Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน24 เมษายน 2549
อิตัลไทยทุ่ม4พันล.ฮุบโปแตซอุดร             
 


   
www resources

โฮมเพจ อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์

   
search resources

อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเม้นต์, บมจ.
Mining




“อิตัลไทย” ทุนการเมืองฟากรัฐบาล ฮุบโครงการเมกะโปรเจกต์ ล่าสุดเข้าซื้อ"โปแตซอุดร" แบบยกล็อตของบริษัท เอพีพีซี 90% มูลค่า 4,000 ล้านบาท ด้าน “เอ็นจีโอ” อัด “สุริยะ” ทำอัปยศซ้ำหนองงูเห่าดันอิตัลไทยกินรวบสัมปทานโปแตซทั่วภูมิภาค - กวาดโมกะโปเจกต์น้ำทั้งอีสาน สับเหละทำแบบนี้กระทบภาพลักษณ์การลงทุนจากต่างชาติ

แหล่งข่าวจากวงการอุตสาหกรรมเหมืองแร่เปิดเผยว่า บริษัท อิตาเลียน ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด(มหาชน) หรือ ITD ได้เข้าไปซื้อกิจการในบริษัท เอเซีย แปซิฟิค โปรแตซ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (เอพีพีซี) โดยจะกลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในสัดส่วนถึง 90% ขณะที่กระทรวงการคลังยังคงถือหุ้นในสัดส่วน 10%ตามเดิม ซึ่งการเข้าไปเทกโอเวอร์บริษัทครั้งนี้ จะใช้เงินลงทุนประมาณ 4,000 ล้านบาท ทั้งนี้ ก่อนหน้าการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้น นักลงทุนประเทศแคนาดา เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 75% กระทรวงการคลัง 10% และบริษัทย่อยที่เป็นบริษัทคนไทยถืออยู่ 15% มีนายจอห์น โบวาร์ด เป็นผู้มีอำนาจทำการแทนกิจการ

สำหรับสาเหตุหลัก ที่กลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ชาวแคนาดา ขายหุ้นยกล็อดให้แก่บริษัทอิตัลไทย เนื่องจากกังวลและไม่มั่นใจนโยบายของรัฐที่ไม่มีความชัดเจนในการสนับสนุนโครงการเหมืองแร่โปแตซที่จังหวัดอุดรธานี รวมถึงกลไกสำคัญของรัฐสำคัญ เช่น จังหวัด กระทรวงอุตสาหกรรม และนโยบายของรัฐไม่ให้การสนับสนุน โดยเฉพาะปัญหาสำคัญคือ ปัญหามวลชนที่ประชาชนในพื้นที่คัดค้าน

" นักลงทุนชาวแคนาดาได้ทุ่มเงินลงทุนไปจำนวนมาก แต่ยังไม่ได้รับความชัดเจนว่าจะได้รับประทานบัตร และนโยบายรัฐบาลไม่มีความชัดเจนที่จะลงมาเป็นคนกลางในการแก้ปัญหามวลชนในพื้นที่ ทำให้นักลงทุนรู้สึกหวั่นเกรงท้อใจ ซึ่งในอนาคตต่อไปกลุ่มชาวบ้าน กลุ่มเอ็นจีโอก็ต้องไปต่อสู้กับคนไทยด้วยกันเองก็แล้วกัน จะได้ไม่มาว่าขายชาติ แต่กลายเป็นคนไทยกับสู้กันเอง เป็นเกมใหม่ที่พวกชาวบ้านและเอ็นจีโอต้องไปเล่นกัน”

แหล่งข่าวรายเดิมกล่าวให้เห็นถึงปัญหาในระยะยาวว่า การเทกโอเวอร์ของบริษัทอิลตัลไทยในครั้งนี้ จะกระทบต่อภาพลักษณ์การลงทุนจากต่างประเทศอย่างแน่นอน เพราะต่อไปจะมีนักลงทุนที่ไหนจะเข้ามาร่วมลงทุนในประเทศไทย เนื่องจากไม่ได้รับความเชื่อมั่น โครงการนี้ตั้งแต่เริ่มโดยรัฐบาลพยายามจูงใจและส่งเสริมสนับสนุนมาโดยตลอดให้ต่างชาติเข้ามาลงทุน แต่พอโครงการจะเริ่มเดินหน้า มาติดปัญหาการคัดค้านของประชาชนในพื้นที่ ทางภาครัฐกลับไม่ลงมาเป็นคนกลางในการแก้ปัญหา พยายามโยนให้บริษัทเข้าไปแก้ปัญหาอย่างเดียว กลับถูกมองว่าบริษัทเข้าไปมีผลประโยชน์ มุบมิบกับนักการเมือง และข้าราชการในกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ถูกโยงให้กลายเป็นประเด็นการเมืองไป

