Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2549








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2549
นิยามใหม่ของ "สามารถ"             
โดย น้ำค้าง ไชยพุฒ
 

   
related stories

ผู้จัดการ 100 ภาพสะท้อนตลาดทุน (แบบไทยๆ)
เติบโตท่ามกลางขวากหนาม
i-mobile โกอินเตอร์
Value for money

   
www resources

โฮมเพจ กลุ่มบริษัทสามารถ

   
search resources

สามารถกรุ๊ป
สามารถคอร์ปอเรชั่น, บมจ.
ICT (Information and Communication Technology)
วัฒน์ชัย วิไลลักษณ์




ครบรอบ 51 ปี ของสามารถกับการเปลี่ยนแปลงตัวเองด้วยการนิยามธุรกิจแบบใหม่ให้กับตนเอง ต้องโตได้แม้จะเกิดวิกฤติ พร้อมที่ปรับเปลี่ยนและสร้างความแปลกใหม่ในธุรกิจได้ภายใต้กรอบ "เทคโนโลยี" ที่กว้างขึ้น

จานดาวเทียมขนาดยักษ์ เส้นผ่าศูนย์กลางกว้างถึง 4.5 เมตร ที่หากนำไปติดตั้งหน้าบ้านของใครก็กลายเป็นอุปกรณ์บ่งบอกฐานะ หน้าตาทางสังคม และความทันสมัย เพราะสามารถรับชมรายการทีวีได้จากระบบการเผยแพร่ผ่านดาวเทียมได้พร้อมๆ กับในกรุงเทพฯ เมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว

ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ชักพาให้ "สามารถ คอร์ปอเรชั่น" นำพาตัวเองเข้าสู่วงการโทรคมนาคมในเมืองไทยได้อย่างเต็มตัว หลังจากที่ผ่านร้อนผ่านหนาวในการฟันฝ่าอุปสรรคมากมาย จากการเป็นเพียงร้านซ่อมทีวี วิทยุและขายเสาอากาศทีวีชื่อ "สามารถ" มานานหลายปีก่อนหน้านั้น

ปีนี้สามารถอายุครบ 51 ปี หากเทียบกับอายุของคนโดยทั่วไปแล้ว องค์กรก็เติบใหญ่ย่างเข้าสู่วัยชรา อีกไม่กี่ปีก็เกษียณอายุการทำงาน และพักผ่อนอยู่กับบ้าน มีลูก หลาน เหลน และคนในบ้านคอยโอบอุ้มช่วยดูแลร่างกายที่ต้องตรากตรำทำงานหนักและแบกรับภาระที่ยิ่งใหญ่เอาไว้มาหลายปี

สามารถ คอร์ปอเรชั่น ในวันนี้ก็เช่นเดียวกันได้เปลี่ยนบทบาทจากการเป็นบริษัทแม่ที่เอาแต่ทำงานเลี้ยงบริษัทลูกโอบอุ้มให้อยู่ได้โดยไม่ปล่อยให้เดินด้วยตัวเองอย่างที่ผ่านมา มาเป็นพ่อและแม่ที่เริ่มขยับตัวออกห่าง ให้ลูกหลานอย่างบริษัทในเครือมากมายเดินได้ด้วยตัวเอง ขณะที่ตนในฐานะเป็นผู้นำก็เริ่มปรับมาเป็นคนมองหาลู่ทางใหม่ๆ ให้ทั้งเครืออยู่ได้ในระยะยาว

"หากพูดกันแบบครอบครัวก็คือ ทุกคนโตแล้ว หาเงินเลี้ยงตัวเองได้แล้ว ทุกคนสามารถออกไปหากิน มีเงินเดือน และมีรายได้เป็นของตัวเอง พอถึงช่วงปีใหม่ก็มาแต๊ะเอียให้พ่อกับแม่ ส่วนเราเป็นพ่อเป็นแม่ก็ไปช่วยคนอื่นที่ยังไม่ประสบความสำเร็จ และมองหาโอกาสที่ดีให้กับลูกๆ เอาไว้ในอนาคตต่อไป" วัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สามารถ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บอกกับ "ผู้จัดการ" เมื่อนัดหมายครั้งล่าสุด

ความเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนที่สุดของสามารถ คอร์ปอเรชั่น ในโอกาสครบรอบการก่อตั้งบริษัทมานานถึง 50 กว่าปี ไม่ใช่อยู่ที่การได้รับพระราชทานตราครุฑ มาติดเพื่อเป็นเกียรติให้กับบริษัท และเป็นเครื่องหมายบ่งบอกว่าบริษัททำงานมาอย่างขยันขันแข็งและเป็นประโยชน์ต่อสังคมมาเป็นระยะเวลานานเท่าใด หรือการที่ผู้นำอย่างธวัชชัย วิไลลักษณ์ ประธานกรรมการบริษัท เปลี่ยนชื่อใหม่มาเป็น วัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ ตามการทักท้วงของผู้ใหญ่ในครอบครัวเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา

