Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์24 เมษายน 2549
2 กรณีศึกษา "ไปรษณีย์ไทย-CPN"'รีแบรนด์' ลมหายใจบนโอโซนใหม่             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน)
โฮมเพจ ไปรษณีย์ไทย

   
search resources

เซ็นทรัลพัฒนา, บมจ.
ศิริกุล เลากัยกุล
ไปรษณีย์ไทย, บจก.
Branding




- จะเป็นอย่างไร? เมื่อแบรนด์กุมชะตาองค์กรมากกว่าโลโก้ แต่กินความลึกถึง "ชื่อเสีย" และ "ชื่อเสียง"
- ถึงเวลาหรือยัง? ที่จะต้องเมกอัพธุรกิจ เปลี่ยนมุมมอง สลัดความซ้ำซากจำเจ
- 2 แนวคิดการรีแบรนด์ จะเปลี่ยนจนจำไม่ได้ หรือเอาแค่พอกระดี๊กระด๊า
- ถอดกรณีศึกษา "ไปรษณีย์ไทย-CPN" จุดต่างการบริหารวัฒนธรรม บนจุดร่วมความต้องการรีแบรนด์

เมื่อมีการตั้งคำถามว่าแบรนด์คืออะไร? คำตอบที่ได้รับจากคนส่วนใหญ่ คือ โลโก้ หรือตราสินค้า จึงไม่น่าแปลกใจที่ทุกร้านค้ามีป้ายชื่อและโลโก้เป็นของตัวเอง เพราะทุกคนต่างก็ต้องการเป็นเจ้าของแบรนด์

ศิริกุล เลากัยกุล ประธานที่ปรึกษา บริษัท The Brandbeing Consultant จำกัด ที่ปรึกษาทางด้านการบริหารจัดการแบรนด์ อธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นว่า มาจาก 3 ปัจจัย คือ 1. การแข่งขัน (Competition) จากรอบด้านทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งรายเล็กและรายใหญ่ 2. ความร่วมมือทางธุรกิจ (Convergence) คือธุรกิจที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกันหันมาร่วมมือกันเพื่อสร้างความเข้มแข็งทางธุรกิจ และ3. ทางเลือก (Choices) ที่มีมากจนเกินไปและสิ่งที่ตามมาก็คือความสับสนของผู้บริโภค

แบรนด์ไม่ใช่โลโก้

ศิริกุลบอกว่า ไม่น่าแปลกใจที่ใครต่อใครพยายามลุกขึ้นมาสร้างแบรนด์ แต่วันนี้แบรนด์ มิได้กล่าวถึงเฉพาะตราสินค้าหรือโลโก้เท่านั้น เพราะคำจำกัดความของแบรนด์เปลี่ยนไป ฉะนั้นแบรนด์จึงกินความหมายว่า ชื่อเสียง (Reputation) การสร้างแบรนด์จึงเป็นการสร้างชื่อเสียง ซึ่งเกิดจากทุกองค์ประกอบของบริษัท ไม่ได้เป็นเรื่องของป้ายหน้าร้านที่ทุกคนต้องการจะมี แต่แบรนด์เป็นเรื่องขององค์กรที่ต้องการสร้างชื่อเสียงยั่งยืนในอนาคต

คำถามคือการสร้างแบรนด์จะช่วยอะไรได้บ้าง ในสภาวการณ์การแข่งขันสูงเช่นนี้? สิ่งที่แบรนด์จะให้ก็คือ ความแตกต่าง (differentiation) ซึ่งสามารถทำให้ธุรกิจอยู่รอดได้ สิ่งต่อมาก็คือ Re-conition คือการสร้างระบบ และเอกลักษณ์ให้องค์กร จะทำให้คนจดจำแบรนด์หรือสินค้าได้ และท่ามกลางตัวเลือกมากมายที่เกิดขึ้นนั้น ต้องทำให้เกิด Preference กล่าวคือ เมื่อมีแบรนด์แล้วต้องทำให้ลูกค้ารู้สึกชอบตัวตนของเรามากกว่า

