Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2539
"กองทุนฟื้นฟูฯ จะยุบทิ้งหรือรอเวลาฟื้นฟูตัวเอง?"             
โดย สุปราณี คงนิรันดรสุข
 

 
Charts & Figures

10 ปีกองทุนกับ 7 ผู้จัดการกองทุน
สถาบันการเงินที่กองทุนฟื้นฟูเข้าอุ้ม
พอร์ตสถาบันการเงินที่กองทุนฟื้นฟูถือหุ้นในปัจจุบัน
ฐานะเงินทุนกองทุนฟื้นฟู ตั้งแต่ปี 2528- สิ้นปี 2537


   
search resources

กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงิน
Investment




กองทุนเพื่อการฟื้นฟู และพัฒนาสถาบันการเงินเป็นเครื่องมือของแบงก์ชาติ โดยเฉพาะยุคผู้ว่าวิจิตร กองทุนถูกพันเข้าไปสู่วัฏจักรการเมืองและอำนาจอย่างหลีกไม่พ้น ขณะที่สถาบันการเงินอื่น ๆ ไม่พอใจมากยิ่งขึ้นที่ถูกระดมเงินไปอุดรอยรั่วที่ไม่น่าจะทำ บทบาทของกองทุนถูกวิพากษ์วิจารณ์มากขึ้นในหลายกรณีที่เลือกปฏิบัติต่อสถาบันที่เข้าไปถือหุ้น ถึงเวลาต้องมาทบทวนอนาคตของกองทุนแห่งนี้ให้ถึงแก่นแล้วกระมัง!?

ตั้งกองทุนมาสิบปีเปลี่ยนผู้จัดการกองทุนมา 7 คนแล้ว ที่นี่ใช้ผู้จัดการเปลือง" สว่างจิตต์ จัยวัฒน์ ผู้จัดการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงินคนล่าสุดเล่าให้ฟัง

น่าสังเกตว่าเจ็ดคนดังกล่าวล้วนแล้วแต่เคยผ่านฝ่ายวิชาการและฝ่ายกำกับและตรวจสอบมาส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นผู้จัดการกองทุนเพื่อการฟื้นฟ ูและพัฒนาสถาบันการเงินคนแรก นภพร เรืองสกุล อดีตรองผู้อำนวยการฝ่ายกำกับตรวจสอบสถาบันการเงิน ขณะที่อดีตฝ่ายวิชาการก็มี ดร. ศิริ การเจริญดี ดร. เกลียวทอง เหตระกูลและสว่างจิตต์ จัยวัฒน์ โดยเฉพาะสุภาพสตรีสองคนหลังเคยเป็นลูกน้องผู้ว่าการธนาคารชาติ วิจิตร สุพินิจมาก่อน (ดูตาราง 7 ผู้จัดการกองทุน)

ที่พิเศษคือสว่างจิตต์ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้จัดการกองทุน เพื่อการฟื้นฟ ูและพัฒนาสถาบันการเงินเป็นสมัยที่สอง หลังจากมีผลงานเข้าตากรรมการในสมัยแรกสามารถแก้ไขปัญหาบริษัทเงินทุนเอฟ ซีไอ ของคุณหญิงพัชรี ว่องไพฑูรย์จนกระทั่งได้บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมเข้าร่วม

"ดิฉันเป็นผู้อาวุโสคนเดียวที่ย้ายแล้วกลับมาใหม่ และอาจจะเป็นจังหวะที่มาทีไรมีข่าวดังทุกที เช่นปลายปี 35 ก็มีกรณีวิกฤตบริษัทเงินทุนเอฟซีไอ พอมาครั้งนี้ก็มีเรื่องธนาคารบีบีซี ก็เลยกลายเป็นว่าเราไม่ค่อยเก็บเนื้อเก็บตัวไป" สว่างจิตต์ ผู้จัดการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูเล่าให้ฟัง

เมื่อกองทุนช้า-พลาดท่าบีบีซี
"เขาโกหกผม" น้อยครั้งที่เจ้าสัวพิพัฒน์ ตันติพิพัฒน์พงษ์จะพูดโพล่งออกมาต่อสาธารณชนแต่คงเป็นอะไรที่เหลืออดจริง ๆ ภายหลังการประชุมผู้ถือหุ้นใหญ่ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การสิ้นสุดลงได้ผลผิดจากข้อตกลงที่ "เขาผู้ทรงอิทธิพลคนนั้น" ได้รับปากไว้ว่ากรรมการใหม่ จะต้องเป็นตัวแทนของกลุ่มตันติพิพัฒน์พงษ์ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่รายใหม่แต่พลิกล็อคกลายเป็น ม.ร.ว. ดำรงเดช ดิศกุล และ ม.ร.ว. ดำรงเดช ดิศกุล และ ม.ร.ว. อรอนงค์ เทพาคำไป

