Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2539
จากทรัพย์ทวีสู่เอเซียไฟแนนซ์ในอุ้งมือของกลุ่มเอก             
 


   
search resources

เอเซียไฟแนนซ์
นรรัตน์ ลิ่มนรรัตน์
Financing




เมื่อเอ่ยชื่อบริษัทเงินทุนเอเซียไฟแนนซ์ (Asia Finance Corporation Ltd.) หลายคนคงไม่คุ้นเท่าชื่อบริษัทเงินทุนทรัพย์ทวีทรัสต์ หนึ่งในกลุ่ม บง. ที่อยู่ภายใต้โครงการ 4 เมษายน 2527 ของกระทรวงการคลัง โดยมีกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ดูแล และแก้ไขหลังจากที่บริษัทประสบภาวะวิกฤตทางการเงินอย่างรุนแรง ซึ่งก็เรียกกันติดปากมาจนถึงทุกวันนี้ว่า ทรัสต์ 4 เมษาฯ

ตลอดระยะเวลา 12 ปี กองทุนฟื้นฟูฯ สามารถพลิกฟื้นสถานะของ บง.ทรัพย์ทวีทรัสต์ จนมีความสามารถและศักยภาพที่จะดำเนินกิจการต่อไปได้ โดยในวันที่ 25 สิงหาคม 2538 ทางกองทุนฟื้นฟูฯ จึงได้จัดประกวดราคาประมูล บง.แห่งนี้ พร้อมกันกับ บง.เอกราวัณทรัสต์ อีกด้วย

ในครั้งนั้น กลุ่มเอกของ ปิ่น จักกะพาก โดยบริษัทหลักทรัพย์เอกเอเซีย (FAS) ได้เข้าร่วมประมูลครั้งนี้ด้วย ทว่าเป็นการประมูล บง.เอราวัณทรัสต์ มิใช่ บง.ทรัพย์ทวีทรัสต์ ด้วยราคาเสนอ 1.191 ล้านบาท แต่ก็ต้องพ่ายแพ้ให้แก่กลุ่มบริษัทดาราเหนือ ผู้ผลิตน้ำดื่มบรรจุขวดยี่ห้อโพลาลิสที่เสนอราคาเข้ามา 2 ซองด้วยกัน คือ ในราคาประมาณ 4,000 ล้านบาท และ 3,000 ล้านบาทตามลำดับ

ส่วน บง.ทรัพย์ทวีทรัสต์ ผู้ที่ชนะการประมูล คือ บริษัท แสงเอ็นเตอร์ไพรส์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด บริษัทโฮลดิ้งส์ในเครือหนังสือพิมพ์รายวันยักษ์ใหญ่เดลินิวส์ ผู้เสนอราคาเพียงรายเดียว ซึ่งเสนอไปในราคา 554.40 ล้านบาท หรือคิดเป็นหุ้นละ 168 บาท จากจำนวนหุ้นทั้งสิ้น 3,300,000 หุ้น โดยมีบริษัทเงินทุนเอกธนกิจ (FIN1) ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน หลังจากนั้น ในวันที่ 19 มกราคมที่ผ่านมา บริษัท แสงเอ็นเตอร์ไพรส์ ก็ได้รับโอนหุ้นจากกองทุนฟื้นฟู เพื่อนำบริษัทมาบริหารและดำเนินงานต่อไป

"ก่อนหน้าที่รับโอนหุ้นเข้ามาเมื่อวันที่ 19 มกราคม กลุ่มเอกซึ่งตอนนั้น บง.เอกธนกิจเป็นที่ปรึกษาทางการเงินให้กับกลุ่มแสงเอ็นเตอร์ไพรส์ ก็ได้เข้าไปคุยเจรจาเพื่อขอร่วมถือหุ้นใน บง.แห่งนี้ เราต้องทำให้เขามั่นใจว่า จะถือหุ้นในสัดส่วนเท่าไหร่ 90% หรือ 45% บริษัทก็เติบโตได้เหมือนกัน แต่การที่เขาถือหุ้นเพียง 45% จะช่วยให้เขาสามารถลดเงินทุนที่จะต้องจาย แต่ก็ได้ผลตอบแทนที่ดีกลับคืนมาเช่นกัน" นรรัตน์ ลิ่มนรรัตน์ ในฐานะกรรมการผู้อำนวยการบริษัท ที่ได้รับมอบหมายจาก บล.เอกเอเซีย ให้เข้ามาบริหาร บง.ใหม่แห่งนี้ หลังจากที่พลาดหวังการประมูลเอราวัณทรัสต์ โดยตัวเขาเป็นผู้เตรียมการทุกอย่างด้วยตัวเอง

