Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2539
กิตติ กีรติธรรมกุล ทัพหน้าเอาใจนักลงทุนหุ้นซีพี             
 


   
www resources

โฮมเพจ เครือเจริญโภคภัณฑ์

   
search resources

เครือเจริญโภคภัณฑ์
เทเลคอมเอเซีย, บมจ.
กิตติ กีรติธรรมกุล
Telecommunications




กิตติ กีรติธรรมกุล เพิ่งมาเป็นน้องใหม่ของบริษัทเทเลคอมเอเซีย ในเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือที่เรียกกันง่าย ๆ สั้น ๆ ว่า ซีพี ได้ไม่นานในตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักลงทุนสัมพันธ์ (VICE PRESIDENT INVESTOR RELATIONS OFFICE) ซึ่งหน่วยงานนี้เพิ่งเปิดมาได้ประมาณ 3 ปีเล็กน้อย แต่ก็ถือว่าใหม่สำหรับในประเทศไทยที่มีหน่วยงานที่ตั้งขึ้นมา นับได้ในบริษัทชั้นนำของประเทศไทยที่จะมีหน่วยงานแบบนี้นับได้คงไม่เกิน 3 แห่ง

กิตติ ได้เล่าว่า ในส่วนของเทเลคอมเอเชียนั้น ได้ตั้งสำนักลงทุนสัมพันธ์ขึ้นมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะแบ่งเบาภาระของผู้บริหาร เนื่องจากเทเลคอมเอเซีย หรือทีเอ เป็นบริษัทจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นผลให้บริษัทมีผู้ถือหุ้นค่อนข้างเยอะทั้งประเภทรายย่อยและสถาบันการเงินทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งพวกกองทุนต่าง ๆ และโบรกเกอร์ และยังมีบริษัทวิจัยต่าง ๆ ที่ต้องการทราบว่า หุ้นของทีเอ หรือบางครั้งอาจจะถามเลยไปถึงหุ้นของซีพี ด้วยว่าเป็นอย่างไรบ้าง

สิ่งที่เขาจะให้ก็คือ ข้อมูลหรือรายละเอียดให้กับกลุ่มนักลงทุนเหล่านั้น ซึ่งจะเป็นข้อมูลที่ค่อนข้างลึกอย่างพวกสถาบัน กิตติ อาจจะต้องวิเคราะห์ให้เขาฟังด้วยในบางครั้งถ้าเขาต้องการ หรือบางที่ก็จะขอมาดูงานของทีเอเลยว่า ทำงานกันอย่างไร กิตติก็มีหน้าที่ต้องตระเตรียมเอกสารเพิ่มเติมไว้ให้ด้วย

"ตอนนี้เราจะเน้นการให้ข้อมูลของเทเลคอมเอเซียมากหน่อย เนื่องจากถือว่าเพิ่งเข้าตลาดหุ้นได้ไม่นาน และมีจำนวนหุ้นที่กระจายอยู่ในตลาดเป็นจำนวนมาก ซึ่งถือว่าเป็นความสนใจของนักลงทุนและโดยธรรมชาติของหุ้นที่ให้บริการเรื่องสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานอย่างเรา จะเป็นหุ้นที่ถือว่าเกี่ยวข้องและใกล้ชิดกับประชาชนมากหน่อย อย่างเรื่องความคืบหน้าของโครงการระบบโทรศัพท์พื้นฐานพีเอชเอส นักลงทุนก็อยากทราบความคืบหน้ามีโทรเข้ามาถาม บางทีข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ลงไปว่าเราได้แล้ว แต่ยังไม่มีหนังสือยืนยันอย่างเป็นทางการแจ้งมาเราก็ต้องชี้แจงไปว่าความจริงเป็นอย่างไร เรารอจดหมายจากทางการอยู่นะอะไรแบบนี้ เวลาได้โครงการอะไรใหม่ ๆ มาก็จะมีโทรเข้ามาถามเป็นจำนวนมาก นักข่าวบ้าง นักลงทุนหุ้นบ้าง เพราะบางที่โทรไปถามผู้บริหาร เขาก็จะไม่มีเวลามาอธิบายได้มาก ๆ อันนี้ก็ต้องเป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องตอบแทน"

