Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน27 เมษายน 2549
ฟิทช์ปรับเป้าจีดีพีไทยลดเหลือ4.3%ชี้น้ำมันแพงกระทบขาดดุลเดินสะพัด             
 


   
www resources

โฮมเพจ ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย)

   
search resources

ฟิทช์ เรตติ้งส์
Economics




ฟิทช์ เรตติ้งคาดจีดีพีไทยปี 49 ลดฮวบเหลือ 4.3% จากประมาณการที่ 5% พร้อมให้เครดิตไทยที่ระดับ A- ระบุเหตุความวุ่นวายทางการเมืองส่งผลกระทบเศรษฐกิจ เผยหากเมกะโปรเจกต์ล่าช้าส่งผลให้งบประมาณเกินดุลได้ถึง 0.3% ของจีดีพี ขณะที่ราคาน้ำมันกระทบดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลเป็นครั้งแรกจากปี 2541 ถึง 3.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 2.1% ของจีดีพี

รายงานข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า บริษัท ฟิทช์ เรทติ้ง ซึ่งเป็นบริษัทจัดอันดับ ได้รายงานผลการวิเคราะห์เครดิตของประเทศไทย โดยยืนยันระดับเครดิตของประเทศไทยอยู่ที่ระดับ A- ซึ่งถือว่ามีแนวโน้มระดับเครดิตที่มีเสถียรภาพ ระดับเครดิตระยะยาวสกุลเงินต่างประเทศว่าอยู่ที่ระดับ BBB+ ระดับเครดิตตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินบาทที่ระดับ A และระดับเครดิตตราสารหนี้ระยะสั้นอยู่ที่ F2

โดยฟิทช์ ระบุว่า ได้คาดการณ์ว่า ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของไทย (จีดีพี) ในปี 2549 นี้ จะลดลงเหลือเพียง 4.3% จากเดิมที่ประมาณการไว้ที่ 5% โดยเป็นผลมาจากสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังไม่ยุติ คือ ยังไม่สามารถเลือกตั้งผู้แทนราษฎรได้ครบจำนวน ทำให้อาจไม่สามารถเปิดประชุมสภาฯ ได้ แม้ว่าความตึงเครียดทางการเมืองจะเริ่มคลี่คลาย หลังจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ประกาศไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้วก็ตาม

"ฟิทช์ คาดว่า ความยุ่งยากทางการเมืองจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในระยะสั้น โดยคาดการณ์ว่า จีดีพีในปี 2549 จะลดลงเหลือ 4.3% จาก 5% และหากความยุ่งยากทางการเมืองยังคงยืดเยื้อต่อไป จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตในระยะปานกลางได้" รายงานข่าวกระทรวงการคลัง ระบุ

ทั้งนี้ ฟิทช์ ให้ความเห็นว่า เครดิตของประเทศไทยมีความคงทนยิ่งขึ้นนับแต่ปี 2541 ที่เศรษฐกิจตกต่ำ โดยมีอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่สามารถบริหารจัดการได้ มีอัตราแลกเปลี่ยนที่ยืดหยุ่น และฐานะเงินทุนสำรองระหว่างประเทศดีขึ้น ทำให้ปัจจัยชี้วัดเครดิตหลักยังคงแข็งแกร่ง เมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศในระดับเครดิต BBB

อีกเหตุผลหนึ่งก็คือ ฐานะการคลังของประเทศที่มั่นคงในปีงบประมาณ 2548 โดยปัจจัยหลักมาจากรายได้ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม อีกทั้งวิธีการปรับปรุงการจัดเก็บรายได้ ส่งผลให้ทำให้สามารถจัดเก็บรายได้ตามเป้า ขณะที่รายจ่ายการลงทุนของภาครัฐลดลงเล็กน้อย ทำให้คาดว่ารัฐบาลจะมีงบประมาณเกินดุลคิดเป็น 0.6% ของจีดีพี ซึ่งอยู่ในระดับที่ดีกว่าประเทศในกลุ่มระดับเครดิต BBB

"นอกจากนั้น ในปี 2549 หากมีความล่าช้าในการลงทุนโครงการของภาครัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โครงการเมกะโปรเจกต์ และไม่มีปัจจัยอื่นที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ งบประมาณจะเกินดุล 0.3% ของจีดีพี และยอดหนี้ของรัฐบาล (หนี้โดยตรงของรัฐบาลรวมกับหนี้ของ FIDF) คาดว่าจะอยู่ที่ 27.8% ของจีดีพี ในปี 2549 ซึ่งลดลงจาก 31.9% ในปี 2548 ขณะที่สัดส่วนหนี้สาธารณะที่ไม่รวมหนี้ในภาคการเงินต่อจีดีพี (Non-Financial Public Debt) คาดว่าจะลดลงเหลือ 39.5% ในปี 2549 จาก 46.1% ในปี 2548" รายงานข่าวกระทรวงการคลัง ระบุ

อีกเหตุผลหนึ่ง ก็คือ จากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศไทยขาดดุล 3.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 2.1% ของจีดีพี นับว่าเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2541 โดยฟิทช์ เห็นว่า ยังไม่ส่งผลกระทบต่อระดับเครดิตของประเทศ อันเนื่องจากมีเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก และการลงทุนในหลักทรัพย์โดยรวม อีกทั้งเงินทุนสำรองของประเทศยังเพิ่มขึ้น โดยเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ เพิ่มขึ้น 4.6% คิดเป็นมูลค่าสูงสุด 52.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็น 3.3 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น และเทียบเท่ากับ 4.5 เดือนของภาระการชำระหนี้ต่างประเทศ

และเหตุผลสุดท้าย ได้แก่ หนี้ต่างประเทศทั้งหมดของประเทศไทยยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยคิดเป็นมูลค่า 51.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ ต่ำที่สุดนับจากหลังวิกฤติเศรษฐกิจ สัดส่วนหนี้ต่างประเทศต่อรายรับจากต่างประเทศ ณ ปัจจุบัน อยู่ที่ 37.8% ในปี 2548 ซึ่งถือว่าต่ำที่สุดในกลุ่มประเทศที่มีระดับเครดิต BBB

"ประเทศไทยยังถือเป็นประเทศหนึ่งในกลุ่มประเทศระดับ BBB ที่มีสถานะเป็นเจ้าหนี้สุทธิ (Net External Credit Position) (12.8% ของรายรับจากต่างประเทศในปี 2548) สัดส่วนสภาพคล่องต่างประเทศของไทย (External Liquidity Ratio) คาดว่าจะลดลงอยู่ที่ 289.4% ในปี 2549 จาก 299.4% ในปี 2548 ซึ่งฟิทช์ ถือว่าเป็นระดับสูงสุดในกลุ่มประเทศที่มีระดับเครดิต BBB" รายงานข่าวกระทรวงการคลัง ระบุ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us