|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ยักษ์ใหญ่วงการอสังหาฯยอมรับไตรมาสแรกยอดขายบ้านวูบ หลังเจอมรสุมการเมืองถล่ม ฉุดความเชื่อมั่นผู้บริโภค ขณะที่ราคาน้ำมันที่ทะยานตัวต่อเนื่อง ส่งผลให้ต้นทุนการก่อสร้างขยับตามด้าน"วิกรม" แนะรัฐบาลหันมาเน้นการส่งออกให้ได้อย่างน้อย 20% แก้ปัญหาขาดดุลการค้า
วานนี้ (26 เม.ย.) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้จัดงานสัมมนาหัวข้อ "ทางออกธุรกิจไทย...ฝ่าวิกฤตน้ำมันแพง" ซึ่งนายอนันต์ อัศวโภคิน ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการ บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) ได้กล่าวถึงธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ว่า ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงอัตราดอกเบี้ย ไม่ได้ส่งกระทบต่อการขายบ้าน เท่ากับภาวะความไม่สงบทางการเมือง เนื่องจากผู้ซื้อบ้านส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีรายได้ประจำ เมื่อเกิดปัญหาความไม่สงบทำให้เกิดความกังวลต่อรายได้ประจำของตนเอง ดังนั้นจึงชะลอซื้อสินค้าประเภทถาวร เช่น บ้าน รถยนต์
นอกจากนี้ ยอดขายบ้านขึ้นอยู่กับการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) หากจีดีพีมีการเติบโต มีการลงทุนเกิดการจ้างงาน ประชาชนมีความเชื่อมั่นในรายได้ก็จะซื้อบ้านแม้ว่าราคาน้ำมัน หรืออัตราดอกเบี้ยจะสูงแค่ไหนก็ตาม ซึ่งสามารถพิจารณาได้จากในช่วงปี 2532 - 2533 ที่จีดีพีโต 11% อัตราดอกเบี้ย 15% แต่กลับมียอดขายบ้านสูงสุดเป็นประวัติการณ์ 1.7 แสนยูนิต ซึ่งชี้ให้เห็นได้ว่าแม้ตัวเลขอัตราดอกเบี้ยจะเป็น 2 หลักแต่หากจีดีพีโตย่อมส่งผลให้การขายบ้านโตขึ้นตาม
ส่วนปัญหาในเรื่องราคาน้ำมันจะส่งผลต่อค่าขนส่งวัสดุก่อสร้าง และต้นทุนการผลิต ซึ่งช่วงที่ผ่านมาซัปพรายเออร์เกือบทุกรายได้เข้ามาเจรจาของปรับขึ้นราคาวัสดุประมาณ 3-5% ทำให้ต้นทุนการก่อสร้างปรับตัวสูงขึ้นตาม ในขณะที่ราคาขายบ้านไม่สามารถปรับขึ้นได้จาการแข่งขัน อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าผู้ประกอบการจะสามารถปรับตัวได้กับสภาพดังกล่าว เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจครั้งนี้ถือว่าน้อยกว่าช่วงวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 ซึ่งผู้ประกอบการที่ผ่านช่วงนั้นมาได้ต่างมีบทเรียน และเตรียมตัวรับกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้อยู่แล้ว ดังนั้น แนวทางในการปรับตัวหรือแก้ไขปัญหาของผู้ประกอบการคือ จะต้องบริหารและจัดการต้นทุนให้ดี สอดคล้องกับกำลังซื้อในแต่ละทำเล
“ราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้น และดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับปัจจุบันไม่ได้มีผลต่อยอดขายบ้าน เพราะในอดีตราคาน้ำมันแค่ไม่ถึง 30 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล ใครพูดว่าราคานำมันจะถึง 70 ดอลลาร์สหรัฐเค้าก็ว่าบ้า แต่ตอนนี้มันถึงแล้ว และในอนาคตอาจจะสูงถึง 100 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรลก็ได้ แต่ก็ยังมีความซื้อบ้าน ทั้งนี้ สิ่งที่เป็นผลต่อยอดขายบ้านก็จะมาจากการเติบโตของเศรษฐกิจเป็นหลัก”นายอนันต์กล่าว
สำหรับเป้าหมายการขายบ้านของบริษัทในปีนี้ว่า บริษัทยังคงเป้าหมายการเติบโตของยอดขายบ้านอยู่ที่ 10% เมื่อเทียบกับปี 2548 โดยบริษัทมองว่าตลาดบ้านในราคา 1-2 ล้านบาท ยังเป็นตลาดที่ดี และบางพื้นที่ยังเป็นที่ต้องการของลูกค้ามากเนื่องจากเป็นตลาดกลุ่มใหญ่ รวมไปถึงบ้านที่มีราคาแพงตั้งแต่ 20 ล้านบาทขึ้นไปยังสามารถขายได้อย่างต่อเนื่อง ส่วนบ้านระดับราคา 5-10 ล้านบาท มีการชะลอเนื่องจากกลุ่มลูกค้าเป็นมนุษย์เงินเดือนเมื่อเกิดภาวะไม่ดีจึงชะลอการซื้อ
