Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2539
"มาลีนนท์ ตลาดหุ้นจะพลิกโฉมทีวี ?"             
โดย สมสมัย ศักดาวัฒนานนท์
 

   
related stories

"เรตติ้งสวนทาง"
"พล.ท. แป้ง มาลากุล ณ อยุธยา "ถ้าเราไม่กล้าตัดสินใจ…เราก็จะอยู่ไม่ได้"

   
www resources

โฮมเพจ สถานีโทรทัศน์ช่อง 3
โฮมเพจ บีอีซี เวิลด์

   
search resources

บีอีซี เวิลด์, บมจ.
สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 อ.ส.ม.ท.
ประวิทย์ มาลีนนท์
Stock Exchange
TV




สถานีโทรทัศน์สีช่อง 3 เป็นสถานีโทรทัศน์เพียงช่องเดียวในเวลานี้ ที่เข้าไประดมเงินทุนจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

การเข้าระดมเงินทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ของช่อง 3 ไม่ได้ทำในนามของบริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ ซึ่งเป็นผู้รับสัมปทานแพร่ภาพโทรทัศน์ จาก อ.ส.ม.ท. อันเป็นธุรกิจหลัก หากแต่ใช้วิธีการจัดตั้งบริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) ขึ้นเป็นโฮลดิ้ง คอมปานี ถือหุ้นในบริษัทบางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ และบริษัทในเครือทั้งหมดเป็นบริษัทที่เข้าไประดมเงินทุนจากตลาดหลักทรัพย์ฯ

ช่อง 3 เป็นสถานีโทรทัศน์ ที่ดำเนินงานโดยตระกูล "มาลีนนท์" มาโดยตลอด จากรุ่นพ่อ คือวิชัย มาลีนนท์ ผู้ก่อตั้งที่ต้องฟันฝ่าวิกฤตการณ์ด้านการเงิน จนเกือบล้มละลายจนมาได้แบงก์กรุงเทพฯ ช่วยชีวิต และได้ต่ออายุสัมปทานจาก อ.ส.ม.ท.ไปอีก 20 ปี

ในเวลาเดียวกันช่อง 3 ต้องเผชิญกับอุปสรรคนานาประการ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องคลื่นส่ง ทำให้ภาพไม่คมชัด ซึ่งช่อง 3 ต้องแก้ไขปัญหาด้านนี้มาตลอดจนทุเลาลง

จนมาถึงรุ่นลูก "ประสาร-ประวิทย์-ประชา" ทายาทหนุ่มทั้งสาม ซึ่งเป็นเรี่ยวแรงสำคัญที่ทำให้ช่อง 3 ผ่านพ้นวิกฤตการณ์มาได้ และยืนหยัดมาจนทุกวันนี้

ปัจจุบันการดำเนินงานทั้งหมดของช่อง 3 จะอยู่ภายใต้การบริหารของทายาททั้งสี่ประสาร ลูกคนโต รับผิดชอบดูแลเรื่องการเงิน ค่าใช้จ่ายของสถานีทั้งหมดมาตลอดนิสัยของประสารไม่ใช่คนช่างพูด

ประวิทย์ บุตรชายคนรอง ทำหน้าที่วางแผนในด้านต่าง ๆ ของช่อง 3 และด้วยบุคลิกที่ยิ้มแย้มดูเป็นมิตร ประวิทย์ ยังทำหน้าที่ติดต่อประสานงานกับผู้ใหญ่ หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง

ส่วนประชา ลูกชายคนที่สามจะทำหน้าที่สานงานต่อจากประวิทย์ รับผิดชอบงานทางด้านข่าว รายการ และสตูดิโอ นิสัยของประชาจะเน้นไปในเรื่องการสร้างความแปลกใหม่ นิสัยของประชาเป็นที่รู้กันว่า กล้าได้กล้าเสีย ใจถึง เมื่อทำอะไรแล้วต้องทำให้ยิ่งใหญ่ มีหลายโครงการที่ประชาเป็นผู้ริเริ่มไม่ว่าจะเป็นการทำค่ายเทป วิทยุ เคเบิลทีวี แซทเทิ่ลไลท์ทีวี ประชาเป็นที่รู้จักกับบุคคลภายนอกมากกว่าพี่ชายทั้งสอง และล่าสุดประชายังได้รับแต่งตั้งให้เป็นวุฒิสมาชิก

ประชุม บุตรชายคนสุดท้อง ที่เข้ามารับผิดชอบธุรกิจใหม่ ๆ ของช่อง 3 และเรียนรู้งานจากพี่ ๆ ทั้งสาม

แม้ว่า ตามธรรมเนียมจีนแล้ว ประสารในฐานะที่เป็นลูกชายคนโตจะเป็นทายาทสืบตระกูลและสืบทอดธุรกิจ แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่มีอะไรเด่นชัด บทบาทส่วนใหญ่จะอยู่ที่ประชา