เรื่อนี้เกิดขึ้นเมื่อวันประชุมผู้ถือหุ้นใหญ่ 26 เมษายนที่ผ่านมากองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงินตายน้ำตื้น เสียท่ากลุ่มเกริกเกียรติที่กุมอำนาจต่อโดยมีกรรมการ 11 คนจาก 15 คน ในขณะที่ธนาคารชาติคุมแค่ 3 เสียงเท่าเดิม ทำให้แผนการฟื้นฟูบีบีซีต้องล่าช้าไปอีกจากเดิมที่นับว่าช้ามาก

ความล่าช้าของแบงก์ชาติในการแก้ปัญหาที่ตรวจเจอตั้งแต่ปี 2534 จนถึงปัจจุบันที่ผู้ว่าการแบงก์ชาติ วิจิตร สุพินิจได้ใช้อำนาจสั่งการตามมาตรา 24 ทวิ. ทั้งหมดถึง 5 ครั้งทักท้วงให้รับเร่งแก้ไขปัญหาแต่คำสั่งไม่ถือเป็นการแก้ไขปัญหาเด็ดขาดเหมือนกรณี บง. เอฟซีไอ โดยผู้ว่าการวิจิตรมักอ้างว่ากลุ่มเกริกเกียรติให้ความร่วมมือแก้ไขปัญหา แต่ความจริงกลุ่มนี้กลับปกปิดหนี้เสียที่เพิ่มพูนจากสินเชื่อด้อยคุณภาพไม่ต่ำกว่า 77,968 ล้านบาท แบ่งออกเป็นหนี้สูญ 19 ล้านบาทหนี้จัดชั้นสงสัย 19,730 ล้านบาท หนี้ต่ำกว่ามาตรฐาน 25,931 ล้านบาท และสินเชื่อเพื่อเทคโอเวอร์มีความเสี่ยงสูง 32,688 ล้านบาท

"ก็คงไม่มีปัญหาเมื่อถึงจุดนี้ แต่ตอนนั้นมีอะไรที่เข้าใจผิดกันนิดหน่อยกลายเป็นปัญหาใหญ่โตที่ว่า กองทุนไม่ไปทำให้เป็น 42% จริง ๆ ตรงนั้นเราไม่มีส่วนเลย" เสียงปฏิเสธของผู้จัดการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงิน

กรณีธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การถือเป็นกรณีแก้ไขปัญหาสไตล์ซอฟท์แลนดิ้งของผู้ว่าการวิจิตร ที่ประเมินสถานการณ์และคนว่าควบคุมได้ จนกระทั่งเกิดกระบวนข่าวการเปิดโปงสายสัมพันธ์เชิงผลประโยชน์ระหว่างผู้ว่าการวิจิตรกับธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ โดยเฉพาะมีหลักฐานผู้ว่าการวิจิตรกู้เงินโอดีวงเงิน 5 ล้านบาทจากธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ

ข่าวนี้ดีสเครดิตผู้ว่าการธนาคารชาติอย่างแรงพอ ๆ กับการซื้อหุ้น บงล. นครหลวงเครดิตในราคาพาร์ นับว่าเป็นเรื่องหนักใจที่ประธานกองทุนอย่างผู้ว่าวิจิตรต้องพยายามอย่างหนัก ที่จะต้องฟื้นฟูภาพพจน์ตัวเองให้มีความมั่นคงและน่าเชื่อถือมือสะอาดก่อนผ่าตัดคนอื่น

แต่ผู้ว่าการวิจิตรยืนยันถือเป็นเรื่องปกติไม่ผิดจรรยาบรรณเพราะลงทุนอย่างโปร่งใสสามารถตรวจสอบข้อมูลได้

"การลงทุนของผมอยู่ภายใต้ระเบียบปฏิบัติฉบับนี้" ฉบับที่ผู้ว่าวิจิตรอ้างคือคำสั่ง ธปท. ฉบับที่ 7/2533 ที่กำหนดเงื่อนไขถือหุ้นจดทะเบียนต้องลงทุนระยะยาวและชอบธรรม

กว่าถั่วจะสุก งาก็ไหม้เสียแล้ว ผู้ว่าการวิจิตรจึงต้องอดทนต่อกระแสกดดันทางการเมืองเร่งปลดชนวนระเบิดจากธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การก่อนที่ตัวเองจะถูกปลด

"จริง ๆ กองทุนเรามีผู้แทนไปบริหารธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ คือคุณชูศรี แดงประไพ ผู้ช่วยผู้ว่าการคือท่านจะประสานกับฝ่ายกำกับ และตรวจสอบคือขณะนี้ทางฝ่ายจัดการกองทุนไม่ได้เข้าไปร่วมเรื่องบริหารแก้ไขปัญหา ขณะนี้เราทำแค่เอาเงินเข้า และมีตัวแทนก็ซึ่งผู้ช่วยฯ ชูศรีประสานงานกับฝ่ายกำกับและตรวจสอบในการแก้ไขปัญหา และถ้ามีกรรมการผู้อำนวยการอีกคนไปช่วยเสริมให้แก้ไขปัญหาได้ ดังนั้นกองทุนฯ จึงเป็นทัพเสริมในแง่ของเงินทุน" ผู้จัดการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงินเล่าให้ฟัง

