Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์24 เมษายน 2549
กลยุทธ์ลงทุนในจีนแล้วรวย!ต้องแม่นกฎหมาย-รู้ระดับคู่ค้า             
 


   
search resources

สงวน ลิ่วมโนมนต์
Investment
Knowledge and Theory




“สงวน ลิ่วมโนมนต์” ทนายมือหนึ่งกฎหมายการค้าการลงทุนไทย-จีน แนะทำการค้าในจีนต้องศึกษากฎหมายให้ลึกซึ้ง ทั้งกฎหมายระดับประเทศ จนถึงกฎหมายท้องถิ่นที่แตกต่างกันทุกมณฑล โดยเฉพาะกฎระเบียบที่เอื้อต่อการทำการค้าของต่างชาติ-จีนโพ้นทะเล และกฎหมายสิ่งแวดล้อมที่รัฐบาลจีนจะนำทรัพยากรแลกกับทุนและเทคโนโลยีทันสมัย ขณะเดียวกันต้องรู้เบื้องหลังผู้ร่วมทุนชี้ไม่รอบคอบ มีสิทธิเจ๊ง!

หลังจากจีนเปิดประเทศ และมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว รวมกับจีนเป็นประเทศที่มีประชากรมากถึง 1,300 ล้านคน ทำให้นักลงทุนทั่วโลกต่างมุ่งเข้าทำธุรกิจในจีน ไม่เว้นแม้แต่คนไทย แต่เส้นทางการค้า และการลงทุนใช่ว่าจะฝ่าไปได้โดยง่าย โดยเฉพาะเรื่องกฎหมายของจีนที่มีหลายระดับ การไม่ศึกษาให้ลึกซึ้งทำให้ที่ผ่านมามีคนไทยไม่น้อยต้องอกหัก!

รู้ลึกกฎหมายจีน

“ผมเสียดาย จีนเป็นตลาดใหญ่ที่สุดในโลก เศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็ว ที่ผ่านมามีคนไทยจำนวนมากเข้าไปทำการค้าขาย แต่มีหลายคนที่ไม่ทำการศึกษากฎหมายเชิงลึก ทำให้ธุรกิจต้องล้มเหลวไป”

สงวน ลิ่วมโนมนต์ ประธานสำนักกฎหมายลิ่วมโนมนต์ทนายความ-การบัญชี กล่าวว่า จีนแม้จะปกครองแบบสังคมนิยมมานาน แต่ก่อนที่จะเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก หรือ WTO ในปี 2001 (พ.ศ.2544) จีนได้ทำการปฏิรูปกฎหมายอย่างเป็นทางการหลายครั้ง และเตรียมตัวด้านกฎหมายเพื่อเข้า WTO เป็นเวลา 9 ปี คือตั้งแต่ปี 1992 (พ.ศ.2535) โดยกฎหมายของจีนจะเน้นนำเอาข้อดีของระบอบสังคมนิยม และระบอบทุนนิยมมาปรับให้เป็นเสรีทางการค้า ซึ่งถือว่าได้เอาส่วนที่ดีที่สุดของระบอบทุนนิยมมาใช้ในระบอบสังคมนิยม ทำให้ปัจจุบันจีนมีกฎหมายที่ทันสมัย รวมทั้งมีการวางแผนล่วงหน้า โดยแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของจีน ก็วางแผนไว้จนถึงปี 2020 (พ.ศ.2563) หรืออีก 14 ปี ข้างหน้าแล้ว

อย่างไรก็ดี ปัจจุบันจีนแบ่งกฎหมายได้หลายระดับด้วยกัน คือ กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายภายในประเทศ กฎระเบียบและการบริหาร กฎระเบียบประกาศโดยกระทรวง หรือคณะกรรมการ และกฎระเบียบข้อบังคับของรัฐบาลท้องถิ่น ที่มีกฎหมายพิเศษการลงทุนเฉพาะท้องถิ่นด้วย