แม้ว่าการเข้ามาของแบงก์กรุงเทพฯ จะทำให้ประชาต้องขยับขยายไปทำธุรกิจอื่น ด้วยการหันไปจัดตั้งบริษัทแรดิแอด ทำห้องบันทึกเสียง จัดตั้งบริษัทบริษัทยูแอนด์ไอ คอร์ปอเรชั่น ทำรายการวิทยุ บริษัทเอสพี ผลิตนักร้องในสังกัดช่อง 3และทำธุรกิจที่ดินในนามชัยพัฒน์ แต่ไม่นานมานี้ประชาก็กลับมาในช่อง 3 อีกครั้งอย่างเต็มตัว หลังจากธุรกิจที่เขาไปทำมามีทั้งประสบความสำเร็จ และล้มเหลว

ประวิทย์ ชี้แจงกับ "ผู้จัดการ" ถึงการแบ่งหน้าที่การรับผิดชอบว่า ไม่มีการกำหนดภาระหน้าที่ตายตัวว่าใครจะต้องรับผิดชอบอะไร แล้วแต่ว่าใครอยากทำหน้าที่อะไรช่วงไหน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของข่าว และรายการ

การผสมผสานความสามารถของพี่น้องทั้งสี่ ทำให้ช่อง 3 ในวันนี้ พ้นวิกฤตการเงิน และกลายเป็นอันดับ 2 ในธุรกิจฟรีทีวี จุดโดดเด่นของช่อง 3 คือ ละคร และภาพยนตร์ต่างประเทศ ซึ่งช่อง 3 ทุ่มเทเงินทุนไปจำนวนมาก และกลายเป็นเอกลักษณ์ของช่อง 3 ไม่ว่าจะเป็นเปาบุ้นจิ้น หรือกระบี่ไร้เทียมทาน

ละครของช่อง 3 จะใช้วิธีจ้างผู้จัดละครที่เป็นบุคคลซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นอดีตดาราในสังกัด เช่น มยุรฉัตร, วรายุทธ, ก้อย, มยุรา โดยช่อง 3 จะเป็นผู้ออกเงินทุนให้ และแบ่งรายได้

มยุรฉัตร เหมือนประสิทธิเวช ผู้จัดละครให้กับช่อง 3 มาสิบกว่าปี เล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟังว่า ช่อง 3 จะให้อิสระในเรื่องของการคัดเลือกเรื่อง หรือ ดารา จะเข้าไปมีส่วนออกความเห็นบ้างเล็กน้อย ทำให้เกิดความสบายใจในการทำงาน

"ยอมรับว่า ผู้บริหารของช่อง 3 ให้โอกาสมาก ไม่เข้ามาก้าวก่าย ซึ่งทำให้เราทำงานได้เต็มที่"

เมื่อเร็ว ๆ นี้ช่อง 3 ได้ปรับผังรายการใหม่ ด้วยการขยายช่วงเวลาไพรม์ไทม์ให้มากขึ้น ซึ่งประวิทย์ เคยให้สัมภาษณ์ว่า ช่วงไพรม์ไทม์ของช่อง 3 จะเริ่มตั้งแต่ 17.00 น.-23.00 น. คาดว่าในอนาคตช่วงไพรม์ไทม์จะขยายลงมาถึง 16.00-24.00 น.

ผังรายการใหม่ของช่อง 3 ได้ถูกปรับเปลี่ยนจากเดิมที่เสนอข่าวภาคค่ำในเวลา 18.45-20.25 น. เปลี่ยนเป็น 2 ช่วงคือ ช่วง 18.00 น.-18.45 น. และ 20.00 น.-20.25 น. ส่วนเวลา 18.45-19.45 น. จะเป็นภาพยนต์

ประวิทย์ให้เหตุผลถึงการเปลี่ยนแปลงในลักษณะนี้ว่าเนื่องจากทุกช่องมีการเปลี่ยนแปลงเวลาเสนอข่าวเร็วขึ้น เพื่อหลีกหนีการแข่งขัน การปรับผังรายการครั้งนี้ช่อง 3 หวังผลว่าจะได้กลุ่มคนดูรอบนอกกรุงเทพฯ มากขึ้น และคาดหวังว่ารายการในช่วงหลังข่าวภาคแรกจะมีผู้ชมเท่ากับละครหลังข่าว

ไม่เพียงแต่การปรับปรุงผังรายการเพื่อรับมือการแข่งขันในธุรกิจฟรีทีวี แต่ช่อง 3 ได้สร้างวิสัยทัศน์ขยายไปยังสื่อใหม่ ๆ ที่มีเทคโนโลยีเป็นตัวนำ