ตลอดจนการอนุมัติการจำหน่ายเงินลงทุนในหุ้นสามัญของบริษัท แคมโบเดีย สามารถ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (CASACOM) ที่บริษัทฯ ถืออยู่ทั้งหมดจำนวน 1,038,700 หุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 49 ของทุนจดทะเบียน รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 29 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นเงินประมาณ 1,189 ล้านบาท ให้กับ บริษัท ทีเอ็ม อินเตอร์เนชั่นแนล เอสดีเอ็น บีเอชดี หรือ TMI เจ้าของ Telecom Malaysia หลังจาก CASACOM บริษัทลูกซึ่งดำเนิน ธุรกิจให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เซลลูลาร์ในสาธารณรัฐกัมพูชาอยู่ในมือสามารถมาตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา

แต่การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่สุดของสามารถ คอร์ปอเรชั่น กลับอยู่ที่การให้คำจำกัดความในการดำเนินธุรกิจของตนเสียใหม่ หลังจากฟื้นไข้เพราะพิษค่าเงินบาทลอยตัว ส่งผลให้สามารถเจ็บป่วยจากการแก้ปัญหาปรับโครงสร้างหนี้ ลดไซส์ของธุรกิจ และคิดหาวิธีประคองตัวให้อยู่รอดได้ในช่วงพิษเศรษฐกิจปี 40

วันนี้สามารถเลือกที่จะนิยามตัวเองว่าเป็น "Technology Company" โดยเลือกที่จะไม่จำกัดอยู่แค่เพียงเทคโนโลยีการสื่อสารหรือไอทีเท่านั้น แม้ภาพของความเป็น "สามารถ" จะชวนให้ใครมองเช่นนั้น และยากที่จะลบเลือนได้ในเวลาระยะสั้นๆ แต่สามารถก็พยายามอย่างยิ่งยวด ที่จะขยายขอบเขตของตัวเองให้ครอบคลุมคำว่า "เทคโนโลยี" ที่กว้างขึ้นนับจากนี้เป็นต้นไป

เมื่อปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา สามารถเปิดงานแถลงข่าวครั้ง สำคัญร่วมกับบริษัท ปูนซีเมนต์ไทยอุตสาหกรรม ในเครือปูนซิเมนต์ไทย เพื่อเปิดเผยความร่วมมือในการสร้างโรงไฟฟ้าในประเทศกัมพูชา เพื่อรองรับโรงปูนแห่งใหม่ของปูนซิเมนต์ไทยที่เพิ่งเข้าไปเปิดในกัมพูชา

โรงไฟฟ้าแห่งใหม่ในกัมพูชาที่สามารถเป็นเจ้าของภายใต้บริษัทใหม่ที่ชื่อ Kampot Power Plant เป็นผลมาจากความสัมพันธ์อันยาวนานระหว่างบริษัท แคมโบเดีย สามารถ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด หรือ CASACOM ในนามของบริษัท สามารถ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กับรัฐบาลกัมพูชา

เมื่อ 8 ปีที่แล้ว ครั้งที่สามารถตัดสินใจเดินตัวเปล่าเพียงลำพังเข้าไปเปิดบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เซลลูลาร์ในสาธารณรัฐกัมพูชา โดยเริ่มแรกได้รับสัมปทานมา 10 ปีในการดำเนินกิจการและต่อมาในปี 2541 แคมโบเดีย สามารถได้ขอขยายอายุสัมปทานจาก 10 ปี เป็น 35 ปี ภายใต้เงื่อนไขใหม่ที่สามารถต้องจ่ายค่าสัมปทานให้กับกระทรวงไปรษณีย์และโทรคมนาคมของกัมพูชาในอัตราที่สูงขึ้น ตามลำดับจำนวนปีที่ยาว นานขึ้นด้วย

ว่ากันว่าความสัมพันธ์ของสามารถกับผู้ใหญ่ในกัมพูชาแน่นแฟ้นเสียจนวันเปิดบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ GSM "Hello" อย่างเป็นทางการ และเปิดอาคาร GSM Switching Center ซึ่งเป็นอาคารวางอุปกรณ์สวิตชิ่งของบริษัท แคมโบเดีย สามารถ พร้อมทั้งประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารสำนักงานใหม่ในกัมพูชา เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2542 นั้น สมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีของกัมพูชาในขณะนั้น เดินทางมาเป็นประธานในพิธีและสำนักข่าวหลายแห่งก็ตีพิมพ์ตามสื่อต่างๆ ถึงข่าวคราวการเดินทางไปร่วมพิธีดังกล่าวของสมเด็จฮุนเซน

เพราะถือเป็นครั้งแรกที่นายกรัฐมนตรีของกัมพูชาเดินทางมาร่วมพิธีเปิดงานให้กับบริษัทเอกชนต่างชาติกลุ่มธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคม ไม่รวมถึงการเข้าไปลงทุนธุรกิจส่วนตัวของครอบครัววิไลลักษณ์ในกัมพูชา อาทิ การสร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติแห่งใหม่ให้กับกัมพูชาอีกด้วย