“กฎระเบียบข้อบังคับของรัฐบาลท้องถิ่นเป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ ถ้าไม่ศึกษาให้ละเอียด แม้จะเป็นบริษัทที่มีความเก่งกาจแค่ไหน มีประสบการณ์มากเท่าไร แต่ก็อาจล้มเหลวได้ง่าย”

กฎระเบียบข้อบังคับของรัฐบาลท้องถิ่นนี้ มีตั้งแต่กฎระดับมณฑล ที่มีทั้งหมด 28 มณฑล ในแต่ละมณฑลก็ยังมีเมืองต่าง ๆ ที่มีกฎหมายลึกลงไปอีก รวมถึงต้องรู้วัฒนธรรมท้องถิ่นด้วย เช่น ในเมืองกวางเจา มณฑลกวางตุ้ง เมืองคุนหมิง มณฑลยุนนาน ฯลฯ

“แต่ละเมืองมีกฎหมายต่างกัน เช่นคุนหมิง มีกฎหมายที่เน้นเชื้อเชิญคนต่างประเทศมาลงทุน โดยจะมีการยกเว้นภาษีให้ เป็นต้น”

จุดนี้ สงวน อยากให้รัฐบาลไทยเข้ามาช่วยเหลือนักลงทุนไทยที่ต้องการทำธุรกิจในจีน โดยตั้งทูตพิเศษทางด้านจีน โดยให้คนที่มีประสบการณ์ทางการค้าในจีน ที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิอย่างสูงมาช่วย ดีกว่าจะใช้เพียงข้าราชการ เพราะข้าราชการอาจจะติดต่อทางธุรกิจ หรือหาช่องทางการค้าไม่ทันคนที่ได้รับการยอมรับ

แนะศึกษารูปแบบองค์กร-วิสาหกิจ

อย่างไรก็ดีขอแนะนำว่าหากใครจะเข้าไปทำธุรกิจในจีนควรคำนึงถึงปัจจัยดังต่อไปนี้ด้วย คือ

1.ต้องศึกษาให้รู้ว่าองค์กรธุรกิจของจีนเป็นอย่างไร ซึ่งธุรกิจของจีนจะประกอบไปด้วยลักษณะ การเป็นเจ้าของคนเดียว,คณะบุคคลเป็นหุ้นส่วน,หุ้นส่วนจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล,บริษัทจำกัด ซึ่งในฮ่องกง มาเก๊า และไต้หวัน สามารถที่จะให้คนคนเดียวจดทะเบียนบริษัทจำกัดได้แล้ว โดยอนุญาตให้จดทะเบียน 1 แสนหยวน (ประมาณ 5 แสนบาท) ขณะที่เมืองไทยจะอนุญาตให้จดทะเบียนบริษัทต้องมีหุ้นส่วน 7 คน

2.รูปแบบวิสาหกิจของจีน ก็มีหลายรูปแบบ ประกอบด้วย รัฐวิสาหกิจที่กิจการเป็นของรัฐ วิสาหกิจเอกชน วิสาหกิจทุนส่วนตัว และวิสาหกิจทุนต่างประเทศ ที่อนุญาตให้คนต่างประเทศเข้ามาลงทุนทั้งหมด แต่ต้องแลกกับเทคโนโลยีที่ทันสมัย

วิสาหกิจทุนต่างประเทศมีกฎหมายเกี่ยวข้อง 3 กฎหมายด้วยกันคือ กฎหมายวิสาหกิจทุนต่างประเทศ กฎหมายร่วมทุน (เอกชน-คนต่างประเทศ) และกฎหมายร่วมมือ (รัฐ-ทุนต่างประเทศ)

กฎหมายร่วมมือนี้จะเป็นในลักษณะรัฐบาลจีนจะให้โอกาสในการเข้าถึงทรัพยากร กับนักลงทุนต่างประเทศ โดยนักลงทุนต่างประเทศจะต้องเข้ามาในลักษณะให้ทุน และเทคโนโลยี ซึ่งคนไทยต้องศึกษาเรื่องนี้เพื่อมาปรับกฎหมายในประเทศไทยด้วย

