Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์24 เมษายน 2549
คิว-คอน ลุยตลาดต่างจังหวัดส่งอิฐมวลเบาแทนที่อิฐมอญ             
 


   
www resources

โฮมเพจ ควอลิตี้ คอนสตรัคชั่น โปรดักส์

   
search resources

ควอลิตี้คอนสตรัคชั่นโปรดัคส์ , บมจ.
พยนต์ ศักดิ์เดชยนต์
Cement




เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่าต้นทุนการก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ที่สำคัญอย่างหนึ่ง คือ ต้นทุนการขนส่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงที่ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นไม่เว้นแต่ละวัน ยิ่งทำให้ต้นทุนการขนส่งเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญ หากการขนส่งจะต้องขนส่งสินค้าที่มีน้ำหนักมาก จะยิ่งทำให้เสียค่าขนส่งมากยิ่งขึ้นด้วย จากมาตรการควบคุมน้ำหนักบรรทุก

อย่างไรก็ดี จากปัญหาดังกล่าวถือเป็นโอกาสของบมจ.ควอลิตี้คอนสตรัคชั่นโปรดัคส์หรือ คิว-คอน ผู้ผลิตอิฐมวลเบา แผ่นผนัง แผ่นพื้น แผ่นหลังคา ปูนก่อ ปูนฉาบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของอิฐมวลเบา เพราะจะมีโอกาสในการขยายตลาดได้ง่ายขึ้น เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีน้ำหนักเบา ขนย้ายง่ายและสามารถใช้งานได้เช่นเดียวกันอิฐดินหรืออิฐมอญที่มีน้ำหนักมากกว่า เพราะสามารถประหยัดค่าขนส่งได้

พยนต์ ศักดิ์เดชยนต์ กรรมการผู้จัดการ บมจ.ควอลิตี้ คอนสตรัคชั่น โปรดัคส์ บอกว่าจากราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้นทำให้บริษัทเห็นโอกาสในด้านการตลาด เพราะอิฐมวลเบามีน้ำหนักเบากว่าอิฐมอญ อีกทั้งการก่อสร้างยังใช้เวลาน้อยกว่าอีกด้วย ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการก่อสร้างได้มาก โดยบริษัทวางแผนที่จะขยายตลาดต่างจังหวัดมากขึ้น จากที่ในปี2547-2548ตลาดหลักๆอยู่ที่กรุงเทพฯและปริมณฑล แต่ในปีนี้บริษัทจะขยายตลาดต่างจังหวัดมากขึ้นจากที่ในช่วงกลางปีก่อนได้เริ่มขยายตลาดไปต่างจังหวัดบ้างแล้วเพราะเห็นช่องว่างในการทำตลาด

ปัจจุบันในต่างจังหวัดเริ่มให้การตอบรับอิฐมวลเบาเป็นอย่างดี อาทิ ภาคใต้ ได้แก่ ภูเก็ต กระบี่ สุราษฏร์ธานี ภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่โคราชและอุดรธานี ส่วนภาคตะวันออก ได้แก่ ชลบุรีและพัทยา เพราะเป็นสินค้าใหม่สำหรับท้องถิ่น โดยบริษัทมีแผนที่จะวางสินค้าไปยังร้านค้าวัสดุก่อสร้างและตัวแทนจำหน่าย ซึ่งมีตัวแทนจำหน่ายมากกว่า 100 ราย และคาดว่าจะเพิ่มเป็นประมาณ 300 กว่าคน ภายในปลายปีนี้

นอกจากแผนการขยายตลาดไปยังต่างจังหวัดแล้ว บริษัทยังมีแผนที่จะขยายตลาดไปยังต่างประเทศด้วย โดยวางเป้าหมายไว้หลายประเทศ อาทิ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ เวียดนาม กัมพูชา และพม่า รวมทั้งจะขยายไปยังบริเวณเซาส์อีสเอเชียและมัลดีฟอีกด้วย ซึ่งตั้งเป้าส่งออกราว 7-8% จากที่ปีก่อนมียอดส่งออกเพียง 1-2% เท่านั้น

พยนต์กล่าวว่านอกจากการเร่งขยายตลาดในต่างจังหวัดและต่างประเทศแล้ว บริษัทยังได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ และนวัตกรรมใหม่อีกหลายประเภท เช่น คานทับหลังสำเร็จรูปขนาดความหนา 7.5 ซ.ม.สูง 20 ซ.ม. เพื่อสนองตอบการใช้งานให้ครอบคลุมมากขึ้น

สำหรับลูกค้าที่ใช้อิฐมวลเบาคิวคอน ได้แก่ บมจ.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ,บมจ.คิวเฮ้าส์ ,สยามพารากอน ,สนามบินสุวรรณภูมิ และพิพิธภัณฑ์ไดโดเสาร์ เป็นต้น

พยนต์ กล่าวว่า ปัจจุบันบริษัทมีโรงงานผลิต3 แห่ง มีกำลังการผลิตแห่งละ 3 ล้านตารางเมตร รวมทั้งสิ้น 9 ล้านตารางเมตร ทั้งนี้ บริษัทจะเพิ่มกำลังการผลิตจากปัจจุบัน 9ล้านตารางเมตรเป็น 12 ล้านตารางเมตร โดยการก่อสร้างโรงงานแห่งที่4ในจ.ระยอง ขณะนี้อยู่ระหว่างทดลองและพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากรให้มีความเข้าใจในระบบเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต ใช้เงินลงทุนประมาณ 800ล้านบาท โรงงานแห่งใหม่มีกำลังผลิต3ล้านตารางเมตร

ด้านผลประกอบการของคิวคอนปี2548 ตั้งเป้ายอดขายไว้ที่986ล้านบาท แต่มียอดขายเพียง 846ล้านบาท คิดเป็น 86%ต่ำกว่าเป้าที่ตั้งไว้ 14% เนื่องจากการแข่งขันรุนแรงขึ้นจากที่มีผู้ผลิตมากขึ้นอีก5-6รายที่ทุกรายล้วนเข้ามาบุกตลาดต่างจังหวัดโดยเฉพาะในภาคตะวันออกที่ซีซีพีเป็นผู้นำตลาดอยู่ เพราะมีฐานผลิตที่ชลบุรี

อีกทั้งสภาพเศรษฐกิจตกต่ำ ทำให้ต้องลดราคาสินค้า เพื่อสู้กับคู่แข่ง จากที่ในช่วง 2-3 ปีก่อนราคาขายเฉลี่ยอยู่ที่200 บาทต่อตารางเมตร และเหลือเพียงตารางเมตรละ 130-135 บาทเท่านั้นในปัจจุบัน รวมถึงได้รับผลกระทบจากปัจจัยลบหลายอย่าง ได้แก่ ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ สึนามิ ภัยแล้ง และราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us