Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2549








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2549
i-mobile โกอินเตอร์             

โดย น้ำค้าง ไชยพุฒ
 

 
Charts & Figures

ข้อมูลสำคัญทางการเงินเปรียบเทียบระหว่าง SIM และ SAMART

   
related stories

นิยามใหม่ของ "สามารถ"
Value for money

   
www resources

โฮมเพจ กลุ่มบริษัทสามารถ
โฮมเพจ สามารถ ไอ-โมบาย

   
search resources

สามารถกรุ๊ป
สามารถคอร์ปอเรชั่น, บมจ.
สามารถ ไอ-โมบาย, บมจ. - SIM
Mobile Phone




อีก 5 ปีข้างหน้า รายได้ของสามารถ ไอ-โมบาย จะมาจากการขายในต่างประเทศมากกว่าครึ่ง อะไรเป็นปัจจัยสำคัญทำให้มือถือแบรนด์ไทยกลายเป็นหนึ่งเดียวที่ติดตรายี่ห้อแล้วโกอินเตอร์ไปโกยเงินในต่างประเทศได้สำเร็จ

"3 ปีนับจากนี้เราหวังว่าแบรนด์ไอ-โมบาย น่าจะเป็นที่รู้จักมากขึ้นในระดับภูมิภาค และอีก 5 ปี น่าจะสามารถขยับออกไปเป็นผู้เล่นในระดับ global โดยเชื่อว่าภายในปี 2550 นี้ 3-4 ประเทศใหญ่ๆ ในภูมิภาคนี้น่าจะรู้จักเราเป็นอย่างดี ยิ่งตอนนี้ big brand ก็เริ่มมองเห็นว่าเราเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวมากขึ้น จากที่เมื่อก่อนกลุ่มที่ทำ OEM และ House brand ไม่เคยอยู่ในสายตาเลย" ความเห็นของวัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สามารถ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บ่งบอกเอาไว้อย่างชัดเจนถึง position ของแบรนด์ไอ-โมบาย ในสายตาของเขาและขององค์กรที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้

มีคนเคยเปรียบเทียบเอาไว้อย่างน่าสนใจถึงเหตุผลที่ทำไมเจ้าของแบรนด์ไทยต้องขยับขยายตัวเองออกไปสู่ต่างประเทศว่า "ประเทศไทยก็เหมือนกับเกาะสมุยของเอเชียและโลก"

นั่นคงเป็นคำเปรียบเทียบที่ไม่มีใครปฏิเสธได้ เพราะท้ายที่สุดแล้ว ประเทศไทยก็เล็กเกินไปสำหรับการทำตลาดสำหรับบางคนที่อยากจะโตในระดับภูมิภาคหรือระดับโลก

เช่นเดียวกันกับ "ไอ-โมบาย" แบรนด์โทรศัพท์มือถือไทยเพียงหนึ่งเดียวที่ผลิตโดยคนไทยที่ประสบความสำเร็จในแง่มุมของการตลาด สามารถบินข้ามน้ำข้ามทะเลไปวางขายในตู้ต่างประเทศ

แม้เพิ่งผ่านพ้นการดำเนินธุรกิจมาได้ 3 ปี สำหรับบริษัท สามารถ ไอ-โมบาย จำกัด (มหาชน) บริษัทลูกภายใต้ร่มใหญ่ยักษ์ของสามารถ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) แต่กลับเป็นลูกเล็กที่นับวันจะเป็นลูกรักของครอบครัว เพราะสามารถสร้างรายได้ประจำเดือน ประจำปี มากมายกว่าใครเพื่อน

ปีที่ผ่านมา มีการสำรวจตลาดโทรศัพท์มือถือในเมืองไทย ท่ามกลางจำนวนคนใช้โทรศัพท์มือถือใหม่และลูกค้าหน้าเก่าแต่เลือกที่จะเปลี่ยนเครื่องใหม่หลายล้านคนพบว่า สามารถ ไอ-โมบายนั้นแซงหน้าผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือแบรนด์ดังระดับโลกไปแล้ว เป็นรองเพียงแค่โนเกียกับซัมซุงเท่านั้น

ไอ-โมบายสามารถขายเครื่องเฉลี่ยแล้วได้มากกว่า 1 แสนเครื่องต่อเดือน เฉพาะปี 2547 อย่างเดียว โทรศัพท์มือถือของไอ-โมบาย ขายออกไปกว่า 350,000 เครื่อง และปี 2548 ที่ผ่านมา ไอ-โมบายทำสถิติขายเครื่องได้ถึง 1,000,000 เครื่อง

ความสำเร็จของไอ-โมบาย เป็นผลยิ่งขึ้นเมื่อคู่ค้าในมาเลเซียสนใจที่จะให้แบรนด์ดังกล่าวไปเปิดตลาดร่วมกันที่มาเลเซีย โดยเฉพาะความสัมพันธ์อันดีกับบริษัท ทีเอ็ม อินเตอร์เนชั่นแนล เอสดีเอ็น บีเอชดี หรือ TMI เจ้าของ Telecom Malaysia ซึ่งมีเครือข่ายโอเปอเรเตอร์อยู่ในมือมากมายหลายประเทศในแถบภูมิภาคเอเชีย รวมถึงมาเลเซียด้วย