ประชาจัดตั้งกลุ่มอินโฟร์กรุ๊ปขึ้นเมื่อ 3 ปีที่แล้ว เพื่อทำธุรกิจคอมพิวเตอร์ แนวคิดนี้ประชาได้มาจากการที่ต้องเดินทางไปซื้อหนังจากต่างประเทศเป็นประจำ ทำให้ประชารู้ว่าอีกไม่นานคอมพิวเตอร์ และมีเดียต้องผนึกกัน จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ช่อง 3 จะต้องหันมาเรียนรู้ธุรกิจนี้

เป้าหมายของอินโฟร์กรุ๊ป คือ เพื่อเป็นฐานในเรื่องเทคโนโลยีให้กับช่อง 3 ในการเข้าสู่ยุคดิจิตอล

อินโฟร์กรุ๊ปเริ่มต้นธุรกิจด้วยการค้าอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ประชาเปิดบริษัทขึ้นมากมาย เพื่อเป็นตัวแทนขายเครื่องยี่ห้อต่าง ๆ และมอบหมายให้ประชุม น้อยชายและปราโมทย์ โชคศิริกุลชัย ซึ่งสนิทกับครอบครัวมานาน และเคยมีประสบการณ์ทำงานกับบริษัทคอมพิวเตอร์ในต่างประเทศมาเป็นมือบริหาร

แต่ในยุคที่ตลาดคอมพิวเตอร์คลายมนต์ขลัง ราคาลดต่ำลงฮวบฮาบ อินโฟร์กรุ๊ปพ่อค้าหน้าใหม่ จึงไปไม่ได้สวยนัก ประชุมเล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟังว่า ปัจจุบันมีการปรับโครงสร้างใหม่โดยยุบบริษัทในกลุ่มที่มีอยู่เกือบ 10 บริษัท เหลืออยู่เพียงแค่ 3 บริษัท เช่น ทรีมีเดีย รับจัดสื่อโฆษณาอิเลกทรอนิกส์

"แต่เรายังไม่คิดทิ้งธุรกิจนี้ เพราะเราจำเป็นต้องเรียนรู้ในเรื่องเทคโนโลยี ซึ่งมีความจำเป็นต้องใช้ประโยชน์ในการทำธุรกิจทีวี" ประชุมชี้แจง

ช่อง 3 ยังมีแผนที่จะขยายเข้าไปยัง "สื่อ" ใหม่ ๆ เป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นเคเบิลทีวี โทรทัศน์ผ่านดาวเทียมซึ่งยื่นเสนอขอไปทั้งกรมประชาสัมพันธ์ และ อ.ส.ม.ท. และยังอยู่ในขั้นตอนของการเสนอเท่านั้น เช่นเดียวกับสัมปทานอัพลิงค์-ดาวลิงค์ ที่ช่อง 3 ได้เข้าไปเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นในโครงการของ อ.ส.ม.ท. แต่ยังไม่ได้รับอนุมัติจากรัฐบาล

เช่นเดียวกับโครงการเคเบิลทีวี ที่แม้จะได้รับอนุมัติจากกรมประชาสัมพันธ์แล้วก็ตาม แต่ประชา ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มโครงการได้สั่งชะลอโครงการแบบไม่มีกำหนด

แม้ว่าช่อง 3 จะมีวิสัยทัศน์ในเรื่องเทคโนโลยี และไอทีที่ดูจะแจ่มชัดกว่าช่องอื่น แต่บริบทของการเริ่มต้นในธุรกิจนี้ยังไม่เด่นชัดเท่าที่ควร เว้นแต่ภาพลักษณ์ที่ปรากฎออกมาดูจะมากกว่า ที่จะออกมาเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน

เว้นแต่การร่วมทุนกับทีวีบี พันธมิตรเก่าแก่ผู้ผลิตรายการจากฮ่องกง ด้วยการจัดตั้งบริษัททีวีบี 3 เน็ทเวิร์ค เพื่อขยายออกสู่ตลาดในต่างประเทศ ทั้งในเอเชียและยุโรป และสหรัฐ

วิธีการ คือ ผลิตรายการป้อนให้กับฟรีทีวี และเคเบิลทีวีตลอดจนการผลิตรายการพิเศษ และข่าวป้อนส่งกระจายไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ตลอดจนการแลกเปลี่ยนซอฟต์แวร์รายการและทีวีบี

การร่วมมือกันในครั้งนี้ จะมีการสร้างคอมเพล็กซ์ขนาดใหญ่ เพื่อทำเป็นสตูดิโอ ซึ่งมีห้องส่ง และผลิตรายการ

นอกเหนือจาก การปรับปรุงอุปกรณ์แพร่ภาพทั่วประเทศและการสร้างเสาอากาศแพร่ภาพใหม่ โครงการทีวีบี 3 เป็นเหตุผลหนึ่งที่ใช้ในการเข้าไประดมเงินทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ของช่อง 3

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us