Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์24 เมษายน 2549
เตือนลงทุนบ้านจัดสรรระวัง ฟองสบู่รอบใหม่!!             
 


   
search resources

Real Estate




*สมาคมการขายและการตลาดอสังหาริมทรัพย์ ออกโรงเตือน ลงทุนบ้านจัดสรร ระวังเจ๊ง!! เหตุธุรกิจก้าวสู่ช่วงขาลง
*ระวังปัญหาโอเวอร์ ซัปพลาย รอบใหม่ ทั้งบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ คอนโดมิเนียม ซัปพลายเริ่มทะลักตลาด ขณะที่ดีมานด์หดตัวชัดเจน
*สวค.สร้างแบบจำลองธุรกิจปีนี้ถึง ปี 2552 ชี้ชัด บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ ราคา 3-8 ล้านบาท และคอนโดมิเนียมทุกราคา เตรียมตัวตายในสิ้นปีนี้ หากดีเวลลอปเปอร์ไม่ชะลอลงทุน

ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไม่ต่างอะไรกับธุรกิจอื่น รวมถึงภาวะเศรษฐกิจที่มีทั้งขาขึ้น และขาลง ขึ้นอยู่กับว่าในช่วงขาขึ้น นักลงทุนจะกอบโกยผลประโยชน์ได้มากน้อยแค่ไหน ขณะเดียวกัน ในช่วงขาลง จะปรับตัว เพื่อให้องค์กรอยู่รอดได้อย่างไร

โดยในช่วงที่ผ่านมา ดีเวลลอปเปอร์ที่เห็นกันอยู่ในตลาดเกือบทุกราย ล้วนประสบกับภาวะขาขึ้นและขาลงของธุรกิจบ้านจัดสรรมาแล้วทั้งนั้น จึงเชื่อว่าในช่วง 3-4 ปีก่อนที่ธุรกิจอยู่ในช่วงขาขึ้น ดีเวลลอปเปอร์จะเร่งสร้างฐานองค์กรให้แข็งแกร่ง เพื่อรองรับกับช่วงตกต่ำของธุรกิจได้เป็นอย่างดี

ทั้งนี้ เนื่องจากในปีก่อน ดีเวลลอปเปอร์หลายราย เริ่มเห็นแล้วว่า ธุรกิจกำลังจะก้าวสู่ช่วงขาลง เพราะมีการลงทุนกันจำนวนมาก เกินกว่าความต้องการในตลาด จนทำให้ดีเวลลอปเปอร์หลายราย กำลังปวดหัวกับการลงทุนที่มากเกินไป และไม่ได้วิเคราะห์ถึงความต้องการของลูกค้าอย่างถ่องแท้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในทำเลที่ลงทุน จนทำให้ไม่สามารถสร้างยอดขายได้ตามเป้า และต้องแบกภาระต้นทุนไว้จำนวนมาก ทั้งจากต้นทุนการดำเนินงาน และดอกเบี้ยจ่าย

จากการลงทุนที่มากเกินไปของดีเวลลอปเปอร์ทั้งตลาด ทำให้อสังหาริมทรัพย์ในหลายเซกเมนท์เริ่มถึงจุดอิ่มตัว แต่ก็ยอมรับว่า มีบางเซกเมนท์ที่ยังเติบโตและสามารถสร้างยอดขายได้ในเวลาไม่กี่วันหลังจากเปิดตัว หรือ สามารถปิดการขายได้ภายในวันเดียว อาทิ คอนโดมิเนียม เกาะแนวรถไฟฟ้า ทั้งบนดิน และมุดดิน ราคาเฉลี่ยที่ 1-2 ล้านบาท บ้านเดี่ยว ราคาเฉลี่ยที่ 3-5 ล้านบาท และทาวน์เฮาส์ ราคา 2-4 ล้านบาท

สวค.ชี้ชัดอสังหาฯอิ่มตัวสิ้นปีนี้

อย่างไรก็ตาม สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง(สวค.) ซึ่งเกาะติดการลงทุนของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มาตลอด ได้สร้างแบบจำลอง เพื่อคาดการณ์แนวโน้มตลาดที่อยู่อาศัยของไทย ในปี 2548-2552 ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ซึ่งชี้ให้เห็นว่า ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ทุกเซกเมนท์กำลังก้าวเข้าสู่จุดอิ่มตัว ภายในสิ้นปีนี้

จากแบบจำลองดังกล่าว ไพโรจน์ สุขจั่น นายกสมาคมการขายและการตลาดอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยว่า หากพิจารณาจากตัวเลขการลงทุนและปริมาณการดูดซับของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในทุกเซกมนท์ ทำให้เห็นว่าธุรกิจบ้านจัดสรรกำลังเข้าสู่ยุคอันตราย อาจจะเกิดภาวะฟองสบู่รอบใหม่ ดังนั้น ก่อนที่จะลงทุนโครงการใหม่ควรจะศึกษาตลาด และความต้องการของผู้บริโภคอย่างรอบคอบก่อนที่จะลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตลาดบ้านเดี่ยวราคา 3 ล้านบาทขึ้นไป จะต้องระวังระมัดการลงทุนมากยิ่งขึ้น เพราะในช่วงปีก่อน ผู้ประกอบการหลายรายปรับตัวมาเน้นลงทุนบ้านเดี่ยวในระดับดังกล่าวจำนวนมาก