ตั้งแต่กลางปี 2538 หลังจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงินซื้อหุ้นเพิ่มทุน พบว่าทุก ๆ อาทิตย์ธนาคารชาติได้ "ทักท้วง" เรื่องปล่อยสินเชื่อรายใหญ่และเพิ่มทุนตลอดแต่ไม่มีผลเชิงปฏิบัติเด็ดขาด

จนกระทั่งแรงกดดันทางการเมืองได้บีบให้อดีต รมว. คลังสุรเกียรติ์ต้องตั้งคณะกรรมการควบคุมตามข้อเสนอของหม่อมเต่า โดยมีพชร อิศรเสนา ณ อยุธยาเป็นประธานคณะกรรมการควบคุม ผู้มีอำนาจเต็มในการจัดการปัญหาบีบีซี-ปลดเกริกเกียรติเมื่อไม่มาเคลียร์ตามนัด

หลังจากที่แผนการปลดสุรเกียรต์ เสถียรไทยขณะที่ลาพักร้อนที่ฮ่องกงเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคมแล้ว บรรหารได้แต่งตั้งบดี จุณนานนท์ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีคลังแทนแผนสองของบรรหาร คือการปลดผู้ว่าการวิจิตรอย่างสมเหตุสมผล เพียงแต่รอคนใหม่ที่ทาบทามไว้ คาดว่าแคนดิเดทคนสำคัญนั้นจะเป็นโฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ อดีตที่ปรึกษาพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และกรรมการบริหารแบงก์กรุงเทพในปัจจุบัน

ล่าสุดเงินทุนที่ธนาคารชาติเสริมสภาพคล่องให้แก่ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การและบริษัทในเครือกว่า 25,000 ล้านบาทผ่านกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงินเข้าไป หลังจากธนาคารพาณิชย์ต่างไม่กล้าเสี่ยงปล่อยกู้ให้โดยไม่มีใครค้ำประกัน ยกเว้นธนาคารมหานครของเจริญ สิริวัฒนภักดีที่ให้ความร่วมมือปล่อยกู้ให้บ้าง ซึ่งสร้างความพอใจให้กับผู้ว่าการวิจิตรพอควร

ในการจำหน่ายหุ้นเพิ่มทุนของบีบีซีจำนวน 500 ล้านหุ้นเมื่อวันที่ 16-22 เมษายนที่ผ่านมา เจริญ สิริวัฒนภักดีได้รุกซื้อหุ้นบีบีซีเพิ่มจาก 5% เป็น 10% ในช่วงราคาตกต่ำประมาณ 16-17 บาทเศษ เพราะเห็นว่าน่าจะให้ผลตอบแทนได้ดีในอนาคต หลังจากที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงินส่งคนเข้าร่วมบริหารและผ่าตัดโครงสร้างการดำเนินธุรกิจใหม่ แต่วัตถุประสงค์การซื้อหุ้นเจริญต่างกับกลุ่มตันติพิพัฒน์พงษ์ ตรงที่เจริญลงทุนแบบซื้อมาขายไป ขณะที่กลุ่มหลังหวังแป็นกรรมการร่วมบริหารธนาคาร

เบื้องหลังขายหุ้นมหานครและ SCIB กองทุนกระเป๋าแฟบ-มีแต่ที่ดิน

เจริญ สิริวัฒนภักดี เจ้าของกิจการสุรามหาราษฎรและธนาคารมหานคร เป็นหนึ่งในนักลงทุนที่นิยมเก็บซื้อหุ้นธนาคารเล็กธนาคารน้อยไว้โดยเฉพาะกลยุทธ์ลงทุนในธนาคารที่มีกองทุน เพื่อการฟื้นฟูเข้าไปเพราะเจริญอาจถือว่ากองทุนเพื่อการฟื้นฟู และพัฒนาสถาบันการเงินคือดัชนีชี้ขุมทรัพย์ ซึ่งเจริญก็ได้เม็ดเงินกำไรเป็นกอบเป็นกำจากการลงทุนซื้อหุ้นธนาคารที่กองทุนอุ้มทั้ง 5 ธนาคาร ไม่ว่าจะเป็นธนาคารมหานครที่เจริญร่วมกับกองทุนเพื่อการฟื้นฟ ูและพัฒนาสถาบันการเงิน หุ้นธนาคารนครหลวงไทย หุ้นธนาคารเอเชีย หุ้นธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การและหุ้นธนาคารกรุงไทย

"คุณเจริญท่านเข้าร่วมช่วยกันกับกองทุนแก้ปัญหาธนาคารมหานคร ณ จุดที่เข้ามาฟื้นฟู คุณเจริญเขามีฐานธุรกิจที่จะช่วยให้สินเชื่อมีคุณภาพ ตอนนี้ผลดำเนินงานดีมาก จ่ายปันผลในอัตราสูง" ผู้จัดการกองทุนเล่าให้ฟัง