“ผมสอนหนังสือให้นักศึกษาจีน โดยเน้น 2 ทฤษฎีคือ FBI หรือ Fast Better Innovation และ CIA หรือ Collected Integration Actionable โดยธุรกิจสมัยใหม่จะอยู่รอดได้ต้องมี power technology บริษัทไหนทรัพย์สินทางปัญญา และองค์ความรู้ เหนือกว่าบริษัทอื่น บริษัทนั้น ๆจะอยู่รอด ซึ่งไม่ใช่แค่ว่าจะเข้าไปแค่ค้าขาย ยังต้องนำสิ่งดี ๆ มาต่อยอดนวัตกรรมกลับมาด้วย”

เข้มงวดด้านสิ่งแวดล้อม

อย่างไรก็ดี จีนยังมีกฎหมายอีกหลายฉบับที่เกี่ยวข้องกับการค้าการลงทุน ได้แก่ กฎหมายว่าด้วยสัญญา กฎหมายว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายแรงงาน ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้ ภาษีอากรแสตมป์ ใบอนุญาตต่าง ๆ กฎหมายควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตรา และกฎหมายสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดมาก

สิ่งที่กฎหมายจีนเข้มงวดมาก ๆ จะประกอบด้วยเรื่องที่เกี่ยวกับผลเสียต่ออธิปไตย และผลประโยชน์สาธารณะของสังคมจีน เช่น ลัทธิฝ่าหลุนกง ถือว่าผิดกฎหมาย นอกจากนี้ก็คือสัญญาที่ไม่ตรงกับภาวะเศรษฐกิจประชาชาติ และกฎหมายที่อาจทำลายมลภาวะสิ่งแวดล้อม

โดยในกฎหมายทุนต่างประเทศจะระบุชัดว่า ห้ามธุรกิจที่อาจทำลายมลภาวะสิ่งแวดล้อม คือยังไม่ต้องทำธุรกิจ แต่ดูแล้วอาจทำลายสิ่งแวดล้อม ธุรกิจนั้นเป็นโมฆะ ต่างกับกฎหมายร่วมทุน ที่ระบุว่า ธุรกิจใดก่อให้เกิดมลภาวะสิ่งแวดล้อม ธุรกิจนั้นเป็นโมฆะ

“ไม่ใช่ว่าคู่ค้าจะทำอะไรก็ได้ เขามีกฎหมายที่ควบคุมอย่างดี เพราะเขากลัวต่างชาติมาทำลายสิ่งแวดล้อมของเขา แพ้ชนะกำไร ขาดทุนเป็นเรื่องของการค้าขาย แต่เรื่องสิ่งแวดล้อมต้องรักษาไว้ เมืองไทยต้องดูตัวอย่างนี้ด้วย เพราะเมืองไทยโดยเฉพาะบีโอไอไม่มีกฎหมายแบบนี้”

อย่างไรก็ดี หากจะเข้าไปลงทุนในจีนจริง ๆ ขอแนะนำว่าควรจ้างผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายการลงทุนระหว่างประเทศ กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายการเงิน และกฎหมายการจัดการ ในสำนักงานเดียวไปช่วยเหลือ เพื่อดำเนินธุรกิจในจีนได้ง่ายขึ้น รวมทั้งจะสามารถศึกษาเรื่องสิ่งแวดล้อมและกฎหมายท้องถิ่นได้ละเอียดกว่า

นอกจากนี้ผู้ประกอบการควรจะมีการวางแผนธุรกิจให้ดี เพราะแม้จะมีระบบบริหารจัดการดี แต่อาจล้มเหลวได้ในจีน