กิตติ ชี้แจงถึงเนื้องานต่อไปว่า หน้าที่ของเขาไม่ใช่แบบงานประชาสัมพันธ์ แต่อาจจะดูคล้ายคลึงในแง่ของพีอาร์เฉพาะเรื่องหุ้นเพียงเรื่องเดียว แต่การตอบคำถามของนักลงทุนก็ต้องดูขอบข่ายว่าจะสามารถให้ได้แค่ไหน และพนักงานทุกคนที่อยู่ในฝ่ายนี้จะรู้เรื่องหุ้นเป็นอย่างดี พนักงานในส่วนนี้หลายคนมาจากบริษัทเงินทุนและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์

"บางทีมีข่าวอะไรที่เกี่ยวกับบริษัทหลุดลอดไปลงหนังสือพิมพ์ก็จะมีนักลงทุนรายใหญ่ พวกประเภทสถาบันหรือรายย่อยก็ตาม จะถามทันทีตอนนี้น่าจะไปซื้อหุ้นเพิ่มไว้ดีไหม หรือทำไมถือหุ้นไว้นานแล้วทำไมไม่ขึ้น ก็เป็นหน้าที่ของเราต้องอธิบายกับนักลงทุน บางรายเครียดเข้ามาเลย เราต้องชี้แจงอย่างใจเย็นเพราะเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมากทั้งกับนักลงทุนและกับตลาดหลักทรัพย์ด้วย หน้าที่ของเราก็คือ ต้องคอยเทคแคร์นักลงทุน ชี้แจงข้อมูลด้วยความจริงและพยายามให้เขาสบายใจให้ได้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นรายใหญ่หรือย่อยทั้งในและต่างประเทศ จะต้องเท่าเทียมและทั่วถึง"

กิตติ เล่าต่อไปว่า ส่วนงานของเขานั้นมีทั้งหมด 5 คน และทุกคนจะมีความรู้เรื่องหุ้นและการเงินเป็นอย่างดีและภาษาต้องดีด้วย เพราะต้องประสานงานกับนักลงทุนประเภทสถาบันของต่างประเทศด้วย ทุกคนพร้อมที่จะตอบและให้ข้อมูลได้ตลอดเวลา บางครั้งปุ๊ปปั๊บรับสายโดยไม่มีเวลาเตรียมตัว ทุกคนต้องเตรียมตัวให้พร้อมไว้เสมอ ซึ่งสำนักลงทุนสัมพันธ์นั้นจะขึ้นตรงกับผู้บริหารระดับสูง คือ ดร.วีรวัฒน์ กาญจนดุล ที่จะดูแลทางด้านการเงินและดูแลฝ่ายนี้ด้วย

เดิมทีฝ่ายนี้รับผิดชอบงานทางด้านไออาร์ (INVESTOR RELATION) ของบริษัทแม่ คือ เจริญโภคภัณฑ์ จนเมื่อประมาณปลายปีที่แล้ว จึงมาเน้นงานของเทเลคอมเอเซียมากกว่า เพราะเป็นหุ้นที่กระจายอยู่ในตลาดเยอะและเป็นหุ้นใหม่ ก็เลยมีการโอนย้ายจากซีพีมายู่ทีเอ แต่ก็ยังทำให้ซีพีอยู่ด้วยไม่ได้ทิ้งไปเลย

สำหรับบริษัทในเครือซีพีที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ขณะนี้มีทั้งหมด 6 บริษัทด้วยกัน คือ สยามแมคโคร / บริษัทวีนิไทย / บริษัทกรุงเทพโปรดิวส์ / บริษัทเทเลคอมเอเซีย / บริษัทซีพีเอฟ และบริษัทซีพีเอ็นอี

