|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
การปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยนโยบายแบบไล่หลังติดกันไม่นานของแบงก์ชาติ นอกจากจะกลายเป็นความกังวลต่อภาคธุรกิจว่าจะมีผลเบรกการขยายตัวของเศรษฐกิจหรือไม่ ขณะเดียวกันก็มีการตั้งคำถามว่าการปราบเงินเฟ้อด้วยวิธีปรับขึ้นดอกเบี้ยจะมีจุดสิ้นสุดตรงไหน ล่าสุดผลการศึกษาฝั่งบางขุนพรหมเชื่อสนิทใจว่าภาพรวมเศรษฐกิจยังมีหน้าตาดูดี ไม่มีผลกระทบให้น่ากังวล แม้ความเชื่อมั่นหรือการบริโภคจะหดตัว แต่ภาคส่งออกยังทำหน้าที่ "พระเอก"ประคับประคองเศรษฐกิจต่อไปได้ ผู้บริหาร"แบงก์บัวหลวง"เห็นพ้องการควบคุมเงินเฟ้อคงเกิดอีกไม่กี่ครั้ง และแทบไม่มีผลต่อเศรษฐกิจ เพราะราคาสินค้าแพงขึ้น ไม่ได้มาจากอุปสงค์ในประเทศ แต่เป็นผลมาจากต้นทุนที่ขยับสูงขึ้น...
อัมพร แสงมณี ผู้บริหารส่วน ส่วนวิเคราะห์และกลยุทธ์นโยบายการเงิน สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) บอกว่า ภาพรวมการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายของแบงก์ชาติ ไม่ได้กดดันการขยายตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศมากนัก เพราะนโยบายแต่ละครั้งที่ประกาศออกมาล้วนอยู่ภายใต้กรอบการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ซึ่งหมายถึงทางธปท.ได้มองทิศทางของอัตราดอกเบี้ย และเงินเฟ้อในอนาคตแล้วว่าจะอยู่ที่ระดับใด การปรับขึ้นของดอกเบี้ยนโยบายแต่ละครั้งจึงเป็นไปอย่างระวังเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจมากนัก
อัมพร อธิบายว่า ที่มองว่าเศรษฐกิจยังขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ที่ดีอยู่ทั้ง ๆ ที่นโยบายดอกเบี้ยที่ปรับสูงขึ้นน่าจะส่งผลกระทบต่อปัจจัยการลงทุน เพราะต้นทุนการดำเนินงานที่สูงขึ้นยังเป็นปัจจัยที่ทำให้สินค้าบริโภคมีราคาที่สูงความทสามารถในการใช้จ่ายของผู้บริโภคลดลง เช่นเดียวกับความสามารถทางการชำระหนี้ แต่จากการที่ศึกษากลับพบว่าปัจจัยดังกล่าวไม่ได้มีผลมากนักแม้ว่าในส่วนของภาคการบริโภคจะมีการชะลอตัวลงก็ตาม
เนื่องจาก อัตราการชะลอที่เกิดขึ้น ไม่ได้มีผลมาจากปัจจัยด้านอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่เร่งตัวขึ้นเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีปัจจัยด้านอื่น ๆ ได้แก่ การปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ำมัน ที่ส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อทั่วไปให้เพิ่มขึ้น อัตราแลกเปลี่ยนที่แข็งค่า และความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจและผู้บริโภคที่อ่อนตัวลง
"อย่างไรก็ตามยอมรับว่าการปรับอัตราดอกเบี้ยโยบายทำให้เกิดผลกระทบต่อผู้บริโภคบางกลุ่ม แต่บางกลุ่มก็ได้รับผลดี ซึ่งคือกลุ่มที่ฝากเงิน จะเห็นได้ว่าธนาคารพาณิชย์เริ่มมีการปรับอัตราดอกเบี้ยหลังนโยบายดังกล่าวประกาศมา 1 ปี และเริ่มเร่งตัวมากขึ้นในช่วงไตรมาส 1 ปี 49 เป็นผลให้สัดส่วนการออมของภาคครัวเรือนเริ่มเพิ่มขึ้น จากแต่ก่อนสัดส่วนการออมมักมาจากภาคเอกชน"
กระนั้นก็ตาม ดอกเบี้ยเงินฝากที่ปรับเพิ่มขึ้นส่วนใหญ่จะเป็นการฝากเงินแบบพิเศษ ซึ่งจะทำให้หลีกเลี่ยงการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำเป็นการทั่วไป เพราะถ้าขึ้นดอกเบี้ยฝากประจำแล้ว ธนาคารจะมีต้นทุนที่สูงขึ้น ดังนั้นรูปแบบที่ออกมาเพื่อดึงดูใจลูกค้าและรักษาฐานเงินฝาก ขณะเดียวกันยังมีต้นทุนไม่สูง จึงเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่มีอายุครบกำหนด เช่น 7 เดือน 8 เดือน 9 เดือน หรือ 10 เดือนเป็นต้น ซึ่งการออกผลิตภัณฑ์ดังกล่าวทำให้ธนาคารสามารถให้ดอกเบี้ยที่สูงได้