******************

“สงวน ลิ่วมโนมนต์” ทนายคู่ใจนายกฯชาติชาย

สงวน ลิ่วมโนมนต์ คนในแวดวงการค้าไทย-จีนรู้จักเขาเป็นอย่างดี เพราะหลังจากเขาจบนิติศาสตร์บัณฑิตจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่แผนการเรียนจะเน้นกฎหมายธุรกิจมากกว่าด้านอื่น ๆ และจบปริญญาโทด้านกฎหมายจากมหาวิทยาลัยทูเลน สหรัฐอเมริกา และจบการศึกษาด้านกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายสหรัฐอเมริกาเปรียบเทียบที่สถาบัน (INTERNATIONAL COURT OF JUSTICE HAGUE PEASC PALACE NETHERLAND) เมืองดัลลัส เท็กซัส ก่อนได้ปริญญากฎหมายระหว่างประเทศที่กรุงเฮก ศาลโลก ทำให้สงวนถนัดจึงเป็นเรื่องการค้าทั้งในและระหว่างประเทศ โดยเฉพาะการจดทะเบียนบริษัทห้างร้านต่าง ๆ สิทธิบัตร และเครื่องหมายการค้า

ความที่เรียนรู้ภาษาจีนตั้งแต่เด็ก ทำให้เขาเริ่มบทบาททนายความด้วยการเป็นทนายความให้พ่อค้าจีนในเมืองไทย ทำตั้งแต่ว่าความในศาล เป็นตัวแทนในการดำเนินการต่าง ๆ ตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับของเมืองไทย จนได้รับการยอมรับเป็นอย่างดี

รวมทั้งมีบทบาทในสมาคมไทย-จีนต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะสมาคมมิตรภาพไทย-จีน ที่เขามีส่วนผลักดันให้เกิดขึ้น ให้เป็นตัวกลางในการค้าขายระหว่างไทยกับจีนมานาน เขาจึงช่วยเหลือนักธุรกิจไทยที่ต้องการไปทำการค้าขายในจีน เกี่ยวกับเรื่องกฎหมายทั้งหมดด้วย ไม่ว่าจะเป็นบริษัทซีพีที่เข้าไปทำธุรกิจในจีน เขาคือคนที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จคนหนึ่ง รวมทั้งเขายังได้ชื่อว่าเป็นทนายความคู่ใจของนายกรัฐมนตรีพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ โดยสมัยที่มีชีวิตอยู่พลเอกชาติชาย ได้ให้เกียรติเป็นนายกสมาคมมิตรภาพไทย-จีนมากว่า 15 ปี ขณะที่สงวน เป็นเลขาธิการฯ ให้สมาคมมาตลอด

นอกจากนี้ สงวน ยังได้รับการยอมรับจากรัฐบาลจีนว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายที่หาตัวจับยากคนหนึ่ง ที่ผ่านมาเขาจึงได้รับเชิญในการร่างกฎหมายจีนหลายฉบับ ที่สำคัญคือ เป็นที่ปรึกษาศูนย์ WTO ของเมืองเสิ่นเจิ้น ที่ปรึกษาสมาคมอุดมศึกษาทางด้านสถาบันทรัพย์สินทางปัญญา 200 กว่าแห่ง เป็นอนุญาโตตุลาการของมณฑล Shijiazhuang เป็นนักวิจัยพิเศษของศูนย์วิจัยกฎหมายการเงิน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยปักกิ่ง และเป็นที่ปรึกษาให้หลายบริษัทที่ลงทุนในจีน

รวมทั้งได้รับเชิญเป็นศาสตราจารย์ประจำ และศาสตราจารย์พิเศษสอนหนังสือในมหาวิทยาลัยชื่อดังของจีนหลายแห่ง ที่สำคัญได้แก่ เป็นศาสตราจารย์ประจำที่ East China University of politics and Law,มหาวิทยาลัยชิงเต่า,เป็นศาสตราจารย์เยี่ยมเยียน (Visiting Professor) ที่มหาวิทยาลัยปักกิ่ง และเป็นศาสตราจารย์พิเศษของมหาวิทยาลัยเสิ่นเจิ้น

นอกจากนี้ เขายังได้รับมอบหมายจากกระทรวงวิทยาศาสตร์ ให้เป็นที่ปรึกษาหาอินโนเวชั่นนวัตกรรมใหม่ ๆ ในเมืองจีนมาเชื่อมให้กับไทยด้วย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us