ล่าสุดหุ้นธนาคารมหานครที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงินถืออยู่ 15.25% จะขายให้สำนักงานทรัพย์สินในราคา 8.50 บาทนั้นก็ยังค้างคากันอยู่เพราะเงื่อนไขเกี่ยวกับการขายคืนก่อน 5 ปียังไม่ชัดเจน ทั้ง ๆ ที่ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินฯ ดร. จิรายุ อิศรางกูร ก็ยืนยันว่าเป็นการลงทุนระยะยาว หากจะขายคืนก็จะขายแก่กองทุน เพื่อการฟื้นฟ ูและพัฒนาสถาบันการเงินในราคาที่ซื้อมารวมเงินที่ สนง. ทรัพย์สินจะซื้อก็ประมาณ 2,600 ล้านบาท แต่ถ้าเปิดประมูลขายในราคาตลาดดีสเคานท์ 30% ขณะนี้ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงินจะมีเงินเข้ามาเพิ่มอีก 3 พันกว่าล้านบาท

"มีเหตุผลอะไรที่กองทุนจะต้องขายให้ในราคา 8.50 บาท ทั้ง ๆ ที่ถ้าเราถือต่อไปเราจะได้รับเงินปันผลจากธนาคารมหานครถึง 400 ล้านบาทอยู่แล้ว" แหล่งข่าวในกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงินกล่าว

เหตุผลสำคัญประการหนึ่งที่คาดว่าประธานกองทุนอย่างผู้ว่าการวิจิตรตัดสินใจขายหุ้นธนาคารมหานครแก่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ในราคาต่ำน่าจะมาจากปีกาญจนภิเษกเฉลิมฉลองในหลวงครองราชย์ 50 ปี

ผู้ว่าการวิจิตรคงเล็งเห็นแล้วไม่มีจังหวะเวลาใดที่เหมาะสมมากเท่าวโรกาสครั้งนี้แล้ว สอดคล้องกับการปรับภาพพจน์ในสถานการณ์กดดันให้ตนเองต้องลาออกด้วย

สำหรับหุ้นธนาคารนครหลวงไทยที่กองทุนถืออยู่ 8.54% และผู้บริหารได้คืนซอฟท์โลนแก่ธนาคารชาติก่อนกำหนดชำระไปต้องแต่ต้นปีที่แล้ว คาดว่ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงินจะทะยอยขายหลังธนาคารกรุงไทย เพื่อระดมเงินทุนมาช่วยกอบกู้ธนาคารกรุงเทพฯพาณิชย์การ

"ตั้งแต่เราเข้าไปช่วยซื้อหุ้นเพิ่มทุนของธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ เราก็ต้องมีสภาพคล่องส่วนหนึ่ง ที่เราเตรียมไว้เป็นเงินส่วนหนึ่งที่มาจากสินทรัพย์หมุนเวียนของเรา เพราะว่าสินทรัพย์อื่น ๆ มันเป็นรูปหุ้นธนาคารที่เรามี ณ จุดนี้มีแนวโน้มที่จะต้องขายหุ้นออกไปบ้าง เพราะที่ดินขายได้ยากขณะนี้" สว่างจิตต์เล่าให้ฟัง

ตามกฎหมายกองทุนเพื่อการฟื้นฟูสามารถระดมเงินทุนได้โดยการออกพันธบัตรซึ่งสามารถนำมากู้ยืมในตลาดอาร์/พีได ้และเป็นที่ต้องการของตลาดเงิน ซึ่งแนวคิดนี้จรุง หนูขวัญ รองผู้ว่าการกล่าวว่าอยู่ในขั้นศึกษาความเป็นไปได้

"ตอนนี้ยังไม่มีความจำเป็น เพราะการออกพันธบัตรมันมีแต่ต้นทุน ถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ เราจะไม่ทำ แต่ต่อไปถ้าหากเราหมดหนทางจริง ๆ เราอาจจะมาบริหารเงินโดยออกพันธบัตรต่อไป" ผู้จัดการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงินเล่าให้ฟัง

ขายเอราวัณทรัสต์ งานสุดท้ายในโครงการ 4 เมษา

จากการประชุมคณะกรรมการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงินฯ ผู้ว่าการวิจิตรในฐานะประธานได้อนุมัติแนวทางขายหุ้นสถาบันการเงินที่กองทุนถือหุ้นอยู่
กลุ่มสถาบันการเงินที่กองทุนขายโดยวิธีเปิดประมูลซึ่งไล่ราคาหุ้นในกระดานให้สูงขึ้น ได้แก่ ธนาคารเอเชียที่กองทุนได้เปิดประมูลขายหุ้น 15% หมด โดยกลุ่มเอกธนกิจได้ชัยชนะไป ขณะที่หุ้นธนาคารกรุงไทยนั้นทางกลุ่มภัทรธนกิจประมูลได้ไป

"ตอนที่กลุ่มเอกธนกิจประมูลชนะโดยหลักการแล้วเราพยายามมิให้กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเข้ามา เพราะไม่อยากให้กระทบการบริหารของกลุ่มเดิมเขา โดยเราตั้งเกณฑ์แยกเป็นกลุ่มย่อย ๆ แต่ปรากฏว่าเขาไปถือในนามคนนั้นคนนี้ แต่ตรงนั้นเรามีเงื่อนไข SIENT PERIOD ว่าจะขายหุ้นไม่ได้เป็นเดือน" ผู้จัดการกองทุนฯ เล่าให้ฟัง

