Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2539
ดร.ชัยพัฒน์ สหัสกุล องครักษ์พิทักษ์จีเอฟคนที่ 4             
 


   
search resources

จีเอฟ, บงล
ชัยพัฒน์ สหัสกุล
Financing




"องครักษ์พิทักษ์เสรี" เป็นฉายาที่ ดร.ชัยพัฒน์ สหัสกุล อดีตผู้ช่วยผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ได้รับตลอดเวลาที่ทำงานรับใช้ใกล้ชิดกับเสรี จินตนเสรีจนเป็นที่ทราบกันดี ดังนั้นเมื่อ 'นาย' ต้องลาออกตามวาระครบ 4 ปี ดร.ชัยพัฒน์ จึงตัดสินใจลาออกพร้อมนายหลังจากที่ตั้งท่าคิดจะออกตั้งแต่ปีนี้ และเบนเข็มหางานใหม่ทำ

"ผมว่าเป็นเรื่องธรรมดา ปรกติอยู่ที่ไหนไม่นานแค่ 2 ปีก็ออก แต่นี่อยู่กับตลาดฯ มานานถึง 5 ปีกว่า และไม่คิดปลดเกษียณที่นี่ ผมเป็นคนที่อยู่กับระบบงานเอกชนก่อนมานั่งที่ตลาดหลักทรัพย์ และจะกลับไปที่เอกชนอีก ก็เหมือนกับเป็นการสร้างความรู้ให้ตนเองสองด้าน" ดร.ชัยพัฒน์ เล่าให้ฟัง

งานใหม่ที่ ดร.ชัยพัฒน์ ได้รับการทาบทามจากณัฐศิลป์ จงสงวน อดีตเจ้านายเก่าสมัยทำอยู่บริษัทมอร์แกรน เกรนเฟล คือ ตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ กลุ่มธุรกิจหลักทรัพย์สถาบันของ บงล.จีเอฟ ซึ่งเป็นนโยบายให่ของจีเอฟในวาระครบรอบ 30 ปีที่จะส่งเสริมธุรกิจหลักทรัพย์กับสถาบันต่าง ๆ นอกจากนี้ จีเอฟได้ร่วมกับกลุ่มไพร์มอีสบริหารกองทุนมูลค่า 65 ล้านเหรียญสหรัฐขยายเครือข่ายลูกค้าต่างประวเทศ โดยดร.ชัยพัฒน์จะรับผิดชอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับตราสารอนุพันธ์ และธุรกิจบริหารกองทุนส่วนบุคคล (ไพรเวทฟันด์) ซึ่งจะเป็นธุรกิจสำคัญของบริษัทในอนาคต

ว่าไปแล้วจังหวะเวลาที่ ดร.ชัยพัฒนา ลาออกและเลือกร่วมงานกับจีเอฟก็เป็นช่วงเวลาเหมาะสม เพราะกลุ่มจีเอฟได้ปรับโครงสร้างบริหารใหม่ เพื่อรงอรับการขยายธุรกรรมการเงินหลากหลาย ทำให้ผู้บริหารระดับกรรมการผู้จัดการของ บงล.จีเอฟ แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ หนึ่ง-กลุ่มธุรกิจหลักทรัพย์รายย่อย บริหารโดยสันติ หอกิตติกุล สอง-กลุ่มธุรกิจเงินทุนดูแลโดย นฤนาท รัตนะกนก สาม-กลุ่มวาณิชธนกิจ บริหารโดยโรเบิร์ต แมคมิลแลน และสี่-กลุ่มน้องใหม่ 'กลุ่มธุรกิจหลักทรัพย์สถาบัน' ดูแลโดยดร.ชัยพัฒน์ และห้า-กลุ่มวิจัยธุรกิจ ซึ่งเพิ่งยกฐานะมีกรรมการผู้จัดการเป็นครั้งแรก

หากดร.ชัยพัฒน์ ยังรั้งรออยู่เป็นผู้ช่วยผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ต่อไป ก็ใช่ว่าจะก้าวหน้าได้เป็นใหญ่ในยุคของนายใหม่อย่าง "สิงห์ ตังทัตสวัสดิ์" เพราะดร.ชัยพัฒน์รู้ตัวดีว่า สมัยเรืองอำนาจเมื่อสองปีก่อน ขนาดเสรีพยายามผลักดันให้ดร.ชัยพัฒน์ขึ้นเป็นรองผู้จัดการเทียบเท่าสุรัตน์ พลาลิขิต เพื่อเตรียมต่อบันไดให้ดร.ชัยพัฒน์ เป็นหมายเลขหนึ่งก็ยังล้มเหลวจากเสียงคัดค้านของกรรมการบางคน

