Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์24 เมษายน 2549
สงครามจรยุทธ์"ล็อคอาณาจักรเงินฝาก"ปรับดอกเบี้ยกี่ครั้งแบงก์ก็ได้ทั้งขึ้นทั้งล่อง             
 


   
search resources

Banking




วงการแบงก์ประกาศ "สงครามกองโจร" ซุ่มโจมตีคู่แข่งด้วยเงินฝากแบบพิเศษ ที่มีดอกเบี้ยเงินฝากไล่ขึ้นสูงจนเกินกว่าเจ้าของเงินออมจะอดใจไหว เลือกจังหวะที่รายได้ผลตอบแทนจากสินทรัพย์สภาพคล่อง ที่ลงทุนในตลาดเงินระยะสั้นในประเทศ และต่างประเทศ รวมถึงเงินลงทุนในหลักทรัพย์พุ่งปรู๊ด เพื่อล็อคอาณาจักรเงินฝากไม่ให้กระเด็นกระดอนข้ามค่าย ใช้ฐานลูกค้าที่มีในกำมือ ขยายพอร์ตธุรกิจในเครือ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยสรุป ช่วงดอกเบี้ยใกล้ถึงจุดพีค คือเวลาตักตวงผลกำไรในช่วงดอกเบี้ยวิ่งไม่หยุด จากนั้นไตรมาส 2 ก็จะกลับคืนสู่สภาพเดิม คือหันมาหารายได้จากดอกเบี้ยสินเชื่อ และเงินกู้ โดยสรุป ไม่ว่าดอกเบี้ยจะไต่ขึ้นหรือพุ่งไปถึงสุดสูงสุด แบงก์ก็ไม่มีอะไรจะเสีย แถมได้ทั้งขึ้นทั้งล่อง....

หลายคนอาจประหลาดใจระคนสงสัย จนถึงกับแอบตั้งคำถามอยู่ในใจว่า ในเมื่อสภาพคล่องที่วนเวียนอยู่ในระบบธนาคารพาณิชย์ไทยยังมีอยู่เหลือล้น ในขณะที่สินเชื่อที่ปล่อยออกไปก็ค่อนข้างอืดเต็มที แต่ทำไมบรรดาแบงก์ต่างๆจึงประกาศสงครามช่วงชิงเงินฝากกันจนผิดสังเกตุ

ว่ากันว่า หลายแบงก์มีเงินใหม่จากแบงก์อื่นไหลเข้ามาไม่หยุดหย่อน กระทั่งล่าสุดในช่วง 2 เดือนแรกปีนี้ สภาพคล่องพุ่งขึ้นไปยืนเหนือระดับ1.64 ล้านล้านบาท จากเงินฝากที่ทะลักเข้ามาประมาณ 1.88 แสนล้านบาท สูงกว่าการขยายตัวของสินเชื่อที่ 3.6 หมื่นล้านบาท

โปรแกรมบัญชีเงินฝากพิเศษ ที่แบงก์ต่างๆนำมาเป็นแม่เหล็กล่อใจเจ้าของเงินออมในช่วงนี้มีตั้งแต่ อายุครบกำหนด 7 เดือน 8 เดือน 9 เดือนหรือ 10 เดือน แถมให้ผลตอบแทนสูงกว่าบัญชีเงินฝากปกติทั่วไป และยังสูงกว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรในช่วงเวลาเดียวกันด้วย

ผู้คนทั่วไปอาจจะแปลกใจผสมพึงพอใจที่มีทางเลือกเพิ่มขึ้น ขณะที่วงการนายแบงก์กลับเห็นว่า ไม่ใช่เรื่องน่าตกใจ ตรงกันข้ามรูปแบบการทำสงครามดึงเงินฝากแบบพิเศษ ด้วยการสู้ราคาตอบโต้กันไปมา ก็คือ การดิ้นรนเพื่อรักษาอาณาจักรเงินฝาก ขณะเดียวกันช่วงที่น้ำขึ้นก็ต้องรีบตักและโกยให้เร็วที่สุด

หลายแบงก์เริ่มเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว เพื่อรักษาฐานที่มั่นเดิม ไม่ให้ลูกค้าเดิมแปรพักตร์ย้ายไปค่ายอื่น....

ที่เห็นชัดสุดน่าจะเป็นค่าย "เคฮีโร่" ตระกูลเคแบงก์ที่เปิดตัวธุรกิจในเครือสร้างความน่าสนใจให้กับเจ้าของเงินฝาก ไม่ว่าจะเป็น บริษัทหลักทรัพย์(บล.) บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) เช่าซื้อ ลีสซิ่ง แฟคตอริ่ง ก่อนจะเปิดตัวแคมเปญเงินฝากแบบพิเศษในเวลาไล่เลี่ยกันไม่นาน

แบงก์กรุงศรีอยุธยา ที่เริ่มรุกไล่ข้ามมาถึงเฟส 2 ภายหลังการรีแบรนดิ้งได้ไม่นานก็ เปิดรายการร่วมกับพันธมิตรมากหน้าหลายตา โดยมีจุดประสงค์เดียวกันคือ ดึงลูกค้าให้หันมาใช้บริการจากช่องทางต่างๆของธนาคารเพื่อสร้างรายได้จากค่าธรรมเนียมให้มากที่สุด

ขณะที่แบงก์อื่นๆ ก็ทยอยรุกไล่หลังตามมาติดๆ ทหารไทย เริ่มสร้างความจดจำภายใต้แบรนด์หลังการควบรวมเพิ่งเสร็จสิ้นไม่นาน พร้อมเปิดตัวธุรกิจในเครืออยู่เป็นระยะ