“ ต่อไปใครจะกล้ามาลงทุนล่ะ เป็นอย่างนี้ก็คงไปร้องคัดค้านกันทั้งประเทศ ถ้าต่างชาติมาลงทุนในไทยทั้งที่รัฐบาลเป็นคนเชิญชวนมาเอง แปลกทำไมไม่ไปร้องเรื่องบริษัท ปตท. บ้างที่ต่างชาติเข้ามาขุดก๊าซในอ่าวไทย ดังนั้น นโยบายรัฐต้องชัดเจนต้องลงมาทำความเข้าใจกับประชาชนไม่ใช่ปล่อยให้คลุมเคลือไม่ยอมตัดสินอะไรสักอย่าง ตั้งแต่ ระดับนายกฯ รัฐมนตรี ข้าราชการ หรือระดับจังหวัด” แหล่งข่าวรายเดิมกล่าว

อย่างไรก็ตามเมื่อวันที่ 21 เม.ย.ที่ผ่านมา ที่โรงแรมอินทรา รีเจนท์ สภาการเหมืองแร่แห่งประเทศได้ ยกเลิกการประชุมสัมมนา “โปแตซ กับการพัฒนาของประเทศไทย” โดยอ้างถึงความปลอดภัย เนื่องจากมีกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี ที่มาปักหลักชุมนุมคัดค้านโครงการก่อสร้างเหมืองแร่โปแตซ ของบริษัทเอพีพีซี หน้าโรงแรมที่เป็นสถานที่จัดประชุม กว่า 100 คน ต่างสวมเสื้อสีเขียว พร้อมชูธง ป้าย พร้อมแจกเอกสารข้อมูลผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม วิถีชีวิต และความเป็นอยู่ของชาวบ้านต่อประชาชนบริเวณถนนราชปรารภ พร้อมชูป้ายระบุข้อความคัดค้านต่อต้านโครงการว่า “ คนอุดรไม่เอาเหมืองแร่” “หยุดทำเหมืองแร่ที่อุดรฯ” และ “การพัฒนาต้องมาจากประชาชน” จากนั้นจึงเดินทางต่อไปยังกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อยื่นหนังสือต่อ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รักษาการรองนายกฯ และรมต.อุตสาหกรรม และ นายอนุสรณ์ เนื่องผลมาก อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) ให้ยุติเดินหน้าโครงการเหมืองแร่โปแตซที่อุดรธานี

**อัดอิตัลไทยกินรวบ"สัมปทานอัปยศ"

ด้านนายเลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ ผู้ประสานงาน กลุ่มนิเวศวัฒนธรรมศึกษา กล่าวถึงการเทกโอเวอร์ของอิตัลไทย เป็นเรื่องที่น่าวิตก จากกรณีสินบนซีทีเอ็กซ์ สนามบินหนองงูเห่า จะเห็นได้ว่าอิตัลไทยไม่ได้เป็นบรรษัทภิบาลที่ดีเลย คือ ไม่มีการเปิดเผยข้อมูลที่ดีและโปร่งใส และนายสุริยะสมัยเป็นรัฐมนตรีคมนาคมในช่วงเวลานั้น มอบงานประมูลการก่อสร้างในสนามบินหนองงูเห่าให้กับอิตัลไทยเกือบทั้งหมด กวาดงานไปแต่เพียงบริษัทเดียวมูลค่ากว่า 70,000 ล้านบาท จากงบทั้งหมด 88,000 ล้านบาท มาในช่วงปัจจุบันที่รักษาการ รมว.อุตสาหกรรม ก็มีการหมกเม็ดประชุมสภาการเหมืองแร่เมื่อวานนี้ เนื้อหาสาระก็คือจะประกาศให้สภาการเหมืองแร่รับรู้ว่าเหมืองแร่โปแตชอุดรฯได้เปลี่ยนผู้ถือหุ้นจากบริษัทแม่แคนาดามาเป็นบริษัทอิตัลไทย และให้สภาการเหมืองแร่ช่วยกันสนับสนุนและผลักดัน

