Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน24 เมษายน 2549
อสังหาฯไตรมาสแรกทรุด30% แนะจัดสรรปรับตัวพร้อมใส่เกียร์ถอย             
 


   
search resources

ประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต
Real Estate
สุนทร สถาพร




จับสัญญาณตลาดอสังหาฯ แค่ไตรมาสแรกลดฮวบเกือบ 30% คาดทั้งปี 49 ลด 20-25% ผู้เชี่ยวชาญเตือนจัดสรรปรับตัวเร็วพร้อมใส่เกียร์ถอยตลอดเวลา ระบุไม่ใช่ภาพการตกต่ำของอสังหาฯ แต่เป็นการปรับตัวเพื่อไม่ให้เกิดโอเวอร์ซัปพลาย ด้านบิ๊กพกฤษาแนะ ผู้ประกอบการเร่งระบายสต๊อกเก่าก่อนผลิตใหม่ ระวังกลยุทธ์แบบบ้านพร้อมโอนแบกต้นทุนสูงขึ้น ชี้ต้องคิดไว้ทำเร็วขายทันที

เมื่อพิจารณาจากผลการสำรวจโครงการที่อยู่อาศัยในไตรมาสแรกของปี2549 ของ บริษัท เอเจนซี่ ฟอร์เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส พบว่า มีจำนวนหน่วยลดลงประมาณ 25% ขณะที่จำนวนโครงการลดลง 27%โดยมีมูลค่าโครงการลดลงประมาณ 28% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2548 ในไตรมาสแรกของปี 2549 มีโครงการที่อยู่อาศัยเปิดตัวใหม่รวมทั้งสิ้น 80 โครงการ จำนวน 13,925 หน่วย รวมมูลค่า 35,827 ล้านบาท

ขณะที่ไตรมาสแรก ปี 2548 มีจำนวนโครงการที่อยู่อาศัยเปิดตัวใหม่รวม 110 โครงการ จำนวน 18,537 หน่วย มูลค่ารวม 52,487 ล้านบาท โดยเฉพาะในเดือนกุมพาพันธ์ที่จำนวนโครงการเปิดใหม่ลดลงค่อนข้างมาก

สาเหตุที่การเปิดโครงการใหม่ลดลง เป็นเพราะผู้ประกอบการได้ชะลอแผนการพัฒนาโครงการออกไป เนื่องจากยังไม่มีความมั่นใจในภาวะเศรษฐกิจ ทั้งเรื่องของราคาน้ำมันและดอกเบี้ย รวมถึงปัญหาการเมืองที่เกิดขึ้นในช่วงไตรมาสแรกประกอบกับผลกระทบดังกล่าว ทำให้ผู้ซื้อบ้านมีจำนวนลดลง ส่งผลให้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องเปิดโครงการลดลงไปด้วย

ทั้งนี้ หากพิจารณาย้อนหลังกลับไปดูการเปิดโครงการใหม่ในช่วงปี2547-2549 มีข้อน่าสังเกตคือ ในช่วงต้นปีจะมีการเปิดตัวโครงการมากเป็นพิเศษส่วนในช่วงอื่นๆ ของปีการเปิดโครงการใหม่และการเติบโตจะขึ้นอยู่กับมาตรการกระตุ้นและปัจจัยแวดล้อมในขณะนั้น โดยไม่มีสัญญาณบ่งชี้ที่แน่นอนว่าเดือนใดที่มีอัตราการขายดีที่สุด อย่างไรก็ตามในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาการเปิดโครงการใหม่ในช่วงต้นปีมีแนวโน้มลดลงและและสถิติตลอด 3 ปีที่ผ่านมา สามารถชี้ให้เห็นว่า เมื่อต้นปีมีการเปิดโครงการใหม่ลดลงสถานการณ์ตลอดทั้งปีจะลดลงไปด้วย โดยในปี 2549 คาดว่าโครงการเปิดใหม่ตลอดทั้งปีจะลดลงจากปีที่แล้ว 20% โดยมีมูลค่าโครงการลดลงประมาณ 25% ซึ่งแสดงถึงภาวะการชะลอตัวของธุรกิจอสังหาฯ แต่ไม่ใช่ภาวะที่ตกลงอย่างน่าตกใจเหมือนในช่วงวิกฤติในปี 2540

