Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2539
เจริญรัฐ วิไลลักษณ์ โอกาสในเขมรที่มีมากกว่าในเมืองไทย             
 


   
search resources

สามารถกรุ๊ป
เจริญรัฐ วิไลลักษณ์
Telecommunications




แม้ว่ากลิ่นอายของสงครามล้างเผ่าพันธุ์ที่สร้างความสะเทือนมาเกือบ 20 ปี อาจยังไม่หลงเหลือให้เห็นอยู่ในกรุงพนมเปญของกัมพูชาแล้วก็ตาม ยกเว้นสถานที่บางแห่งที่กลายเป็นตำนานความโหดร้ายยังคงตราตรึงอยู่ในความทรงจำอันขมขื่นของชาวเขมร

กัมพูชาในวันนี้ก็เป็นเช่นเดียวกับบางประเทศในอินโดจีนที่ผ่านสงครามมาโชกโชน และอยู่ในช่วงระหว่างการฟื้นฟูประเทศการค้าขายเริ่มต้นอีกครั้ง

กัมพูชา จึงกลายเป็นหนึ่งในดินแดนที่ดึงดูดกลุ่มทุนจากต่างแดนทั้งหลาย รวมทั้งของไทยที่อาศัยจังหวะเหล่านี้ขยับขยายเข้าไปลงทุน

หลายรายสมหวังมีโอกาสขยับขยายธุรกิจออกไปอีก ในขณะที่หลายรายต้องพลาดหวังกับธุรกิจที่ลงไปในประเทศแห่งนี้ด้วยเหตุผลที่แตกต่างกันไป

แต่สำหรับกลุ่มสามารถแล้ว อาจถือว่าเป็นโชคของเขา

เมื่อรัฐบาลของกัมพูชาภายใต้การนำของ 2 นายกรัฐมนตรี ได้อนุมัติให้มีการขยายอายุสัมปทานโทรศัพท์มือถือ ระบบเอ็นเอ็นที 900 ที่กลุ่มสามารถเข้าไปลงทุนเมื่อ 3-4 ปีที่แล้ว จากอายุสัมปทานเดิมที่ได้มาก 10 ปี เพิ่มอีก 25 ปี รวมเป็น 32 ปี

ผลของการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้มีความหมายสำหรับกลุ่มสามารถยิ่งนัก แน่นอนว่าผลดีย่อมมีมากกว่าผลเสีย ไม่นับรวมภาพลักษณ์ของกลุ่มที่จะสะท้อนกับมาในไทยแล้ว

การขยายอายุสัมปทานเพิ่มขึ้นย่อมเป็นประโยชน์ต่อการลงทุนมากกว่าการลงทุนในระยะเวลาสั้น ๆ เพราะบริษัทมีโอกาสเก็บเกี่ยวรายได้มากขึ้น

ยิ่งไปกว่านั้น เงื่อนไขของสัมปทานก็ได้รับการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น ส่วนแบ่งรายได้ที่บริษัทแคมโบเดียวสามารถเคยจ่ายให้กับรัฐบาล 30% ตามสัดส่วนการถือหุ้นของรัฐบาลในบริษัทตลอดอายุสัมปทาน ถูกปรับเปลี่ยนใหม่ 3 ปีแรกจ่ายส่วนแบ่ง 7% จากรายได้ 3 ปีถัดไปจ่ายส่วนแบ่ง 12% ปี และปีต่อ ๆ ไปจ่าย 15% จนครบอายุสัมปทาน 32 ปี

การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้นับเป็นแต้มต่อครั้งสำคัญของแคมโบเดียสามารถ ผู้บริหารของบริษัทสามารถเล่าว่า การใช้โทรศัพท์มือถือในกัมพูชา ส่วนใหญ่จะใช้โทรต่างประเทศถึง 50% ซึ่งรายได้ทั้งหมดนี้จะต้องหักให้รัฐบาลรายได้ที่เหลืออีก 50% จะต้องจ่ายเป็นค่าสัมปทานให้กับรัฐบาล 30% ที่เหลือจึงเป็นรายได้ของบริษัท

"เราแทบไม่เหลืออะไรเลย แต่อาศัยว่าเรามีลูกค้าเพิ่มขึ้นมาตลอด การที่ได้เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขถือว่าเป็นประโยชน์กับเรามาก ซึ่งเราอาจต่อรองขอหักค่าโทรศัพท์ทางไกลให้รัฐบาลลดลงเหลือ 40%" ผู้บริหารชี้แจง

เจริญรัฐ วิไลลักษณ์ ประธานกรรมการบริษัทสามารถแคมโบเดีย เล่าว่า ธุรกิจโทรศัพท์มือถือในกัมพูชาไปได้ดี หลังจากลงทุนไป 3 ปี ปีที่แล้วก็เริ่มมีกำไร และภายในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมาของปีนี้ มียอดลูกค้ามากกว่า 6,000 ราย และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากกัมพูชายังต้องประสบปัญหาขาดแคลนโทรศัพท์พื้นฐาน มีให้บริการอยู่เพียงแค่ 4-5 พันเลขหมาย จากประชากรที่มีอยู่ 9.9 แสนคน กลายเป็นปัจจัยที่ทำให้หลายคนหันมาเลือกใช้บริการโทรศัพท์มือถือ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนทำธุรกิจในประเทศนี้

ปัจจุบันมีผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ ระบบต่าง ๆ ในกัมพูชา 4-5 ราย อาทิ แคมเทล ของซีพี ให้บริการระบบแอมป์ 800 บริษัท TRICALCOM ของมาเลเซีย ให้บริการระบบเอ็นเอ็มที 900 บริษัท CAMINTEL ประเทศอินโดนีเซีย และชินวัตร ให้บริการดทรศัพท์ ระบบเอ็นเอ็มที 450

แม้แนวโน้มจะไปได้ดี แต่การขยายการลงทุนเพิ่มขึ้นไม่ใช่เรื่องคุ้มค่าในเชิงธุรกิจ เพราะไม่คุ้มกับระยะสัมปทานที่เหลืออยู่อีกไม่กี่ปี จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้บริหารของกลุ่มสามารถต้องยื่นขอขยายอายุสัมปทานมาตั้งแต่ต้นปี เพื่อแลกกับการขยายการลงทุนเพิ่มอีก 100 ล้านบาท

แต่การยื่นขอเปลี่ยนแปลงสัมปทานไม่ใช่เรื่องง่าย

เจริญรัฐ เล่าว่า ต้องบินไปเจรจากับเจ้าหน้าที่ทุกระดับของรัฐบาลอยู่หลายครั้ง และกว่าจะลงเอยลงได้ต้องอาศัยการไปเยือนกัมพูชาของนายกบรรหาร ศิลปอาชา ครั้งล่าสุดเมื่อกลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา สัญญาขยายอายุสัมปทานของแคมโบเดียสามารถจึงลุล่วงลงได้

สาเหตุสำคัญที่รัฐบาลกัมพูชาให้ไฟเขียว เป็นเพราะกลุ่มสามารถเป็นบริษัทเดียวที่วางเครือข่ายโทรศัพท์มือถือมากที่สุด นอกจากกรุงพนมเปญแล้วยังขยายไปยังเมืองต่าง ๆ เช่น กัมโปงโสมพระตะบอง เสียบเรียบ และกัมปงจาม ในขณะที่ผู้ให้บริการรายอื่น ๆ ซึ่งมีอยู่ 4-5 ราย ให้บริการเฉพาะในกรุงพนมเปญเท่านั้น

อันเป็นผลพวงมาจากกลยุทธครั้งแรกที่ต้องการต่อกรกับคู่แข่งที่เข้ามาลงทุนก่อนหน้านี้ คือ แคมเทล ของกลุ่มซีพี ซึ่งให้บริการเฉพาะในพนมเปญ

ข้อแลกเปลี่ยนที่สามารถแคมโบเดียให้ไว้กับรัฐบาลกัมพูชา คือ การขยายเครือข่ายไปต่างจังหวัด อีก 2 แห่ง คือ สุวายเลียง และเกาะกง พร้อมทั้งติดตั้งเครือข่ายไมโครเวฟในการเชื่อมโยงเครือข่ายไปต่างจังหวัดแทนการใช้ดาวเทียม ซึ่งจะต้องใช้เงินลงทุนอีก 100 ล้านบาท

ผลการขยายในครั้งนี้ ผู้บริหารของสามารถเชื่อว่า จะทำให้จำนวนผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้น 13,000 เลขหมาย คือ คิดเป็น 65% ของตลาดรวม และทำให้รายได้เพิ่มขึ้นอีกประมาณ 40%

อาการดีใจแบบสุด ๆ จึงปรากฏให้เห็นอย่างซ่อนเร้นไว้ไม่อยู่ของเจริญรัฐ พี่ชายคนโตของตระกูลวิไลลักษณ์ ที่มักจะให้ผู้เป็นน้องชาย ธวัชชัย วิไลลักษณ์ ออกโรงแถลงการณ์กับบรรดานักข่าว

ความสำเร็จในครั้งนี้ เจริญรัฐ ย้อนอดีตถึงการลงทุนในกัมพูชาว่า ยอมรับว่าเสี่ยงไม่น้อยกับการตัดสินใจมาลงทุนในกัมพูชาเมื่อ 4 ปีที่แล้ว

"เขมร 4 ปีที่แล้วเทียบไม่ได้เลยกับเวลานี้ แต่ตอนนั้นเราเห็นว่าธุรกิจในไทยของเราก็ไปได้ระดับหนึ่ง เลยมองเรื่องขยายไปต่างประเทศ ผมกับน้องชาย (ธวัชชัย วิไลลักษณ์) ก็ปรึกษากันว่าน่าจะลองเสี่ยงเข้ามาดู" เจริญรัฐย้อนถึงความหลัง

ผลการเสี่ยงในครั้งนั้นนับว่าคุ้มค่าไม่น้อย เพราะเวลานี้ กลุ่มสามารถได้ชื่อว่าเป็นโอปะเรเตอร์มือถืออย่างเต็มตัว แถมมีส่วนแบ่งตลาดอันดับต้น ๆ ในตลาดมือถือของกัมพูชา

ผิดกับในไทย ที่กลุ่มสามารถยังเป็นได้แค่เซอร์วิสโพรไวเดอร์ให้กับแทค ซึ่งก็ยังมีข้อจำกัดอีกเยอะ ส่วนการจะพัฒนาไปเป็นโอปะเรเตอร์มือถือ เช่นเดียวกับไออีซีที่ได้รับไฟเขียวไปก่อนหน้านี้ ยังไม่รู้ว่าจะลงเอยได้เมื่อใด

เมื่อเป็นโอปะเรเตอร์ในไทยไม่ได้ สู้เป็นโอปะเรเตอร์ในเขมรพลาง ๆ ก่อน หนทางคงสดใสไม่แพ้กัน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us