"การเปลี่ยนผู้ถือหุ้นแบบครอบครองกิจการครั้งนี้ของอิตัลไทย ท่าจะให้ดีน่าจะยกเลิกสัญญาฯที่คนอุดรและคนไทยถูกกดขี่และเสียเปรียบนั้นเสียด้วย เพราะไม่เช่นนั้นก็เพียงเปลี่ยนแปลงผู้กดขี่เป็นคนใหม่เท่านั้น" นายเลิศศักดิ์ กล่าว

**ขยายฐานโปแตซทั่วภูมิภาค-ฮุบเมกะโปรเจกต์น้ำ

นายเลิศศักดิ์ กล่าวต่อว่าบริษัทอิตัลไทยไม่ได้ต้องการเพียงเหมืองโปแตชอุดรธานีเท่านั้น สิ่งที่เขาต้องการยิ่งกว่าก็คือการวางแผนการพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเนื่องในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงต่างหาก นั่นคือ ยังมีแร่โปแตชอีกหลายแหล่งในภาคอีสานรวมทั้งแร่ชนิดอื่นๆด้วย รวมถึงการขยายฐานการทำเหมืองแร่ในลาวและประเทศอื่นๆในน้ำโขงด้วย และอิตัลไทยต้องการพัฒนาอุตสาหกรรมหลากหลายด้าน เพื่อให้ได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับการได้รับสัมปทานรับเหมาก่อสร้างในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น การผันน้ำงึมและน้ำโขงเชื่อมต่อระบบท่อในโครงการเมกะโปรเจ็กต์ผันน้ำระบบท่อ หรือ Water Grid อย่างที่เหมืองโปแตชอุดรก็วางแผนไว้ชัดเจนว่าจะต่อท่อน้ำที่ผันน้ำมาจากลาวเอามาใช้ในโครงการนี้ รวมถึงอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ใช้โปแตชและเกลือเป็นวัตถุดิบด้วย

“ ดังนั้น บริบทของคนอุดรฯจะเปลี่ยนไป นั่นคือ เมื่อก่อนตั้งคำถามมากมายเกี่ยวกับเรื่องผลกระทบจากโปแตชเท่านั้น แต่ตอนนี้คงต้องตั้งคำถามความหวั่นวิตกกังวลต่างๆเกี่ยวกับผลกระทบจากอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากเหมืองแร่โปแตชเพิ่มขึ้นด้วย นั่นคือผลกระทบด้านต่างๆจากอุตสาหกรรมต่อเนื่องจะรุนแรงและกว้างขวางมากกว่าหลายเท่าตัว" นายเลิศศักดิ์ กล่าว

รายงานแจ้งว่าอุตสาหกรรมการทำเหมืองแร่ถือเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้มหาศาล เพราะปัจจุบันประเทศไทยต้องนำเข้าแร่โปแตซจากต่างประเทศประมาณปีละ 4 – 5 แสนตัน ราคาตันละ 200 ดอล์ล่าสหรัฐ ซึ่งประเทศไทยนำเข้าปีละเป็นหมื่นๆล้านบาทโดยเฉพาะโครงการเหมืองแร่โปรแตซที่อุดรฯ ถือว่าเป็นเหมืองแร่โปแตซชั้นดีที่สุดอันดับโลก ทั้งคุณภาพและปริมาณ ที่มีอยู่กว่าแสนตัน

อนึ่ง บริษัทอิตาเลียนไทย ถือเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ในวงการรับเหมาก่อสร้างของไทย ซึ่งได้รับงานก่อสร้างขนาดใหญ่ ไม่ว่าก่อสร้างโครงการสนามบินสุวรรณภูมิ โครงการก่อสร้างบ้านเอื้ออาทรแบบเบ็ดเสร็จกับการเคหะแห่งชาติ(กคช.)มูลค่า 42,000 ล้านบาท เพื่อผลิตบ้านเอื้ออาทรจำนวน 1 แสนหน่วย ล่าสุดเตรียมเซ็นสัญญารับเหมาก่อสร้างโครงการศูนย์ราชการ ถนนแจ้งวัฒนะกับกรมธนารักษ์ หากคณะรัฐมนตรี(รักษาการ) ตัดสินใจ ซึ่งอิตัลไทยจะรับผิดชอบก่อสร้างในส่วนของโครงการที่ 2 ในสัญญาก่อสร้างที่ 3 การก่อสร้าง อาคาร บี พร้อมลานรอบอาคาร มูลค่าราคากลาง 7,355 ล้านบาท เป็นต้น