สำหรับ บงล. ไอทีเอฟ ซึ่งกลุ่มกฤษดามหานครชนะการประมูลไปตั้งแต่ปี 2535 ส่วน บงล. ธนไทยและ บงล. เอกชาติขายให้ผู้ถือหุ้นเดิมหลังจากคืนซอฟท์โลนให้ธนาคารชาติ และตัดบัญชีขาดทุนสะสมหมด ปัจจุบันกองทุนถืออยู่ 2.85% ในธนไทย ส่วน บงล. นิธิภัทรขายคืนกลุ่มเดิม 19.23%

ล่าสุด บง. ทรัพย์ทวีทรัสต์ขายให้แก่กลุ่มเหตระกูล 800 ล้านบาท สำหรับ บง. เอราวัณทรัสต์ กองทุนแบกรับภาระที่ดินไว้แล้วขายใบอนุญาตให้กลุ่มดาราเหนือของประภาส อดิสยเทพกุล ผู้มีสายสัมพันธ์แนบแน่นกับนายพลผู้มีอิทธิพล ประภาสเป็นเจ้าของอาณาจักรการค้ากลุ่มทีไอพี และบริษัทดาราเหนือ

"การที่เราเข้าไปประมูลได้ เพราะเห็นว่าเป็นทรัสต์ขนาดกลางพอดี และช่วง 2-3 ปีนี้เราขยายตัวสูง ถ้าเรามีไฟแนนซ์ของตัวเองสักแห่งแล้วให้มืออาชีพทำ ก็ถือว่าเป็นฐานธุรกิจ ส่วนที่ทีไอพีให้ดาราเหนือเข้าไปแทน เพราะราคาประมูลที่ทีไอพีเสนอนั้นสูงเกินไป ในเมื่อทีไอพีมีหุ้นในดาราเหนือแล้ว ทำไมทีไอพีถึงจะต้องเป็นเจ้าของทรัสต์แต่เพียงผู้เดียว เราจึงให้บริษัทมหาชนอย่างดาราเหนือเข้าไป เพราะเพิ่มทุนได้และทำวอร์แรนซ์หาเงินได้ ถ้าไม่พอดาราเหนือยังมีที่ดินอีกมาก ตอนนี้เราไม่รีบเพราะเอราวัณทรัสต์ถือเป็นการลงทุนระยะยาว 10 ปี" ประภาสเล่าให้ฟัง

ปัจจุบันสถาบันการเงินเจ้าปัญหาดังกล่าวก็ดำเนินธุรกิจแบบช่วยตัวเองได้แต่มีบางกรณีไอทีเอฟร้องขอให้กองทุน เพื่อการฟื้นฟู และพัฒนาสถาบันการเงินช่วยเสริมสภาพคล่องเงินทุนตอนได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์เอฟซีไอ ส่วนกรณีกลุ่มเอกธนกิจประมูลหุ้นธนาคารเอเชียไปได้ แต่เข้าไปไม่นาน ผู้ถือหุ้นเก่าหวาดระแวงและเกิดความขัดแย้งกับกลุ่มใหม่ ตรงนี้จึงเป็นข้อที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงินพยายามมิให้เกิดโดยตั้งเงื่อนไขผู้ประมูล และมีเงื่อนเวลาที่ห้ามซื้อขายภายในระยะเวลาที่กำหนด


ฟ้องกองทุนฯ 29 ล้านคดีเอฟซีไอ

"ตอนที่ขาย เราประกาศหลักเกณฑ์ว่า ผู้ถือหุ้นเดิมต้องมาใช้สิทธิ์ตามช่วงเวลานั้น ๆ แต่เรามีข้อยกเว้นว่าจะไม่ให้สิทธิ์แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเจ้าของกิจการเดิมหรือกลุ่มรัตตะไพทูรย์ เพราะผู้ถือหุ้นที่มีชื่อเกี่ยวข้องกับผู้บริหารเดิม เราตัดสิทธิ์ตั้งแต่แรกแล้ว" สว่างจิตต์ จัยวัฒน์ ผู้จัดการฝ่ายจัดการกองทุนแห่งแบงก์ชาติเล่าให้ฟังถึงมาตรการฟื้นฟูบริษัทเงินทุนเอฟซีไอของคุณหญิงพัชรี และวีระนนท์ ว่องไพฑูรย์

