|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ผลวิจัย”ThaiView 4” ชี้การเมืองพ่นพิษความเชื่อมั่นเศรษฐกิจคนกรุงลดฮวบ กระทบทัศนคติ-ไลฟ์สไตล์คนกรุงเปลี่ยนไป รับภาวะค่าครองชีพ-สาธารณูปโภคพุ่ง โหมงานหนักหวั่นหน้าที่การงานไม่มั่นคง งดกิจกรรมค่าใช้จ่ายสูงเมินชอปปิ้ง-ท่องเที่ยว-ดูหนัง ลุกฮือสนใจการเมืองหลังตระหนักเป็นผลพวงลูกโซ่เชื่อมโยงเศรษฐกิจแย่ ระบุต้องการนายกฯคนใหม่ซื่อสัตย์ โปร่งใส เห็นแก่ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว
วานนี้ (24 เม.ย.49) สมาคมวิจัยการตลาดแห่งประเทศไทย เสนอผลการวิจัย” ThaiView”ครั้ง 4 หรือผลวิจัยในช่วงไตรมาสแรกของปี 49 เพื่อทำการสำรวจแนวโน้มความพึงพอใจของคนกรุงเทพฯ ภายใต้สภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน แนวโน้มการจัดสรรรายได้ และค่าใช้จ่ายหมวดต่างๆ และผลกระทบจากสถานการณ์ทางการเมืองในช่วงปัจจุบัน โดยสัมภาษณ์คนกรุงเทพฯจำนวน 500 คน จาก 18 เขต ดำเนินการสัมภาษณ์วันที่ 7-9 เมษายน 49
นางดารณี เจริญรัชต์ภาคย์ นายกสมาคมวิจัยการตลาดแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การวิจัย ThaiView” 4 ทางสมาคมฯได้ทำการสัมภาษณ์ภายหลังจากที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศเว้นวรรคทางการเมืองในวันที่ 4 เมษายน 2549 ดังนั้นสถานการณ์การเมืองจึงคลี่คลายไปแล้วในระดับหนึ่ง แต่ผลวิจัยกลับพบว่า คนกรุงเทพฯ มีความมั่นใจในภาวะเศรษฐกิจของตัวเองลดลงในช่วง 12 เดือนจากนี้ โดยมีผู้ที่ไม่มั่นใจเลยเพิ่มขึ้นจากในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 48 จาก 62% เป็น 67% แบ่งเป็นไม่มั่นใจเลยเพิ่มจาก11% เป็น 15% และไม่ค่อยมั่นใจเท่าเดิมเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา คือ 51% ส่วนค่อนข้างมั่นใจลดลงจาก 32% เป็น 29%
**การเมืองพ่นพิษไลฟ์สไตล์คนกรุงเปลี่ยน**
คนกรุงเทพฯ มีการเปลี่ยนแปลงในด้านทัศนคติและพฤติกรรม โดยพบว่า พฤติกรรมการจับจ่ายสำหรับสินค้าและบริการในช่วงนี้ รอไปก่อน หรือ ยังไม่ตัดสินใจ ตัวเลขพุ่งสูงสุดจากไตรมาสสุดท้ายปี 48 จาก 57% เพิ่มเป็น 62% ในไตรมาสแรกของปี 49 สาเหตุมาจากความกังวลใจทางด้านเศรษฐกิจชะลอตัวและการว่างงานโดยตัวเลขพุ่งขึ้นจาก 36% เป็น 43% ความไม่มั่นใจทางการเมือง 29% ปัญหาความแตกแยกในสังคม 27% ความรุนแรงจากการประท้วง 18% ปัญหาความเครียดจาก 12% เพิ่มเป็น 14%
**โหมงานหนัก-งดกิจกรรมค่าใช้จ่ายสูง**
ดร.ศศิวิมล สมิตติพัฒน์ กรรมการสมาคมวิจัยการตลาดแห่งประเทศไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า คนกรุงเทพฯ ใช้ชีวิตและกิจกรรมเปลี่ยนไป เปรียบเทียบปัจจุบันกับช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา มีการทำกิจกรรมน้อยลง 40% และทางตรงกันข้ามกลับเพิ่มเวลาให้แก่งาน โดยพบว่าคนกรุงเทพฯทำงานหนักขึ้น 46% เนื่องจากเกรงหน้าที่การงานไม่มั่นคงจากภาวะเศรษฐกิจ หัวหน้าสั่งให้ทำงานมากขึ้นเพื่อสร้างยอดขาย ส่งผลให้เวลาการนอนหลับลดลง 33% เข้าร้านเสริมสวยลดลง 49% เข้าสปาหรือนวดแผนโบราณลดลง 29%