"ข้อเสียของธุรกิจอสังหาฯ คือส่งออกไปขายต่างประเทศไม่ได้ ดีมานด์จำกัดเฉพาะในประเทศ และการสร้างบ้านต้องใช้เวลานาน กว่าจะส่งมอบให้ลูกค้าใช้เวลา 8 เดือนถึง 1 ปีแต่ราคาที่ขายให้ลูกค้าเป็นราคาปัจจุบัน ดีเวลลอปเปอร์ต้องแมเนจคอร์สกับดีมานด์ให้ดีมองตลาดให้ออก และควรคิดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้า ยอมรับว่าภาวการณ์ซื้อขายบ้านโดยรวมในช่วงไตรมาส 1/2549 ชะลอตัว โดยเฉพาะช่วง เดือนม.ค.-ก. พ. 2549ลดลงมากเมื่อ เทียบกับ 2548 ช่วงเกิดภัยธรรมชาติคลื่นยักษ์สึนามิ"นายอนันต์กล่าว
ด้านนายวิกรม กรมดิษฐ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท อมตะ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า วิกฤติน้ำมันที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อต้นทุนการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการไทย แต่เมื่อวิกฤติที่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยภายนอกที่ยากจะควบคุม ดังนั้น ทางออกของธุรกิจที่จะต้องเร่งดำเนินการคือ เน้นการส่งออกสินค้าไปต่างประเทศให้ได้อย่างน้อย 20% เพื่อนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาเพื่อสร้างความสมดุล และแก้ปัญหาการขาดดุลทางการค้า ขณะเดียวกันภาครัฐบาลเองจะต้องหันมากระตุ้นการลงทุนโดยตรงจากนักลงทุนต่างประเทศ ผ่านการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ หรือผ่านมาตรการส่งเสริมการลงทุนหรือบีโอไอให้ได้อย่างน้อย 1 ล้านล้านบาท/ปี
"บางครั้งมาตรการที่สนับสนุนด้านภาษีจำเป็นจะต้องนำมาใช้เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศโดยตรง แต่ก็ติดขัดด้านการคัดค้านว่าจะกระทบต่อฐานการจัดเก็บภาษีเข้ารัฐ ซึ่งวิธีคิดแบบนี้บางครั้งภาคราชการต้องปรับใหม่" นายวิกรมกล่าว
ปัจจุบันประเทศไทยขายสินค้าหรือส่งออกสินค้าน้อยกว่าซื้อเข้ามา ทำให้เกิดปัญหาการขาดดุลบัญชี และไม่สามารถที่จะสู้ต่างประเทศไทย นอกจากนี้ สิ่งที่จะต้องเร่งพิจารณาคือ การเจรจาการค้าภายใต้กรอบการค้าเสรีเอฟทีเอ .เพื่อสร้างโอกาสการส่งสินค้าไปต่างประเทศ หาตลาดใหม่เช่น ตลาดอียู และรัสเซีย เป็นต้น ซึ่งหากดำเนินการล่าช้าไทยก็จะเผชิญคู่แข่งสำคัญที่น่ากลัว โดยเฉพาะคู่แข่งประเทศ เวียดนาม ซึงหากลงนามกับประเทศญี่ปุ่นได้เมื่อไหร่ เวียดนามจะเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวยิ่งสำหรับภาคธุรกิจไทย
นายวิกรม กล่าวเสนอแนะว่า ทางออกในยุคที่ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น ก็คือจะต้องเพิ่มประสิทธิภาพแรงงานในภาคอุตสาหกรรม โดยสังเกตได้จาก แรงงานจำนวน 36 ล้านคนทั้งหมด นั้นประมาณ 40% เป็นแรงงานภาคการเกษตร ซึ่งมีผลต่ออัตราการเติบโตของจีดีพีประมาณ 9% ขณะที่จำนวนแรงงานประมาณ 10% ที่อยู่ในภาคอุตสาหกรรม แต่มีขีดความสามารถหรือมีผลต่ออัตราการเติบโตของจีดีพีสูงถึง 40% ฉะนั้น หากต้องการทำให้จีดีพีอัตราการเติบโตสูงขึ้นภาครัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้อเร่งส่งเสริมหรือสนับสนุนภาคอุตสหกรรม พึ่งตนเอง-พัฒนาโปรดักท์
