|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
สศค.เผยตัวเลขจีดีพีภาคการเกษตรไตรมาสแรกปี 49 เติบโตสูงถึง 7% วางเป้าทั้งปีโต 4 – 5% เหตุปัญหาภัยแล้วคลี่คลายจากปีที่ผ่านมา ด้านดัชนีราคาสินค้าเกษตรขยายตัวสูงถึง 27.1% ระบุความต้องการบริโภคในประเทศและในตลาดโลกอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ส่วนการประกันภัยพืชผลทางการเกษตรยังอยู่ในขั้นทดลองใน 2 จังหวัด กว่า 1 แสนไร่ เบื้องต้นรัฐบาลจ่าย 50% ที่เหลือเกษตรกรและธ.ก.ส.จ่ายคนละครึ่ง
นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า จากที่ สศค. ได้ร่วมกับสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทำการประเมินภาวะเศรษฐกิจภาคการเกษตรในปี 2549 โดยคาดการณ์ว่า ในปีนี้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ภาคการเกษตรจะขยายตัวได้ประมาณ 4-5% เพิ่มขึ้นจากปี 2548 ซึ่งขยายตัวเพียง 2% ทั้งนี้ เนื่องมาจากสภาวะอากาศที่เอื้ออำนวยมากขึ้น ต่างจากปีก่อนที่ผลผลิตภาคการเกษตรได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งอย่างรุนแรง
สำหรับในไตรมาสแรกที่ผ่านมา กระทรวงเกษตรฯ คาดการณ์ว่า จีดีพีภาคการเกษตรจะขยายตัวได้ประมาณ 7% โดยสินค้าเกษตรที่ขยายตัวได้ดีขึ้น ได้แก่ ข้าว ยางพารา และมันสำปะหลัง เป็นต้น เนื่องจากมีการฟื้นตัวจากภาวะภัยแล้ง และน้ำท่วม ส่วนข้าวโพด คาดว่าจะชะลอตัวลง จากราคาที่ต่ำ
นายนริศ กล่าวว่า ในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ ผลผลิตภาคการเกษตรมีการขยายตัว 5.6% ปรับตัวดีขึ้นจากปี 2548 ที่ขยายตัวลดลง 3.7% โดยสินค้าที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น อาทิ ข้าว ขยายตัว 5.5% ปรับตัวดีขึ้นจากปีก่อนที่ชะลอตัวลง 0.5% ยางพารา ขยายตัว 5% ปรับตัวดีขึ้นจากปีก่อนที่ชะลอตัวลง 1.3% และอ้อย ขยายตัว 5.8% ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2548 ที่ชะลอตัวลง 37.3%
ส่วนในด้านราคาสินค้าเกษตร ยังมีแนวโน้มขยายตัวในระดับสูง โดยในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ ดัชนีราคาสินค้าเกษตรขยายตัวอยู่ที่ประมาณ 27.1% เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ขยายตัวอยู่ที่ 15.44% และมีแนวโน้มที่จะปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากความต้องการสินค้าภายในประเทศยังมีสูง รวมทั้งราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกยังอยู่ในเกณฑ์ดี ซึ่งในเดือน ก.พ. ขยายตัวอยู่ที่ 23.5% แต่อย่างไรก็ดี คาดว่าราคาสินค้าเกษตรโดยรวมในช่วงที่เหลือของปี 2549 มีแนวโน้มชะลอตัวลงเล็กน้อย เนื่องจากอุปทานผลผลิตที่เพิ่มขึ้นจากสภาวะอากาศที่เอื้ออำนวย
ผู้อำนวยการ สศค. กล่าวอีกว่า การที่ราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกยังขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่อง และการผลิตสินค้าเกษตรได้เพิ่มขึ้น จะส่งผลดีต่อมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรให้ปรับตัวดีขึ้น ซึ่งปัจจุบันไทยมีสัดส่วนการส่งออกสินค้าเกษตรประมาณ 9.5% ของมูลค่าการส่งออกสินค้าทั้งหมด ซึ่งคาดว่าน่าจะส่งผลดีต่อดุลการค้าของไทยด้วย
ส่วนรายได้เกษตรกรในช่วง 2 เดือนแรก ของปีนี้ ขยายตัวอยู่ที่ 35.2% และคาดว่าทั้งปีรายได้เกษตรกรจะปรับตัวเพิ่มขึ้น จากปี 2548 ที่ขยายตัวอยู่ที่ 19.5% เนื่องจากได้รับแรงผลักดันจากผลผลิตและราคาสินค้าเกษตรที่ยังขยายตัวอยู่ในระดับสูง
“การที่ผลผลิตภาคเกษตรในปี 2549 ปรับตัวเพิ่มขึ้นนั้น จะช่วยให้จีดีพีภาคการเกษตรในปีนี้ขยายตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ประมาณ 4-5% หลังจากที่ขยายตัวลดลงในปีก่อน รวมทั้งยังมีผลทางอ้อมด้านอุปสงค์ ผ่านสินค้าเกษตรส่งออกที่มีแนวโน้มสูงขึ้นอีกด้วย ส่วนการที่รายได้เกษตรกร และจีดีพีภาคการเกษตรปรับตัวเพิ่มขึ้น จะส่งผลให้การบริโภคภาคเอกชนปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ประมาณ 4-5% จากปัจจุบันที่ชะลอตัวลง” ผู้อำนวยการ สศค. กล่าว
ส่วนความคืบหน้าของโครงการประกันภัยพืชผลทางการเกษตรนั้น นายธีรพงษ์ ตั้งธีระสุนันท์ ผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ในขณะนี้กำลังเริ่มทดลองศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการร่วมกับหลายๆ หน่วยงาน ทั้ง สศค. กระทรวงเกษตรฯ กรมการประกันภัยและบริษัทประกันภัย เพื่อหาความเป็นไปได้ของโครงการ
โดยในเบื้องต้นได้ทดลองในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยคาดว่าจะใช้ข้าวและข้าวโพดเป็นพืชผลทดลองก่อน ตั้งเป้าวางพื้นที่ทดลองประมาณ 1 แสนไร่ โดยได้ว่าจ้างบริษัท พาสโก้ จากประเทศอินเดียเป็นผู้ศึกษาเรื่องนี้เพราะมีความชำนาญในการทำประกันพืชผลทางการเกษตรในประเทศอินเดีย
ซึ่งการประกันภัยพืชผลทางการเกษตรนั้นจะพิจารณาหลายๆ ปัจจัย โดยจะนำเอาดัชนีความชื้นของอากาศ ดัชนีปริมาณฝน ดัชนีความแห้งแล้งและอีกหลายๆ ปัจจัยมาประกอบการพิจารณาประกันภัยพืชผลทางการเกษตรด้วย
ทั้งนี้อัตราเบี้ยประกันที่คณะกรรมการศึกษาได้สรุปไว้จะอยู่ที่สัดส่วนรัฐบาลจ่าย 50% เกษตรกรจ่าย 25% และธ.ก.ส. จ่าย 25% ซึ่งผลสรุปทั้งหมดของโครงการน่าจะออกมาในเวลาอันใกล้นี้
|
|
|
|
|