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย อธิบายมูลเหตุที่แบงกต่างๆ หันมาประกาศสงครามช่วงชิงบัญชีเงินฝาก ด้วยโปรดักส์ใหม่ เงินฝากบัญชีพิเศษอย่างโจ่งแจ้ง ซึ่งนอกจากการรักษาฐานเงินฝากเดิม ส่วนสำคัญยังเป็นการดึงเอาจังหวะเวลาได้เปรียบ

นั่นก็คือช่วงที่อัตราดอกเบี้ยปรับขึ้นแต่ยังไม่ถึงจุดสูงสุด แบงก์ต่างๆก็ยังมีอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์สภาพคล่อง ที่รวมถึงเงินลงทุนในตลาดเงินระยะสั้นในประเทศ ในต่างประเทศ เงินลงทุนในหลักทรัพย์ ค่อนข้างสูง

โดยงบการเงินปี 2548 แบงก์ใหญ่ 4 แห่ง คือ กรุงเทพ กรุงไทย กสิกรไทย และไทยพาณิชย์ ที่มีส่วนครองตลาดรวมกัน 63% มีอัตราผลตอบแทนจากพอร์ตเงินลงทุนในสินทรัพย์สภาพคล่องอยู่ที่ 3.4% แต่เมื่อเทียบกับต้นทุนเงินฝากเฉลี่ยที่ 0.9% ส่วนต่างระหว่างอัตราผลตอบแทนและต้นทุนเงินฝากก็ยังมีมากพอจะทำให้แบงก์ต่างๆฟาดฟันกันได้โดยไม่ต้องพึ่งพารายได้ดอกเบี้ยจากการปล่อยสินเชื่อ

นอกจากนั้นดอกเบี้ยที่ปรับขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ ก็จะไหลเข้ามาพักอยู่ในอัตราผลตอบแทนของสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารมากพอที่จะนำมาชดเชยผลกระทบจากการขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากพิเศษถึงประมาณ 4.1-8.2 พันล้านบาทต่อปี

อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ก็ยังอธิบายถึงรายรับดอกเบี้ยจากสินทรัพย์สภาพคล่องที่สูงขึ้นของแต่ละธนาคาร อาจถูกหักล้างโดยต้นทุนการโยกย้ายบัญชีเงินฝากของลูกค้าหน้าเก่าของแบงก์นั้นๆเอง เช่นย้ายจากบัญชีออมทรัพย์ที่กินดอกเบี้ยเพียง 0.75% มาที่บัญชีเงินฝากพิเศษดอกเบี้ยระหว่าง 4.25-5.125 % ทำให้ธนาคารก็ต้องแบกภาระสูงขึ้น

เมื่อรูปแบบการไหลเข้าของเงินจะออกมาในลักษณะนี้ แบงก์ต่างๆจึงต้องกำหนดระยะเวลาช่วงโปรโมชั่นไม่ให้ยืดยาวมากนัก เพื่อไม่ให้แบงก์แบกภาระจนเกินพอดี

ดังนั้น ตราบใดที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายในประเทศและต่างประเทศยังไต่ระดับสูงขึ้น รายได้ผลตอบแทนจากสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารก็มีมากพอ จะทำให้แบงก์ต่างๆประกาศสงครามห้ำหั่นราคากันได้พักใหญ่ๆ หรืออาจจะต่อสู้ฟาดฟันกันไปจนถึงช่วงกลางปีนี้

อย่างไรก็ตาม เมื่อใดก็ตามที่ดอกเบี้ยขึ้นมาจนถึงจุดสูงสุดหรือ จุดพีค แรงจูงใจจากรายได้ผลตอบแทนจากสินทรัพย์สภาพคล่องก็จะปิดฉากลง ในช่วงครึ่งหลังปีนี้ก็จะเห็นรูปแบบการแข่งขันที่เปลี่ยนไป

เพราะรายได้ผลตอบแทนจากสินทรัพย์สภาพคล่องจะคงที่ ขณะที่ต้นทุนเงินฝากมีแต่จะสูงขึ้นเรื่อยๆ จากดอกเบี้ยบัญชีเงินฝากประจำปีก่อนหน้านี้และในช่วงครึ่งแรกของปี ดังนั้นการสู้ราคาเงินฝากก็ยังไม่จูงใจอีกต่อไป

แบงก์ทุกแห่งก็จะปรับกลยุทธ์จากการรักษาฐานลูกค้า และเร่งสร้างกำไร ด้วยการพึ่งพารายได้ผลตอบแทนสินทรัพย์สภาพคล่อง ในช่วงดอกเบี้ยขยับขึ้นมาเป็น การคาดหวังจากการปล่อยสินเชื่อ และปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้ทดแทน เพื่อรักษาความสามารถในการทำกำไรให้ต่อเนื่อง

เท่านี้ก็คงพอจะเข้าใจได้แล้วว่า ถึงแม้อัตราดอกเบี้ยนโยบายจะขยายขึ้นสักกี่ครั้งหรือ ได้ผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว แบงก์ต่างๆก็ยังสามารถกอบโกยผลกำไรได้ทั้งขึ้นทั้งล่อง

ขณะที่ฝั่งเจ้าของเงินออมและลูกหนี้แบงก์ หลังไตรมาส 2 ปีนี้เป็นต้นไป ก็คงต้องทำใจ เพราะนอกจากฝั่งออมเงินจะไม่น่าสนใจเหมือนเก่า ฝั่งหนี้สินก็จะมีแต่ขยับขึ้น ฝั่งนี้จึงมีแต่เสียกับเสียทั้งขึ้นทั้งล่อง.....   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us