ขณะที่นายบุญเกียรติ โชควัฒนา กรรมการผู้อำนวยการบริษัท ไอ.ซี.ซี.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า แม้ปัจจุบันจะเปิดปัญหาวิกฤติราคาน้ำมันแพงที่ต้องยอมรับว่ากระทบต่อต้นทุนธุรกิจ แต่นักธุรกิจหรือผู้ประกอบการต้องมองวิกฤติที่เกิดขึ้นนี้ให้เป็นโอกาสที่จะต้องหาทางออกให้ได้ ดังนี้ 1. พัฒนาประสิทธิภาพการผลิต ที่จะต้องมีการนำเอาระบบเทคโนโลยีมาช่วย และการพัฒนานี้จะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง 2. สินค้าที่ผลิตออกสู่ตลาดจะต้องมูลค่าเพิ่ม หรือมีมูลค่าในตัว เมื่อสินค้ามีมูลค่าในตัว ก็สามารถที่จะปรับราคาขายได้ตามสัดส่วนต้นทุนที่สูงขึ้น
"ไม่ว่าจะเกิดวิกฤติใด เราต้องบอกว่าเราสู้ได้ ซึ่งเราต้องเพิ่มศักยภาพของตนเอง มีความรวดเร็วในการปรับตัวตามสถานการณ์ที่เกิด และต้องพร้อมที่จะมีแผนงานรองรับเพื่อช่วยเลหือตัวเองก่อนที่จะให้ผู้อื่นหรือรัฐบาลยื่นมือเข้ามาช่วย " นายบุญเกียรติ กล่าวย้ำ
ทั้งนี้ ปัจจัยลบที่เกิดขึ้นคือ ดอกเบี้ย น้ำมัน ค่าเงินที่แข็ง ล้วนส่งผลกระทบต่อทุกภาคธุรกิจ รวมทั้งธุรกิจของเครือไอ.ซี.ซี.ฯด้วย แต่อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมาทางเครือเองก็มีการปรับตัวรองรับมาอย่างต่อเนื่อง และเพิ่มประสิทธิภาพด้านการบริการ การบริหาร และ การผลิต มาตลอด
ด้านนายวิน วิริยประไพกิจ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ราคาเหล็กในตลาดโลกได้มีการปรับตัวขึ้นอย่างมากนับจากต้นปีเป็นต้นมาปรับโดยขึ้นเกือบ 100 บาท/ตัน จากกว่า 400 บาท/ตัน เป็นเกือบ 500 บาท/ตัน ซึ่งก่อนหน้านี้บริษัทได้เปลี่ยนนำเข้ามาขายเป็นนำเข้าวัสดุมาผลิตเองภายในประเทศ แต่ต้นทุนที่ปรับเพิ่มขึ้นทำให้ความสามารถในการแข่งขันในประเทศลดลง
ทั้งนี้ ในส่วนของบริษัทเองได้หันมาเน้นการส่งออกเพิ่มขึ้นโดยในปีนี้ตังเป้าส่งออก 20% จากปีที่แล้วส่งออก 18% โดยตลาดใหม่ที่น่าสนใจคือกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง เพราะกลุ่มนี้จะไม่คำนึกถึงราคา กลุ่มประเทศยุโรป สหรัฐอเมริกา ดังนั้นในภาวะที่ตลาดในประเทศไม่มีการขยายตัว อีกทั้งราคานำมันยังส่งผลให้ต้นทุนการผลิตปรับตัวสูงขึ้นดังนั้นผู้ประกอบการไทยควรหันไปทำตลาดต่างประเทศแทน ซึ่งเชื่อว่าเอกชนไทยมีศักยภาพในการแข่งขันกับต่างประเทศ แต่รัฐบาลควรให้การสนับสนุนเนื่องจากกฎหมายหลายตัว และนโยบายของรัฐบาลเองไม่ได้เอื้อให้ผุ้ประกอบการไทยไปลงทุนยังต่างประเทศ ซึ่งต่างจากหลายประเทศที่ในการสนับสนุน เช่น ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา
"ไทยเป็นคนที่แปลกรู้ๆว่าปัญหามันอยู่ตรงไหนแต่ก็ไม่ยอมแก้ โดยเฉพาะราชการไทยเป็นคนที่ใส่หมวกกันน๊อกและตั้งการ์ดสูงที่สุด เราเก่าไม่ถูกที่คัน เรามีปัญหาคือการขาดดุลการค้าต้องแก้ตรงนี้ เอกชนไทยเก่งเชื่อว่าสามารถออกไปแข่งกับต่างประเทศได้สบาย แต่พันธนาการค่อนข้างเยอะทำให้ไปลำบาก" นายวิน กล่าว
นายวินกล่าวต่อว่า ผู้ประกอบการควรวางแผนสำรองเตรียมเอาไว้หลายๆ แผน เพราะเมื่อสถานการณ์เปลี่ยนก็สามารถเปลี่ยนแผนไปใช้แผนสำรองได้ทันที นอกจากนี้ควรหันมาปรับปรุงระบบภายในหรือลดต้นทุนลง โดยเฉพาะในเรื่องของการขนส่ง หากวางระบบไม่ดีจะเป็นปัญหาระยะยาวและยากแก่การแก้ไข
นายธีรพงษ์ จันศิริ ประธานกรรมการบริหาร บริษัทไทยยูเนี่ยน โฟรเว่น โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในภาวะที่ปัจจัยลบมากมาย ช่วงนี้จึงถือเป็นโอกาสที่ดีที่ผู้ประกอบการไทยควรหันปรุงระบบภายใน เพื่อลดต้นทุนการผลิต ที่ผ่านมาในภาวะที่เศรษฐกิจดีจะไม่ค่อยได้รับความร่วมมือจากคนในองค์กรเท่าที่ควร แต่ตอนนี้ทุกควรต้องร่วมมือกันเพื่อแก้ปัญหา
|
|
|
|
|