สามารถไอ-โมบายอาศัยความสัมพันธ์กับ TMI ในฐานะของการเป็นผู้ถือหุ้นในหลายบริษัทในเครือของสามารถ คอร์ปอเรชั่น และการเป็นคู่ค้าทำธุรกิจในเวลาเดียวกันผลักดันให้แบรนด์ไอ-โมบายเข้าไปทำตลาดกับโอปอเรเตอร์ในมาเลเซียได้จนเป็นผลสำเร็จ

ก่อนใช้ความสัมพันธ์แบบเดียวกันในการหา distributor หรือ dealer เพื่อจำหน่ายโทรศัพท์มือถือในประเทศอื่นๆ ถัดมาทั้งศรีลังกา เวียดนาม บังกลาเทศ ลาว และอินโดนีเซีย ที่เพิ่งจะผ่านพ้นการเซ็นสัญญาและประกาศความร่วมมืออย่างเป็นทางการเมื่อเดือนที่ผ่านมา

แต่การที่จะไปเปิดตลาดในต่างประเทศให้สำเร็จ โดยที่ไม่ใช้งบประชาสัมพันธ์มากๆ นั้นไม่ใช่สิ่งที่ง่ายนัก แม้จะไปเปิดตลาดแบรนด์ในต่างประเทศ แต่ในร้านไอ-โมบายก็ยังต้องมีการวางขายโทรศัพท์มือถือยี่ห้อ big brand อื่นๆ อยู่ด้วยควบคู่กันไป การมียี่ห้อดังส่งผลโดยตรงให้มี distribution เข้ามา หลังจากนั้นก็เริ่มแทรกแบรนด์ไอ-โมบายเข้าไปในการขายเหล่านั้น จนมีแบรนด์ไอ-โมบายวางขายมากขึ้นในร้านของตน

ในขณะที่ไอ-โมบายก็ไม่ลืมที่จะสร้างความแตกต่างให้กับโทรศัพท์มือถือด้วยการทำ localize บริการเสริมหรือคอนเทนต์บนโทรศัพท์มือถือให้เหมาะกับการใช้งานในประเทศ และการขายโทรศัพท์มือถือพร้อมคอนเทนต์สำเร็จรูปนี่เองได้กลายเป็นความแตกต่างที่ชัดเจนของไอ-โมบาย เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือเจ้าอื่นในตลาดปัจจุบัน

"value for money" ถือเป็นคอนเซ็ปต์สำคัญที่ไอ-โมบายใช้โปรโมตสินค้าของตนทั้งในไทยและต่างประเทศ

ไอ-โมบายไม่เพียงแต่ประกาศตนว่าเป็นโทรศัพท์มือถือราคาประหยัดที่บวกคุณภาพและคุณสมบัติบางอย่างให้สมน้ำสมเนื้อเท่านั้น แต่ยังส่งผ่านคำพูดดังกล่าวให้กับบรรดา distributor ของตนในประเทศเหล่านั้นอย่างชัดเจนด้วย

ไอ-โมบายเลือกที่จะไม่ลดกระหน่ำราคา แต่เลือกที่จะนำเสนอว่าโทรศัพท์มือถือของตนเป็นโทรศัพท์มือถือที่มี value for money และเลือกที่จะให้ distributor มี margin ก่อนเพื่อกระตุ้นให้คนขายยินดีที่จะเสียเวลาในการบอกลูกค้าให้ซื้อโทรศัพท์มือถือของไอ-โมบายก่อนเครื่องของยี่ห้ออื่น เพราะผลของ margin หรือส่วนต่างที่สูงกว่าหากขายเครื่องของไอ-โมบาย ซึ่งบางครั้งอาจจะสูงกว่า 4-5 เท่าเลยทีเดียว

การทำ co-promotion ณ จุดขาย ยังเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ไอ-โมบายเลือกใช้ในการทำตลาดในต่างประเทศ นอกเหนือจากการให้ intensive แก่คนขายเหล่านี้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ไอ-โมบายตัดสินใจ minimize การลงทุนของตนโดยทำกลยุทธ์ ณ จุดขายร่วมกันกับโอเปอเรเตอร์ โดยไอ-โมบายเป็นคนป้อนโทรศัพท์มือถือพร้อมซิมการ์ดให้กับโอเปอเรเตอร์ โดยคำนวณโปรโมชั่นที่เหมาะสมเจาะจงให้เฉพาะกับโทรศัพท์มือถือระดับราคาของไอ-โมบาย ที่ขายในร้านค้าต่างๆ เท่านั้น ซึ่งเป็นผลชัดเจนในการดึงดูดลูกค้าที่ต้องการเครื่องถูก คุณภาพยอมรับได้ และโปรโมชั่นที่คุ้มค่าจากโอเปอเรเตอร์ แถมยังพ่วงด้วยคอนเทนต์ที่สามารถพัฒนาป้อนเข้าใส่ไว้ในเครื่องของตนโดยเฉพาะอีกด้วย

วัฒน์ชัยบอกว่า ไม่ยากนักที่สามารถ คอร์ปอเรชั่น ตั้งเป้าหมายไว้ว่า รายได้ของไอ-โมบายในต่างประเทศให้มากกว่าภายในประเทศในอีก 5 ปีข้างหน้า เพราะขนาดพื้นที่ประชากรของแต่ละประเทศรวมกันย่อมเป็นโอกาสที่ดีกว่าการขายเฉพาะในเมืองไทยเพียงอย่างเดียวเท่านั้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us