Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2539
"บรูซ ดาริงตัน พวก 'จักรวรรดิ' จับมือกันแล้ว แบงก์ไทยเตรียมตัวไว้ให้ดี"             
 


   
search resources

สมาคมธนาคารต่างชาติ
บรูซ ดาริงตัน




ในที่สุด "สมาคมธนาคารต่างชาติ" ก็แจ้งเกิดอย่างเป็นทางการ โดยมี "บรูซ ดาริงตัน" หาญอาสาเข้ารับตำแหน่งประธานสมาคมธนาคารต่างชาติคนแรก หลังจากที่ผู้บริหารธนาคารต่างชาติคนเก่าผลักดันกันมานาน เช่น ครอมเวลแห่งแบงก์ฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ และเฮนดริกซ์แห่งซิตี้แบงก์ที่มีบทบาทในอดีตแต่ได้ย้ายไปอยู่ประเทศอื่นแล้วทิ้งภารกิจใหญ่นี้ไว้ให้ บรูซ ดาริงตันสานต่อไป

ถึงกระนั้นความเป็นนานาชาติของคณะกรรมการสมาคมธนาคารต่างชาติชุดแรกก็ปรากฎในผู้บริหารระดับบิ๊ก ๆ ประกอบด้วย ตัวประธานสมาคม บรูซ ดาริงตันที่เป็นชาวอังกฤษ ส่วนรองประธานคนที่ 1 เดวิด พรอกเตอร์ ผู้จัดการใหญ่แห่งแบงก์อเมริกา รองประธานคนที่ 2 เทอิซูเคะ คีตายาม่า ผู้จัดการใหญ่แบงก์ซากุระ ส่วนเลขานุการกิตติมศักดิ์ตกเป็นของเชากัต ทาริน ผู้จัดการใหญ่ซิตี้แบงก์ชาวปากีสถานที่มาแทนเฮนดริกซ์ และเหรัญญิกกิตติมศักดิ์ คือ บรูโน ชริค ผู้จัดการใหญ่แบงก์เอบีเอ็นแอมโรชาวฝรั่งเศส

ปัจจุบัน บรูซ ดาริงตันเป็นผู้จัดการสาขาประเทศไทยของแบงก์สแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด ซึ่งเป็นแบงก์ต่างชาติเก่าแก่ในไทยที่มีอายุครบ 101 ปี ระดับน้อง ๆ แบงก์ฮ่องกง และเซี่ยงไฮ้ที่เกิดก่อน 6 ปี

สุภาพบุรุษชาวอังกฤษคนนี้ บรูซ ดาริงตันจบปริญญาตรีทางเศรษฐศาสตร์และการเมืองที่ประเทศอังกฤษ รู้จักเมืองไทยครั้งแรกตั้งแต่ปี 2530 เมื่อครั้งเขายังทำงานวิเคราะห์ธุรกิจแบงก์ไทยให้กับบริษัทหลักทรัพย์ครอสบี้ที่ฮ่องกง พื้นฐานของนักตรวจสอบบัญชีที่บรูซ ดาริงตัน เคยทำงานกับบริษัทยักษ์ใหญ่เอิร์นสแอนด์ยังก์ก่อนจะเบนเข็มมาอยู่ในวงการโบรกเกอร์ ทำให้บรูซ ดาริงตันมีบุคลิกนักบริหารที่สุขุมรอบคอบจนประสบความก้าวหน้าในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการกลุ่มที่ดูแลธุรกิจครอสบี้ในสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซียและฮ่องกง ก่อนหน้าที่จะลาออกจากครอสบี้มาทำงานใหญ่ที่แบงก์สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด สาขาประเทศไทยในปี 2538

ในอดีตแม้แบงก์ต่างชาติได้ทำธุรกิจในไทยมากว่าร้อยปีแต่ก็โตได้อย่างจำกัดไม่ใช่คู่แข่งที่น่ากลัวของแบงก์ไทย โดยดูจากขนาดและส่วนแบ่งตลาดด้านเงินฝากและเงินให้สินเชื่อที่มีสัดส่วนน้อยมากประมาณ 5-6% ของสินเชื่อทั้งระบบ เพราะถูกจำกัดการเปิดสาขา และที่ผ่านมาสองทศวรรษแบงก์ไทยก็ปรับขยายตัวรับการแข่งขันรวดเร็วจนมีขนาดธุรกิจใหญ่

แต่นับจากการเปิดเสรีการเงินในปี 2536 นี่เป็นครั้งแรกของประวัติศาสตร์ที่จารึกว่าบทบาทของแบงก์ต่างชาติที่สามารถรวมตัวกันในรูปของ "สมาคมธนาคารต่างชาติ" ในประเทศไทยเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคมที่ผ่านมา และในฐานะประธานสมาคมธนาคารต่างชาติ บรูซ ดาริงตัน ได้นำคณะกรรมการสมาคมที่ประกอบด้วยรองประธานทั้งสองคือ เดวิด พรอกเตอร์และเทอิซูเคะ คิดายาม่า เข้าคำนับผู้ว่าแบงก์ชาติ วิจิตร สุพินิจ