ส่วนบริษัทใหม่ ๆ ที่เตรียมจะเข้าตลาดหลักทรัพย์ต่อไปนั้น ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายลงทุนสัมพันธ์ ถ้าหากมีบริษัทใดที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาด ทางบริษัทแม่ คือ ซีพี ก็จะจ้างบริษัทที่ปรึกษาพวกโบรกเกอร์ดูแลจัดการให้เลย เราจะดูแลแต่เฉพาะบริษัทที่เข้าจดทะเบียนอยู่ในตลาดแล้วเท่านั้น

สำหรับสิ่งที่เตรียมจะผลักดันต่อไปหลังจากที่กิตติเข้ามาดูแลงานในส่วนนี้แล้วก็คือ โครงการให้ความรู้กับนักลงทุนรายใหญ่และรายย่อย สถาบันการเงิน ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งเป็นการให้ความรู้แบบทั่วไปและเฉพาะด้าน

"เราจะให้ความรู้อย่างตรงไปตรงมา ถ้านักลงทุนรายใดไม่ถนัดเรื่องหุ้นและมีงบประมาณน้อยสายป่านสั้น เราจะแนะนำให้หยุดเล่นหุ้นทันที หรือให้มืออาชีพเขาเล่นแทนให้ คือ พวกกองทุนต่าง ๆ เพราะเป็นการประกันความเสี่ยงไปในตัว"

การสัมมนาจะจัดหมุนเวียนกันไปทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ที่เคยจัดไปแล้วก็ที่หาดใหญ่ จ.สงขลา และที่สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์หรือนิด้า ซึ่งร่วมกับรายการมันนี่ทอล์กของ ดร.เสรี ไพบูลย์วัฒนา ผู้เชี่ยวชาญด้านตลาดหุ้นอีกท่านหนึ่งของเมืองไทย ซึ่งการสัมมนาให้ความรู้ 2 ครั้งที่ผ่านมาได้รับความสนใจจากนักลงทุนทั่วไปเป็นอย่างดี และในปีนี้ตั้งเป้าไว้ว่า จะจัดอีก 2-3 ครั้ง โดยตั้งงบประมาณในส่วนนี้ไว้มากพอสมควร

ทางด้านส่วนตัวนั้น กิตติ เล่าถึงตัวเขาเองว่า จบวิศวกรรมศาสตร์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทางด้านอุตสาหกรรม เมื่อปี 2518 แล้วไปต่อบริหารธุรกิจทางด้านการเงินที่สหรัฐอเมริกา หลังจากนั้นอยู่ช่วยธุรกิจของครอบครัวเกี่ยวกับการผลิตชิ้นส่วนพลาสติกระยะหนึ่ง จึงออกมาทำงานที่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์สินอุตสาหกรรมอยู่ 3 ปี จากนั้นย้ายสายงานไปทำด้านการตลาดที่บริษัทน้ำมันโมบิลอีก 3 ปี จึงย้ายมาสายงานเก่าด้านหลักทรัพย์ที่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ไทยซากูระอยู่กว่า 4 ปี จนมาจบที่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์คาเธ่ย์ทรัสเกือบ 5 ปีจนล่าสุดถูกชักชวนมาที่สำนักลงทุนสัมพันธ์ของเทเลคอมเอเซีย

กิตติ เปิดเผยถึงทิศทางในอนาคตของตัวเองในระยะ 3-4 ปีข้างหน้าว่า เขายังมีความสุขกับการเป็นมือปืนรับจ้างต่อไป โดยไม่คิดที่จะไปประกอบธุรกิจส่วนตัว แม้ว่าจะมีแรงสนับสนุนจากธุรกิจครอบครัวของตนเองก็ตาม

"ตรงนี้ผมมีความสุขดีแล้วกับการเป็นมือปืนรับจ้างครับ" เขากล่าว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us