"การทำธุรกิจทุกวันนี้ไม่ได้แข่งขันกันที่ส่วนแบ่งการตลาด ซึ่งบ่งชี้อดีต ไม่ได้เป็นตัวบอกอนาคต แต่ตัวที่บอกอนาคตของธุรกิจได้คือ Preference และเป็นกุญแจสำคัญที่เป็นส่วนช่วยในการตัดสินว่าทิศทางของธุรกิจจะหันเหไปทางใด เป็นส่วนให้แบรนด์ของเราอยู่ในใจผู้บริโภค คำว่าแบรนด์จึงเป็นผลรวมของทุกสิ่งทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ ภาพ เสียง และพฤติกรรมของผู้บริโภค"

ฉะนั้นการสร้างแบรนด์ผ่านพฤติกรรมผู้บริโภคจึงเป็นข้อที่ควรคำนึงถึง มิใช่เปลี่ยนองค์กรเพียงภายนอก แต่ต้องปรับใหม่ทั้งระบบ เพราะวันนี้แบรนด์คือเครื่องมือตัวใหม่ของธุรกิจ เป็นตัวบอกได้ว่าวิธีการจัดการกับองค์กรนั้น HR ต้องทำงานอย่างไร? จะทำการตลาดอย่างไร? กลยุทธ์องค์กรจะเป็นแบบไหน? และจะบริหารคนภายในองค์กรอย่างไร? ซึ่งทั้งหมดมาจากคำว่าชื่อเสียงเป็นตัวตั้ง

สัญญาณชี้ถึงเวลา 'รีแบรนด์'

เมื่อใดก็ตามที่องค์กรรู้สึกว่าไม่ชอบอดีตของตัวเองและอยากเปลี่ยนแปลง เมื่อนั้นเป็นสัญญาณบอกว่า ถึงเวลาที่จะต้องรีแบรนด์ แต่ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามเหตุผลทางธุรกิจ และเมื่อมีการรวมตัวทางธุรกิจแล้วต้องเปลี่ยนชื่อใหม่ หรือเอาชื่อมารวมกัน เมื่อเกิดความรู้สึกว่าชื่อนั้นไม่ทันสมัย หรือแบรนด์ที่มีนั้นไปสัมพันธ์ในทางลบหรือสร้างความสับสนให้ผู้บริโภค

แบรนด์วันนี้มีชีวิตคล้ายคน เมื่อถึงจุดหนึ่งแล้วทุกอย่างต้องมีการปรับเปลี่ยนพัฒนา และเหตุผลของการรีแบรนด์คือ เพราะองค์กรมีการเปลี่ยนวิสัยทัศน์ (Vision) คือการพิจารณาจุดยืนของแบรนด์ และมีหลายแบรนด์ที่มีการปรับด้วยเหตุผลที่ว่าต้องการเปลี่ยนตำแหน่งสินค้า (positioning) ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ เคเอฟซี เปลี่ยนจากการขายไก่ทอดเพียงอย่างเดียวเป็นอาหารฟาสต์ฟูด และเมื่อถึงจุดหนึ่งสินค้าจะมีการเปลี่ยนบุคลิกภาพ (personality) ของสินค้าเอง ซึ่งเป็นเหตุผลของคนส่วนใหญ่

อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเปลี่ยนด้วยเหตุผลใดก็ตามจะมีสาเหตุใหญ่มาจากพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภค

การรีแบรนด์มี 2 ลักษณะคือ 1.Revolution เป็นการเปลี่ยนองค์กรทั้งระบบ คือเปลี่ยนรูปโฉมใหม่ทั้งหมด และ 2. Evolution คือการพัฒนาปรับเปลี่ยนให้ดีขึ้น ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงตามอายุของธุรกิจ ถ้าหากเป็นธุรกิจประเภทแฟชั่นอายุก็จะสั้น แต่ทุกธุรกิจจะต้องมีการรีแบรนด์