เผอิญหุ้นของเกริกชัย ซอโสตถิกุลซึ่งขณะนี้เป็นโจทย์ฟ้องกองทุนฟื้นฟูเรียกเงินค่าเสียหาย 29 ล้านบาทจากการถูกกองทุนฯ ตัดสิทธิ์ที่ควรจะได้รับ 9 แสนหุ้นเพราะชื่อของเกริกชัยอยู่ในบัญชีดำกลุ่มบริษัทของคุณหญิงพัชรี คือบริษัทรัตตะไพทูรย์ ทางกองทุนฟื้นฟูฯ จึงตัดสิทธิ์ไปแต่เหตุผลของเกริกชัยอ้างว่าได้ถือหุ้นเอฟฟีไอ 6.5 ล้านหุ้นโดยถูกต้องแล้วนำเอาหุ้นเอฟซีไอไปวางค้ำประกันเงินกู้จาก บงล. ไทยรุ่งเรืองทรัสต์และศรีมิตร แต่ตอนที่เกริกชัยไปวางค้ำนั้น ไม่ได้โอนชื่อเป็นของตนเอง หุ้นจึงติดอยู่ที่บริษัทรัตตะไพฑูรย์ซึ่งพัวพันกับคดีปั่นหุ้นอย่างแรง

"ตอนที่เราขายคืนให้สิทธิ์กับผู้ถือหุ้นรายย่อย เราตัดพวกนี้ไปแล้ว ไม่ได้เอามารวมด้วย เหลือเท่าไรก็เอามากระจายให้ผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิ์ ดังนั้นหุ้นของคุณเกริกชัยจึงถูกตัดไปตั้งแต่ต้น ถือว่าเป็นเรื่องที่เขาไม่ดูแลสิทธิ์ของตนเอง ทำไมไม่โอนเข้าชื่อตัวเองให้เรียบร้อย เขาจะมาอ้างว่าเขาไม่ทราบว่าจะเกิดเรื่องนี้ไม่ได้" ผู้จัดการกองทุนฟื้นฟูเล่าให้ฟัง

ดังนั้นสิทธิ์ที่เกริกชัยฟ้องจึงเกิดขึ้นหลังจากทุกอย่างจบลงไปแล้ว เกมนี้เกริกชัยจึงต้องไล่เบี้ยไปฟ้องไทยรุ่งเรืองทรัสต์ด้วยกับพวกที่เกี่ยวข้องทั้งหมดว่า ทำไมไม่โอนเข้าชื่อที่เขาเป็นเจ้าของหุ้น เป็นลักษณะโอนลอยไว้ พอมาโยงถึงการขอใช้สิทธิซื้อหุ้นจากกองทุนจึงไม่ได้ เพราะว่าชื่อของเกริกชัยถูกตัดสิทธิ์ตั้งแต่แรกแล้ว

ความจริง ก่อนหน้าที่เกริกชัยนั้นมีเหตุการณ์หนึ่งที่ผู้เสียหายฟ้องกองทุนฟื้นฟูแล้วชนะ โดยกลุ่มคน 6-7 คนอ้างว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกับการปั่นหุ้นซึ่งเจ้าหน้าที่กองทุนฟี้นฟูมองว่าพวกนี้ทำความเสียหายให้กับการลงทุน แต่เหมือนปาฎิหารย์ ปรากฏว่าทางกรรมการกองทุนฟื้นฟูฯ ได้ทบทวนพิจารณาดูแล้วว่า ไม่ได้เข้าเกณฑ์ตัดสิทธิ์จึงยอมให้สิทธิ์ซื้อจากกองทุนฟื้นฟูไปได้

"คุณเกริกชัยคงเห็นว่ากลุ่มนี้ฟ้องแล้วได้สิทธิ์ เขาจึงฟ้องบ้าง แต่เขาไม่ได้ไปดูว่า เขาเกี่ยวข้องกับกลุ่มรัตตะไพฑูรย์ซึ่งเป็นผู้บริหารเดิมของเอฟซีไอ ตรงนี้จะมาอ้างสิทธิ์ก็ไม่ได้" ผู้จัดการกองทุนฟื้นฟูกล่าว

ขณะที่คดีดำเนินไป การติดตามทวงหนี้สินมูลค่า 4 พันล้านบาทจากผู้บริหารเดิมของเอฟซีไอก็ยังเป็นภารกิจหลักของกองทุนฟื้นฟู เพราะปรากฏว่างวดเงินนำส่งจำนวน 600 ล้านบาทนั้นขาดการชำระไปตั้งแต่สองปีที่แล้ว

"คุณหญิงพัชรีและสามีคุณวีรศักดิ์ (ป่วยหนักเป็นอัมพาต) ขณะนี้ก็ขอผ่อนผันชำระหนี้มูลค่า 4 พันกว่าล้านบาท ทำให้หนี้เพิ่มขึ้นเป็น 5 พันกว่าล้านบาท ขณะเดียวกันเราก็ต้องดูแลทรัพย์สินเช่นที่ดินที่เชียงรายซึ่งต้องตีรั้วกันการบุกรุก ตอนนี้เราคงไม่ถึงขั้นต้องฟ้องล้มละลาย ทางคุณหญิงพัชรีก็มีติดต่อมาบ้าง" สว่างจิตต์ จัยวัฒน์ ผู้จัดการฝ่ายจัดการกองทุนของแบงก์ชาติเล่าให้ฟัง

ใช่หรือไม่งานกองทุนฯ แค่ "เสมียน"?

ฐานะของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เป็นนิติบุคคลในธนาคารชาติ ที่มีคณะกรรมการจัดการกองทุน ประกอบด้วยผู้ว่าการวิจิตร สุพินิจเป็นประธาน และหม่อมเต่า ม.ร.ว. จัตุมงคล โสณกุลเป็นรองประธาน พร้อมด้วยผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีก 6 ท่านเป็นกรรมการด้วย โดยสว่างจิตต์เป็นเลขานุการ

สำหรับหน่วยงานเล็ก ๆ แต่ทรงพลังเงียบ ๆ ในแต่ละครั้งที่มีข่าวการเข้าไปแก้ไขวิกฤตการณ์สถาบันการเงิน และเป็นแหล่งเงินทุนของนายธนาคารพาณิชย์ทั่วไปน่าจะมีศักดิ์ศรีและอิสรภาพมากกว่านี้แทนที่จะเป็นแค่เพียง "งานเสมียน" ที่แล้วแต่เจ้านายจะต้องการอย่างไร และผู้จัดการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงินก็กินตำแหน่งเทียบเท่ารองผู้อำนวยการฝ่ายเท่านั้น เป็นหน่วยงานเล็ก ๆ ที่อยู่ชั้นล่างของธนาคารชาติ ทำหน้าที่เป็นฟูกไว้รองรับทรัสต์ล้มธนาคารล้ม รับกระเป๋าซ้ายจากการเรียกเก็บสถาบันการเงินร้อยละ 0.1% ของยอดเงินฝาก แล้วจ่ายกระเป๋าขวาแก่สถาบันที่มีปัญหาเสียหายหนัก

แหล่งที่มาของเงินกองทุนก็เรียกเก็บสะสมจากธนาคารพาณิชย์ไทย 15 แห่ง ธนาคารต่างชาติ 14 แห่ง บริษัทเงินทุนและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ 91 แห่ง บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ 14 แห่ง

เงินทองที่ไหลเข้า-ออกกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงินในสิบปีเพิ่งจะมีการแง้มตัวเลขเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้สาธารณชนทราบว่า มีเงินที่เก็บได้จากสถาบันการเงิน 13,561 ล้านบาท เงินสมทบธนาคารชาติ 3,000 ล้านบาทและเงินสำรองเพื่อแก้ไขปัญหาสถาบันการเงิน 11,221 ล้านบาท และกำไรสะสม 1,132 ล้านบาทรวมแล้วเมื่อสิ้นปี 2537 กองทุนมีเงินสะสมทั้งหมด 28,914 ล้านบาทซึ่งเทียบสัดส่วนเงินกองทุนดังกล่าวกับเงินฝากและเงินกู้ยืมทั้งระบบจะเท่ากับ 0.778%

"เมื่อใดที่เรามีหลักประกันขนาดเงินกองทุนใกล้เคียงเป้าหมาย 1% ของเงินฝากเมื่อนั้นทางคณะกรรมการจัดการกองทุนก็คงพิจารณาข้อเรียกร้องของสถาบันการเงินที่ขอลดเงินนำส่ง หรือจ่ายตามอัตราเสี่ยงมากน้อยของแต่ละแห่ง แต่ ณ จุดนี้ยังมีความจำเป็นอยู่ เรามีภาระที่ต้องช่วยสถาบันการเงินที่มีปัญหา" ผู้จัดการกองทุนกล่าว

ที่ผ่านมาในรอบสิบปี กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงินต้องเข้าไปพยุงฐานะธนาคารที่อาการร่อแร่ถึง 6 ธนาคารจากจำนวนธนาคารพาณิชย์ทั้งหมด 15 ธนาคาร นับตั้งแต่ธนาคารเอเชียทรัสต์ ธนาคารมหานคร ธนาคารกรุงไทย ธนาคารนครหลวงไทย ธนาคารเอเชียและธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ

ส่วนใหญ่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงินใช้วิธีการเพิ่มทุนและให้กู้ยืมโดยมีหลักประกันแก่ธนาคารสยามและธนาคารนครหลวงไทย ส่วนธนาคารมหานครที่ขาดสภาพคล่องก็ช่วยโดยฝากเงิน

นอกจากนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงินยังอุ้มบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ บริษัทเงินทุน และเครดิตฟองซิเอร์รวม 18 บริษัท (ดูตารางสถาบันการเงินที่กองทุนอุ้ม) ส่วนใหญ่เป็นบริษัทในโครงการ 4 เมษา 2527 แต่ที่หนักหนาสาหัสถึงขั้นเพิกถอนมีอีก 4 บริษัท ที่กองทุน เพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงินต้องรับภาระจ่ายเงินคืนผู้ฝาก 240 รายเป็นเงิน 129.4 ล้านบาท