ภาวะดังกล่าว ผู้ประกอบการจะต้องระมัดระวังในการเปิดโครงการใหม่โดยคำนึงถึงรูปแบบและราคาที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าและควรต้องมีกิจกรรมการตลาดออกมากระตุ้นกำลังซื้อ ในส่วนของรัฐบาลควรเข้ามาให้ความคุ้มครองผู้บริโภคมากขึ้น เพื่อสร้างความมั่นใจในการซื้อ นอกจากนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยควรเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อทั้งสินเชื่อใหม่และเก่าของธนาคารพาณิชย์เพื่อป้องกันความเสี่ยง

แนะผู้ประกอบการพร้อมใส่เกียร์ถอย

นายสุนทร สถาพร กรรมการผู้จัดการ บริษัท เฉลิมนคร จำกัด ผู้พัฒนาโครงการแบรนด์บ้านสถาพร กล่าวว่า ปัจจุบันวัฏจักรของตลาดอสังหาฯ (ไซเคิล) มีวงจรที่สั้นมากประมาณ 3-4 ปี จากเดิมจะมีวงจรประมาณ 7-10 ปี ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องมีการปรับตัวที่เร็วทันกับสถานการณ์ หากเปรียบเทียบกับรถยนต์ ก็จะต้องใส่เกียร์ถอย หรือใช้เกียร์ต่ำได้ ซึ่งหากมองในแง่ดี การปรับตัวเร็วของผู้ประกอบการจะไม่ทำให้เกิดภาวะโอเวอร์ซัปพลาย และการปรับตัวดังกล่าวจึงไม่ใช้ความตกต่ำของอสังหาฯ

สำหรับในแง่ของผู้บริโภคมีความอ่อนไหวต่อสถานการณ์มาก ทำให้เกิดภาวะชะลอซื้อในบางทำเล ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องยอมรับว่า พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไป นอกจากนี้ยังมีปัจจัยลบด้านต้นทุนการก่อสร้างที่ปรับเพิ่ม ทำให้ราคาที่อยู่อาศัยขยับขึ้นตาม โดยเฉพาะโครงการอาคารสูง แต่ต้นทุนที่ปรับเพิ่มขึ้นดังกล่าว ไม่ได้สูงไปกว่าความต้องการมีที่อยู่อาศัยของประชาชน ดังนั้น ผู้ประกอบการจะต้องเลือกพัฒนาสินค้าให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค

ส่วนข้อกังวลในเรื่องของอัตราดอกเบี้ยนั้น เชื่อว่าไม่ใช้ปัญหาใหญ่ เพราะก่อนหน้านี้ แม้อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านเป็นตัวเลข 2 หลัก แต่บ้านก็ยังสามารถขายได้ แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือความกังวลของสถาบันการเงินจะส่งผลให้เข้มงวดต่อการปล่อยสินเชื่อ ซึ่งจะทำให้ขอสินเชื่อได้ยากมากขึ้น

นายสุนทรกล่าวต่อว่า สำหรับการเปิดการค้าเสรีจะทำให้ผู้ประกอบการไทยลำบาก เนื่องจากที่ผ่านมาต่างชาติเข้ามาซื้ออสังหาฯ ในไทยจำนวนมาก โดยเฉพาะตามหัวเมืองใหญ่ๆ เมืองท่องเที่ยว ทั้งที่ถูกต้องตามกฎหมายและไม่ถูกต้อง ซึ่งเมื่อเปิดการค้าเสรีนักลงเหล่านี้ก็จะสามารถนำที่ดินที่ซื้อไว้มาพัฒนาแข่งกับผู้ประกอบการไทย

หวั่นจัดสรรสำลักสต๊อกเก่าแนะเร่งระบายก่อนผลิตใหม่

ด้านนายประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานพัฒนาธุรกิจ บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า กำลังซื้อของผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงเร็วมาก จาก 3 ปัจจัยลบ ที่เกิดขึ้นพร้อมกันซึ่งนอกจากราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในช่วงขาขึ้นแล้ว ยังมีปัจจัยการเมืองเข้ามากดดันผู้บริโภคในปัจจุบันอีกด้วย