สิ่งที่บริษัทใหญ่ในยุคที่ผู้บริโภคเป็นGobal Market ตราสินค้าจะต้องเป็น Single identity คือมีโลโก้เดียวซึ่งเป็นตราสากลที่คนทั่วโลกเข้าใจและต้องทำลายโลโก้ที่คนไม่นิยมแล้ว ตัวอย่างเช่น ยูนิลิเวอร์ เคยมี 4,000 แบรนด์ทั่วโลก ปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนให้เหลือ 400 แบรนด์และเป้าหมายสุดท้ายจะเหลือเพียง 40 แบรนด์

ทั้งนี้บริษัทใดก็ตามที่จะรีแบรนด์ต้องมีความสามารถที่จะทำได้ในระดับหนึ่ง เพราะถ้าบริษัทไม่พร้อมการรีแบรนด์ก็จะลำบาก ฉะนั้นปัจจุบันจึงมีบางบริษัทที่ทำเพียง product Branding เท่านั้น

การทำรีแบรนด์ให้สำเร็จนั้นจะต้องประกอบด้วย Aligment เมื่อตัดสินใจเปลี่ยนแล้วก็ต้องเปลี่ยนทั้งหมด กล่าวคือต้องเปลี่ยนทั้งระบบอย่างต่อเนื่อง และต้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน Engagement การรีแบรนด์มีคนเข้ามาเกี่ยวข้อง ฉะนั้นพนักงานจะต้องเข้ามาร่วมด้วยใจ ผลการกระทำทั้งหมดจึงจะบังเกิดผลหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับการสื่อสาร (Communication) ภายในองค์กรกล่าวคือจะต้องมีการอธิบายว่าทำไมจะต้องมีการรีแบรนด์ และภาพรวมขององค์กรเมื่อเปลี่ยนแล้วจะเป็นอย่างไร ซึ่งหน้าที่ทั้งหมดเป็นของ Senior management

การจะลุกขึ้นมารีแบรนด์นั้นต้องเปลี่ยนจุดยืน กล่าวคือ องค์ประกอบในองค์กรทุกอย่างต้องเปลี่ยน ไม่ว่าจะเป็นบุคลากร และวัฒนธรรมขององค์กร ถ้าหากเปลี่ยนเพียงแต่ชื่อหรือรูปลักษณ์ภายนอก ก็เปรียบเสมือนการเปลี่ยนหน้ากาก ที่จะไม่ส่งผลในอนาคต พร้อมทั้งหาคำตอบทางธุรกิจให้ได้ว่าทำแล้วได้ผลอย่างไร? พนักงานเข้ามามีส่วนในการรีแบรนด์หรือไม่? และผู้บริโภครับรู้หรือไม่?

2 กรณีศึกษา ไปรษณีย์ไทย-CPN

กรณีศึกษาการรีแบรนด์ที่เห็นความแตกต่างได้ชัดเจน คือ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด หลังจากที่มีการแปลงสภาพการสื่อสารแห่งประเทศไทยในปี 2546 แล้ว บจ.ไปรษณีย์ไทยได้มีการ รีแบรนด์ใหม่ โดยมีเป้าหมายที่จะเป็นผู้นำในธุรกิจไปรษณีย์ ซึ่งทำหน้าที่เชื่อมโยงคนไทยในทุกระดับและทุกพื้นที่ โดยอาศัยจุดแข็งที่มีเครือข่ายทั่วประเทศ และมีบุคลากรที่ใกล้ชิดกับประชาชน

อานุสรา จิตต์มิตรภาพ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ด้านการตลาดและพัฒนาธุรกิจ บจ.ไปรษณีย์ไทย เล่าถึงกระบวนการรีแบรนด์ของไปรษณีย์ไทยว่า เริ่มตั้งแต่การศึกษาองค์กรจากจุดแข็งและบุคลากรหรือตัวพนักงาน ซึ่งเป็นสื่อบุคคลที่สำคัญ ซึ่งในระยะเริ่มต้นนั้นพนักงานตระหนักถึงภาวะขาดทุนของบริษัท แต่เนื่องด้วยการให้ความสำคัญของการสื่อสารภายในองค์กรของ Senior management จึงทำให้ขวัญและกำลังใจของพนักงานกลับมา และปรับเปลี่ยนทัศนคติเกี่ยวกับการให้บริการ ทำให้บริษัทไปรษณีย์ไทยได้กำไรในปีแรก