พฤติกรรมการทำกิจกรรมที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง หรือออกนอกบ้านที่ทำในชีวิตประจำวันลดลง โดยชอปปิ้งตามห้างสรรพสินค้าลดลง 29% ซึ่งพบว่าค่าเสื้อผ้าและของใช้ส่วนตัวลดลง 25% ดูดีวีดีและวีซีดีลดลง 34% ออกไปดื่มสังสรรค์รับประทานอาหารลดลง 40% เดินทางท่องเที่ยวในประเทศลดลง 32% ดูภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์ลดลง 46% ร้องเพลงคาราโอเกะลดลง 50% แต่สิ่งที่เพิ่มขึ้นถึง 21% คือการฟังเพลง ส่วนดูรายการโทรทัศน์ช่องธรรมดา 16% เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากนักและอยู่ภายในบ้าน ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการพักผ่อนและการสันทนาการลดลง 26%
“พฤติกรรมการใช้จ่ายภายใต้สภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันเปรียบเทียบกับ 12 เดือนที่ผ่านมา 71% ของคนกรุงเทพเห็นว่าค่าใช้จ่ายสูงขึ้นจากปัจจัยพื้นฐาน ได้แก่ อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้น 54% ค่าเดินทางเพิ่มขึ้น 58% และสาธารณูปโภคเพิ่มขึ้น 68% ค่าเลี้ยงดูพ่อแม่และบุตรเพิ่มขึ้น 42% ทำให้ผู้ที่ออมเงินอย่างน้อย 20% ของจำนวนรายได้ลดลง 15% และไม่มีเงินออมเลยสูงขึ้จาก 4% เป็น11%”ดร.ศศิวิมล กล่าวว่า
**คนกรุงสนใจการเมืองเพิ่มขึ้น**
ดร.ศศวิมล กล่าวว่า ผลของการเมืองที่เกิดขึ้นในช่วงไตรมาสแรก พบว่าคนกรุงเทพฯ ให้ความสำคัญการเมืองมากขึ้นถึง 66% เนื่องจากเกรงว่าการแตกแยกของสังคมอันเนื่องจากมาการเคลื่อนไหวอย่างชัดเจนของกลุ่มคัดค้านรัฐบาล สถานการณ์ทางการเมืองไม่แน่นอน เป็นปัญหาที่เชื่อมโยงกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ โดยพบว่าคนกรุงเทพฯเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยไปใช้สิทธิ์ในการเลือกตั้ง 88% ติดตามข่าวสาร 78% แสดงความคิดเห็นพูดคุยเรื่องการเมืองกับคนรอบข้าง 55%
สำหรับคุณลักษณะนักการเมืองที่อยากได้ มีความซื่อสัตย์สูงสุดถึง 70% แตกต่างจากการสำรวจเมื่อช่วง 5 ปีที่ผ่านมาที่ต้องการนักการเมือง มีความสามารถทางเศรษฐกิจมาบริหารประเทศ ส่วนความโปร่งใส 34% เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว 31% ใช้อำนาจในทางที่ถูกต้อง 27% ตามลำดับ
ส่วนสิ่งที่ปรารถนาให้ภาครัฐบาลจัดเตรียม 4 ประการ ได้แก่ ประการแรก สวัสดิการ/การครองชีพ 59% แบ่งเป็น สร้างงานรองรับคนที่จบใหม่/คนว่างงาน 13% ลดราคาสินค้าและค่าสาธารณูปโภค 11% ปรับปรุงเศรษฐกิจให้ดีขึ้น/มั่นคงมากขึ้น 8% ควบคุมราคาสินค้า/น้ำมันให้เหมาะสม 6% ประการสอง คุณภาพชีวิต/สาธารณูปโภค 18% แบ่งเป็น แก้ปัญหาจราจร 5% เพิ่มรถไฟฟ้าใต้ดิน/ลอยฟ้า 3% เป็นต้น ประการสาม การศึกษา 15% และประการสี่ การรักษาพยาบาล 7% ขณะที่สิ่งที่ต้องการในชีวิตคือมีความมั่นคงทางการเงินเพิ่มจาก 63% เป็น 65% มีความสบายในบั้นปลายชีวิตจาก 49% เป็น 58% มีกำลังใจที่ดีจาก 26% เพิ่มเป็น 39%
|
|
|
|
|