"ผมคิดว่าแบงก์ชาติทำงานดีแล้ว การประกาศโดยทั่วไปก็ชัดเจนดีและแบงก์ต่างชาติก็เป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจไทย แต่เราคิดว่าในอนาคต ถ้าหากสามารถปรึกษาหารือกับแบงก์ต่างชาติได้ก่อนจะออกระเบียบใหม่ก็จะดียิ่งขึ้น" บรูซ ดาริงตัน ประธานสมคมธนาคารต่างชาติกล่าว

"ขณะนี้เราเชิญผู้แทนแบงก์ต่างชาติมาประชุมทุกสองเดือน และทุกเดือนกรรมการสมาคมก็พบปะพูดคุยกัน ยิ่งตอนนี้บ่อยครั้งเพราะมีวาระสำคัญที่จะต้องตั้งตัวแทนด้วย ขณะเดียวกันแต่ละแบงก์ก็สามารถติดต่อกับแบงก์โดยตรงตามจุดยืนของตน โดยสมาคมจะเป็นตัวกลางให้เข้าใจมากขึ้น" ประธานสมาคมแบงก์ย้ำถึงอำนาจการควบคุมที่ให้อิสระแก่สมาชิก โดยสมาคมธนาคารต่างชาติตั้งอยู่ที่อาคารธนาคารฮ่องกง สีลม

ในอนาคตอำนาจต่อรองของสมาคมธนาคารต่างชาติที่เกิดจากจำนวนและขนาดของธุรกิจแบงก์ต่างชาติที่เพิ่มขึ้นจากสมาชิกผู้ก่อตั้ง 14 แห่ง และมีแผนเตรียมขยายจำนวนสมาชิกครอบคลุมไปถึงกิจการวิเทศธนกิจ (บีไอบีเอฟ) 31 แห่ง และสำนักงานตัวแทนแบงก์ต่างประเทศอีก 43 แห่งจึงเป็นพลังอำนาจใหม่ที่ส่งผลกระทบต่อแบงก์พาณิชย์ไทยทั้งรายเก่าและรายใหม่ชนิดแลกกันหมัดต่อหมัดทีเดียวบนสังเวียน

หมัดแรกคือการรุกฆาต "เอทีเอ็มพูลนานาชาติ" ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการขยายธุรกิจด้านรีเทลแบงกิงระดับ WORLDWIDE ของบิ๊กโฟร์ ได้แก่ ซิตี้แบงก์ แบงก์ฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ แบงก์สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดและแบงก์ซากุระ หลังจากแบงก์ต่างชาติใช้ข้ออ้างแกตต์รุกฆาตให้เปิดเสรีการเงิน ขณะที่ผ่านมาสมาคมแบงก์ไทยกับบริษัทศูนย์ประมวลผล (พีซีซี) เล่นเกมซื้อเวลาด้วยการเจรจาเชิงธุรกิจ เรื่องค่าธรรมเนียมแรกเข้า ค่าบริการต่อรายการละ 30 บาท เช่นเดียวกับบัตรเครดิตอเมริกาเอ็กซ์เพรสหรือไดเนอร์สคลับ

"ผมคาดว่าในเดือนตุลาคมนี้ คงได้ร่วมในเครือข่ายเอทีเอ็มของแบงก์ไทยได้" ประธานสมาคมธนาคารต่างชาติเล่าให้ฟัง

ท่าทีที่ประธานสมาคมธนาคารต่างชาติประกาศสนับสนุนให้ไทยเป็นศูนย์กลางการเงินของภูมิภาคนี้โดยให้มีเงินลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาในไทยมากขึ้น และมีการนำเครื่องมือและบริการทางการเงินใหม่ ๆ และเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ตลอดจนแลกเปลี่ยนข้อมูลงานวิจัยระหว่างกัน เป็นเรื่องที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อแบงก์ไทยในเชิงการแข่งขันมากขึ้นในระบบเสรีทางการเงิน

ความวิตกกังวลของนายแบงก์ไทยที่เกรงว่าการผนึกกำลังของในรูปสมาคมธนาคารธนาคารต่างชาติในไทยจะทำให้เศรษฐกิจ และระบบการเงินของไทยต้องพึ่งพิงต่างประเทศมากยิ่งขึ้นไปอีก แม้ทางการจะได้สร้างสมดุลแห่งอำนาจต่อรองโดยทางการออกใบอนุญาตตั้งแบงก์พาณิชย์ไทยใหม่เพิ่มขึ้น และเสริมความแข็งแกร่งให้กับแบงก์ไทยเพื่อรับศึกการแข่งขันใหญ่ที่จะตามมาในอนาคต

งานนี้บรูซ ดาริงตัน ประธานสมาคมธนาคารต่างชาติผู้มีท่าทีอ่อนนอกแข็งในคงสลายข้อวิตกกังวลได้อย่างมีวิสัยทัศน์

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us