"นอกจากการปรับเบื้องต้นแล้ว เราก็มีการปรับเปลี่ยนภายใน สังเกตได้ว่าไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างปุบปับ แต่ให้เห็น identity ที่เหมือนกันทั่วประเทศคือ สีแดง ไม่ว่าจะเป็นฟอร์มของพนักงาน รถขนส่งจดหมาย อีกทั้งยังเปลี่ยนเวลาให้บริการคือขยายเวลาให้บริการมากขึ้นในบางสาขาในเขตชุมชน"

เป้าหมายต่อไปคือต้องเป็น Super service centre ของประเทศ โดยการเปิดเป็นแฟรนไชส์ภายใต้แบรนด์ของไปรษณีย์ไทย ซึ่งจะเป็นฐานสำคัญอีกทางหนึ่งที่จะเพิ่มรายได้ให้ไปรษณีย์ไทยในอนาคต

กรณีศึกษาที่ 2 คือ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด หรือ CPN ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ มีบริษัทในเครือหลายแห่ง เช่น ศูนย์การค้าเซ็นทรัล โรบินสัน ท๊อปส์ซูเปอร์มาร์เก็ต โรงแรม ธุรกิจเทรดดิ้ง และบริษัทพัฒนาศูนย์การค้า-อสังหาริมทรัพย์

จากการบริหารงานที่ผ่านมากว่า 20 ปี CPN ขยายศูนย์การค้า 10 แห่ง แต่เป้าหมายในอีก 5 ปีจะต้องขยายสาขาได้อีก 8-10 แห่ง ซึ่งเป็นการเติบโตแบบก้าวกระโดด จึงเริ่มเล็งเห็นการอิ่มตัวของตลาดศูนย์การค้าในประเทศ

กอบชัย จิราธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด กล่าวถึงกระบวนการรีแบรนด์และแผนงานของบริษัทว่า พยายามเน้นไปในเรื่องการพัฒนาศูนย์การค้าเป็นหลัก จากความมุ่งหมายของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

"สิ่งที่เซ็นทรัลพัฒนาทำภายหลังการรีแบรนด์ การปรับตัวให้รวดเร็วเท่าทันพฤติกรรมผู้บริโภคจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยการสร้างบรรยากาศภายในศูนย์การค้าให้ทันสมัย จัดหาศูนย์การค้าใหม่ๆ โดยการซื้อศูนย์การค้าเก่าๆ ทำการเปลี่ยนแปลง เตรียมตัวที่จะออกไปแข่งขันในตลาดต่างประเทศเพื่อให้เป็นสากล จึงต้องมีการเปลี่ยนโลโก้ให้เป็น CPN เพื่อง่ายต่อการจดจำ"

นอกจากนี้ยังต้องทำการ Re-product โดยปรับบรรยากาศในศูนย์การค้าให้กลายเป็นสถานที่ที่ผู้บริโภคต้องการ ให้การอบรมพนักงานเกี่ยวกับการให้บริการ รวมถึงจัดตั้งกองทุนอสังหาริมทรัพย์ ส่งเสริมในเรื่องของธุรกิจการเงิน เพราะเล็งเห็นว่าธุรกิจการเงินเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของการสร้างแบรนด์

กรรมการผู้จัดการ CPN กล่าวอีกว่า หลังรีแบรนด์แล้วบริษัทได้ปรับเปลี่ยนชื่อศูนย์การค้าในเครือ World Trade centre เป็น เซ็นทรัล เวิร์ล พลาซ่า จากการประชุมร่วมกันอย่างขะมักเขม้นเพื่อหาข้อตกลง และทำความเข้าใจไปในทิศทางเดียวกันว่าอะไรคือสาเหตุของการรีแบรนด์

ศิริกุลกล่าวว่า จากกรณีศึกษาของทั้งสองบริษัทนั้น เห็นได้ชัดว่าชนิดธุรกิจและโครงสร้างการบริหารวัฒนธรรมองค์กรที่แตกต่างกัน แต่จากการเข้าไปสัมผัสแล้วพบว่าทั้งสององค์กรนั้นมีความเหมือนกัน คือ ความต้องการรีแบรนด์ (Passion) และความพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงของคนในองค์กร