ทำให้ปัจจุบัน ดอกเบี้ยออมทรัพย์หรือเงินฝากประจำจึงไม่ขยับไปไหน ยังเป็นผลให้ช่วงว่างของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ยังคงอยู่ห่างกันมากนักแต่ในอนาคตสัดส่วนดังกล่าวจะแคบลงมา
อัมพร บอกอีกว่า ภาคธุรกิจเองก็มีการพึ่งพาสินเชื่อจากสถาบันการเงินน้อยลง เพราะมีช่องทางอื่นในการหาทุนเพื่อขยายธุรกิจ โดยเฉพาะกำไรสะสมของบริษัทดังนั้นที่ผ่านมาก็จะเห็นว่าอัตราการขยายสินเชื่อของสถาบันการเงินเริ่มอยู่ในระดับทรงตัว และสอดคล้องกับทางธนาคารเช่นกันที่ระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้นหลังอัตราดอกเบี้ยนโยบายเริ่มประกาศใช้ เพราะธนาคารเองก็กลัวว่าความสามารถในการชำระหนี้ของผู้บริโภคซึ่งอาจกลายเป็นหนี้เสียได้ แต่ อัมพร ก็บอกว่า เรื่องดังกล่าวไม่ได้กระทบต่อการชำระหนี้มากนัก เหตุผลก็คืออัตราว่างงานอยู่ในระดับต่ำ และทางธนาคารเองก็ไม่ได้ปรับอัตราดอกเบี้ยพรวดพราดหลังจากที่ธปท.ประกาศปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ทำให้ความสามารถในการชำระของผู้บริโภคยังไม่ลดลง
และนี่คือผลที่เกิดขึ้นจากกรส่งผ่านนโยบายทางการเงินที่ ธปท.นำมาใช้ ซึ่งไม่ใช่เพื่อเบรกในเรื่องของเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นจากราคาน้ำมันที่วิ่งทะยานไปข้างหน้าเพียงอย่างเดียว แต่ก็คำนึงถึงการขยายตัวทางเศรษฐกิจด้วย
อัมพร ได้สรุปภาพเศรษฐกิจโดยรวมตั้งแต่ที่เริ่มมีการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายนั้น ทำให้อุปสงค์ในประเทศขยายตัวในอัตราที่ชะลดลง แต่เนื่องจากภาคการส่งออกที่ขยายตัวได้ดีทำให้เศรษฐกิจโดยรวมไม่ได้สูญเสียแรงผลักดันของเจริญเติบโต อีกทั้งการดำเนินนโยบายทางการเงินยังเป็นการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจซึ่งจะช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัวได้อย่างยั่งยืน ดังนั้นในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา เสถียรภาพทางเศรษฐกิจปรับตัวได้ดีขึ้นมาก
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ ให้ความเห็นต่อการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายว่าอาจจะเกิดขึ้นอีกไม่กี่ครั้ง เพราะเชื่อว่าใกล้จุดขีดสุดแล้ว ยิ่งถ้าเทียบกับเฟดซึ่งมีการปรับอัตราดอกเบี้ยมานาน ทางเฟดเองก็อาจเริ่มที่จะเห็นแนวทางในการยุตินโยบายทางการเงินนำเศรษฐกิจเสียที อีกทั้งการนำนโยบายการเงินมาใช้ต่อไปก็คงไม่บังเกิดผลต่อภาวะเศรษฐกิจ ณ ปัจจุบันเท่าใดนัก
"เชื่อว่านโยบายด้านการเงินเพียงอาจไม่ส่งผลต่อเสถีรภาพเศรษฐกิจได้ตามหลักทฤษฎีอีก เพราะถ้าจะให้พิจารณาจริง ๆ นโยบายการเงินนั้นสามารถคุมได้เมื่ออุปสงค์สูงทำให้ราคาสินค้าสูงการนำนโยบายการเงินมาใช้จึงช่วยได้ แต่ตอนนี้ไม่ใช่อย่างนั้นแล้ว แต่เป็นเพราะโครงสร้างและต้นทุนการดำเนินธุรกิจที่สูงขึ้นต่างหากที่เป็นตัวผลักให้ราคาสินค้าสูงขึ้น ไม่ได้มาจากอุปสงค์"
การปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธปท.คงจะมีขึ้นอีกไม่กี่ครั้ง เพราะหลังจากนั้นแล้วนโยบายการเงินคงส่งผลต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจไม่มากนัก เพราะอย่างที่กล่าวไว้ราคาและเงินเฟ้อที่เกิดขึ้น ณ วันนี้ไม่ได้มาจากอุปสงค์หรือความต้องการของผู้บริโภค หากแต่เกิดจากต้นทุนการดำเนินงานที่สูงขึ้นต่างหากที่ทำให้ไม่สามารถใช้นโยบายทางการเงินช่วยได้อีก ดังนั้นคงต้องหานโยบายและแนวทางอื่นในการช่วยรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ....
|
|
|
|
|