ระวังปัญหาโอเวอร์ ซัปพลาย

ไพโรจน์กล่าวว่า อสังหาริมทรัพย์ปีนี้ ถึงปี 2552 จะอยู่ในช่วงขาลง เพราะมีการลงทุนโครงการจำนวนมาก ทำให้เกิดภาวะล้นตลาด หรือโอเวอร์ ซัปพลาย รวมถึงการแข่งขันรุนแรง ทั้งนี้ หากผู้ประกอบการต้องการอยู่รอด จะต้องศึกษาความต้องการของตลาดอย่างรอบคอบก่อนที่จะลงทุนโครงการใหม่

“บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ ระดับราคาตั้งแต่ 3-8 ล้านบาท และอาคารชุดทุกระดับราคา น่าจะถึงจุดอิ่มตัวภายในปลายปีนี้แน่นอน เพราะซัปพลายเริ่มมากกว่าดีมานด์และหากการขยายตัวของการลงทุนเพิ่มเร็วกว่านี้อาจจะประสบกับภาวะโอเวอร์ ซัปพลายได้”ไพโรจน์ ระบุ

อย่างไรก็ตามภาพรวมในปัจจุบันของตลาดที่อยู่อาศัยยังไม่น่าวิตกมากนักเนื่องจากในตลาดยังมีความต้องการมากกว่าการก่อสร้างทั้งนี้ผู้ประกอบการจะต้องระมัดระวังการขยายโครงการในบางตลาดที่เริ่มมีสินค้ามากกว่าความต้องการ ดังนั้น หากจะลงทุนควรจะลงทุนในตลาดที่มีความต้องการอย่างละเอียด

ผลการศึกษายังระบุด้วยว่าปริมาณการสร้างและซื้อขายที่อยู่อาศัยในช่วงปี2548-2552 จำนวนที่อยู่อาศัยสร้างเองทั่วประเทศมีแนวโน้มเติบโต 257,919 หน่วย ในปี 2548 เป็น 307,132 หน่วย ในปี 2552 คิดเป็นอัตราการขยายตัวเฉลี่ยปีละ4.5%ขณะที่จำนวนการซื้อขายที่อยู่อาศัยจัดสรรมือหนึ่งทั่วประเทศ มีแนวโน้มลดลงจาก 77,819 หน่วย ในปี 2548 เป็น 73,600 หน่วย ในปี 2552 คิดเป็นอัตราการขยายตัวเฉลี่ยลดลงปีละ–1.4

สรุปได้ว่าจำนวนที่อยู่อาศัยใหม่ทั้งสร้างเองและโครงการบ้านจัดสรร รวมทั้งประเทศมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 335,735 หน่วย ในปี 2548 เป็น 380,731 หน่วยในปี 2552 หรือคิดเป็นอัตราการขยายตัวเฉลี่ยปีละ3.2%(ดูตารางประกอบ)

บ้านเดี่ยวแชมป์ขายดี

ส่วนการซื้อขายที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯและปริมณฑลในปี 2548-2552 ใน3 ตลาด ประกอบด้วย บ้านเดี่ยวทาวน์เฮาส์ และคอนโดมิเนียม พบว่า ส่วนใหญ่นิยมซื้อบ้านเดี่ยวคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 40% ซึ่งจะซื้อบ้านเดี่ยวระดับราคา 3-8 ล้านบาทมากถึง 55% และราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท ประมาณ 30% ส่วนทาวน์เฮาส์ได้รับความนิยมรองลงมา ในสัดส่วนราว 40% ในจำนวนดังกล่าวส่วนใหญ่ประมาณ 80%เลือกซื้อราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท ส่วนที่เหลือจะเลือกซื้อราคา 3-8 ล้านบาท สำหรับคอนโดมิเนียมได้รับความนิยมเป็นอันดับที่สาม ด้วยสัดส่วนราว 20% ในจำนวนดังกล่าว มีจำนวน75% ที่เลือกซื้อราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท และอีกราว 15% จะเลือกซื้อราคา 3-8 ล้านบาท(ดูตารางประกอบ)

อย่างไรก็ดี หากพิจารณาภาพรวมของตลาดที่อยู่อาศัยจัดสรรยังไม่น่าวิตกมากนักเนื่องจากยังมีความต้องการมากกว่าการลงทุนปีละราว60,000ยูนิตทั้งนี้ผู้ประกอบการจะต้องระมัดระวังการลงทุนในบางเซกเมนท์ที่เริ่มมีการลงทุนมากกว่าความต้องการและหันไปลงทุนในเซกเมนท์ที่มีความต้องการ

สำหรับตลาดในเขตต่างจังหวัดค่อนข้างจะมีความแตกต่าง จากตลาดที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล เพราะส่วนใหญ่ต้องการที่อยู่อาศัยประเภทสร้างเองมากกว่า80%จึงมั่นใจว่าโอกาสที่ต่างจังหวัดจะเกิดปัญหาโอเวอร์ซัปพลายน้อยกว่าในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us