ต้องยอมรับว่าเหตุผลสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้สามารถต้องหันมาทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีอย่างอื่นนอกเหนือจาก โทรคมนาคมหรือไอทีเพียงอย่างเดียว เป็นผลเนื่องมาจากธุรกิจโทรคมนาคมเริ่มมีข้อจำกัดมากขึ้น เพราะในขณะที่การแข่งขันมีสูง สัดส่วนรายได้กลับลดต่ำลงอย่างเห็นได้ชัด ทางเดียวที่จะทำให้สามารถซึ่งจนถึงปัจจุบัน ธุรกิจในมือส่วนใหญ่ล้วนแต่จมอยู่กับเทคโนโลยีด้านการสื่อสาร โทรคมนาคม และไอทีเพียงอย่างเดียวจะอยู่รอดได้ในภาวการณ์เช่นนี้ เห็นจะเป็นการที่ต้องมองหาธุรกิจที่มีรายได้ที่มั่นคงขึ้น เช่นเดียวกับการมองหาธุรกิจ ที่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีน้อย ต่างกันกับธุรกิจโทรคมนาคมที่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีค่อนข้างเร็ว

"ถ้าจะจำกันได้สัก 7-8 ปีก่อน เมื่อครั้งที่ระบบมือถือจีเอสเอ็มเข้ามาเปิดตัวให้บริการในเมืองไทย จนถึงปัจจุบันค่าเสื่อมจากการลงทุนก็ยังไม่หมด แต่ถึงวันนี้หลายค่ายโอเปอเรเตอร์ต้องลงเงินไปกับการเปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยีมือถือ 3G กันอีกครั้ง ซึ่งสามารถเองไม่ใช่บริษัทใหญ่ที่จะสามารถลงทุนได้เป็นหมื่นๆ ล้าน แต่เราต้องระมัดระวังในการลงทุน เพราะเคยผ่านช่วงที่เจ็บปวดแบบนั้นมาแล้ว เพราะฉะนั้นเราจะลงทุนเทคโนโลยีอะไรต้องมีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างช้า พูดตรงๆ ก็คือยังไม่ทันได้ generate รายได้กลับคืนมาให้ ต้องลงทุนใหม่อีกแล้ว" วัฒน์ชัยบอก

แม้ธุรกิจโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ในกัมพูชา จะเป็นสิ่งที่ทำให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงในมุมมองการทำธุรกิจแบบใหม่ของสามารถล่าสุด แต่เมื่อ 5 ปีก่อน สามารถเคยมองเห็นโอกาสในการลงทุนธุรกิจใหม่ดังกล่าวจากการลงทุนไปกับธุรกิจศูนย์ควบคุมการจราจรทางอากาศที่ประเทศกัมพูชา หรือ air traffic control โดยบริษัท แคมโบเดีย แอร์ ทราฟฟิค เซอร์วิส จำกัด ซึ่งกลายเป็นบทเรียนสำคัญทำให้สามารถเปลี่ยนมุมมองและคำนิยามในการทำธุรกิจของตนในวันนี้

ในขณะนั้นสามารถพบว่าการลงทุนครั้งเดียวเพียง 15 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 600 ล้านบาท และปัจจุบันเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมไปกับการอัพเกรดซอฟต์แวร์ของระบบดังกล่าว เพียงไม่กี่บาท กลับทำให้อีกไม่กี่ปีข้างหน้าสามารถจะได้เงินทุนคืนจากการลงทุนดังกล่าว และที่เหลือนับจากนั้นก็กลายเป็นกำไรในระยะยาวนั่นเอง

วัฒน์ชัยยอมรับกับ "ผู้จัดการ" ว่า สามารถอาจโชคดีกว่าคนอื่นตรงที่จะประสบความสำเร็จได้ก็มักมีเหตุการณ์สำคัญๆ เกิดขึ้นร่วมด้วยเสมอ มักมีโอกาสท่ามกลางความวิกฤติ หรือ Critical success โดยเฉพาะเหตุการณ์พายุเกย์พัดถล่มพื้นที่จังหวัดชุมพรเมื่อหลายปีก่อน สามารถได้นำเสนอจานดาวเทียมสื่อสารผ่าน Datacom sattlelite แก่ธนาคารกสิกรไทย เมื่อชุมพรถูกพายุพัด ระบบโทรศัพท์เสียหาย แต่กสิกรไทยซึ่งใช้จานดาวเทียมของสามารถก็ยังสามารถออนไลน์และใช้งานได้เช่นเดิม จึงเป็นที่พูดปากต่อปาก ทำให้เห็นประโยชน์ของจานดาวเทียม สามารถจึงประสบความสำเร็จในเวลาต่อมาในวงการจานดาวเทียม

หากเป็นเช่นนั้นจริง โอกาสท่ามกลางวิกฤติครั้งใหม่ของสามารถอาจจะอยู่ที่วิกฤติของวงการสื่อสารในเมืองไทย ที่หลายคนเริ่มมองหาทางรอดด้วยแผนธุรกิจ และการลงทุนแบบใหม่ๆ ท่ามกลางวิกฤติใหม่ โอกาสใหม่ก็เกิดขึ้นกับ "สามารถ" ด้วยเช่นกัน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us