" ตอนนี้ไม่ต้องคิดว่าจะเติบโตแบบยั่งยืนยังไง แค่เอาตัวรอดในภาวะแบบนี้ให้ได้ก่อน ดอกเบี้ยล่าสุด เอ็มแอลอาร์อยู่ที่ 7.5% ราคาค่าน้ำมันตอนนี้ 71 ดอลล่า/บาล์เรล สูงสุดเป็นประวัติการณ์ แถมยังมีเรื่องการเมืองเข้ามาอีก ก่อนจะรอดกลัวว่าจะตายทั้งกลมก่อน ตอนนี้ถ้าคิดจะทำอะไรต้องคิดเร็วทำเร็ว ถ้าจะก็อปปี้ก็รีบทำภายใน 3-4 เดือน ตลาดไหนดีก็รีบเข้า เพราะถ้าช้าก็ไม่ทันตอนนี้ตลาดเปลี่ยนเร็วมาก" นายประเสริฐกล่าว

ทั้งนี้ ความสำเร็จของผู้ประกอบการอสังหาฯในปัจจุบัน ไม่ได้อยู่ที่ยอดขาย แต่อยู่ที่ยอดโอนบ้านให้ลูกค้า และความเร็วในการระบายสต็อกบ้านพร้อมอยู่ ซึ่งในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา กระแสบ้านพร้อมโอนมีการเปิดตัวกันจำนวนมาก เป็นผลให้มีบ้านพร้อมโอนค้างสต็อกมาถึงปัจจุบันจำนวนมาก ซึ่งในภาวะอัตราดอกเบี้ยเอ็มแอลอาร์ ของธนาคารพาณิชย์ในขณะนี้ที่ 7.5% จะทำให้ในแต่ละเดือนผู้ประกอบการจะต้องแบกรับภาระดอกเบี้ยต้นทุนประมาณ 0.5-0.6% ของราคาขาย ดังนั้นจะต้องเร่งระบายสต๊อกเก่าให้หมดไป

สำหรับกลยุทธ์การตลาดเพื่อการปรับตัวในภาวะปัจจุบันของผู้ประกอบการ ซึ่งแนวทางที่ดีที่สุดคือ การทำการตลาดร่วมกับธนาคาร เพื่อเอื้ออำนวยให้ลูกค้าได้รับสินเชื่อและโอนบ้านได้ง่ายขึ้น ประกอบกับปัจจุบันหลายธนาคารก็ค่อนข้างสนับสนุนงบการตลาดให้กับโครงการอสังหาฯ ซึ่งถือเป็นการให้ประโยชน์กับทั้งสองฝ่าย

อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญอีกประการคือการเร่งโอนให้เร็วที่สุด เพราะในส่วนของบริษัทพฤกษาฯ เอง แม้ว่าจะมีการปรับตัว จากเดิมโอนบ้านได้ภายใน 10 เดือนมาเป็น 4.5 เดือน มีอัตราการคืนอยู่ที่ระดับ 14% หากผู้ประกอบการที่ใช้กลยุทธ์ผ่อนดาวน์ระยะยาว หรือใช้เวลาก่อสร้างนานในภาวะเช่นนี้ จะยิ่งมีอัตราการคืนที่สูงกว่า ดังนั้นผู้ประกอบการต้องสร้างเร็วโอนเร็ว

"สิ้นปี 2549 แคมเปญอัตราดอกเบี้ยคงที่ ที่แบงก์ให้ลูกค้าเมื่อ 2-3 ปีก่อน จะหมดไป หลังจากนี้จะเข้าสู่อัตราดอกเบี้ยลอยตัว เท่ากับว่า ภาระลูกค้าเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นภาระกดดันแบงก์ทำให้หันไปเข้มงวดการปล่อยสินเชื่อรายใหม่ และต้องจับตาดูว่าแบงก์จะมีแพ็คเกจแคมเปญออกมารองรับลูกค้ากลุ่มนี้อย่างไร" นายประเสริฐ กล่าว

นายประเสริฐ กล่าวต่อว่า สิ่งที่จะเกิดขึ้นและเห็นชัดเจนในกาปล่อยสินเชื่อเพื่ออยู่อาศัยของธนาคารจะมีความ เข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อใหม่ มีการตรวจสอบรายละเอียด และจากภาวะกดดันที่เกิดจากปัจจัยลบต่างๆ