ในที่สุด โครงสร้างผู้ถือหุ้นใหม่ของ บง.ทรัพย์ทวีทรัสต์ ก็ลงเองด้วยบริษัท แสงเอ็นเตอร์ไพรส์ คอร์ปอเรชั่น เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในสัดส่วน 45% ที่เหลือก็ได้แก่ กลุ่มบริษัทโอสถสภา จำกัด ที่ถือในนามส่วนตัวของสุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ 15%, บล.เอกเอเซีย 10%, กลุ่มถนอมบูรณ์เจริญ 10%, กลุ่มบริษัทบางกอกเคเบิ้ลของสมพงศ์ นครศรี 5%, กลุ่มกองบุญมา 5% บมจ.เอกโฮลดิ้ง 5% และบมจ.เอ็ม ดี เอ็กซ์ อีก 5% ซึ่งกลุ่มผู้ถือหุ้นทั้งหมดยกเว้นเฉพาะบริษัทแสงเอ็นเตอร์ไพรส์ ขณะนี้อยู่ในระหว่างการขออนุมัติจากธนาคารแห่งประเทศไทย

"เราติดต่อเจรจากันนานถึง 5 เดือนก่อนที่จะโอนหุ้นเข้ามาเมื่อวันที่ 19 มกราคมที่ผ่านมา"

ในบรรดากลุ่มผู้ถือหุ้นนอกเหนือจากกลุ่มแสงฯ ที่ถือหุ้นใหญ่แล้ว จะพบว่า กลุ่มที่ร่วมเข้าประมูลใน บง.เอราวัณทรัสต์ ร่วมกับกลุ่มเอก ซึ่งได้แก่ บล.เอกเอเซีย กลุ่มถนอมบุญเจริญ และบมจ.เอกโฮลดิ้ง เข้าถือหุ้นในสัดส่วน 25% ส่วนที่เหลือเป็นผู้ถือหุ้นที่เข้ามาทางกลุ่มเดลินิวส์ หรือแสงเอ็นเตอร์ไพรส์

เพื่อเป็นการล้างภาพพจน์จากบริษัทที่มีปัญหาด้านการเงินอย่างสาหัสจนถึงขั้นเกือบล้มละลาย ขึ้นมาเป็นบริษัทที่น่าเชื่อถือ และน่าไว้วางใจของลูกค้า ทางกลุ่มผู้ถือหุ้นจึงตัดสินใจเปลี่ยนชื่อใหม่ เป็นบริษัทเงินทุน เอเซียไฟแนนซ์ จำกัด หรือชื่อย่อ ๆ ว่า AF และย้ายที่ทำการจากย่านเยาวราชมาสู่ย่านธุรกิจใจกลางเมืองสาธร เมื่อ 12 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

ปัจจุบัน บง.เอเซียไฟแนนซ์ มีใบอนุญาตประกอบธุรกิจเงินทุนครบทั้ง 4 ใบ คือ กิจการเงินทุนเพื่อการพาณิชย์ กิจการเงินทุนเพื่อการพัฒนา กิจการเงินทุนเพื่อการจำหน่ายและบริโภค และกิจการเงินทุนเพื่อการเคหะ

เนื่องจาก บง.แห่งนี้ มีหนี้สะสมติดตัวมาด้วยเป็นจำนวน 675.80 ล้านบาท ดังนั้น การกำจัดหนี้ก้อนนี้ให้หมดสิ้นไปจึงเป็นภารกิจหลักของกรรมการผู้อำนวยการคนใหม่ ซึ่งก็ได้ใช้วิธีการเพิ่มทุนจดทะเบียนใหม่อีก 1,100 ล้านบาทจากเดิมที่มีอยู่เพียง 90 ล้านบาท ซึ่งในจำนวนนี้แยกเป็นทุนจดทะเบียน 800 ล้านบาท และส่วนล้ำมูลค่าหุ้น (Premium) 300 ล้านบาท ซึ่งเงินที่ได้มาจากส่วนล้ำมูลค่าหุ้นจำนวน 300 ล้านบาทนี้ ทางบริษัทได้นำมาใชหักยอดขาดทุนออกไป

นอกจากนี้ยังนำเงินที่ได้จากการลดมูลค่าหุ้นจากเดิมหุ้นละ 25 บาทเหลือเพียง 15 บาท จากจำนวนหุ้นทั้งหมด 35.60 ล้านหุ้น ซึ่งคิดเป็นเงินได้ 356 ล้านบาท มาใช้ลดยอดการขาดทุนได้อีกส่วนหนึ่ง สำหรับยอดขาดทุนที่ยังคงเหลืออีก 19.80 ล้านบาท ทางบริษัทได้นำเงินกำไรที่ไดจากการดำเนินงานปี 2539 มาใช้ลดยอดขาดทุนจำนวนนั้น อย่างไรก็ตาม นรรัตน์ เน้นย้ำว่า วิธีการดังกล่าวเป็นวิธีการทางบัญชีเท่านั้น