ไม่เคยปรากฎตัวเลขผลดำเนินงานกองทุนเพื่อการฟื้นฟูอย่างเปิดเผย จนเกิดข้อเรียกร้องจากสมาคมธนาคารไทยโดย ดร. โอฬาร ไชยประวัติ ต้นความคิดเรื่องสถาบันประกันเงินฝากตั้งแต่ทำงานอยู่ธนาคารชาติก็ออกมาเรียกร้องให้ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงินควรจะถึงยุคโปร่งใสได้แล้ว พร้อมกับเสนอตัวแทนสมาคมธนาคารไทยร่วมเป็นกรรมการด้วย และกำหนดอัตราเงินนำส่งตามอัตราเสี่ยงของแต่ละธนาคารแทนที่จะเหมารวมเก็บแห่งละ 0.1%ที่ทำให้เกิดข้อได้เปรียบเสียเปรียบทางธุรกิจ และที่สำคัญเงินกำไรหดหายเพราะเงินนำส่งที่คิดจาก 0.1% ของเงินฝากธนาคารใหญ่อย่างเช่นธนาคารกรุงเทพก็ตกประมาณปีละ 700 ล้านบาทซึ่งแบ่งจ่ายสองงวดต่อปี

ความจริงตามกฎหมายกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงินสามารถจัดเก็บได้ถึง 0.5% แต่แค่นี้สถาบันการเงินก็โวยกันทุกครั้งที่ถูกบังคับ

"เขาโวยกันมาตลอดว่า เมื่อไหร่เราจะเลิกเก็บหรือจะลดให้เขา ตอนนี้เราเก็บอยู่ 0.1% เราบอกว่าลดไม่ได้เพราะมีภาระต้องช่วยสถาบันการเงินที่มีปัญหา" ผู้จัดการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงินเล่าให้ฟัง

ตราบใดที่ธนาคารชาติยังยึดหลัก "ธนาคารล้มไม่ได้" ตราบนั้นกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงินก็ยังอยู่แต่ในอนาคตธนาคารล้ม-ทรัสต์ปิดอาจจะเกิดขึ้นทำความเสียหายแก่ระบบสถาบันการเงินที่มีผู้เล่นเพิ่มมากขึ้นตามการเปิดเสรีทางการเงิน น่าจะมีการทบทวนใหม่เกี่ยวกับการบริหารบทบาทของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงินให้ทันกับยุคสมัยโลกาภิวัฒน์ปี 2000 นี้

สถาบันประกันเงินฝาก จุดเปลี่ยนช่วยคนฝากเป็นหลัก

โฉมหน้าใหม่ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูอาจเปลี่ยนไป เพื่อปรับให้ทันการแก้ปัญหาวิกฤตการณ์สถาบันการเงินล้มในปี 2000 เนื่องจากประสบการณ์และสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นและธุรกรรมซับซ้อนมีความเสี่ยงสูงขึ้นขณะที่ผู้ฝากเงินต้องเสี่ยงมากขึ้น

เมืองไทยไม่เคยมีสถาบันประกันเงินฝากอย่างเป็นทางการมีแต่เพียงเสนอ "ร่าง พ.ร.บ. สถาบันประกันเงินฝาก " เข้าวาระการประชุมของรัฐสภาเมื่อปี 2524 ที่เป็นผลมาจากบริษัท ราชาเงินทุนล้ม แต่ฝันไม่เป็นจริง ร่าง พ.ร.บ. นี้ต้องตกไปเพราะงานสถาบันซ้ำซ้อนกับแบงก์ชาติ สถาบันการเงินไม่อยากเสียเงินและความหวาดระแวงของแบงก์และบริษัทเงินทุนที่กลัวว่าคู่แข่งที่อ่อนแอจะขยายตัวได้ เพราะความมั่นใจของผู้ฝากเงิน

ทศวรรษหน้าของกองทุนเพื่อการฟื้นฟู แบงก์ชาติต้องเลือกช่วยผู้ฝากเงินก่อนเพื่อหยุดยั้งผลกระทบเป็นลูกโซ่จากการที่ผู้ฝากไม่ไว้ใจ ขณะเดียวกันสนับสนุนให้มีการออมทรัพย์มากขึ้น และต่อไปนี้แบงก์ชาติก็สามารถให้มีสถาบันการเงินใหม่ได้แล้วปล่อยให้สถาบันการเงินบางแห่งล้มถ้าแน่ใจว่าคนจำนวนมากจะได้รับเงินคืน เมื่อมีสถาบันประกันเงินฝากที่จะช่วยเหลือผุ้ฝากเงินเป็นหลัก แทนที่จะอัดฉีดเงินเป็นหมื่น ๆ ล้านพยุงฐานะสถาบันการเงินอย่างที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูถือเป็นภารกิจแรก

แต่ ณ เวลานี้ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูจะจำกัดบทบาทตัวเองเพียงแค่ "เสมียน" ที่รับ-จ่ายเงิน-และเป็นปู่โสมเฝ้าทรัพย์อีกไม่ได้แล้ว จำเป็นจะต้องฟื้นฟูพัฒนาตัวเองให้ก้าวสู่ความเป็นสถาบันประกันเงินฝากที่มีอำนาจหน้าที่ และอิสระในการบริหารกองทุนให้สามารถรองรับความเสี่ยงได้มากกว่าที่เคยเป็นมาในทศวรรษที่แล้ว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us