โดยบุคลิกนิสัย ดร.ชัยพัฒน์ มีมาดนักวิชาการระดับดอกเตอร์สาขาเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโรเชสเตอร์ สหรัฐ ที่ค่อนข้างเชื่อมั่นตัวเองสูง ชีวิตการทำงานในฐานะนักวิจัยที่เขียนผลงานวิจัยเกี่ยวกับตลาดเงินตลาดทุนที่ผ่านสำนักวิจัยดัง ๆ อย่างทีดีอาร์ไอ สถาบัน CMRI ของไอเอฟซีที หรือมอร์แกรน เกรนเฟล ก่อนจะมาใหญ่ที่ตลาดหลักทรัพย์โดยได้รับแรงสนับสนุนจากเสรีอย่างเต็มที่ บางครั้งทำให้ ดร.ชัยพัฒน์ ก้าวร้าวและโดดเดี่ยวไม่คบหากับเพื่อนผู้บริหาร ตรงนี้เป็นจุดอ่อนที่ ดร.ชัยพัฒน์ ต้องเปลี่ยนแปลง ก่อนที่จะโดนสถานการณ์ใหม่ในจีเอฟบังคับให้ต้องเปลี่ยน

ดร.ชัยพัฒน์ ได้เล่าให้ฟังว่า ตัดสินใจมาอยู่ที่จีเอฟด้วยตัวเอง เพราะอยากกลับมาทำงานกับเอกชน แต่ที่เพิ่งลาออกพร้อมกับอดีตผู้จัดการเสรีก็เพราะได้รับปากว่าจะอยู่ช่วยจนครบวาระ สำหรับการทำงานกับกลุ่มจีเอฟ จะนำประสบการณ์จาการที่ได้ออกไปทำโรดโชว์ เมื่อครั้งเป็นผู้ช่วยผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ไปปรับใช้ให้เป็นประโยชน์

"ที่สำคัญ คือ ดร.ณรงค์ชัย ท่านเป็นอาจารย์และที่ปรึกษาการทำวิทยานิพนธ์เมื่อครั้งผมเรียนปริญญาโทที่ธรรมศาสตร์ และอาจารย์เป็นคนดีที่ผมเลือกทำงานด้วย" นับว่าเป็นสายสัมพันธ์อันเก่าแก่ที่ ดร.ชัยพัฒน์ พยายามเกาะเกี่ยวให้ถึง

ดร.ชัยพัฒน์ ไม่ใช่ลูกศิษย์คนแรกที่ถูก ดร.ณรงค์ชัย ชวนมาทำ ดร.อัจนา ไวความดี ดอกเตอร์เศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน สหรัฐอเมริกาที่ทำงานเป็นอาจารย์เศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ 10 ปีก่อนจะมาทำกับทีดีอาร์ไอเกือบ 2 ปี เคยโดน ดร.ณรงค์ชัย ชวนมาทำที่จีเอฟสำเร็จ ปัจจุบัน ดร.อัจนาได้รับการโปรโมทเป็นรองกรรมการผู้อำนวยการสำนักวิจัยธุรกิจ ที่คาดว่าน่าจะได้รับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการกลุ่มใหม่ ถ้าไม่พลิกโผ

เพราะปรากฏข่าวลือสะพัดภายในจีเอฟว่า "ดร.อัจนาขอลาออก" ก่อนวันที่ 1 สิงหาคมที่ ดร.ชัยพัฒน์ สหัสกุลเข้ารับตำแหน่งเป็นกรรมการผู้จัดการกลุ่มธุรกิจหลักทรัพย์สถาบันกับบงล.จีเอฟ ข่าวลือนี้สร้างจินตนาการไปไกลถึงว่า เสือสองตัวอยู่ถ้ำเดียวกันไม่ได้ เพราะทั้งคู่ต่างหยั่งรู้วิถีและตัวตน "อีโก้" ตามธรรมชาติของนักวิจัยที่มักทำงานคนเดียวและอยู่กับข้อมูลตัวเลขตลอดเวลา ติดต่อกับคนอื่นน้อยมาก งานแต่ละวันหมดไปกับการประชุม ไปต่างประเทศ หรือห้องค้าต่างจังหวัด และเวลาที่เหลือก็หมดไปกับงานวิจัยและอ่านหนังสือ จนครั้งหนึ่ง ดร.อัจนา เคยเปรียบว่า โลกของนักวิจัยเหมือนกบอยู่ในกะลาครอบ

แต่อะไรจะเกิดก็ต้องเกิด ไม่ว่าวันนี้ฝ่ายประชาสัมพันธ์ของจีเอกจะปฏิเสธข่าวลือนี้ว่า ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด แต่สำหรับคนใหม่อย่าง ดร.ชัยพัฒน์ สหัสกุล ยังต้องใช้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ว่า ปรับเปลี่ยนแปลงตัวเองได้ทันการณ์และกว้างไกลอย่างมีวิสัยทัศน์ที่พ้นจากตัวเองได้มากน้อยเพียงใด

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us