แบงก์จะเพิ่มแรงกดดันให้ผู้ประกอบการรายเล็กเร่งระบายสต็อกมากขึ้น และด้วยคุณภาพที่ลดลงของลูกค้าทำให้กู้แบงก์ไม่ผ่าน ผลที่ตามมาต่อเนื่องก็คือ ทำให้ผู้ประกอบการต้องนำบ้านที่ขายไปแล้วกลับมาขายใหม่อีกครั้ง

ทุนใหม่มาเลเซีย-สิงคโปร์หลังเปิดFTA

นายเลิศมงคล วราเวณุชย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายการเงินและพัฒนาธุรกิจ บริษัท รสา พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การที่ผู้ประกอบการอสังหาฯจะดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืนนั้นจำเป็นต้องพิจารณาองค์ประกอบอื่นๆด้วย ซึ่งจะต้องบริหารงานให้สอดคล้องกัน ทั้งการผลิต การก่อสร้าง และการเงิน ในส่วนของการตลาดนั้นผู้ประกอบการคงต้องพิจารณา สภาพแวดล้อมทั้งในระดับประเทศและระดับโลกที่ส่งผลกับตลาดอสังหาฯ โดยเฉพาะ FTA ซึ่งมีการเจราจาแบบทวิภาคี ซึ่งไทยเซ็นกับจีนไปแล้ว และกำลังจะเซ็นกับญี่ปุ่น ผลกระทบกับธุรกิจอสังหาฯ คือ เมื่อภาษีเป็น 0% จะทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายการลงทุน

กล่าวคือ ตลาดการลงทุนจะใหญ่มากขึ้น รวมทั้งตลาดในภูมิภาคอาเซียนจะมี มูลค่าการซื้อขาย(Volume Trade) มากขึ้นด้วย และจะเห็นภาพของนักลงทุนจากสิงคโปร์ที่เข้ามาในรูปของรัฐวิสาหกิจและมาเลเซียที่เข้ามาในรูปของเอกชน โดยทั้งสองประเทศจะเข้ามาในรูปของผู้พัฒนาและผู้ซื้อ ซึ่งในอนาคตนักลงทุนจาก 2 ประเทศนี้จะเข้ามามีบทบาทในธุรกิจอสังหาฯ ของไทยมากขึ้น

นอกจากนี้ โครงสร้างประชากร ภายในประเทศที่เปลี่ยนไป เป็นปัจจัยแวดล้อมที่ผู้ประกอบการต้องนำมาประกอบในการทำธุรกิจ คือตั้งแต่ปี 2543 พบว่าครอบครัวไทยมีขนาดเล็กลง ทำให้การดีไซน์บ้าน จำนวนห้องนอน จำนวนที่จอดรถ ขนาดห้องครัวต้องมีขนาดเล็กลงตามไปด้วย อีกทั้งอายุของประชากรยังเปลี่ยนไปด้วย โดยไทยมีประชากร 66 ล้านคน มีผู้สูงอายุ 10% หรือประมาณ 7.2 ล้านคน ซึ่งหมายความว่า การออกแบบบ้านจะต้องอิงกับคนกลุ่มนี้ด้วย ซึ่งรสนิยมของผู้บริโภคกลุ่มนี้ต้องการบ้านที่มีขนาดเล็ก และไม่ต้องการความหวือหวาในการออกแบบมากนัก

ส่วนเรื่องของการเงิน ในภาพรวมผลกระทบเรื่องอัตราดอกเบี้ยที่ขณะนี้อยู่ที่ประมาณ 4% ทำให้อสังหาฯ ที่แม้ส่วนใหญ่ประมาณ 90% จะเป็นที่อยู่อาศัย แต่อสังหาฯ ประเภทโรงงานอุตสาหกรรมและอาคารสำนักงานจะได้รับผลกระทบเรื่องอัตราดอกเบี้ยค่อนข้างมาก เนื่องจากเป็นธุรกิจที่ลงทุนในระยะยาว ส่วนเรื่องการไหลเข้าของเงินทุนจากต่างประเทศ ซึ่งเป็นเรื่องของดีมานด์-ซัปพลายล้วนส่งผลต่อธุรกิจอสังหาฯ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us