**ปัดไม่ใช่นอมินีทุนการเมือง

ด้านนายประพันธ์ อัศวอารี ประธานกรรมการบริหาร บริษัท บริษัท เอเซีย แปซิฟิค โปรแตซ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (เอพีพีซี) กล่าวตอบโต้กลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชน (เอ็นจีโอ) ที่กล่าวหาว่าตนเป็นนอมินีทุนรัฐบาลทักษิณ เปรียบว่าตัวเองเป็นเหยียน ปิน 2 นั้นไม่เป็นความจริง เพราะตนไม่ได้เป็นตัวแทนของนักการเมืองเข้ามาเป็นผู้บริหารแล้วจะแสวงหาผลประโยชน์ เพราะบริษัทเอพีพีซีเป็นบริษัทที่นักลงทุนต่างชาติคือประเทศแคนาดาถือหุ้นอยู่ 75% จึงไม่ทราบว่าออกมาพูดอย่างนี้ได้อย่างไร และที่สำคัญไม่ต้องการให้โยงเรื่องนี้เป็นประเด็นการเมือง แต่เป็นเรื่องการทำธุรกิจไม่มีความเกี่ยวข้องกับการเมือง หรือนักการเมืองเลย เพราะกระทรวงการคลังถือหุ้น 10% บริษัทไทย 15% และนักลงทุนแคนาดา 75% เป็นนักลงทุนต่างชาติ จึงไม่ใช่นักการเมืองส่งมาเป็นตัวแทนนอมินีอะไรทั้งนั้น

“หลังจากนี้บริษัทคงไม่ทำอะไรมาก จะเดินหน้าโครงการไปเรื่อยๆ เพราะเราลงทุนไปแล้วกว่า 3,000 ล้านบาท แต่เหมืองยังไม่เสร็จ แม้คนระดับรัฐมนตรี ข้าราชการทุกคนรู้ข้อมูลดี แต่ระดับนโยบายไม่ชัดเจน ไม่ลงมาเป็นคนกลางทำความเข้าใจกับประชาชน” ซีอีโอ บริษัทเอพีพีซี กล่าว

นายประพันธ์ กล่าวอีกว่า ทางบริษัทเอพีพีซี ไม่ได้ไม่สนใจปัญหาทางสิ่งแวดล้อม หรือผลศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) แต่ติดปัญหาอยู่ตรงที่การจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA)ยังมีเงื่อนไข ขั้นตอนอีกหลายอย่างและต้องใช้เวลา ยืนยันไม่ได้มีกระบวนการรัดขั้นตอน มีข้อมูลสามารถชี้แจงประเด็นผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมได้ทุกประเด็น เช่น ดินทรุด หรือประเด็นอื่นๆ ที่ชาวบ้านกังวล แต่ชาวบ้าน และองค์กรพัฒนาเอกชน ไม่ยอมรับฟัง แม้เปิดเวทีสาธารณะให้ก็ไม่ยอมเข้าร่วมรับฟัง หรือที่มีข่าวลือว่าวันนี้จะมีการซูเอี๋ยกันระหว่างบริษัท กับ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมต.อุตสาหกรรม ที่ยังเป็นแค่รัฐมนตรีรักษาการ จึงทำอย่างนั้นไม่ได้ แม้ที่ผ่านมาจะมีข้อมูลข้อเท็จจริงทุกอย่าง ของเรื่องการขอประทานบัตร บริษัทควรจะได้รับประทานบัตรเมื่อ 2 ปีก่อนแล้วด้วยซ้ำ แต่ยังไม่ได้ เพราะกลไกต่างๆของภาครัฐไม่ให้ความร่วมมือจากระดับจังหวัด กระทรวงอุตสาหกรรม และข้าราชการของรัฐ ที่ต้องให้ความสะดวกในการดำเนินการ

“เขมร ลาว พัฒนาไปถึงไหน มีการทำเหมืองแร่กันไปไกลถึงไหนแล้ว แต่ถามว่าวันนี้ทำไมกลุ่มเอ็นจีโอ ยังคัดค้านกันอยู่ทำแบบนี้เพื่ออะไร ยิ่งค้านยืดยื้อยาวนานก็จะได้ผลประโยชน์อะไร ถามว่ารับเงินต่างชาติมาหรือเปล่า ส่วนชาวบ้านที่ออกมาคัดค้านเมื่อก่อนก็เป็นนายหน้าค่าที่ดินกับบริษัทมาก่อน แต่พอขายที่ดินไม่ได้ก็เลยออกมาคัดค้าน พูดชี้แจงอย่างไรก็ไม่ฟัง แถมรัฐบาลก็ไม่ลงมาทำความเข้าใจชาวบ้านแล้วชวนต่างชาติมาลงทุนทำไม” นายประพันธ์ กล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us