"ไม่ว่าจะเป็นองค์กรใดๆ ก็ตามกระบวนการสร้างแบรนด์ใช้กระบวนการเดียวกัน สิ่งแรกของการทำแบรนด์ต้องเริ่มต้นด้วยการอยากจะทำ ขบวนการคล้ายกันในทั้งสองที่ อย่างแรกคือ เวิร์ค ช็อป ซึ่งเป็นการหาดีเอ็นเอของเราว่ามันคืออะไร แล้วเราก็จะทราบข้อมูลเชิงลึกของพนักงานทำการวิจัย เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมสำหรับแต่ละองค์กร ซึ่งเซ็นทรัลกับไปรษณีย์ก็ทำเหมือนกัน"

ประธานที่ปรึกษา The Brandbeing กล่าวทิ้งท้ายว่า ความสำเร็จของแบรนด์ หรือการรีแบรนด์มิได้ขึ้นอยู่กับงบประมาณขององค์กร แต่ขึ้นอยู่กับความมุ่งมั่นตั้งใจของคนในองค์กรเป็นสำคัญ

<เรียบเรียงจากงานสัมมนา "Rethinking Rebranding" จัดโดย หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ และสมาคมศิษย์เก่าปริญญาโทสำหรับผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ณ ห้องบอลรูม โรงแรมเรดิสัน กรุงเทพฯ เมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา

6 กลยุทธ์การรีแบรนด์

1. Fhase in – Fhase out strategy กรณีมีการรวมองค์กร อาจคงชื่อเดิมขององค์กรไว้ เพราะบางครั้งชื่อมีอิทธิพลต่อทัศนคติของผู้บริโภค ฉะนั้นหากต้องการจะปรับหรือเปลี่ยนชื่อจะต้องมีการเว้นวรรคให้คนคุ้นเคยชื่อเสียก่อน

2. Combined Branding การรวมชื่อแบรนด์ให้เป็นหนึ่งเดียวเพื่อง่ายต่อการจัดการองค์กร และง่ายต่อการจดจำของผู้บริโภค

3. Translucent warning strategy เป็นขั้นตอนที่ไม่ต้องเว้นช่องว่าง แต่แสดงโลโก้ในหีบห่อใหม่ เพื่อให้ลูกค้าที่ชินกับชื่อเดิมนั้นคงอยู่ กรณีนี้จะทำให้คนรับรู้ว่ากำลังจะมีการปรับเปลี่ยนแบรนด์

4. Sudden Eradication strategy เป็นการปรับเปลี่ยนโฉมใหม่นั่นคือ การเปลี่ยนชื่อใหม่ให้องค์กรหรือตัวสินค้า การเปลี่ยนในลักษณะนี้มีความเสี่ยงสูง เพราะฉะนั้นองค์กรจะต้องมีงบประมาณสูง และมีความพร้อมด้านต่างๆ จึงจะประสบผลสำเร็จ

5. conter-takeover strategy เป็นการซื้อแบรนด์ของคนอื่น และต่อท้ายด้วยแบรนด์ของตนเอง เสมือนผู้หญิงแต่งงานที่เปลี่ยนไปใช้นามสกุลฝ่ายชาย

6.Retrobranding stategy การทดลองเปลี่ยนชื่อแบรนด์ใหม่ แล้วกลับมาใช้ชื่อเดิม เนื่องจากชื่อใหม่นั้นไม่ทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จัก หรือผู้บริโภคไม่เรียกหรือไม่คุ้นก็ต้องกลับมาใช้ชื่อเดิม

********************************************

4 ความล้มเหลวของรีแบรนด์

1. แบรนด์ไม่เข้มแข็ง

2. Senior management ไม่เข้าใจการรีแบรนด์อย่างลึกซึ้ง

3. การรีแบรนด์แบบไม่ครบวงจร

4. ไม่มีการสื่อสารภายในองค์กร   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us