"เนื่องจาก บง.นี้มียอดขาดทุนสะสม 675.80 ล้านบาทติดมาด้วย ดังนั้น ในสัญญาจึงมีเงื่อนไขกำหนดให้สิทธิพิเศษไว้ คือ สามารถดำเนินธุรกิจหลักทรัพย์ได้ นอกจากนี้ ยังได้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) จำนวน 500 ล้านบาท ดอกเบี้ย 1% ระยะเวลา 2 ปีจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นการชดเชยด้วย ซึ่งหากเราตีมูลค่าใบอนุญาตที่ได้มาทั้งเงินทุนและหลักทรัพย์ 8 ใบ เราสามารถประหยัดเงินได้ถึง 450 ล้านบาท เพราะใบอนุญาตเงินทุนมีมูลค่า 150 ล้านบาท และใบอนุญาตหลักทรัพย์ 300 ล้านบาท ซึ่งก็เท่ากับว่าเรามาหนี้อยู่เพียง 50 ล้านบาทเท่านั้น" นรรัตน์ กล่าว ขณะที่ใจยังจดจ่ออยู่กับใบอนุญาตหลักทรัพย์ที่ทางกระทรวงการคลังจะต้องอนุมัติให้ทั้ง ๆ ที่เวลาได้ล่วงเลยไปถึง 2 รัฐมนตรี และผ่านการอนุมัติเบื้องต้นจาก ก.ล.ต. แล้ว ขณะที่ทางบริษัทได้เตรียมการทั้งในเรื่องบุคลากร สถานที่ ไว้พร้อมแล้ว และ บล.แห่งนี้ จะใช้ชื่อว่า AFCO

ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2539 AF มีสินทรัพย์รวม 3,109.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากยอดก่อนการเปลี่ยนโครงสร้างผู้ถือหุ้น (30 มิถุนายน 2538) ประมาณ 78% จากจำนวน 676.0 ล้านบาท และมีหนี้สินรวม 2,572.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดิม 1,202.2 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเงินฝาก ส่วนเงินกู้ยืมจากต่างประเทศมีเพียง 10 ล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น หรือประมาณ 250 ล้านบาท

สาเหตุที่สินทรัพย์ของบริษัทเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงมากนี้ ทางกรรมการผู้อำนวยการได้ชี้แจงว่า เป็นผลมาจากการเพิ่มทุนของบริษัทอีก 1,100 ล้านบาท และเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำที่ได้มาจากธนาคารแห่งประเทศไทยอีก 500 ล้านบาท

"ในปีนี้เราเป็น Net Lender เพราะเรามีเม็ดเงินใหม่ ๆ เข้ามาอีก 1,600 ล้านบาท"

สำหรับผลการดำเนินงานในรอบ 6 เดือนแรกของปี 2539 AF มีกำไรสุทธิ 23.9 ล้านบาท โดยมีรายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผลรวมจำนวน 126.0 ล้านบาท ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเป็นเงิน 21.9 ล้านบาท ส่วนเงินกองทุน ณ ปัจจุบัน นรรัตน์ เปิดเผยว่า บริษัทมีอยู่ประมาณ 600 ล้านบาท ขณะที่สำรองเผื่อหนี้สงสัยจะสูญมีประมาณ 40 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหนี้เก่าที่สะสมคั่งค้างมา

กรรมการผู้อำนวยการประมาณว่า ในีนี้บริษัทน่าจะสามารถทำกำไรได้ประมาณ 50-60 ล้านบาท และสินทรัพย์จะโตขึ้นถึง 5,000 ล้านบาท พร้อมทั้งมีเป้าหมายสูงสุดว่า ภายใน 3 ปี บริษัทจะสามารถขยายฐานสินทรัพย์โตถึง 10,000 ล้านบาท

"เราจะเน้นที่ฐานเงินฝากเป็นหลัก ปัจจุบันเรามีอยู่ 2,500 ล้านบาท และเราก็เพิ่งเริ่มปล่อยสินเชื่อออกไปเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมานี่เอง โดยลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นสถาบันการเงิน ในอนาคตเราจะเน้นลูกค้าที่เป็นทั้งบริษัทและบุคคลรายย่อย"

ในยามที่ภาวะเศรษฐกิจลุ่ม ๆ ดอน ๆ ข่าวลือ บง.หลายแห่งกำลังเข้าสู่จุดวิกฤติทางการเงินจนถึงขั้นล้มละลายแพร่สะพัดไปทั่ว บง.เอเซียไฟแนนซ์ ด้วยสมองและสองมือของนรรัตน์จะสามารถโอบอุ้มบริษัทฝ่าฟันไปได้อย่างไร เป็นเรื่องที่ท้าทายฝีมือกรรมการผู้อำนวยการท่านนี้เป็นอย่างยิ่ง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us