีเหนือกว่าบริษัทอื่นๆ ที่เหลือ ซึ่งมีจำนวนที่สูงกว่าถึง 3 เท่า
(รายละเอียดโปรดอ่าน "ภาพสะท้อนตลาดทุน (แบบไทยๆ)" ซึ่งเป็นเรื่องหลักของ"ผู้จัดการ 100" ฉบับนี้)
|
|
|
|
|